อาหารต้านมะเร็ง โดย เภสัชกร ดร.นิพนธ์ ตุวานนท์ (1)


จากหนังสือ อาหารต้านภัยสุขภาพ อาหารต้านมะเร็ง เอกสารประกอบการบรรบาย/เสวนา

    คนเราเมื่อแก่ตัวลง สภาพร่างกายจะเสื่อมถอยประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันโรคลดลง โรคภัยก็ถามหา คนที่ไม่เคยเจ็บป่วยไม่เคยไปหาหมอ ก็จะไปเยี่ยมเยือนคุณหมอบ่อยขึ้น ยิ่งรับประทานอาหารตามใจปาก โรคต่างๆก็จะมาเยี่ยมเยือนเรามากขึ้น เช่น ทานหวานมากๆ ก็เกิดโรคอ้วน และโรคเบาหวาน รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง ของทอด ก็จะทำให้มีคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ ในเลือดสูง เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดหัวใจอุดตัน เส้นเลือดตีบ เส้นเลือดแตก ทานเครื่องในสัตว์มากๆ ก็จะเกิดโรคเก๊าท์ ทานเค็มมากๆก็จะเกิดโรคไต โรคหัวใจ ทานอาหารไม่เป็นเวลา และทานอาหารรสจัด (เค็มจัด เผ็ดจัด) ก็จะเป็นโรคกระเพาะ ดูดบุหรี่ ก็จะเป็นโรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งปอด

    ทานยาเป็นประจำโดนไม่ได้ศึกษาอาการข้างเคียง ยาหม้อ ยาลูกกลอน ซึงไม่ทราบส่วนผสม ก็จะทำให้เกิดอันตราย กับกระเพาะ ตับ ไต ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลง และทำให้ เกิดโรคอื่นๆตามมา การรับประทานอาหารที่มีหรือปนเปื้อน ด้วยสารก่อมะเร็งจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งได้ง่าย จะเห็นว่า การรับประทานอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะ เป็นบ่อเกิดของโรคต่างๆ .....คำถามจึงเกิดขี้น .....รับประทานอาหารอย่างไร... อะไรควรกิน?... อะไรไม่ควรกิน? .....เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่างๆอาหารต้านภัยสุขภาพ " จึงเป็นหัวข้อบรรยายและเสวนา เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบทุกอย่างซึ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนสูงวัยเช่นพวกเรา .....ควรบริโภคให้ครบทั้ง 5 หมู่ ในปริมาณที่พอเหมาะ (ไม่มากเกินไป -ไม่น้อยเกินไป)

อาหารทั้ง 5 หมู่ มีดังนี้ 

 1. คาร์โปรไฮเดรต มาจากทั้งข้าว แป้งทุกชนิด

2. โปรตีน จากเนื้อสัตว์ทุกชนิด

3. ไขมัน น้ำมันปรุงอาหาร  กะทิ

4. วิตามิน และ 5.  แร่ธาตุ  พบมากในพืช ผัก ผลไม้ และธัญพืช


 อาหาร 3 หมู่แรก คาร์โปรไฮเดรต โปรตีน ไขมัน หากรับประทานมากเกินไปจะทำให้เกิดโรคต่างๆ ควรทานปริมาณที่เหมาะสม

  คนหนุ่มสาว คนวัยทำงาน ต้องการพลังงานมาก จำเป็นต้อง ทานคาร์โปรไฮเดรตจำนวนมาก (ทานข้าว 2-3จาน)แต่วัยทอง ใช้พลังงานไม่มาก ทานข้าวสัก 1จาน หรือประมาณ 2 ทัพพี ก็น่าจะเพียงพอ คนที่เป็นเบาหวาน หรือควบคุมน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูง ต้องไม่ทานพวกแป้งมาก ข้าวแต่ละมื้อ 1-1ทัพพีครึ่ง กำลังพอดี ....ข้าวควรเป็นข้าวกล้อง เพราะวิตามินสูง และมีกากใย ทำให้ขับถ่ายได้ง่าย


     ในแต่ละมื้อ ไม่ควรทานเนื้อมากเกินไป ประมาณ 100-150 กรัมในแต่ละมื้อ เนื้อปลาดีที่สุด มีไขมันน้อย ไขมันปลามีประโยชน์  และถ้าเป็นปลาทะเลน้ำลึกจะมีสารโอเมก้า 3 ซึ่งมีประโยชน์ต่อร่างกายมากๆ โปรตีนจากเนื้อสัตวย่อยสลายยาก ทำให้เกิดเนื้อตกค้าง เน่าเปื่อยในลำไส้ใหญ่ นำไปสู่การเกิดสารพิษ เกิดก้อนเนื้อโพลิพ (polyps) ในลำไส้ใหญ่ นานไปก็จะพัฒนาเป็นมะเร็งในที่สุด


      สำหรับไขมัน ในแต่ละวัน ร่างกายต้องการน้อยมาก เพื่อสังเคราะห์สร้างสารที่จำเป็นบางอย่างสำหรับร่างกาย ปริมาณไขมัน ในน้ำมันที่อยู่ในเนื้อสัตว์ ในน้ำมันปรุงอาหาร ในกะทิที่เราทานแต่ละวันก็เพียงพอแล้ว ที่สำคัญ คือ อย่าทานอาหารที่มีไขมันสูง ของทอด จะทำให้มีคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอร์ไรด์ในเลือดสูง เกิดนิ่วในถุงน้ำดี เกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด สำหรับพืช ผัก ผลไม้และธัญพืช นั้น ทานยิ่งมากยิ่งดี จะอุดมไปด้วยวิตามิน และแร่ธาตุต่างๆ อาจารย์ทันตแพทย์มช. บอกว่า ฟันของเรา เป็นฟันประเภทสัตว์ที่กินผัก ไม่ใช่ฟันประเภทสัตว์กินเนื้อ 


  แสดงว่าธรรมชาติ ได้สร้างมนุษย์ขึ้นมาเพื่อบริโภคผัก ต่อมาภายหลังได้บริโภคเนื้อสัตว์ก็ติดใจรสชาติ จึงทานเนื้อเป็นหลักเรื่อยมา อย่างไรก็ดี ปัจจุบัน ก็มีคนนิยมทานอาหารมังสวิรัติ และอาหารเจกันมากขึ้น โรคต่างๆเกิดจากอาหารการกิน ดังนั้นวัตถุดิบต่างๆ ที่จะนำมาเตรียมอาหารเพื่อบริโภคต้องปลอดภัย ปลอดสารพิษ ปลอดวัตถุปนเปื้อน ที่ใส่เข้ามาในอาหารโดยเจตนา ในอาหารแปรรูปต่างๆ เช่น วัตถุกันเสีย สีผสมอาหาร 


       ได้ศึกษาอย่างละเอียดในเรื่องของอาหารสุขภาพ โดนเน้นเรื่องอาหารต้านมะเร็ง และพบว่าถ้าบริโภคอาหารต้านมะเร็ง นอกจากจะห่างไกลจากโรคมะเร็งแล้ว ยังสามารถต้านภัยที่จะเกิดโรคต่างๆที่จะเกิดกับตัวเราได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือด (จากอาหารที่มีไขมันสูง ) และโรคเกาท์

       อาหารอะไรที่ห้ามรับประทาน  อาหารอะไรที่ควนหลีกเลี่ยง ไม่ควรรับประทาน และอะไรต้องรับประทาน (เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันโรค ต้านภัยโรคต่างๆ)

 

        ผู้เขียนจบเภสัช มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้รับราชการเป็นอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นระยะเวลา 34 ปี เมื่อเกษียณ ตัวเองได้ 2 ปีได้ป่วยเป็นโรคมะเร็งลำไส้ ในระยะสุดท้าย (ระยะที่ 4) มะเร็งได้ลุกลาม ไปที่ตับ และปอด ได้รับการรักษาโดยวิธีแพทย์แผนปัจจุบันครบทุกวิธี ทั้งเคมีบำบัด การผ่าตัดลำไส้ ผ่าตัดตับ ผ่าตัดปอด และรับการฉายรังสี โดยทีมแพทย์ โรงพยาบาลมหาราช คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้เวลารักษา 2 ปี ก่อนการักษาโดยวิธีแพทย์แผนปัจจุบัน


         ผู้เขียนได้รับความรู้ด้านธรรมชาติบำบัด และอาหารการกินแบบ"เกอร์สัน"(Gerson M.D) จากนายแพทย์สำราญ อาบสุวรรณ แพทย์ มช.รุ่นที่ 11 ที่ศึกษาในเรื่องนี้อย่างแตกฉาน และได้กรุณาถ่ายทอดความรู้ให้ หลังจากนั้น ผู้เขียนได้ค้นว้าพยายามหาคำตอบ

-   สาเหตุ  ของการเกิดมะเร็ง

-   ทำอย่างไร  จะลดความเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง

-   กิน-อยู่ อย่างไร  จึงจะห่างจากโรคมะเร็ง และให้คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ขณะที่รักษาตัว (ปี49-50)  และหลังจากนั้นผู้เขียนได้ปฏิบัติตนตามบทความที่ได้เขียนไว้นี้อย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง จนถึงปัจจุบัน บทความนี้จึงเกิดขึ้น เพื่อเป็นการเล่าสู่กันฟัง 


                มะเร็งเกิดขึ้นได้อย่างไร

     " มะเร็ง"(Cancer) คำน่ากลัวนี้มาจากคำว่า

   " KARKINOS "ภาษากรีก แปลว่า " ปู " เนื่องจากก้อนเนื้อมะเร็ง มองดูแล้วคล้าย ปู มนุษย์ทุกคนมี ยีนมะเร็ง(Onco gene) อยู่ในเซลล์ และโดยปรกติ ยีนมะเร็งจะถูกยับยั้งไม่ให้ทำงานด้วยยีนต้านมะเร็ง ( Anti-once gene) ในร่างกายของเราจะประกอบด้วยเซลล์หลายพันล้านเซลล์ แต่ละเซลล์จะมีตัวควบคุมทางพันธุกรรมหรือยีน(Gene)หรือดี เอ็น เอ (DNA) ซึ่งเป็นเป็นหน่วยที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมไปยังเซลล์ ที่กำลังจะเกิดขึ้นใหม่การถอดแบบตัวเองของดีเอ็นเอ ลงไปในเซลล์ เกิดใหม่ที่มีรหัสพันธุกรรมที่เป็นปรกติ เมื่อใดก็ตามที่เกิดความผิดปกติ


    ในกระบวนการถอดแบบ เซลล์ที่เกิดใหม่ก็จะมีความผิดปรกติ เช่น เซลล์มี nucleusแปลกไป ขนาดของcyloplasm เล็กกว่าเซลล์ปรกติ รูปร่างและขนาดของเซลล์ แตกต่างไปจากเซลล์ปรกติ และเซลล์มีการแบ่งตัวจำนวนมาก เรียกเป็นภาษาชาวบ้านว่า เซลล์มันกลายพันธุ์ และพัฒนาไปสู่การเป็นเซลล์มะเร็งในที่สุด


    ตัวการสำคัญที่ทำให้กระบวนการถอดแบบของดีเอ็นเอ เกิดความผิดพลาด จนนำไปสู่การเกิดเซลล์มะเร็งคือ "สารก่อมะเร็ง"  โดยปรกติ ร่างกายจะมีกรบวนการซ่อมแซม ดีเอ็นเอ เพื่อจะทำให้เซลล์ที่ผิดปรกติกลับมามีสภาพปรกติ แต่ความสามารถของร่างกายเราก็มีจำกัด ขณะเดียวกัน ร่างกายจะใช้ ที-เซลล์(T-Cell)ที่อยู่ในเซลล์ เม็ดเลือดขาว(WBC) ของระบบภูมิคุ้มกัน ออกมาจัดการกับเซลล์ดังกล่าว เพื่อจะให้เซลล์มะเร็งหมดไป แต่เซลล์มะเร็งจะแบ่งตัวรวดเร็วเป็นทวีคูณจำนวนมาก ที-เซลล์ จึงไม่สามารถกำจัดได้หมดสิ้นและเซลล์มะเร็ง สามารถหลุดลอยไปตามกระแสโลหิตและน้ำเหลือง 


  เมื่อไปหยุดอยู่ ณ.ที่ใดก็จะเกิดการแบ่งตัว และเจริญเติบโตขึ้นที่นั่น ทำให้เกิดมะเร็งตามเนื้อเยื่อและอวัยวะบริเวณนั้น ดังนั้น เมื่อเราแก่ตัวลง สภาพร่างกายเสื่อมถอยประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกันลดลง โอกาสเป็นมะเร็งก็สูงขี้น จะพบว่า คนอายุ 50 ปี เป็นมะเร็งกันค่อนข้างมาก ที่พบกันมากในหมู่คนไทย คือ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ มะเร็งตับ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม และมะเร็งมดลูกฯ

   

 ยังมีข้อมูลเพิ่มอีกหลายบันทึกต่อๆไปนะคะ.......

ด้วยความปราระถนาดี  กานดา แสนมณี

หมายเลขบันทึก: 353968เขียนเมื่อ 25 เมษายน 2010 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 มีนาคม 2013 20:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ขอบคุณบันทึกดีดี ที่นำมาถ่ายทอดสู่กันฟังคะ มาเยี่ยมย้อนรอยคะ  ตอนนี้ก็วัยที่มะเร็งเริ่มจะโผล่เหมือนกัน  ฉะนั้นเราต้องดูแลความเป็นอยู่ อาหารการกิน สานเกิดก่อมะเร็ง มาตั้งแต่ เด็กๆๆเลยนะคะ  คงเป็นหน้าที่ของพ่อบ้านแม่บ้าน  ที่จะได้ดูแลลูกๆๆคะ  และให้ความรู้แก่ลูก ในเรื่องการเกิดมะเร็ง ในชีวิตประจำวัน มีอะไรบ้าง ที่พอมองเห็น เช่นการกินเนื้อย่างเกาหลี มันเผาไหม้  การบริโภคถั่วงอก การใช้น้ำมันเก่าที่ทอดแล้วมาใช้ซ้ำ  อากาศที่มีมลภาวะ รับหรือสูดประจำ เช่นแม่ครัวที่ทำอาหารในร้านอาหาร ที่จะต้องสูดดมประจำ ปอดเสีย  สารเร่งสี เร่งโต   และที่แน่ๆๆ เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ด้วยใช่ไหมคะ   เนื่องจาก DNA  และก็เนื้องอกด้วย

สวัสดีค่ะคุณสุ

   ค่ะว่างๆมาแวะอ่านนะคะ มะเร็งเดี๋ยวนี้เป็นกันมากค่ะ คุณสุช่วยเสริมรายละเอียดเพิ่มอีกขอบคุณมากค่ะ เราต้องช่วยกันบอกนะคะ ทราบอะไรมา ที่จะเตือนกันได้ก็บอกกันค่ะบางคนไม่ทรายจริงๆว่าจะต้องปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างเมื่ออายึมากขึ้น มัวทำแต่งาน ทานอะไรเท่าที่หาได้พอให้อิ่มเป็นใข่ได้ ซึ่งสะสมโรคก็มา คราวนี้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นอีกมากมาย และอีกหลสยๆอย่างที่จะต้องเผชิญกับโรค เราต้องป้องกันก่อนค่ะ มะเร็ง เป็นโรคทางกรรมพันธุ์ ถูกแล้วค่ะอัตราเสี่ยงเป็นมากกว่าคนที่ไม่มีญาติเป็นค่ะ ต้องระวังสุขภาพมากๆเป็นพิเศษ

                         

                           ในเมล็ดฟักข้าว มีสารฆ่าเซลล์มะเร็ง

สวัสดี ครับ

ผมตั้งใจมากนาน ร้วม 10 ปีแล้ว นะครับ การไม่บริโภคเนื้อวัว ซึ่งน่าจะเป็นผลดีต่อสุขภาพไม่น้อย

หันมาบริโภค อาหารที่มีกากใย มากขึ้น....

แต่ก็ยังมีข้อเสีย อยู่หลาย ๆ ด้านที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค

ขอบพระคุณ บันทึก ที่ให้ความรู้บันทึกนี้ นะครับ

 

สวัสดีค่ะคุณแสงแห่งความดี

        การบริโภคอาหารที่ปรุงด้วย เนื้อวัว หมู ไก่ เป็ดที่มีไขมันติด หรือไม่มีไขมันเลย ฯ หากผู้ใหญ่ทุกท่านที่หมดวัยการเจริญเติบโตแล้ว ทานให้น้อยลง หรืองดได้ ก็ดีมากๆต่อร่างกายค่ะ ทุกวันนี้พี่ดาก็พยายามงด หรือทานให้น้อยลง มากที่สุด  แต่ความที่เป็นอาหารที่เราเคยชอบ มาก่อน ทานกับข้าวแล้วอร่อย จึงยังมีการทานอยู่บ้าง นานๆครั้ง  วัยพี่ดา ผักสำคัญมากๆ ทำให้ร่างกายดีจริงๆเห็นผลชัดเจน จึงแนะนำเสมอว่า ผักและผลไม้ต้องทานทุกๆวันละประมาณ 500 กรัมหรือ 5 ขึดเท่านั้นต่อวัน ทุกอวัยวะดีหมด ไม่ทราบว่าข้อเสียนี้เป็นอะไรบ้างค่ะ ที่ต้องปรับเปลี่ยนเพื่อ การบริโภค

                      

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท