หลักฐานใหม่บ่งชี้วิวัฒนาการ"สัตว์บก" ขึ้นจาก"ทะเล"สู่"ดิน"เร็วกว่าที่คิด


เว็บไซต์ วารสารวิทยาศาสตร์ "เนเจอร์" เปิดข้อมูลใหม่ เป็นผลวิจัยชี้ว่า บรรพบุรุษของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม สัตว์เลื้อยคลาน และนกในปัจจุบัน มีถิ่นอาศัยอยู่ในทะเล และเริ่มขึ้นมาใช้ชีวิตบนบกเร็วกว่าที่เชื่อกันมาในอดีตหลายล้านปี

ผล วิจัยดังกล่าวแสดงหลักฐานรอยเท้าดึกดำบรรพ์ของสัตว์สี่ขามีกระดูกสันหลัง ขึ้นมาเดินบนพื้นดินชายฝั่งทะเลเมื่อราว 397 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นห้วงเวลาเก่าแก่กว่าที่นักวิทยาศาสตร์หลายคนคาดคิด

การค้นพบ ครั้งนี้จะทำให้ผู้เชี่ยวชาญต้องกลับมาทบทวนช่วงเวลาของการวิวัฒนาการกัน ใหม่ ในประเด็นว่าสัตว์มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่ในทะเลขึ้นมาอาศัยอยู่บนพื้น ดินครั้งแรกเมื่อใดก่อนที่จะวิวัฒนาการต่อไปเป็นไดโนเสาร์ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และมนุษย์

ก่อนการตีแผ่หลักฐานใหม่ นักวิทยาศาสตร์เคยคิดว่าเข้าใจดีเรื่องวิวัฒนาการของครีบมาเป็นเท้า และเชื่อว่าสัตว์ทะเลที่ขึ้นมาอาศัยบนบกเริ่มขึ้นเมื่อ 385 ล้านปีที่แล้ว สัตว์ชนิดนี้แยกสายวิวัฒนาการจากสัตว์ในตระกูลปลา แต่จากหลักฐานใหม่ที่ค้นพบทางตอนกลางของโปแลนด์ ทำให้เชื่อว่าวิวัฒนาการของสัตว์บกน่าจะเริ่มขึ้นเร็วกว่านั้นหลายล้านปี และน่าจะเป็นการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเล ไม่ใช่มาจากแม่น้ำหรือทะเลสาบ

การค้นพบฟอสซิลใหม่ยังดูเหมือนว่าเป็น การปฏิเสธทฤษฎีเดิม 3 ทฤษฎีว่าด้วยวิวัฒนาการของขามาแทนครีบ ทฤษฎีแรกเชื่อว่ามีความจำเป็นที่จะต้องขึ้นมาวางไข่บนพื้นดินให้พ้นจากสัตว์ นักล่าในทะเล ทฤษฎีที่ 2 ช่วยการกระโดดไปหาแหล่งน้ำอื่นๆ และทฤษฎีที่ 3 จะต้องมีขาเพราะไขว่คว้าหาออกซิเจนที่เริ่มมีปริมาณลดลงในน้ำ แต่จากหลักฐานล่าสุดดูเหมือนว่าสัตว์ชนิดนี้มีวิวัฒนาการมาเป็นอย่างดีก่อน ที่ระดับออกซิเจนในน้ำเริ่มลดลง
คำสำคัญ (Tags): #วิวัฒนาการ
หมายเลขบันทึก: 363183เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2010 14:49 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท