ประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ(DW)ครั้งที่3/2553


สัมผัสวิถีชีวิตตรงของเกษตรกร

       สวัสดีครับ การจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ กำหนดไว้ 4  ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ดำเนินการไปแล้วเมื่อวันที่ 18 พค. ที่ผ่านมา...อำเภอธารโตเป็นเจ้าภาพ โดยคุณชำนาญ ปิยัง เกษตรอำเภอ เป็นหัวเรือในการประสาน จัดหาสถานที่รวมทั้งแปลงเรียนรู้ของเกษตรกรและวิทยากรเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จ

เกษตรอำเภอมาบอกผมว่าได้สถานที่เรียบร้อยแล้ว เอาที่บ้านดินเสมอ ตำบลคีรีเขต ผมบอกว่าตามใจเอาที่ไหนขอให้มีแปลงได้ลงปฏิบัติ สืบค้นองค์ความรู้จากแปลงเกษตรกร   พอถึงวันจริงนัดหมายเกษตรอำเภอให้มาพร้อมกันที่สำนักงานเกษตรอำเภอ เมื่อพร้อมกันก็เดินทางเข้าไปบ้านดินเสมอ อยู่ห่างจากอำเภอประมาณ 15 กม ทางไม่ค่อยจะดีเท่าใด ขึ้นเขาตลอด ไปเรื่อยๆเลยโรงปุ๋ยชีวภาพ มาถึงบ้านผู้ใหญ่พบเกษตรอำเภอ ควบคุมแม่บ้านทำอาหารเพื่อไปเลี้ยงพวกเราที่มาอบรมกัน.....

 

เลยบ้านผู้ใหญ่กำพลมาไม่ไกลเป็นสถานที่ที่เตรียมไว้สำหรับจัดประชุมฯบ้านดินเสมอจุดนี้ทางอำเภอจัดทำคล้ายๆโฮมสเตร์มีฝายเก็บกักน้ำ มีที่พักและห้องน้ำพร้อม อยู่ห่างจากชายแดนมาเลเซีย ประมาณ 2 กม. อากาศดีมาเย็นสบาย

เจ้าหน้าที่มาพร้อมกันประมาณ 60 คน เกษตรอำเภอก็เริ่มดำเนินการตามระเบียบวาระ ประเด็นที่ตั้งไว้เป็นเรื่องไม้ผล ประกอบด้วยทุเรียน ลองกองและมังคุด  โดยให้ค้นหาความรู้ในการปฏิบัติของเกษตรกรเริ่มตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนออกดอกถึงการเก็บเกี่ยว    โดยกลุ่มทั้ง 3 กลุ่มที่แบ่งไว้แล้ว  กลุ่มแรกไปที่แปลงมังคุด ของผู้ใหญ่กำพล  พรหมรังษี  กลุ่มที่ 2 ไปที่แปลงลองกองของนายจำลอง ไชยเอียด   และกลุ่มที่ 3 ไปที่แปลงทุเรียนของนายเฉลิม ยอดศรี

          หลังจากปฏิบัติการกันในแปลงป็นที่เรียบร้อย...งงเวลาล่วงเลยมาถึงเกือบบ่ายโมง    ก็เป็นเวลาอาหารเที่ยงมีแกงไก่บ้านกับหยวกกล้วยเถื่อน ...สุดยอดไปเลยครับ ตามด้วยผัดถั่วงอก เต๋าหู้เหลืองและปลาหลังเขียวทอด(ปลาเค็มขอรับ)และเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เล็กน้อย ...งอร่อยกันถ้วนหน้าทุกคนฝีมือแม่บ้าน จากจุดนี้จะเห็นความร่วมไม้ร่วมมือของคนในชุมชนในการที่จะช่วยเหลืองานเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร เราทำงานกับชาวบ้านถ้ามีความจริงใจให้เขา..ให้ความสำคัญกับเขา..เขาก็จะให้ความร่วมมือกับเราอย่างที่เห็น..ฮิๆ

            จากนั้นก็เป็นการอภิปรายกลุ่มย่อย ทั้ง 3กลุ่ม และนำอภิปรายในกลุ่มใหญ่โดยมีตัวแทนมานำเสนอ....ที่นี้ผิดจากที่อื่น เนื่องจากพื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณ1,200-1,500 เมตร ไม้ผลทุกชนิดจะสุกช้ากว่าที่อื่นประมาณ 1 เดือน เปลือกจะหนากว่าที่อื่นและที่ดินบริเวณนี้เป็นดินเปิดใหม่ เกษตรไม่ใช้ปุ๋ยเคมี (แบกขึ้นควนหนัก)ใช้แต่ปุ๋ยอินทรีย์การปฏิบัติอื่นๆไม่ค่อยมีเทคนิคพิเศษอะไร

การปฏิบัติสำหรับลองกองพอสรุปได้ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 หลังออกดอก 2-4 สัปดาห์ตัดแต่งดอก

ขั้นตอนที่ 2 .ใส่ปุ๋ยบำรุงผล

ขั้นตอนที่3   ตัดแต่งผล

ขั้นตอนที่ 4 บำรุงรักษา ป้องกันำกจัดวัชพืช ศัตรูพืช  

ขั้นตอนที่ 5 สังเกตุระยะการสุก และการเก็บเกี่ยว

ขั้นตอนที่ 6 การเก็บเกี่ยว

ขั้นตอนที่ 7 การคัดเกรด

รายละเอียดดูได้จากhttp://gotoknow.org/blog/mitree-suk2/202321

 

หมายเลขบันทึก: 363184เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

มาส่งกำลังใจค่ะพี่บ่าวยาว งานเกษตรยะลา เริ่มแล้วม่ายคะ จะรอเก็บตกนะคะ ;)

  • โอโหพี่เห็นบรรยากาศสวนที่เกษตรพาไปแล้วอยากไปบ้าง
  • แต่อยากกินนี่
  • แกงไก่บ้านกับหยวกกล้วยเถื่อน
  • ปลาหลังเขียวด้วย
  • หิวๆๆๆๆๆๆๆ

ลองเขียน K ที่เกิดขึ้นจากการแลกเปลี่ยนในเวที DW เชิงสรุปผลดูนะค่ะ..น่าสนใจดีนะ....

สวัสดี น้องปู

P

งานเกษตร ยังไม่มีจะจัดเดือนสิงหา

ตอนนี้มีงานสมโภชน์หลักเมืองและงานกาชาด 25-4 มิย.

จัดรอบศาลหลักเมือง..หน้าสนงเกษตร นี้แหละ

มีรูป...แล้วจะเอามาให้ดูที่หลัง

ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับ อ.ขจิต

P

  • แถวนี้อากาศเย็นตลอดปี ประมาณ 25องศา
  • พูดถึงเรื่องแกงแล้วนึกอยากขึ้นมา..หล่าว
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดี ท่านเกษตรอยู่จังหวัด

P

  • น่าสนใจดีนะ แค่เอาขยะ+เศษไม้มาทิ้งรวมกัน
  • ก็เกิดเป็นโครงการเลี้ยงปลวกแล้ว
  • เอาไว้เลี้ยงไก่และเลี้ยงปลา เข้าท่าดี
  • ขอบคุณมากครับ

สวัสดีครับคุณสิริวรรณ

P

  • แล้วผมจะลองเขียนดู เจ้าหน้าที่เราเสียอย่างไม่พูด(นิ่งอย่างเดียว)
  • พยายามกระตุ้นแล้วก็ไม่ค่อยได้ผล  โดยเฉพาะพี่เลี้ยงเกษตรอำเภอก็ไม่พูด
  • ผมพยายามให้เกษตรอำเภอ ออกมาคอมเม้นส์ ก็ไร้ผล
  • บางครั้งได้แต่ประสบการณ์จากเกษตรกร ซึ่งบางครั้งก็ไม่มีอะไรพิเศษ
  • เนื่องจาก เจ้าหน้าที่ตั้งคำถามไม่เป็น หรือไม่มีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆ
  • จนปัญญาจริงๆ

ขอบคุณมากครับ

เรื่องนี้ผมสนใจมากครับ
การตัดแต่งผลลองกอง ควรตัดช่อผลที่ลำต้นหรือช่อที่กิ่งครับ
และควรตัดแต่งเมื่อผลอายุได้กี่วันครับ

ในกรณีถ้าจะซื้อต้นพันธ์มาปลูก
เราสามารถแยกความแตกต่างระหว่างลองกองน้ำและลองกองแท้(แห้ง) ได้จากใบได้ไหมครับ

คุณสันติ

P

1. การตัดแต่งดอก ให้เหลือกระจุกละ 1ช่อเท่านั้น เลือกช่อที่แข็งแรงคือใหญ่ ยาว ห่างกัน ประมาณ 20-30 ซม (ด้านล่างกิ่ง) อายุตั้งแต่ 2-6 สัปดาห์

2. การตัดแต่งผล กระทำได้หลังจากสัปดาห์ที่ 4 ไปแล้ว ถ้าให้ดีเป็นสัปดาห์ที่ 6 ปลิดผลที่อยู่ติดขั้วประมาณ 3-4 ผลออก และปลายช่อซึ่งมีผลขนาดเล็กกว่าออกประมาณ 4-5 ผล

3.ถ้าให้ยากกว่านี้ คือตัดแต่งผลให้เหลือ 4 แถว โดยกรีดผลที่แถวที่ 1,3 เผือใหผลเหลือน้อแลผลโต ขนาดใกล้เคียงกันและสุกสม่ำเสมอ

ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัว ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของแต่ละคน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท