Praepattra
ผู้ช่วยศาตราจารย์ Praepattra Kiaochaoum

ระดับป.5 ความเพียรที่จะใช้ทรัพยากรในชีวิตประจำวันอย่างประหยัดและคุ้มค่า


๑.  วัตถุประสงค์ของการเรียนรู้ 

                เพื่อให้ผู้เรียน

๑.๑  มีความเพียรที่จะใช้ทรัพยากรในชีวิตประจำวันอย่างประหยัดและคุ้มค่า

๑.๒ มีพละ ๕ ในการปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

๑.๓ รู้จักการละเว้นอคติ  อย่างมีเหตุผล

๑.๔ รู้จักและเข้าใจโลกธรรม ๘  และนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

๑.๕  มีการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาทโดยมีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติ

 

๒. รายละเอียดของเนื้อหาการเรียนรู้ 

 

๑.  หลักปธาน ๔ กับความพอประมาณ 

 

ปธาน  คือ  ความเพียร  มี  ๔  อย่าง 

 ๑. สังวรปธาน                   เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในสันดาน

๒. ปหานปธาน                   เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้วให้หมดไป

๓. ภาวนาปธาน                  เพียรให้บุญกุศลเกิดขึ้นในสันดาน

๔. อนุรักขนาปธาน            เพียรรักษาบุญกุศลที่เกิดขึ้นแล้วไม่ให้เสื่อม

บุคคลผู้มีคุณธรรม คือ ความเพียรทั้ง ๔ อย่างนี้ จะทำอะไร จะพูดอะไร จะคิดอะไร ย่อมเป็นไปในทางดีงาม สามารถพึ่งตนเองได้ ชีวิตจะมีความมั่นคง สะอาดสว่างสงบและเป็นสุขตลอดไปสิ้นกาลนาน

 

๒.  อคติกับความมีเหตุผล 

 

อคติ  คือ ความลำเอียง , ความไม่เที่ยงธรรม  มี ๔ ประการ

 ๑. ลำเอียงเพราะรักใคร่ ชอบพอกัน                เรียกว่า  ฉันทาคติ

๒. ลำเอียงเพราะไม่ชอบกัน                             เรียกว่า  โทสาคติ

๓. ลำเอียงเพราะเขลา ไม่รู้จริง                         เรียกว่า  โมหาคติ

๔. ลำเอียงเพราะกลัว                                    เรียกว่า  ภยาคติ

                บุคคลใดประพฤติลุอำนาจแก่อคติทั้ง ๔ นั้นแล้วแม้ข้อใดข้อหนึ่งย่อมเป็นเหตุให้บุคคลนั้นมีความประพฤติไม่ยุติธรรม ทำให้ผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน ทั้งตนเองก็จะได้รับทุกข์โทษ เช่น ถูกติเตียน เสื่อมจากลาภยศ เป็นต้น

 

๓.  พละ ๕ กับการมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว 

พละ คือ ธรรมเป็นกำลัง  มีอยู่  ๕  ประการ

๑. สัทธา                 ความเชื่อ

๒. วิริยะ                ความเพียร

๓. สติ                    ความระลึกได้

๔. สมาธิ                ความตั้งใจมั่น

๕. ปัญญา              ความรอบรู้

คุณธรรมทั้ง ๕ อย่างนี้ เมื่อเกิดขึ้นในจิตใจ ย่อมทำให้จิตใจมีกำลังเข้มแข็ง สามารถต่อต้านกับอกุศลธรรมได้ เปรียบเหมือนทำนบที่แข็งแรงสามารถต้านกระแสน้ำไว้ได้ ฉะนั้น คุณธรรมนี้ สามารถต่อต้านกิเลสตัณหาได้ เช่น ต่อต้านความไม่เชื่อ ความเกียจคร้าน  และความประมาท เป็นต้นได้ จึงเรียกว่า พละ ผู้มีคุณธรรมดังกล่าวนี้ย่อมเป็นผู้มีจิตใจมั่นคงเข้มแข็งในการประกอบความดี ไม่มีความย่อท้อต่ออุปสรรคใดๆ  ธรรม ๕ ประการนี้ เรียกอีกอย่างว่า อินทรีย์ ๕  หมายถึง เป็นใหญ่ในกิจของตน

๔.  โลกธรรม ๘ กับเงื่อนไขความรู้

โลกธรรม ๘  ธรรมของโลกหรือธรรมประจำโลก

 ฝ่ายอิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่น่าปรารถนา

๑. ลาภ                   ๒. ยศ                    ๓. สรรเสริญ              ๔. สุข

ฝ่ายอนิฏฐารมณ์ คือ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา

๕. เสื่อมลาภ        ๖. เสื่อมยศ           ๗. นินทา                     ๘. ทุกข์

โลกธรรม ๘ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ควรพิจารณาว่าสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่ามันไม่เที่ยง   มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา มีความรู้ตามที่เป็นจริง ไม่ให้ครอบงำจิตใจ คือ ไม่ยินดีในสิ่งที่น่าปรารถนา ไม่ยินร้ายในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา

 

๕.  หลักอัปปมาทะกับเงื่อนไขคุณธรรม

อัปปมาทะ (ความไม่ประมาท คือ ความเป็นอยู่อย่างไม่ขาดสติ หรือ ความเพียรที่มีสติเป็นเครื่องเร่งเร้าและควบคุม ได้แก่ การดำเนินชีวิตโดยมีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติและการกระทำทุกอย่าง ระมัดระวังตัว ไม่ยอมถลำไปในทางเสื่อม แต่ไม่ยอมพลาดโอกาสสำหรับความดีงามและความอันจะต้องรับผิดชอบ ไม่ยอมปล่อยปละละเลย การทำการด้วยความจริงจัง รอบคอบและรุดหน้าเรื่อยไป

 

๓. แนวทางการเรียนการสอน (กิจกรรมการเรียนรู้)

๓.๑  การสร้างความพร้อม

๑)  ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสร้างกติกาในการเรียนรู้เพื่อถือปฏิบัติเป็น “วินัยประจำวิชา” เช่น การแต่งกายให้เรียบร้อย การตรงต่อเวลา การตั้งใจเรียน เพื่อให้ผู้เรียนมีความพร้อมที่จะเรียนรู้

๒)  อธิบายเรื่องการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยก่อนเรียนจะต้องมีการการบูชาพระรัตนตรัย สมาทานศีล นั่งสมาธิ และแผ่เมตตาก่อนการเรียน (ประมาณ ๕ นาที) ในทุกชั่วโมงเรียน โดยเน้นให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าและความสำคัญของการกระทำดังกล่าว

๓)  ให้ผู้เรียน ๑ คน เป็นผู้นำกล่าวบูชาพระรัตนตรัย และสมาทานศีล (โดยต้องวนเวียนกันไปไม่ซ้ำบุคคล เพื่อให้ผู้เรียนมีประสบการณ์อย่างทั่วถึง)

๔) นำผู้เรียนเจริญภาวนาด้วยวิธีง่ายๆ  คือ การดูกาย  ดูจิต   http://www.wimutti.net/pramote/

๓.๒  การสร้างปัญญา

๑. ขั้นเสวนาผู้รู้

-  ผู้สอนกล่าวชื่นชมและอนุโมทนาในการทำความดีของผู้เรียน

-  ผู้สอนแจ้งรายละเอียดของเนื้อหาโดยภาพรวมทั้งหมดว่าจะต้องเรียนอะไรบ้าง

-  ผู้สอนนำเข้าสู่บทเรียนโดยให้ผู้เรียนระบุพฤติกรรมของตนเองที่แสดงออกว่ามีความเพียรที่จะใช้ทรัพยากรในชีวิตประจำวันอย่างประหยัดและคุ้มค่า

-  ผู้สอนให้นักเรียนช่วยกันระดมความคิดว่า พละ ๕  และโลกธรรม ๘ คืออะไร  มีความสำคัญอย่างไรกับชีวิต

-  ผู้สอนตั้งคำถามว่า นักเรียนสามารถละเว้นอคติ  อย่างมีเหตุผลได้อย่างไร

-  ผู้สอนตั้งคำถามว่า นักเรียนสามารถการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาทได้อย่างไรบ้าง

-  ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน

 

๒. ขั้นสดับคำสอน

-  อธิบายความสำคัญ  คุณธรรมและยกตัวอย่างของการมีความเพียรที่จะใช้ทรัพยากรในชีวิตประจำวันอย่างประหยัดและคุ้มค่า

-  อธิบายความสำคัญ  คุณธรรมและยกตัวอย่างของพละ ๕ ในการปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง

-  อธิบายความสำคัญ  คุณธรรมและยกตัวอย่างของการละเว้นอคติ  อย่างมีเหตุผล

-  อธิบายความสำคัญ  คุณธรรมและยกตัวอย่างของโลกธรรม ๘  และการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

-  อธิบายความสำคัญ  คุณธรรมและยกตัวอย่างของการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาทโดยมีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติ

๓. ขั้นสร้างสรรค์ความคิด

-  ผู้สอนแบ่งกลุ่มผู้เรียนกลุ่มประมาณ ๕ คน

-  ผู้สอนแจกใบงานให้ทุกคน

-  ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันระดมความคิดโดยยกตัวอย่างลักษณะของการมีความเพียรที่จะใช้ทรัพยากรในชีวิตประจำวันอย่างประหยัดและคุ้มค่า  นำเสนอภายในกลุ่ม  คนละ 1 นาที

-  ผู้สอนให้ผู้เรียนช่วยกันเขียนสรุปวิธีการนำพละ ๕และโลกธรรม ๘  มาใช้ในชีวิตประจำวัน  ในใบงาน  ให้เวลา 5  นาที

-  ให้ผู้เรียนแต่ละคนบอกเล่าเรื่องราวของตนเองที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาทโดยมีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติ  ในใบงาน  ให้เวลา 10  นาที

-  ให้สมาชิกทุกคนในกลุ่มออกมานำเสนอผลงานการปั้นดินน้ำมันและบอกเล่าประสบการณ์ของตนเองภายในกลุ่ม  คนละ 2 นาที

-  ให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกันคัดเลือกเรื่องราวและรูปปั้นที่ดีที่สุดในกลุ่ม  ส่งเป็นตัวแทนกลุ่ม  เพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียนต่อไป

 

๔. ขั้นนำเสนอและสรุป      

-  ผู้สอนให้ตัวแทนแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน 

-  ผู้สอนและผู้เรียนร่วมกันสรุปความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการมีความเพียรที่จะใช้ทรัพยากรในชีวิตประจำวันอย่างประหยัดและคุ้มค่า  มีพละ ๕ ในการปฏิบัติตนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง การรู้จักการละเว้นอคติ  อย่างมีเหตุผล  การนำโลกธรรม ๘  ไปใช้ในชีวิตประจำวัน  และการดำเนินชีวิตอย่างไม่ประมาทโดยมีสติเป็นเครื่องกำกับความประพฤติปฏิบัติ   โดยการถามตอบและแสดงความคิดเห็น 

-  สรุปความรู้และประโยชน์ที่ได้จากการเรียนและการทำกิจกรรมในชั้นเรียน

-  เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามข้อสงสัย

-  ให้ผู้เรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน

  

๔. สื่อการเรียนการสอน

๑.  หนังสือเรียนวิชา ธรรมะกับเศรษฐกิจพอเพียง

๒.  รูปภาพโครงการพระราชดำริและเศรษฐกิจพอเพียง

๓.  วีดีทัศน์ / สื่อเสียง 

๔.  สื่อประดิษฐ์

๕.  ใบความรู้ เรื่อง ความเพียรที่จะใช้ทรัพยากรในชีวิตประจำวันอย่างประหยัดและคุ้มค่า

๖.  การนำเสนอด้วย  PowerPoint

๗.  E-Learning  วิชา ธรรมะกับเศรษฐกิจพอเพียง

 

๕.  การวัดและประเมินผลการเรียนการสอน

 

๑.  ประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เช่น การตั้งคำถาม การตอบคำถาม การนำเสนอ

๒.  ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย

๓.  ประเมินจากความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายทั้งระดับรายบุคคลและกลุ่ม

๔.  ประเมินจากการรับฟัง และการปรับปรุงแก้ไขผลงาน

๕.  ประเมินจากการแสดงความคิดเห็น

๖.  ประเมินจากการทำกิจกรรมกลุ่มและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน

๗.  ประเมินจากการสอบวัดผลการเรียนรู้ก่อนและหลังเรียน

 

๖. หนังสืออ่านประกอบ   http://www.nesdb.go.th/Default.aspx?tabid=326

 

หนังสือ "หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" จำนวนหน้า : (40 หน้า)

  

หนังสือ "เรียนรู้หลักการทรงงาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว" จำนวนหน้า : (78 หน้า)

 

หนังสือ "การประยุกต์ใช้ หลักเศรษฐกิจพอเพียง"  จำนวนหน้า : (32 หน้า)

 

หนังสือ "เส้นทางสู่ความพอเพียง"  จำนวนหน้า : (82 หน้า)

 

หนังสือการ์ตูน "เศรษฐกิจพอเพียง" จำนวนหน้า : (200 หน้า)

 

หมายเลขบันทึก: 366859เขียนเมื่อ 16 มิถุนายน 2010 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 มีนาคม 2012 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท