นิเทศแนวใหม่ จะทำกันอย่างไรดี


การนิเทศการศึกษา

การนิเทศแนวใหม่  จะทำกันอย่างไรดี

 

วันที่ 6-7 พฤษภาคม 2553  ผมได้รับมอบหมายให้ไปประชุม  เรื่อง การกำกับติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานตามกิจกรรมพัฒนาระบบนิเทศแนวใหม่  ที่โรงแรมบางกอกพาเลส กทม.

 ก็เริ่มคิดในเรื่องนี้  คิดไปก็เขียนไป  ดูกำหนดการแล้วก็ดูเหมือนว่าเป็นเรื่องเดิมๆ ที่น่าสนใจ

สิ่งที่น่าจะใหม่อยู่บ้างก็ตรงที่  “ระบบนิเทศแนวใหม่”  ซึ่งผมในฐานะผู้ที่จะไปเข้าร่วมประชุมก็ไม่รู้ว่าต้นคิดในระดับ สพฐ. ท่านคิดกันอย่างไร   ก็จะไปฟังท่านครับ

 และก็ไม่แน่ใจว่าในที่ประชุมผมจะให้โอกาสสมาชิกเสนอแนวความคิดเห็น หรือไม่ ก็ขอแสดงความคิดเห็นไว้ในที่นี้ ก่อนครับ

 พูดถึงการนิเทศ ผมคิดอย่างนี้ครับ

 ความหมาย  การนิเทศทั่วไป คือการทำอะไรที่ทำให้คนอื่นเขาได้ความคิดอ่านจากเราไปใช้ในการพัฒนางาน พัฒนาวิธีคิด พัฒนาคุณภาพชีวิตของเขา  ผลพวงก็คือมีความประทับใจในตัวเรา อยากพูด อยากคุย  อยากเป็นมิตรกับเรา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเราอีกต่อไป

ปัญหาการนิเทศก็คือ  การทำไม่ได้ตามความหมาย  ซึ่งมีมโหฬารสาเหตุ  

การนิเทศแนวใหม่ ตามความคิด  ที่จะไปประชุมกัน  ผมยังไม่ทราบว่าหมายถึงอะไร

ถ้าถามผม  ผมก็จะตอบว่า ก็คือ การเพิ่มจำนวนคนที่จะประทับใจ ในตัวเรา อยากพูด อยากคุย  อยากเป็นมิตรกับเรา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเราอีก  ถ้าเจาะไปที่โรงเรียน

คนที่ว่าก็คือ คุณครู

ความคิดอ่านก็คือ ความคิดอ่านที่เกี่ยวกับ วิธีสอน หรือ วิธีจัดการการเรียนรู้  วิธีการดูแลช่วยเหลือนักเรียน   วิธีการบริหารโรงเรียน  วิธีการบริหารการเรียนรู้  วิธีสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ และสารพัดวิธีการ  ที่จะทำให้โรงเรียนสามารถจัดการเรียนรู้ได้ ตามเป้าหมาย (ตามความคิดของผม)  คือ  ทุกเรื่องที่สอน หรือ จัดการเรียนรู้  นักเรียนจะต้อง มีคุณธรรม รู้จริง รู้ลึก รู้กว้าง เชื่อมโยงได้ สร้างองค์ความรู้ ผลงาน ชิ้นงาน อย่างสร้างสรรค์ได้ นำไปใช้ในการตอบสนองทุกสถานการณ์ ได้อย่างมั่นใจ ทั้งในระดับห้องเรียน ระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และนานาชาติ

เขียนอย่างนี้ ก็ดูเหมือนว่าจะทำให้ทุกคนเป็นคนดี คนเก่ง เท่ากันหมด  อันนี้ก็ไม่ใช่

มันเป็นไปไม่ได้  จะให้สมบูรณ์อีกหน่อย ก็อาจะพูดว่า “.......ตอบสนองทุกสถานการณ์ ได้อย่างมั่นใจ  ตามศักยภาพพื้นฐานของแต่ละคน........”

เป้าหมาย  ที่เราพูดกันในการใช้หลักสูตร ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการสอบระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ฯลฯ ที่เห็นเป็นคะแนน แสดงผลสัมฤทธิ์ ก็ว่ากันไป

 ถ้ามีการประเมินผลตามสภาพจริงโดยคุณครูผู้สอน และระบบของโรงเรียน ตามเป้าหมายที่ผมว่าไว้ข้างต้น  ด้วยการสังเกต สัมภาษณ์  ฯลฯ  ก็จะช่วยให้เห็นคุณภาพแท้ของผู้เรียน

การที่จะคิดถึง  วิธีการนิเทศแนวใหม่  จึงควรจะเริ่มต้นด้วยเป้าหมาย ทั้งเป้าหมายด้านผลผลิต  คือ คุณภาพของผู้เรียนที่ต้องการ  และเป้าหมายเชิงปริมาณ คือจำนวนครูที่เป็นเป้าหมายการนิเทศ  และ และคุณภาพครู  ที่จะเกิดขึ้นจากการนิเทศ แล้วส่งผลต่อคุณภาพด้านผลผลิต

 

 วิธีการนิเทศ ที่เราทำกันมามีอะไรบ้าง

  1. จัดประชุม อบรม สัมมนา   
  2. เดินทางไปให้คำปรึกษา แนะนำที่โรงเรียน สาธิต
  3. จัดทำตำรา  เอกสาร  สื่อ คู่มือ ให้ใช้
  4. ทำการวิจัย เสนอผลงานให้พิจาณาเลือกใช้

 

ซึ่งผมก็ใช้วิธีการนี้มากมาย  แต่ที่รับไม่ได้ในการนิเทศแนวใหม่ ที่มาเจอหลังปฏิรูปการศึกษา ก็คือ นิเทศแบบเช็คลิสต์ ผมเรียกว่า Checklist Supervision

คือทำแบบสอบถาม  (หรือที่มักจะเรียกกันว่า เครื่องมือนิเทศ)  แล้วนำ ไปพบครู ผู้บริหาร  เช็คๆๆ แล้วนำกลับมา สรุปบ้าง ไม่สรุปบ้าง สรุปแล้วถามว่าเอาไปทำอะไรต่อถ้าทำแล้ว จะเกิดผลดีต่อครู ส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนที่ดีขึ้นอย่างไร  แล้วจะสอดคล้องกับความหมายการนิเทศที่ผมกล่าวไว้ข้างต้น ไหม

แล้วแนวใหม่ที่ว่าจะเป็นอย่างไร

                               

กรณีต่อไปนี้ก็อาจจะเป็นแนวให้ท่านทั้งหลายไปคิดต่อยอดเพื่อให้เป็นนิเทศแนวใหม่ ได้บ้าง

ในฐานะศึกษานิเทศก์ ผมทำอะไรบ้าง ที่คิดว่าน่าจะเป็นวิธีใหม่  ก็จะเล่าให้อ่าน

2546

- นำเอกสาร ข้อเขียนขึ้นเว็บไซต์ www.nitesonline.net  

2550

-เขียนบล็อกในเว็บไซต์นี้ http://gotoknow.org/blog/chatboonya

-อบรมนักเรียนผู้นำการเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์ผ่านเว็บไซต์ http://nitesonline.net

 (ยังมีร่องรอยการรายงานอยู่ในเว็บไซต์ครับ)

2551

- ร่วมงานโครงการ Connecting Classroom กับบริติชเคาซิล โดยใช้เว็บไซต์ http://cc.britishcouncil.org ทำหน้าที่ผู้ประสานงานโครงการ

    +ร่วมกับ บริติช เคานซิล จัดประชุมครู  ระหว่างครูอังกฤษ 20 คน กับครูเชียงใหม่ 20 คน ผ่านระบบ Video conference (Skype)

    +ร่วมกับ บริติช เคานซิล จัดประชุมนักเรียน  ระหว่างนักเรียนอังกฤษ 20 คน กับ นักเรียนเชียงใหม่ 20  คน

2552

    +ร่วมกับโรงเรียนในโครงการ 10 โรงเรียน และ บริติช เคานซิล จัดลอยกระทงข้ามประเทศ (Cross Country Loykratong Festival)  มีรายละเอียดอยู่ที่นี่ครับ 

http://gotoknow.org/blog/chatboonya/170609

    +แลกเปลี่ยนผ่าน  forum ในเว็บไซต์  http://cc.britishcouncil.org

    +ติดตามประเมินผลความก้าวหน้าในการเข้าร่วมกิจกรรมของนักเรียน ครู ที่แสดงข้อมูลสถิติ  ที่ปรากฏอยู่บนเว็บไซต์

-แลกเปลี่ยนผ่าน facebook  ชื่อมใน facebook คือ Chat Boonya

http://www.facebook.com/pages/Connecting-Classrooms/147968598602?ref=mf#!/profile.php?id=100000111340379&ref=profile

2553

- วิทยากรการอบรมครูโรงเรียนเขาสมิงผ่านเว็บไซต์  ที่ผมเสนอไว้ใน

http://gotoknow.org/blog/chatboonya/195345

รวมๆ แล้ว  ผมใช้ ICT ในการทำงานในหน้าที่ศึกษานิเทศก์  ผมทำอะไรบ้าง

  1. ส่งเอกสาร สื่อ ให้ครูใช้ผ่านเว็บไซต์
  2. ใช้กระดานข่าว (blog,forum,facebbok,webboard)  เสนอแนวคิดการพัฒนาทางการศึกษา
  3. สาธิตการสอนออนไลน์อย่างง่ายๆ สอนนักเรียน ป.5 ป.6(เพราะยังไม่รู้อะไรที่มากกว่านี้)
  4. จัดประชุมอบรมสัมมนา และจัดงานแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรม โดยใช้ระบบวีดิโอคอนเฟอร์เร้นท์  มัลติมีเดียร์ (video conference/email/mobile phone etc.)
  5. ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานจากข้อมูล สถิติ ที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ของ บริติช เคานซิล

เท่าที่ทำมานี้ เกิดผลความสำเร็จอย่างไร ผมก็ตอบได้บ้าง  ไม่ได้บ้าง เช่น 

ข้อ 1 ตอบไม่ได้  แต่ไปที่ไหน ก็มักมีคนมาบอกว่าได้ดาวโหลดของพี่ ของอาจารย์ไปใช้   ข้อ 2 ก็ตอบไม่ได้   แต่มีคนมา  add เป็น friends เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  

ข้อ 3 ตอบได้ 

ข้อ 4 ตอบได้   ที่ตอบได้ส่วนหนึ่งเป็นเพราะข้อ 5 

แม้จะตอบได้บ้างก็ ยังไม่เป็นที่พึงพอใจ เพราะผมไม่แน่ใจว่าจะส่งผลต่อผู้เรียนอย่างไร

ถ้าจะตอบได้ก็คงต้องอาศัยระบบการนิเทศ ทั้งระบบจากระดับนโยบายชาติ ไปถึงโรงเรียน

แล้วจะนำ จะนำ  ICT ไปสร้างนิเทศแนวใหม่อย่างไร  ช่วยระดมสมองกันไหมครับ  ผมคงทิ้งไว้แค่นี้ก่อน   รอฟังจากท่านบ้าง

สวัสดีครับ

ชัด บุญญา

ทราบเมื่อสักครู่นี้ว่างาน วันที่ 6 -7 พฤษภาคม 2553 จะเลื่อนไป 17-18 พฤษภาคม 2553  ก่อนถึงวันนั้น ก็น่าจะได้แนวคิดของบางท่านที่เข่ามาไปคุยกันในวันนั้นบ้าง

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 354867เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2010 15:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 10:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

วันนี้วันที่ 9 มิถุนายน 2553 มารับฟังการบรรยาย เรื่อง PCK กับการนิเทศเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน การเขียนรายงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยท่าน อาจารย์ ดร.ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์ จากมหาวิทยลัยมหิดล ที่มาให้การอบรม แก่ คณะศึกษานิเทศก์ roving team โรงเรียนในฝัน 60 คน

นี้คือคำขอบคุณวิทยากร ที่ผมได้รับมอบหมายให้เป็นผู้แทนกล่าวคำขอบคุณ

PCK คืออะไร ลองไปค้นหา หรือขอเอกสารได้จากศึกษานิเทศก์ ที่ไปเข้าประชุม นะครับ

เรียน ท่าน อาจารย์ ดร.ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์ ที่เคารพ

สาระที่ท่านได้นำมาให้พวกเราในวันนี้ นับเป็นสาสระที่มีคุณค่า

ที่พวกเราจะได้ทำงานตรงเป้า คือการนิเทศเพื่อพัฒนาครูที่ สองด้าน คือ เนื้อหาที่ครูสอนละกระบวนการสอนของครู เป็นโอกาสที่ทำให้เพื่อเราตระในการทำงาน เล็กๆ ลึกๆ เกิดข้อค้นพบใหม่ๆ ที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาครู ที่มีคุณภาพแท้ ลดการทำงานประงานเภทใหญ่ๆ คนเยอะๆ ที่ยากต่อการประกันความสำเร็จ

จริงอยู่พวกเราที่มาในวันนี้ ถือว่าปรมาจารย์กันทั้งนั้น แต่ความรู้ที่ได้ในวันนี้ คิดว่าจะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เราทำงานที่มีคุณภาพ เพื่อครูที่มีคุณภาพ ส่งผลถึงนักเรียนที่มีคุณภาพ

ขอเชิญชวนพวกเราแสดงความขอบคุณต่ออาจารย์ด้วยครับ

ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอน

Pedagogical Content Knowledge (PCK)

ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์ และ วรรณทิพา รอดแรงค้า เขียนไว้ในวารสารศึกษาศาสตร์ปริทรรศน์ ปีที่ 20 สพฐ. นำมาเป็นเอกสารการอบรมเชิงปฎิบัติการวิจัย และประเมินโครงการโรงเรียนในฝัน เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2553 ที่โรงแรมริชมอนด์ จังหวัดนนทบุรี

ในเอกสาร 19 หน้ากระดาษเอสี่ กล่าวไว้ว่า ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนเกิดจากการบูรณาการระหว่างความรู้ที่เป็นพื้นฐานเพื่อใช้ประกอบการสอนสองอย่างคือ ความรู้ในเนื้อหา และความรู้เกี่ยวกับวิธีสอน แนวคิดนี้มีการวิจัยในต่างประเทศ โดย Veal,1998; Bell et al.1998; Zembal-Saul et al; Kinark,2002 พบว่าทำให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น

แนวคิดสำคัญจากเอกสารดังกล่าว ได้กล่าวถึงองค์ประกอบของความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอนไว้ 8 ประการ ดังนี้ 1. ความรู้ในเนื้อหา 2. ความรู้เกี่ยวกับวิธีสอน 3. ความรู้เกี่ยวกับแนวคิผู้เรียน 4. ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตร 5. จุดมุ่งหมายการสอน 6. ความรู้เกี่ยวกับการวัดผล 7. ความรู้เกี่ยวกับบริบทการเรียนรู้ 8. ความรู้เกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้

อ่านโดยรวมๆ แล้ว สรุปได้ว่า ความรู้ในเนื้อหาผนวกวิธีสอน เป็นระบบคิดใหม่ที่มาจากแนวคิดเดิมๆ ที่สามารถนำมาเป็นหลักคิดสำหรับการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้คม ชัด ลึกขึ้น แนวคิดนี้จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ที่จะนำไปใช้ในการพัฒนาตนเองของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้โดยตรงคือ ครู และผู้ที่สนับสนุนส่งเสริมครูให้พัฒนาการจัดการเรียนรู้ นับตั้งแต่ สพฐ; ศน. ผู้จัดการการเรียนรู้ระดับโรงเรียน นับตั้งแต่ ผอ. รองฝ่ายวิชากร หัวหน้ากลุ่มสาระ ฯลฯ

ดร.ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์

ขอบคุณ ท่าน ศน.ชัด บุญญา คณะศึกษานิเทศก์ roving team และ ดร.บุญทอง เป็นอย่างสูง

ที่หยิบยื่นโอกาสให้ผมได้พบปะทุกท่าน ผมขอกราบขอบพระคุณสำหรับคำขอบคุณของท่านที่เป็นน้ำทิพย์หล่อเลี้ยงจิตใจให้ผมมีกำลังใจในการทำงานต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 18 ก.ค. นี้ผมจะไปเป็นวิทยากรเกี่ยวกับการนิเทศด้วยกรอบ PCK ให้ สพท.ชลบุรีเขต 1 ซึ่งจัดโดยท่าน ศน.คนึงนิจ เป็นครั้งแรกสำหรับผมในการนำเสนอกรอบการนิเทศด้วย PCK อย่างเป็นรูปธรรม ทำได้จริง แต่จะเกิดผลอย่างไร ต้องลองตามดู ต้องขอบคุณ "พี่นิจ" ด้วยที่กรุณาคิดโจทย์ใหม่ๆ เกี่ยวกับการนิเทศการสอนที่ท้าทายเป็นอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม ผม หรือใครคนใดคนหนึ่งเพียงคนเดียว คงไม่สามารถพัฒนาการศึกษาของประเทศชาติเราให้ก้าวหน้าได้เท่าที่ควร

ผมคิดว่า เราต้องก้าวไปด้วยกัน การขับเคลื่อนการศึกษา(โดยเฉพาะการนิเทศการสอนในบริบทของ ศน.) เราต้องทำงานเป็นเครือข่ายให้ได้ และเราต้องหา และ สร้าง "คนทำงาน" ให้ได้ และต้องให้กำลังสนับสนุนแก่เขาเหล่านี้

คำพูด และคำถามที่ผมมักจะถามผู้เข้ารับการอบรมเสมอๆ ก็คือ ผมไม่สนใจว่า ท่านกำเนิดมาอย่างไร เพราะเราเลือกเกิดไม่ได้ แต่ผมถามว่า ตอนนี้ท่านกำลังทำอะไร ให้กับสังคมและประเทศของเราบ้าง และท่านจะไป (เกษียณหรือแม้แต่จากโลกนี้ไป) อย่างไร ท่านจะทิ้งคุณูปการใดๆ ไว้บ้างเพื่อให้ลูกหลานของเราได้ระลึกถึง ประเทศของเรากำลังต้องการคนทำงาน

เรามาทำงานเพื่อประเทศกันเถอะ

ดร.ขจรศักดิ์ บัวระพันธ์

สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ ม.มหิดล

เรียนท่าน ท่านอาจารย์ ดร.ขจรศักดิ์

ขอบคุณอย่างยิ่งที่อาจารย์เข้ามาโพสต์ ตอนนี้อาจารย์คงกลับมาจากชลบุรีเขต 1 แล้ว ขอชื่นชมกับชลบุรีเขต 1 ที่เชิญอาจารยืไปพูดคุยในเรื่องนี้ เพราะ PCK ที่อาจารย์ไปแนะนำ จะเป็น ประโยชน์อย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนรู้และการนิเทศ

ในการทำงานของครู จะเข้มแข็งหรือไม่ อยู่ที่ 2 เรื่องหลักคือ ความรู้ด้านเนื้อหาที่สอน และ วิธีสอนส่วนประกอบอื่นๆ เป็นเรื่องรอง เช่น พฤติกรรมครูดี ครูที่นักเรียนรัก จูงใจให้อยากเรียน บรรยากาศของ โรงเรียน และห้องเรียนที่เอื้อต่อการเรียนรู้ ความพร้อมของสื่ออุปกรณ์ประกอบวิธีสอนของครู ที่ได้รับ การสนับสนุนจากโรงเรียน และจากต้นสังกัด รวมไปถึงขวัญกำลังใจของครู

สำหรับ 2 เรื่อง หลักใน PCK เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกด้านเนื้อหาสาระที่จะะสอน อาจจะไม่ยากเท่ากับ วิธีการสอน ถ้าหากครูเรียนเนื้อหาสาระนั้นเป็นวิชาเอกมา ถ้าไม่เรียนเป็นวิชาเอกมาเป็นเรื่องยากที่จะสอนให้ดี

การนิเทศแนวใหม่ ของ สพฐ. ที่ทำกันอยู่ในขณะนี้ที่มีการเน้นการทดสอบความรู้ของครู ก็คงต้องการเน้น ถึงความสำคัญของความรู้ด้านเนื้อหาสาระที่สอนซึ่งเป็นสิงที่ดี ด้านวิธีสอนจึงเป็นเรื่องที่ต้องเสริม แก่ครู ที่เก่งด้านเนื้อหาอยู่แล้ว การเสริมอาจทำได้ทั้งด้วยตัวครูเอง ด้วยแผนพัฒนาตนเอง(IDP) ดังตัวอย่างของครูโรงเรียนเขาสมิงพิทยาคม ที่ผมนำมาเป็น แนวทางในhttp://www.nitesonline.net และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ เข้าไปช่วยโดยตรง เหมือน ดังที่ ท่าน อาจารย์ขจรศักดิ์ ช่วยอยู่แล้วแรงหนึ่ง ถ้าจะให้เข้มข้นมากขึ้น ผู้บริหารโรงเรียน และต้นสังกัดของโรงเรียนต้องเกิดความตระหนักว่า วิธีการสอนเป็นเรื่องสำคัญ ควบคู่กับเนื้อหาการสอน จึงต้องพัฒนาวิธีการสอน โดยเฉพาะการสอนคิดวิเคราะห์ การสอนที่ไม่ใช่การบอกความรู้ ซึ่งขณะนี้โรงเรียนมาตรฐานสากล 500 โรงเรียน กำลังนำ ทฤษฎี TOK เข้ามาใช้เพื่อการนี้

ท่านที่เป็นศึกษานิเทศก์ ก็เช่นเดียวกัน การจะนิเทศได้ดีขึ้นก็ต้องรู้เนื้อหาที่จะนิเทศจริงๆ อย่างทะลุปรุโปร่ง แล้วก็วิธีการนิเทศ ผมได้เขียน เรื่องการ โค้ชการสอน ไว้ใน http://www.nitesonline.net ก็เป็นส่วนเล็กๆ ส่วนหนึ่งสำหรับการนิเทศแนวใหม่ได้บ้าง แต่จะนิเทศให้ เป็นที่ยอมรับได้ ศึกษานิเทศก์ ก็ต้อง มีพฤติกรรมการนิเทศที่ดี มีสื่ออุปกรณ์ดี ในทำนองเดียวกัน

กับการสอน

ครับก็ขอเชียร์ ให้ ท่านอาจารย์ขจรศักดิ์ ส่งเสริมการใช้ PCK ต่อไป และก็ขอเชียร์ให้ ผู้บริหารการศึกษา เขตพื้นที่ และโรงเรียน ใช้ KCK ไปเป็นหลักในการพัฒนาการเรียนการสอน และการนิเทศ นะครับ

สวัสดีครับทุกท่าน ที่มาเยี่ยมเยือน

วันนี้วันที่ 26 สิงหาคม 2553

เป็นวันที่เข้ารับการอบรมเข้ม เพื่อพัฒนาศึกษานิเทศก์ ของ สพฐ. ซึ่งอบรมมาตั้งแต่วันที่ 23 สิงหาคม ที่โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นจุดอบรมภาคเหนือตอนบน 8 จังหวัด มี ศน. จากจังหวัดตาก อุดรธานีมาร่วมงานนี้ด้วย

ก่อนปิดการอบรมผู้ประสานงานการจัดอบรมขอให้ช่วยกล่าวปิด ในฐานะผู้ที่มีอายุมากที่สุด ก็รับคำเชิญ ก่อนขึ้นเวทีได้เตรียมสาระที่จะพูดไว้ เพื่อพร้อม ขึ้นจอ และบันทึกไว้ในที่นี้ แต่ระบบออินเตอร์ไม่สะดวก จึงนำกลับมาโพสต์ที่บ้าน

นี้คือสาระที่พูดไว้ ได้บอกในที่ประชุมไว้ว่าผมยังมีเวลาที่จะถูกให้ออกจากราชการอย่างเป็นทางการในปี 2554 หากจะมาแลกเปลี่ยนกันก็ยังพอมีเวลา จึงหวังว่าที่นี้จะเป็นที่พบปะกันต่อไป จะพูดจะคุย จะถามอะไร หรือจะแนะนำอะไรแก่ผม ก็เชิญได้นะครับ

ด้วยความเคารพทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม ถ้าได้ทักทายกันสักคำสองคำก็ดีนะครับ

ชัด บุญญา

"ท่านอาจารย์จันทร์เพ็ญ หัวหน้าคณะวิทยากร ท่านวิทยากร และท่านศึกษานิเทศก์ทุกท่าน

ในฐานะคนอายุมากที่สุดในที่นี้ ที่จะถูกให้ออกจากราชการอย่างเป็นทางการในปี

2554 ที่ได้ทำหน้าที่ศึกษานิเทศก์มานาน 33 ปี ย้ายไปหลายที่ จากโรงเรียนมัธยม 3 ปี ไปยัง เขตการศึกษา 2 ยะลา มา RIT ลพบุรี 2 ปี ไปอยู่ที่กรมสามัญศึกษา ย้ายเขตการศึกษา 8 เข้ามาอยู่เชียงใหม่ เขต 1 อีก 1 ปีที่เหลือก็จะอยู่ที่สำนักงานเขตพื้นที่การมัธยมศึกษา ที่ 33 เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน และสามารถทำงานในลักษณะเครือข่ายอย่างไม่เป็นกับทุกท่านได้ตลอดเวลา

จากการติดตาม ร่วมกิจกรรมการอบรมศึกษานิเทศก์แนวใหม่ ได้เห็นความพยายามของ สพฐ. ที่จะยกระดับคุณภาพของพวกเรา การทุ่มงบประมาณมาพัฒนาพวกเรา ทราบว่าประมาณ 80 ล้าน ซึ่งถือว่ามากที่สุดเท่าที่ผมเคยพบเห็นมา ทำไม ก็เพราะว่าพวกเราเป็นบุคลากรสำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาของชาติ การพัฒนาครั้งนี้ถือว่าเป็นการพัฒนาครั้งใหญ่ที่สุด ศึกษานิเทศก์เราทั้งหมด4,000 คนได้รับการพัฒนาอย่างเป็นทางการจาก กระทรวงศึกษาธิการ โดย สพฐ. พวกเราเป็นคนสำคัญใช่ไหมครับ

การอบรมครั้งนี้หลักสูตร ได้เน้น เรื่องการวิจัย ที่พวกเราเรียกกันว่า “นิเทศแนวใหม่โดยการใช้วิจัยเป็นฐาน” ที่ต้องการเน้นกับพวกเราว่า การค้นพบอะไหร่ใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรียนรู้ การนิเทศ การบริหาร หรือการจัดการศึกษา เป็นเรื่องใหญ่ เป็นเรื่องที่จะนำไปสู่คุณภาพการศึกษา คุณภาพของผู้เรียน คุณภาพของคนไทย การอยู่ดีมีสุขของคนไทยในอนาคต

การวิจัยเป็นฐาน หรือการให้ความสำคัญกับการวิจัย ทำได้หลายทาง เช่น

- ศึกษานิเทศก์ทำวิจัย

- ศึกษานิเทศก์ร่วมกับครู ผู้บริหาร ทำวิจัย

- ศึกษานิเทศก์นำผลงานวิจัยมาชักชวนชี้แนะให้ครู ผู้บริหารใช้

- ศึกษานิเทศก์จัดการเรียนรู้ จูงใจให้ครู ผู้บริหาร เป็นผู้วิจัย

ถ้าเราสามารถทำได้ในหลายลักษณะ ดังกล่าวก็จะนำไปสู่การปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน หรือการบริหารการเรียนรู้ในเชิงลึก ที่จะมีผลต่อการพัฒนาครู พัฒนาการจัดการจัดกาเรียนรู้ และพัฒนาตัวเราเองได้อย่างยั่งยืน"

ความท้ายทายในการเป็นศึกษานิเทศก์ ที่จะใช้วิชาชีพนี้ในการสร้างชาติ มีหลายประเด็นคิด

1. ทำอย่างไรให้แนวคิดการวิจัยเป็นฐานในระยะสั้นๆ เช่น 45 วัน ตามทีวิทยากรบอกไว้

เป็นที่พึงพอใจ เต็มใจของครู เป็นที่กล่าวขวัญกันทั่วประเทศว่า เริ่มต้นแล้วของนิเทศแนวใหม่แท้

2. ทำอย่างไรให้ศึกษานิเทศก์ 4,000 คน โรงเรียนนับแสน นิเทศได้ทั่วถึงต่อเนื่อง

3. ทำอย่างไรให้เกิดเครือข่ายศึกษานิเทศก์ ทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาซึ่งกันและกันและร่วมกันพัฒนาการศึกษาของชาติ

4. ทำอย่างไรให้ศึกษานิเทศก์ องค์กรศึกษานิเทศก์ เป็นที่กล่าวขวัญ เป็นที่ยอมรับของ โรงเรียนอย่างต่อเนื่องอย่างยั่งยืน ทั้งในประเทศไทย และในระดับสากล

5. ทำอย่างไรให้ศึกษานิเทศก์ ที่พร้อมสามารถเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการจัดการเรียนรู้ ระดับเขตพื้นที่การศึกษา

ที่ปัจจุบันเรียกกันว่า ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ได้ ซึ่งประเด็นนี้ต้องฝากท่านนายกสมาคมศึกษานิเทศก์ แห่งประเทศไทย

ในช่วงหนึ่งปีที่ผมยังไม่ถูกให้ออกอย่างเป็นทางการนี้ พบผมได้ใน

gotoknow.org/blog/chatboonya

สุดท้ายนี้ ในนามของ คนที่อายุมากที่สุด และในนามของวิทยากร ขออำนาจคุณพระศรีรัตนตรัย ครูบาศรีวิชัย นักบุญล้านนา และอำนาจแห่งคุณความดีของท่านทั้งหลายจงดลบันดาลให้ท่าน และครอบครัว จงมีแต่ความสุขความเจริญ เดินทางกลับภูมิลำเนาของท่านโดยสวัสดิภาพโดยทั่วกัน สวัสดีครับ

เรียน ท่าน ศน.ชัด บุญญา และ ท่าน ศน.ทั่วประเทศ

ขอขอบคุณท่าน ศน.ชัด ในฐานะคนไทยคนหนึ่งที่ท่านได้ทำงานให้ประเทศของเรามายาวนาน และหวังว่าการเกษียณอายุราชการของท่านในอนาคตอันใกล้นี้จะไม่ส่งผลต่อการทำงานเพื่อประเทศไทยของเรา ยังหวังไว้ว่า ท่านจะเป็นกำลังให้ประเทศของเราต่อไป

ผมชอบประเด็นที่ท่านทิ้งไว้ โดยเฉพาะข้อ

"2. ทำอย่างไรให้ศึกษานิเทศก์ 4,000 คน โรงเรียนนับแสน นิเทศได้ทั่วถึงต่อเนื่อง

3. ทำอย่างไรให้เกิดเครือข่ายศึกษานิเทศก์ ทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาซึ่งกันและกันและร่วมกันพัฒนาการศึกษาของชาติ"

ผมได้มีโอกาสไปอบรมและพูดคุยกับท่านศน.หลายๆ ท่าน (สมุทรปราการ สระแก้ว ฉะเชิงเทรา อุทัยธานี พิษณุโลก อุดรธานี อุบลราชธานี นครราชมีมา ภูเก็ตฯ) ผมเห็นความมุ่งหวังและพยายามของท่านในการทำงานเพื่อประเทศของเรา และขอให้กำลังใจทุกท่านที่ตั้งใจทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุด

ผมอยากเห็นท่าน ศน. ทำงานลงลึก ต่อเนื่อง เกาะติด เป็นเรื่องราว เหมือนซีรี่ส์เกาหลี ไม่อยากเห็นท่าน "อบแล้วทิ้งๆ"

อยากเห็นโปรแกรมการพัฒนาครูที่ต่อเนื่อง ทำเป็น"ธีม"

ผมยังหวังอยู่ลึกๆ

ดร.ขจรศักดิ์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท