ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นน่าน ตอน 1


"...ที่มาของการไปเกี่ยวข้องกับการประเมิน และ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น..."

                            ความเดิม จังหวัดมีคำสั่งที่ 243 / 2549 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2549 ให้ผู้มีชื่อ ทำหน้าที่ประเมินให้คณะ อบจ. เทศบาล และ ตรวจสอบผลการประเมินให้คะแน อบต. ตามตัวชี้วัดในแบบประเมินฯ ของคณะอนุกรรมการระดับจังหวัด  เพื่อรายงานผลให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พิจารณาจัดสรรเงินรางวัลตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้

                            ความเดิมต่อมา จังหวัดมีคำสั่งที่ 312 / 2549 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2549 ให้ผู้มีชื่อที่ได้รับแต่งตั้ง เป็นอนุกรรมการฯ ทำหน้าที่ประเมินให้คะแนน อบต.ตามตัวชี้วัดในแบบประเมินฯ  เพื่อรายงานให้คณะกรรมการประเมินองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีการบริหารกิจการที่ดี ประจำปี 2549 ระดับจังหวัด พิจารณาตรวจสอบเกณฑ์ ที่กำหนดไว้ ภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2549

                            ความทั้งสองวรรคก่อน  เป็นที่มาของการไปเกี่ยวข้องกับการประเมิน และ การส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

                           เชื่อว่าหลายท่านและเราเข้าใจตรงกันว่าไม่อยากไปเกี่ยวข้องอะไรนัก หากไม่รัก ไม่ตั้งใจจริง ทำงานนี้เพื่อชาติบ้านเมือง โดยไม่มีเบี้ยเลี้ยง ค่าพาหนะ ประโยชน์อื่น ๆ ทั้งสิ้น นอกจากเกียรติ กับความรู้ที่จะได้ งานนี้ที่สำคัญ คือ การประเมินเพื่อให้ได้รับรางวัลปีนี้มีรางวัลน้อยกว่าปีก่อน  จะต้อง อบต.มีที่สมหวัง และที่ผิดหวัง  ในปีที่ผ่านมา จังหวัดน่านหลายแห่งได้รับรางวัล  ขอพูดเฉพาะ อบต.ได้รับรางวัลร่วม 7 แห่ง  ปีนี้จะได้ให้เพียง 2 แห่งตามกรอบ แน่นอนส่วนการประเมิน อบต.ต้องเข้มข้น  สำหรับ อบจ.ได้รับรางวัลระดับชาติเลยที่เดียว สำหรับเทศบาลปีที่ผ่านมาไม่ได้ ( น่านมี เทศบาลตำบล 8 แห่ง เทศบาลเมือง 1 แห่ง อบจ.1 และ อบต.91 แห่ง เรียกว่าเมืองร้อยนายก ไม่ผิด ) เมื่อได้รับมอบหมายก็ควรทำหน้าที่ให้ดีที่สุด และให้ได้ความรู้  เพื่อการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นด้วย

                            ตามคำสั่งวรรคแรกนั้น   กรรมการได้รับแต่งตั้งให้เป็นประธานคณะอนุกรรมการ ๆ ตามวรรคสอง คณะอนุกรรมการฯ ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณในท้องที่นั้น ๆ และท้องถิ่นอำเภอ รวม 3 คน ทำหน้าที่ประเมินตามเกณฑ์  เพื่อส่งผลคะแนนมาจังหวัด ภายในวันที่ 10 พฤษภาคม 2549  การที่เราทุกคนพากันไปทำหน้า แน่นอนต้องมีประสบการณ์มากมาย  หลายรูปแบบ ถือโอกาสและตั้งใจนำมาสื่อสารไว้ที่นี่ @

หมายเลขบันทึก: 34841เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2006 20:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

สำเนามาจาก บล็อค อ.วิจารณ์ พานิช ครับ

ธรรมาภิบาลกับการบริหารจัดการประเทศ

           ธรรมาภิบาล (Good Governance) คือเรื่องของจริยธรรม ความดีงาม และความถูกต้อง

          มีหลักหรือองค์ประกอบที่สำคัญ ๖ หลัก ได้แก่ หลักความโปร่งใส หลักนิติธรรม หลักความรับผิดชอบ หลักความเสมอภาค หลักคุณธรรม หลักความคุ้มค่า และ หลักการมีส่วนร่วม

          ดัชนีวัดผลการบริหารจัดการที่ดี (สถาบันพระปกเกล้า) มี ๑๐ หลัก ได้แก่

             1. หลักนิติธรรม

             2. หลักคุณธรรม

              3. หลักความโปร่งใส

              4. หลักการมีส่วนร่วม

              5. หลักการสำนึกแห่งความรับผิดชอบ

              6. หลักความคุ้มค่า

              7. หลักการจัดการทรัพยากรมนุษย์

              8. หลักการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ (การปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการเรียนรู้ การใช้ผลของการเรียนรู้ การเสริมสร้างความสามารถ การจัดการความรู้ การมีเครื่องมือและเทคโนโลยี มีการสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้)

             9. หลักการบริหารจัดการ

           10. หลักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร

Ref. NESDB Report ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๗ เดือนมิถุนายน ๒๕๔๙

http://gotoknow.org/blog/thaikm/36337

                 เหตุที่สำเนาข้อความมาจากบล็อค อ.วิจารณ์ เพราะเห็นเป็นเกณฑ์จากสถาบันพระปกเกล้า น่าสนใจ 

                 ขณะเดียวกัน กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ได้ไปว่าจ้างครูอาจารย์มหาวิทยาลัย ผลิตเกณฑ์ส่งให้กรรมการ อนุกรรมการ ออกประเมิน อปท. เมื่อไปมีส่วนรับรู้  หลาย อปท.บ่นว่า เกณฑ์เดียวใช้ได้ทั่วไทย  เชื่อว่าจะมีการปรับเปลี่ยนให้เกิดความเหมาะสมกันต่อไป

                  การไปประเมิน นั้น ได้ความรู้ว่า ประเมินจากร่องรอยการทำงาน ( อ.พิทักษ์ ณ น่าน พูดไว้ ) เราไม่ได้ประเมินไปตามความรู้สึกชอบ หรือไม่ชอบ มีร่องรอยการทำงานก็ให้ไป อย่างไรก็ดี กรรมการ อนุกรรมการ จำเป็นต้องซื่อสัตย์ เที่ยงธรรม ทำงานตรงไป ตรงมา.

ขอฝากคุณธนู

วันก่อนเทศบาลตำบลท่าวังผาจัดงานมหกรรมอาหารยิ่งใหญ่น่าชื่นชมแต่น่าเสียดายไม่น่าเอาบริษัทเบียร์มาเป็นสปอนเซอร์ในการจัดงานสวนกระแสคนเมืองน่านที่ร่วมกันรณรงค์เรื่องเหล้าเบียร์มาโดยตลอก2-3ปีที่ผ่านมา ฝากเป็นแง่คิดด้วย

คุณคนเดินทางครับ ขอขอบพระคุณคุณ เสนอแนะแง่คิด บอกเล่าเรื่องราวเหตุการณ์ สื่อสารเข้ามาให้รับทราบครับ

อยากให้เมืองน่านเป็นเมืองสงบ คนต่างความคิดได้ แต่อย่าทำลายเมืองน่าน อย่าทะเลาะกันเอง การแสดงความคิดเห็นที่แตกต่างอย่างสร้างสรร เป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้สังคมก้าวหน้าค่ะ ไม่แบ่งสี ไม่เลือกข้าง เป็นคนเมืองน่านที่อยากเห็นข่าวเมืองน่านที่คนน่านรักกันค่ะ  ไปซื้ออาหารเหมือนคุณคนเดินทางค่ะ เห็นด้วยทุกอย่าง บางอย่างก็ค้านกันเองในตัวค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท