ผู้ได้รับรางวัลมหิดล – บี บราวน์ ปี 2549 : ศ. นพ. ประเสริฐ ทองเจริญ


        เมื่อวันที่ ๒๐ มิย. ๔๙ ผมไปร่วมในพิธีประกาศผลรางวัลมหิดล – บี บราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย ประจำปี ๒๕๔๙ ที่ ศ. นพ. ประเสริฐ ทองเจริญ เป็นผู้ได้รับรางวัล จากผลงานด้านการศึกษาวิจัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทย

                           

                                ศ. นพ. ประเสริฐ ทองเจริญ

        ก่อนจะเริ่มพิธี ศ. นพ. ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ผู้ก่อตั้งรางวัลนี้ได้กรุณาเล่าให้ผมฟังว่า    รางวัลนี้ตั้งขึ้นคู่กับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ซึ่งเป็นรางวัลนานาชาติ    แต่รางวัลมหิดล – บี บราวน์ เป็นรางวัลระดับชาติ    ให้รางวัลในหลักการเหมือนกันทุกประการ 

                         

                ศ. นพ. ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี ผู้ก่อตั้งรางวัลนี้

        ศ. นพ. ประเสริฐ กล่าวในการปาฐกถาผลงานของท่านว่า    ที่ท่านมีผลงานมากเพราะท่านไม่กลัวความล้มเหลว    อันนี้น่าจะเป็นตัวอย่างแก่คนรุ่นหลังได้เป็นอย่างดี

        ศ. นพ. ประเสริฐ กล่าวว่า ท่านพลัดเข้าไปในป่า ในดง ไวรัส โดยไม่รู้ตัวว่ามันจะเป็นเสมือน “เหมืองทอง” สำหรับสร้างผลงาน    ผมเองก็มองว่าคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตน้อยคนนักที่จะเป็นชีวิตที่วางแผนมาเป็นอย่างดีเป็นขั้นเป็นตอน    ส่วนใหญ่มีความเฮงช่วยด้วย

        งานชิ้นแรกที่ท่านจับทำคือเรื่องหัดเยอรมัน ที่คนไทยเรียกว่าเหือด  หรือภาษาวิชาการว่า รูเบลลา  ท่านเป็นผู้ผลักดันการฉีดวัคซีนให้แม่

        โรคถัดมาคือ โรคตาแดงชนิดใหม่ (Epidemic Acute Hemorrhagic Conjunctivitis) แพร่จากคนสู่คน เกิดจากเชื้อ  EV 70
 
        โรคพิษสุนัขบ้า   ท่านยุให้ฉีดวัคซีนสุนัข   พัฒนาเทคโนโลยีชัณสูตรเชื้อ   ทดสอบวัคซีนใหม่ๆ   และในปี 1981 ได้รายงาน humam to human transmission by corneal transplantation    ท่านทราบว่าค้างคาวเป็นแหล่งแพร่เชื้อ แต่จับยาก และเป็นสัตวอนุรักษ์     น่าดีใจที่ ศ. นพ. ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ได้วิจัยจนเป็นที่เข้าใจสภาพการเป็นแหล่งเพาะและแพร่เชื้อของค้างคาว
   
        โรคเอดส์เริ่มในสหรัฐในปี ๒๕๒๕   และพบในประเทศไทยปี 2527    ปี 2527 Gallo ประกาศพบเชื้อไวรัส เอดส์    งานที่ ศ. ประเสริฐ ทำเป็นงานด้านระบาดวิทยา   แยกเชื้อ   จัดทำฐานข้อมูลรายงาน ของทบวง  (aidsthaidata.org) ที่ยังเป็นฐานข้อมูลที่มีชีวิต และใช้การได้ดีจนถึงปัจจุบัน    ท่านได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษาของ WHO ด้วย
 
        โรคไข้เลือดออก ได้รวบรวมรายงานเกี่ยวกับไข้เลือดออกทั้งหมด   มีรายงานแรกในโลก โดย Benjamin    Rusk  ในปี พศ. 2323    ได้ศึกษา Hantan virus ที่ก่อโรคไข้เลือดออกในเกาหลี พบแอนติบอดีย์ในคน 17% แต่ไม่พบโรค    ได้ศึกษาพบในหนูในเกาะรัตนโกสินทร์    ได้เขียนตำราโรคไข้เลือดออกภาษาไทย    และรับเขียนตำราภาษาอังกฤษให้ WHO ด้วย

        โรคไข้สมองอักเสบ Japanese E

        วัคซีนโปลิโอชนิดกิน    ถูกต่อต้านจากผู้ขายและใช้วัคซีนชนิดฉีด    จึงเข้าไปศึกษาวัคซีนชนิดกิน และเผยแพร่ว่าได้ผลดี และใช้กันแพร่หลายในที่สุด 

        ไข้หวัดใหญ่  SARS  ไวรัสทางเดินหายใจ  
        ไข้หวัดใหญ่ เริ่มเข้าไปศึกษาปี 2510   ได้ดำเนินการแยกเชื้อและศึกษาติดตาม ตั้งแต่ 2530 เรื่อยมา  จนโอนให้กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ไป 
        ท่านได้ตั้งมูลนิธิส่งเสริมการศึกษาไข้หวัดใหญ่  (www.ift2004.org)    และดำเนินการทดสอบวัคซีน 

        ในปี 2534 ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา

        ศ. นพ. ประกอบ ตู้จินดา น่าจะได้ชื่อว่าเป็นบิดาของไวรัสวิทยา  ท่านเคยเป็น ผอ. สถาบันวิจัยไวรัส  อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์  ปลัดกระทรวงสาธารณสุข  และประธานของ World Health Assembly  ในการประชุมครั้งที่ 32   เป็นคนไทยคนเดียวที่เคยทำหน้าที่นี้
 
        ท่านทิ้งท้ายว่า การที่จะทุ่มเททำงานวิจัยได้ ครอบครัวจะต้องหนักแน่น มั่นคง
  
        ผมฟังไปบันทึกไปด้วยความสุขใจ ที่ได้รับฟังเรื่องราวดีๆ เป็นมงคลแก่ชีวิต

                         

                                         กับโล่รางวัล

                        

                               ศ. นพ. ประเสริฐ กับลูกศิษย์

วิจารณ์ พานิช
๒๐ มิย. ๔๙

หมายเลขบันทึก: 35019เขียนเมื่อ 22 มิถุนายน 2006 08:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 3 มิถุนายน 2012 17:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อาจารย์คะ

 ดิฉันเห็นด้วยกับศ.ประกอบ ตู้จินดา ว่าการทำวิจัยครอบครัวต้องมั่นคงหนักแน่น  หรือแม้แต่KMนี้ ถึงแม้จะดูเหมือนว่าสามารถทำได้ง่ายๆ  แต่การบันทึกค่อยข้างจะต้องใช้เวลา ซึ่งสำหรับคนที่ชำนาญแล้วอาจจะไม่ยากเย็น แต่สำหรับคนที่พิ่มเริ่มต้น เป็นปัญหามาก

 ที่สำนักพยาบาล ม.วลัยลักษณ์จะจัดตลาดนัดความรู้พยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน ซึ่งเป็นศิษย์เก่ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ งานที่ทำหลังจากจบหลักสูตรนี้ไปแล้ว  อาจารย์ช่วยแนะนำ ผู้รู้เรื่องของKMเพื่อมาช่วยเราในการ จุดประกายให้พยาบาลเหล่านี้กลับไปทำต่อได้ขอบพระคุณอาจารย์มาก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท