การจัดการความรู้ภาคปฏิบัติในชุมชน(5) เวทีการจัดการความรู้ ครั้งที่ 3 เพื่อนช่วยเพื่อน(Peer Assist)


การทำงานอย่างมีเป้าหมายของชุมชน “ทุกคนต้องร่วมกันกำหนดชีวิต” การพัฒนาชุมชนจากฐานการมีส่วนร่วมบูรณาการงานร่วมกันทุกฝ่าย สภาองค์กรชุมชน ขบวนองค์กรชุมชน หน่วยงานภาครัฐ

การจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้โดยเครื่องมือการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษา(Mentoring System)และเพื่อนช่วยเพื่อน(Peer Assist) ครั้งนี้จัดขึ้นเมื่อวันที่24 ม.ค. 2553  เวลา 09.00 น. – 16.00 น.  ณ วัดโบสถ์  ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี การเวทีการจัดการความรู้ครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา "การจัดการความรู้เพื่อพัฒนาภาวะผู้นำการเสริมสร้างความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น"

เวลา 09.00 น. – 13.00 น. ณ วัดโบสถ์   ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี

ในการจัดกระบวนการทางความรู้และการเรียนรู้โดยเครื่องมือการปรึกษาหารือกับที่ปรึกษา(Mentoring System)และเพื่อนช่วยเพื่อน(Peer Assist) ได้มีการดำเนินการตามกระบวนการดังต่อไปนี้

1.นำเสนอประวัติและพัฒนาการงานพัฒนาความสุขมวลรวมตำบลบ้านเลือก

ร้อยตำรวจตรี สวง บัวน้อย  ตัวแทนสภาองค์กรชุมชนตำบลบ้านเลือก ได้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการจัดเวทีการจัดการความรู้การพัฒนาภาวะผู้นำการเสริมสร้างความสุขมวลรวมและนำเสนอประวัติและพัฒนาการงานพัฒนาความสุขมวลรวมตำบลบ้านเลือกผลลัพธ์สำคัญในการจัดเวทีเรียนรู้ในครั้งนี้ ชุมชนสามารถเห็นภาพการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้าง และระบบการทำงานของชุมชน การบริหารจัดการและวิธีงบประมาณของชุมชน

2.การส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นด้วยกระบวนการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น โดย  นายประยงค์ อุปเสน         

นายประยงค์ อุปเสนได้กล่าวถึงความเป็นมาของการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น   ต่อมาได้พัฒนาโครงการขยายพื้นที่กลุ่มเป้าหมายการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดนี้ใน 14 ตำบลในเขตตะวันตก 7 จังหวัด ชุมชนที่มีความสนใจในการจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดบทเรียนของชุมชนเริ่มต้นปี 2548 จากพื้นที่ตำบลหนองสาหร่าย ตำบลบ้านเลือก สู่ ตำบลคลองตัน โดยมีหลักคิดดังนี้

หลักคิด 1  ทำไมต้องทำเป้าหมายตัวชี้วัด  จากการเปลี่ยนแปลงของคนในตำบล ผลการดำเนินงานที่สามารถประเมินร่วมกันอย่างมีเป้าหมาย

หลักคิด 2 การแก้ปัญหาอย่างต่อเนื่อง (อริยสัจ 4) แนวทางการพัฒนาตัวชี้วัดชุมชนตามเป้าหมาย

หลักคิด 3 การระเบิดจากภายใน รู้จักตัวตน รู้จักชุมชน การกำหนดแผนงานจากชุมชนเอง

3. การนำเสนอบทเรียนประสบการณ์การเสริมสร้างความสุขมวลรวมนำเสนอโดยวิดีทัศน์

4. การแลกเปลี่ยนประสบการณ์การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่น 3 กรณี คือ

  •    ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี โดย นายวิฑูรย์ ศรีเกษม
  •    ต.หนองพันจันทน์ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี โดยนายประนอม อาญคงหาญ
  •    ต.หนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี โดยนายวิโรจน์ พรหมอ่อน

นายวิฑูรย์ ศรีเกษม จาก ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี ได้นำเสนอประสบการณ์การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นดังนี้

พัฒนาการงานพัฒนาตำบลบ้านเลือก เริ่มต้นจากการพัฒนาแผนแม่บทชุมชนปี 2548 และการจัดเก็บข้อมูลองค์กรชุมชนในพื้นที่ตำบลสู่กระบวนการรับรองสถานภาพองค์กรชุมชน โดยชุมชนมีเป้าหมายเดียวกัน ตัวชี้วัดดำเนินการปี 2550 จากการจัดเวทีสร้างความเข้าใจการทำงานอย่างมีเป้าหมายของชุมชน “ทุกคนต้องร่วมกันกำหนดชีวิต” การพัฒนาชุมชนจากฐานการมีส่วนร่วมบูรณาการงานร่วมกันทุกฝ่าย สภาองค์กรชุมชน ขบวนองค์กรชุมชน หน่วยงานภาครัฐ…..

รูปธรรมความสำเร็จ  ผลการจัดทำข้อมูลตัวชี้วัด ต.บ้านเลือก กระบวนการเวทีความเข้าใจ และพัฒนาฐานตัวชี้วัด  ความร่วมมือการทำงานกับหน่วยงาน เช่น วัด ,โรงเรียน, สถานีอนามัย ,กรมศิลปากร และ อยากให้ชุมชนเห็นความสำคัญในการพัฒนาแผนงานตัวชี้วัดชุมชน สร้างทิศทางการประเมินสถานการณ์ “รู้ตัวตน” เพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน และการเปลี่ยนแปลงทุกด้านของชุมชน…..

นายประนอม อาจคงหาญ จาก ต.หนองพันจันทน์ อ.บ้านคา จ.ราชบุรี ได้นำเสนอประสบการณ์การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นดังนี้:

พัฒนาการงานพัฒนาตำบลหนองพันจันทน์ เวทีวิเคราะห์ศักยภาพตำบล และ สำรวจความต้องการของชุมชน เป้าหมายที่อยากเห็นคนในตำบลไม่มีหนี้สิน ปัญหายาเสพย์ติด เยาวชน แล้ว กำหนดเป็นเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนา  ช่วงนี้อยู่ระหว่างการค้นหารูปธรรมความสำเร็จการลดปัญหาหนี้สินของคนในชุมชนเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาและลดปัญหาของคนในชุมชน ด้านบริหารจัดการ ด้านอาชีพ

รูปธรรมความสำเร็จ  ความสำเร็จปราชญ์ชุมชนที่มีปัญหาหนี้สิน จากภาคการเกษตรกับสิ่งที่ไม่รู้อะไรเลย จากวิกฤตดังกล่าว เป็นโอกาสในการทำงานสำคัญ ฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ และเรียนรู้โอกาสการทำงานจากการศึกษาดูงานพื้นที่ต่างๆ เช่น การจัดทำบัญชีครัวเรือน ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเกษตรผสมผสาน ทำทุกอย่างที่กินได้ ปลูกพืชผักสวนครัว (หน่อไม้ฝรั่ง) เลี้ยงวัว เป็ด ไก่ฯลฯ

จากประสบการณ์ดังกล่าว การค้นหาความดีจากผู้นำชุมชน และขยายผลระดับหมู่บ้าน พัฒนาในระดับตำบล ใช้เวทีสภาองค์กรชุมชนตำบล ร่วมวิเคราะห์สถานการณ์ตำบลร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ท้องที่ท้องถิ่นก็เห็นความสำคัญ และเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเนื่อง “พัฒนาฐานเงินออมชุมชน โครงการหมู่บ้านสีขาวต่อยอดจากฐานกองทุนแม่ของแผ่นดิน ศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่”จึงเป็นจุดเริ่มต้นของการสร้างรูปธรรมจากการตั้งเป้าหมายและตัวชี้วัดการพัฒนาหรือตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นนั้นเอง

นายวิโรจน์ พรหมอ่อน จาก ต.หนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี ได้นำเสนอประสบการณ์การจัดทำเป้าหมายและตัวชี้วัดความสุขมวลรวมชุมชนท้องถิ่นหรือที่ตำบลหนองสาหร่ายเรียกว่าตัวชี้วัดความดีดังนี้

ที่ตำบลหนองสาหร่าย เริ่มต้นจากการจัดทำแผนแม่บทชุมชน “ใครทำ ทำเพื่ออะไร” ทำเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน 9 ดี สร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมระหว่างขบวนองค์กรชุมชนโดยสภาองค์กรชุมชนหนองสาหร่ายกับกับภาคี ท้องที่ ท้องถิ่น

5. การแบ่งกลุ่มย่อยเพื่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้“ถ้าเราจะทำให้แต่ละตำบล สามารถทำให้บรรลุเป้าหมาย คือ สามารถจัดทำเป้าหมายตัวชี้วัดการพัฒนาได้จริง มีเรื่องอะไรที่เราจะต้องทำร่วมกัน”

  • เป้าหมายหลัก การทำงานทั้ง 14 ตำบล (แผนงาน/กิจกรรม)
  • เป้าหมายย่อย สิ่งที่แต่ละตำบลต้องดำเนินงาน

เรื่องนี้มีต่อครับ

หมายเลขบันทึก: 344414เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2010 08:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 14 พฤษภาคม 2012 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • ตามมาอ่านครับพี่
  • มีใครถอดบทเรียนที่นี่ไหมครับ
  •  ต.หนองสาหร่าย อ.พนมทวน จ.กาญจนบุรี โดยนายวิโรจน์ พรหมอ่อน

สวัสดีครับอ.ขจิตP

  • ที่หนองสาหร่ายเป็นศูนย์เรียนรู้ในเรื่อง "ความสุขมวลรวม"คู่กับบ้านเลือกด้วย
  • หนองสาหร่ายทำมาก่อน แล้วบ้านเลือกไปเรียนรู้มาประยุกต์ใช้ต่อและมีกระบวนการจัดการความรู้คู่กับวิจัยเชิงปฏิบัติการไปพร้อมกัน
  • ที่หนองสาหร่ายเรียกตัวชี้วัดความดี(อ.ไพบูลย์ท่านบอกว่าจะเรียกความดี ความเข็มแข็งหรือความสุขก็ได้ทั้งนั้น)
  • หนองสาหร่ายเป็นศูนย์เรียนรู้ในหลายเรื่อง มีการถอดองค์ความรู้หลายเรื่อง หลายครั้ง
  • ที่เป็นรูปเล่มมี "คู่มือการศึกษาดูงาน แก้จนด้วยคุณธรรมที่ตำบลหนองสาหร่าย" ถอดบทเรียนโดยสถาบันการจัดการทางสังคม(สจส.)
  • ผมพอมีฐานข้อมูลเดี๋ยวจะส่งไปให้ครับ  วันนี้ผมอยู่ที่หนองสาหร่ายครับ
  • ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท