การบริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์


ความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งเลวร้าย ผู้บริหารต้องสร้างคุ้นเคยและนำความขัดแย้งมาใช้ในการบริหารอย่างชาญฉลาดและสร้างสรรค์

  

 

การบริหารความขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์

           ผู้บริหารต้องเผชิญหน้ากับความขัดแย้งตลอดเวลา เนื่องจากผู้บริหารต้องทำงานกับคน ซึ่งมีพื้นฐานของชีวิตชีวิต ความต้องการ ความรู้สึกนึกคิด ประสบการณ์ ลักษณะนิสัย ความพอใจที่แตกต่างกัน ธรรมชาติของความแตกต่างจึงทำให้เกิดความขัดแย้งกัน เมื่อเกิดปัญหาความขัดแย้ง ผู้บริหารไม่สามารถเพิกเฉยได้ อย่าปล่อยให้ความขัดแย้งทำลายความก้าวหน้า จงแปรมันเป็นพลัง แล้วนำมันกลับมารับใช้การบริหารให้สำเร็จ

 

ความหมายของความขัดแย้ง

       วันชัย  วัฒนศัพท์และรัตนาพร  วัฒนศัพท์ (2548 : 24) ได้ให้ความหมายของความขัดแย้งว่า ความขัดแย้งเป็นสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลสองฝ่ายที่มีปฏิสัมพันธ์กัน เกิดความคิดเห็นที่ไม่เหมือนกันในการตัดสินใจที่จะกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้บรรลุเป้าหมายของตนและสภาพการณ์นั้นไม่สามารถทำให้ทั้งสองฝ่ายเกิดความพึงพอใจ หรือพฤติกรรมของฝ่ายหนึ่งไปยับยั้ง สกัดกั้นหรือสร้างความคับข้องใจให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง

 

ความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับความขัดแย้ง

         ชาญชัย  อาจินสมาจาร(2543 : 2) ได้กล่าวถึงความเชื่อผิดๆ เกิดขึ้นเมื่อเราขาดความเข้าใจ ทำให้ทำงานภายใต้ความเข้าใจและมีมุมมองที่เป็นอคติ ต่อความขัดแย้ง 5 ประการคือ การมีความขัดแย้งคือสัญญาณของการบริหารที่แย่ เป็นความวิตกที่ต่ำต่อองค์การ ความโกรธเป็นลบและการทำลาย ความขัดแย้งถ้าปล่อยทิ้งไว้จะแก้ปัญหาตัวมันเอง ความขัดแย้งต้องถูกขจัด

 

ก่อนจะขัดแย้งก็มองวัวคู่นี้

สาเหตุของความขัดแย้ง

         เอดวาร์ด เดอร์ โบโน่ (Edward de Bono : 1987 อ้างถึงใน
เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ 2534 : 56 – 58) ได้แสดงความเห็นว่าความขัดแย้งเกิดจากสาเหตุสำคัญ 3 ประการ ดังนี้ คือ

          1. คนมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน เนื่องมาจาก อารมณ์ สภาพแวดล้อม ความจำกัดในการมอง เหตุผลเฉพาะหน้า มองกันคนละมุม การมีข้อมูลคนละอย่าง การมองไม่เต็มรูป ประสบการณ์ การคาดคะเน การรับรู้

          2.  คนมีความต้องการสิ่งต่าง ๆ ไม่เหมือนกัน เพราะว่าคนแต่ละคนมีแบบฉบับ(Style) ของแต่ละคน มีหลักการ(Principles) ของแต่ละคน ซึ่งเกิดจากความเชื่อ ค่านิยมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน จึงสะท้อนให้เห็นถึงเหตุผลในการกระทำหรือในการคิดที่ไม่เหมือนกัน

          3. คนมีแบบของความคิดเห็นไม่เหมือนกัน

การตอบสนองต่อความขัดแย้ง

          วันชัย  วัฒนศัพท์(2542 : 140) ได้กล่าวถึงธรรมชาติของมนุษย์ที่ตอบสนองต่อความขัดแย้ง พฤติกรรมของบุคคลเมื่อเผชิญกับความขัดแย้ง 5 ประการดังนี้

           1. การเอาชนะ(Competition) มุ่งเอาชนะ พฤติกรรมความร่วมมืออยู่ในระดับต่ำ ไม่คำนึงถึงความสูญเสียของผู้อื่น แสดงออกคุกคาม ข่มขู่ เพื่อชัยชนะในที่สุด

           2.  การร่วมมือ ( Collaboration) มุ่งเอาชนะในระดับสูงและแสดงพฤติกรรมการร่วมมือในระดับสูงด้วย เป็นพฤติกรรมที่จะให้เกิดความพอใจทั้งแก่ตนและบุคคลอื่น ให้เกิดการชนะ -  ชนะ ทั้งสองฝ่าย

           3. การประนีประนอม(Compromising) เป็นมิติการเอาใจตนเองและเอาใจผู้อื่น มุ่งเจรจาให้ทั้งสองฝ่ายพอใจบ้าง เป็นลักษณะหากจะได้บ้างก็ควรจะเสียบ้าง พบกันครึ่งทาง ซึ่งอาจเกิดความพอใจน้อยกว่าพฤติกรรมความร่วมมือ

           4. การหลีกเลี่ยง (Avoiding) เป็นการไม่สู้ปัญหาและไม่ร่วมมือในการแก้ปัญหา ซึ่งสังคมไทยมักจะหลีกเลี่ยงปัญหา ดังคำพูดที่ว่า“ถ้าเป็นความกัน กินขี้หมาดีกว่า” ซึ่งจะสร้างความขัดแย้งให้รุนแรงมากขึ้น แสดงให้เห็นว่าสังคมไทยไม่ชอบการเผชิญหน้า ต่อหน้าบอกไม่มีปัญหา แต่ลับหลังก็จะใช้กระบวนการนินทา

            5. การยอมให้(Accommodation) เป็นการแสดงพฤติกรรมมุ่งเอาชนะในระดับต่ำและแสดงความร่วมมือในระดับสูง เน้นการใจผู้อื่น เป็นผู้เสียสละ ดังคำกล่าวที่ว่า “เดินตามผู้ใหญ่ หมาไม่กัด”

 

กระบวนการบริหารความขัดแย้ง

            เสริมศักดิ์  วิศาลาภรณ์ ( 2534 : 116) ได้กำหนดกระบวนการบริหารความขัดแย้งเป็น 4 ขั้น ดังนี้

             ขั้นที่ 1 การวินิจฉัยความขัดแย้ง โดยพิจารณาจากสาเหตุ ความสัมพันธ์ระหว่างคู่ขัดแย้ง

             ขั้นที่ 2  การนิยามปัญหาความขัดแย้ง เป็นการพิจารณาธรรมชาติของความขัดแย้งว่า เป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่ม

              ขั้นที่ 3 การพิจารณาผลที่จะตามมาของความขัดแย้ง เป็นการพิจารณาว่าผลของความขัดแย้งที่จะเกิดมานั้นเป็นไปในทางดีหรือไม่ดี ผลที่จะเกิดในนขณะนี้เป็นอย่างไรและผลที่จะเกิดในอนาคตเป็นอย่างไร

                      ขั้นที่ 4 ยุทธศาสตร์ในการบริหารความขัดแย้ง เป็นการพิจารณาว่าจะใช้เทคนิคในการบริหารความขัดแย้งที่เหมาะสมกับปัญหาและสถานการณ์

หลักการแก้ปัญหาความขัดแย้ง

          วันชัย  วัฒนศัพท์(2547 อ้างถึงในวันชัย  วัฒนศัพท์และรัตนาภรณ์  วัฒนศัพท์ 2552 :63 - 64) ได้กล่าวถึงหลักการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่มีประสิทธิภาพ ดังนี้

           1. แยกคนออกจากปัญหา ทุกปัญหาจะเกี่ยวข้องกับประเด็นเนื้อหาและประเด็นสัมพันธภาพ ด้วยการแยกประเด็นเนื้อหา คือ ปัญหา ออกจากสัมพันธภาพ ซึ่งหมายถึงบุคคล คู่กรณี ที่อาจจะมีอารมณ์มุมมองหรือความเข้าใจผิดออกไป ทำให้คู่กรณีแต่ละฝ่ายมองเห็นตัวเองแต่ละด้านผู้บริหารต้องใช้ความอ่อนโยนและเอาจริงเอาจังกับปัญหา

           2. มุ่งประเด็นไปที่ผลประโยชน์หรือความต้องการของคู่กรณี ที่ไม่ใช่จุดยืน การทำความเข้าใจในความแตกต่างของผลประโยชน์และจุดยืนเป็นสิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ซึ่งมีแรงจูงจูงใจแฝงอยู่เพื่อแสดงจุดยืนในปัญหา

          3. หาทางเลือกที่จะให้ประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย ใช้หลักการระดมสมองเพื่อหาทางเลือกที่หลากหลาย บนพื้นฐานการไม่วิจารณ์หรือประเมินความคิดเห็นของแต่ละฝ่ายสำหรับการหาทางเลือกนั้น เป็นการสร้างทางเลือกที่มากที่สุด

          4. วางเกณฑ์ที่สามารถวัดได้อย่างชัดเจน ทำให้ข้อตกลงมีมาตรฐาน ที่จะให้ความเป็นธรรมกับคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ซึ่งเกณฑ์กติกาจะต้องให้ทั้งสองฝ่ายมีส่วนร่วมกำหนด

                      ความขัดแย้งไม่ใช่สิ่งน่ากลัวอีกต่อไป เมื่อเข้าใจการบริหารความขัดแย้ง ผู้เขียนไม่ได้หวังว่าบันทึกเล็กๆ นี้จะสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่เพิ่มเป็นสงครามแยกประชาชนไปแล้ว แต่อยากเห็นทุกฝ่ายอยู่เหนือปัญหาความขัดแย้ง โดยนำหลักการบริหารความขัดแย้งมาใช้อย่างสร้างสรรค์

 

เอกสารอ้างอิง
ชาญชัย  อาจินสมาจาร. แปรความขัดแย้งเป็นพลังสร้างสรรค์.กรุงเทพฯ:
             สร้างสรรค์บุ๊ค,2543
วันชัย  วัฒนศัพท์. ความขัดแย้ง หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา. ขอนแก่น :
             โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท ,2547
วันชัย  วัฒนศัพท์และรัตนาภรณ์  วัฒนศัพท์. การแก้ปัญหาความขัดแย้งใน
              สถานศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า,2552
เสริมศักดิ์  วิศาลาภรณ์. ความขัดแย้ง การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์.
               กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ตะเกียง ,2534

 

                     

หมายเลขบันทึก: 355584เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2010 16:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:50 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (53)

สวัสดีค่ะ..คุณพรชัย

  • การเมืองร้อนก็จริงอยู่..
  • หากคนไทยรักกันก็เป็นปัจจัยพื้นฐาน
  • ที่นำประเทศไทยให้ไปตลอดรอดฝั่งค่ะ
  • เป็นกำลังให้คนไทยทุกคนค่ะ
  • สุดท้าย..ก็คนไทยเหมือนกัน..ด้วยกัน..
  • ขอบคุณสำหรับบันทึกที่เป็นความรู้และสร้างสรรค์
  • รักษาสุขภาพนะคะ..

เรียนท่านพรชัย ....ขอบคุณสำหรับข้อมูลค่ะ เหมือนได้นั่งเรียนในชั้น กับอาจารย์ ในรายวิชา หลักในการบริ่หารการศึกษาอีกครั้งค่ะ

สวัสดีค่ะ

  • แวะมาเยี่ยมค่ะ
  • ไม่มีความรู้พอที่จะเม้นท์นะคะ  เพราะสมองฝ่อไหมดแล้วค่ะ

ตามหลังกันมา ตามพี่ครูคิมมาคะ  มาอ่านเรื่องความขัดแย้ง และการบริหารการขัดแย้งคะ  อ่านแล้วก็คิดตาม คิดตามแล้วก็มึนตึ๊บ   เอาเถอะคะ ผู้บริหารทั้งหลาย  ไม่ว่าบริหารบ้านเมือง บริหารองค์กรเรียนรู้วิธีการขัดแย้ง เถอะคะ   คงจะต้องมานั่งอ่านหลักการ ของท่านพี่ หลายรอบนะคะ

-ท่านพี่ ชั่งรู้จักเอามาให้อ่าน นะคะ  อยากให้หลายๆคน อ่านจังเลยคะ  จะได้ลดความขัดแย้งลงบ้างคะ

-ถ้าเป็นนักศึกษาอยู่ เขาคงยกตัวอย่างมาให้อ่าน  แล้วให้หาวิธีการแก้ปัญหาและความขัดแย้งมาฟรีเซ้นท์  หน้าชั้นอีกแล้ว  ตอนนี้ไม่เป็นนักศึกษาแล้ว ไม่อยากใช้สมองคะ

ขอบคุณ จำเนียรวดี

ที่จริงคนไทยรักกันอยู่นะครับ แต่คนไม่กี่คนที่ทะเลาะกันแล้วเอาคนอื่นมาเป็นเหยื่อ มาเป็นเครื่องมือ

ขอบคุณปิ่นธิดา

อาจจะเป็นวิชาการไปบ้าง เพราะปกติก็เขียนบทความในลักษณะนี้เป็นความเคยชินครับ

อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงานบ้างครับ

ขอบคุณคุณครูคิม

พี่เหนื่อยกับการคิดงานใหญ่ๆ จึงดูเหมือนเป็นเรื่องง่ายๆ สไตล์ครูคิมครับ

ขอบคุณ คุณสุ

ตอนนี้เป็นบัณฑิตแล้วจึงปลอดโปร่งโล่งใจไปหมด เป็นอิสระกับตนเองใช่ไหมครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมพี่ชายค่ะ และนำภาพน่ารัก ๆ มาฝาก เผื่อจะคลายความเครียดไปได้บ้าง
  • ภาพนี้มอบให้กับหลานต้นน้ำค่ะ

                         

 

ความขัดแย้งทางความคิด หากอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล และยอมรับเหตุผลที่ดีที่สุด นับเป็นทางออกที่ได้ทั้งสองฝ่าย

สวัสดีค่ะอ.พรชัย

ขอบคุณสำหรับบันทึกดี ๆ ที่ให้ความรู้มากมายค่ะ

(^___^)

โอ๊ะโอ..ขอบคุณบันทึกนี้ของท่านผอ.เป็นอย่างสูงค่ะ...ขัดแย้งแต่ไม่ขัดใจ..อะไรก็ผ่านไปได้ด้วยดี..อิๆคิดเองนะคะ...ระลึกถึงเสมอค่ะ....

ขอบคุณน้องบุษรา

น่ารัก ต้นน้ำชอบครับ

ขอบคุณคุณนิภารัตน์

การให้ความร่วมมือ คือ ชนะ -ชนะ

การประนีประนอม คือ แพ้ - แพ้

การยกให้ คือ แพ้ - ชนะ

ขอบคุณ คนไม่มีราก

อาจจะเป็นวิชาการบ้าง ผู้เขียนเองก็ถือโอกาสเรียนรู้การบริหารความขัดแย้ง

ขอบคุณคุณครูอ้อยเล็ก

ขัดแย้งแต่ไม่ขัดใจ แสดงว่ายอมให้

สวัสดี ครับ อาจารย์พรชัย

อาจารย์ใช้บันทึกนี้ เพื่อสื่อความได้...เหมาะกับเวลามาก ๆ นะครับ

....

แต่ในห้วงสภาวะการณ์แบบนี้ บางครั้งคนที่มีการศึกษาสูง ๆ ก็หยิบยกองค์ความรู้ที่มีอยู่ในตัวมาใช้ไม่ได้

ตรงกันข้าม...การกระทำลงไปที่มีจิตสำนึก หรือขาดจิตสำนึก กลับเป็นสิ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจน ในช่วงเวลา และหลายๆ วิกฤติเหตุการณ์

....วิชาการบางครั้ง ก็ถูกละเลย เพราะขาดจิตสำนึกเป็นที่ตั้ง

...การศึกษาและความรู้สามารถ หยิบยกไปใช้ได้อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง

...เพียงแต่...เพียรรู้..แต่ไม่เพียรกระทำ ก็ไร้ค่า

..

ขอบพระคุณ บันทึก ดี ดี ของอาจารย์ฉบับนี้ นะครับ

 

ด้วยความรักและเคารพอาจารย์ ครับ

ขอบคุณมากนะครับพี่พรชัย เป็นประโยชน์มากครับ..

มาส่งความระลึกถึงค่ะอาจารย์

ขอเก็บความรู้ดีๆไว้ศึกษาค่ะ

ขอบคุณค่ะอาจารย์

มาส่งความระลึกถึงค่ะ ขอเก็บความรู้ไว้เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไปค่ะ...ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์

แวะมารับความรู้เรื่องการจัดการกับความขัดแย้งก่อนเข้านอนค่ะ

มีประโยชน์มากๆ เลยค่ะ ถ้าจะนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพคงต้องอาศัยการฝึกฝนนะคะ

สังคมไทยไม่ชอบการเผชิญหน้า ต่อหน้าบอกไม่มีปัญหา แต่ลับหลังก็จะใช้กระบวนการนินทา

อ่านประโยคนี้แล้วยกมือสนับสนุนทั้งสองมือเลยค่ะ 555

ขอบคุณท่านแสงแห่งความดี

ที่จริงเขียนไว้นานแล้วแต่ยังไม่กล้าที่จะนำมาลงในบันทึก กลัวท่านผู้รู้จะหาว่าไปสอนจระเข้ว่ายน้ำครับ

เมื่อเกิดวิกฤติความขัดแย้งผู้บริหารต้องเปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นโอกาสดังท่านว่า จริงครับ

ขอบคุณคุณราชิต สุพร

เหมือนที่ท่านพูดว่า นำข้อบกพร่องของคนอื่นมาปรับปรุงตนเอง

ขอบคุณ คุณน้ำชา

นำไปใช้ในหน่วยงานได้ครับ ความขัดแย้งเป็นสิ่งปกติ หากเราเข้าใจมัน

ขอบคุณคุณครูปริมปราง

คนเป็นครูอยู่ท่ามกลางผู้รู้ ความคิดเห็นหลากหลาย อาจจะเป็นประเด็นขัดแย้งได้

เราจะได้รู้เท่าทันและบริหารได้อย่างราบรื่นครับ

P ขอบคุณ คุณหมอดาว

                       คุณหมอสรุปนิสัยคนไทยที่ชอบการนินทาเป็นปัญหา

ที่ทำให้ความขัดแย้งบานปลาย จริงครับในเวลาแก้ปัญหาไม่พูด

สวัสดีค่ะ

เข้าไปบันทึกพระคุณเจ้าหรรษา เลยทราบว่าพระคุณเจ้าขอที่อยู่ ผ.อ. อย่างละเอียด

ไม่ทราบผ.อ.เข้าไปอ่านอีกครั้งหรือยังคะ

มีข่าวดีมาเล่าด้วยค่ะ สอบผ่านข้อเขียนแล้ว ตอนนี้ยิ่งเตรียมตัวสอบสัมภาษณ์อย่างหนัก (หนักกว่าข้อเขียนอีกค่ะ) เพราะไม่อยากให้ตกสัมภาษณ์ค่ะ

ขอเป็นกำลังใจให้ท่านบริหารงานอย่างเต็มที่น่ะค่ะ

ยกมาเอาใจช่วยเป็นขบวนการเลยค่ะ...

มาชม

เอาความขัดมาแย้งกันให้เห็นทางออกนะครับผม...อิ อิ อิ

ขอบคุณ คุณณัฐรดา

ดีใจด้วยครับ สัมภาษณ์ที่ผมถูกถามสมัยสอบเรียนโท เขาถามว่ามีเงินเรียนไหม ทำไมจึงอยากเรียนที่สถาบันนี้

ขอบคุณ คุณครูบันเทิง

ขอบคุณทีมงานที่มาให้กำลังใจครับ น่ารักทุกคนเลย

ขอบคุณ ดร ยูมิ

แก้ขัดก่อนแล้วแย้งจะผ่อนคลายครับท่านอาจารย์

สวัสดีครับท่าน ผอ.

  • ช่วงนี้การเมืองวุ่นวายครูจ่อยเลยพาครูอ้วนหนีไปเที่ยวผาแต้ม
  • เพื่อคลายเครียด
  • เลยนำภาพธรรมชาติสวยๆมาฝากพร้อมนายแบบนางแบบ

01052010178

  • โชคดีมีสุขเด้อท่านเด้อ

สวัสดีค่ะท่า ผอ.

  • แวะมาเยี่ยมเยียนค่ะ
  • อยากให้ทุกฝ่ายอยู่เหนือความขัดแย้งค่ะ
  • ขอบพระคุณค่ะ
  • อากาศร้อน ๆ ดูแลสุขภาพให้ใจเย็น ๆ นะคะ

สวัสดีครับ อาจารย์พรชัย

ความขัดแย้งคือช่องทางแห่งปัญญา และความรู้ใหม่ๆครับ แต่ต้องบริหารความขัดแย้งให้เป็นการมองต่างมุมครับ ไม่ใช้มองฝ่ายตรงข้าม

การยึดติดกับความพอใจไม่พอใจ เป็นจุดเริ่มต้นของความขัดแย้ง  เพราะฉะนั้น การเปิดใจยอมรับกัน น่าจะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยลดความขัดแย้งได้บ้าง

ท่าน ผอ. สบายดีนะคะ  เปิดเทอมแล้ว  ภาระงานก็งยุ่งเหมือนเดิมนะคะ

ด้วยความระลึกถึงค่ะ

 

ขอบคุณ คุณครูจ่อย

ครูจ่อยนี่โรแมนติกจัง ได้พาครอบครัวไปเที่ยวอบอุ่นดีครับ

ขอบคุณ คุณครูอิงจันทร์

ใช่ครับการอยู่เหนือความขัดแย้ง คือการบริหารความขัดแย้งให้มีประโยชน์ต่อองค์กรครับ

ขอบคุณ เดชา

การบริหารความขัดแย้งก็คือการบริหารภูมิปัญญาครับ

ขอบคุณ คุณครูใจดี

ถ้าเปิดใจกว้าง เปิดใจยอมรับกับ ความขัดแย้งไม่เกิดขึ้นแน่นนอนครับ

 

          http://213.188.106.66/serie01.htm  

เวปฟังเพลงคลาสสิคค่ะท่านลองเปิดดูน่ะค่ะ ถ้าไม่ได้อย่างไรก็ค่อยว่ากันอีกทีค่ะ

ขอบคุณค่ะ...อย่ามองความขัดแย้งเป็นศัตรู แต่เลือกดูสิ่งดีๆมาปรับใช้...นะคะ

           

                         สวัสดีค่ะ  แวะมาเยี่ยม  เปิดเรียนแล้วยังคะ

                   ส่งเจ้าตัวปัญหาแห่งความขัดแย้ง  มาให้ชม

                  เพราะเห็นว่าสาเหตุใหญ่มาจากเจ้าตัวนี้  (อยากได้  โลภมาก)

             

                                มีความสุขนะคะท่าน  ผอ.

สวัสดีครับท่านผอ.พรชัยขอบคุณที่ให้ความรู้เรื่องความขัดแย้งในทางการบริหาร

ทุกที่มีการขัดแย้ง

แต่แก้ปัญหาความขัดแย้งได้ด้วยการไกล่เกลี่ยครับ

ขอบคุณ คุณครูบันเทิง

เปิดได้แล้วครับ จะบันทึกลงแผ่นให้ครูเปิดให้เด็กอนุบาลฟังครับ ขอบคุณมากครับ

ขอบคุณ พี่นงนาท

จริงอย่างพี่ว่าครับ "อย่ามองความขัดแย้งเป็นศัตรู แต่เลือกดูสิ่งดีๆมาปรับใช้"

ขอบคุณคุณครูวิไล

เงินก็มีส่วนทำให้เกิดความขัดแย้ง เพราะความโลภทำให้ตามืดมัว

สบายดีนะครับ งานยุ่งช่วงนี้ก็หลักสูตร

ขอบคุณพี่วอญ่า

การไกล่เกลี่ยต้องใช้คนกลางที่เก่งและเป็นธรรมครับ

สวัสดีครับ ไม่ได้มาเยี่ยมนานคิดถึงครับ

สวัสดีค่ะ ท่านผอ. ความขัดแย้งถ้าสร้างสรรค์ก็จะเกิด นวตกรรมใหม่...เกิดสิ่งใหม่...

ยังระลึกถึงนะคะ...คงสบายดีนะคะใกล้เปิดเทอมแล้วค่ะ...

งานยุ่งมากค่ะ น้องๆไปแต่งงาน ลาคลอดบ้าง เวรก็เลยหนัก ไม่ค่อยได้ท่องโลกไซเบอร์ค่ะ

 

ขอบคุณ คุณเบดูอิน

ท่านคงสบายใจขึ้นบ้างที่บ้านเมืองมีทิศทางที่ปรองดอง คงเป็นเพราะท่านได้เสนอทางเลือกให้ทุกฝ่าย

ได้หาทางออก ยังระลึกถึงท่านเช่นกันครับ

ขอบคุณคุณแดง

งานคุณแดงคงยุ่งช่วงนี้ได้ชมดอกไม้คุณแดงนำมาฝากก็ชื่นใจครับ

มีความสุขการช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากทางกายใจครับ

แวะมาอ่านเสริมความรู้ครับ ทักทายพี่พรชัยรอบดึกครับ..

ดูแลสุขภาพนะครับ..

 

http://gotoknow.org/blog/rachit7/354483

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท