ปอเทือง


เพราะได้ไนโตรเจนเต็มที่ คงไม่ต้องรอรับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานไหน

อาทิตย์ต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมาสถานีพัฒนาที่ดินสุราษฎร์ธานีได้นำ เมล็ดพันธุ์ปอเทือง มาให้ศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลท่าเรือ แจกจ่ายเกษตรกร จำนวน 80 กระสอบ เกษตรกรส่วนใหญในตำบลปฏิเสธที่จะรับไปปลูกถึงแม้ว่าอธิบายสรรพคุณให้ฟัง อาจเป็นเพราะไม่รู้จัก เพราะที่ผ่านมาปีก่อน ๆ สถานนีสนับสนุนเฉพาะเมล็ดถั่วพุ่มลายซึ่งนอกจากให้ปุ๋ยเกษตรกรยังเก็บเมล็ดกินได้ จริงแล้วปอเทืองมีประโยชน์มากเพราะให้ปุ๋ยไนโตรเจนสูงกว่าถั่วพุ่ม กลับมาสำนักงานจึงต้องรีบหาเอกสารอธิบายเกษตรกรเกี่ยวกับปอเทือง เนืองจากว่าหากเกษตรกรไม่นำไปปลูกคงจะเน่าเสียในศูนยบริการ ฯ แน่นอน และได้สรุปออกมาดังนี้

ลักษณะทางพฤษศาสตร์

   ปอเทือง (Crotalaria juncea) เป็นพืชฤดูเดียว ลำต้นตั้งตรงแตกกิ่งก้านสาขามากสูงประมาณ 180 - 300 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดียวยาวรี ช่อดอกเป็นแบบราซีม (racemes) ซึ่งอยู่ปลายกิ่งก้านสาขา ประกอบด้วยดอกย่อย 8 -20 ดอก ดอกสีเหลืองมีการผสมข้ามฝักเป็นทรงกระบอกยาว 3 - 6 เซนติเมตร กว้าง 1 - 2 เซนติเมตร หนึ่งฝักมีประมาณ 6 เมล็ด เมื่อเขย่าฝักแก่จะมีเสียงดังเนื่องจากเมล็ดกระทบกันเมล็ดมีรูปร่างคล้ายหัวใจสีน้ำตาลหรือดำ เมล็ดหนึ่งกิโลกรัมจะมีเมล็ดจำนวน 40,000 - 50,000 เมล็ด หรือหนึ่งลิตรจะมีประมาณ 34,481 เมล็ด

 

วิธีปลูก

 

1) ปลูกแบบหว่านเป็นวิธีที่สะดวก ประหยัดเวลาและแรงงาน โดยการนำเอาเมล็ดพันธุ์ที่เตรียมไว้หว่านลงไปในแปลงให้ทั่วในอัตรา 5 กิโลกรัมต่อไร

2) ปลูกแบบโรยเป็นแถว โดยใช้เมล็ดโรยลงในแถว ระยะระหว่างแถว 75 เซนติเมตร เมื่อโรยเมล็ดลงในแถวแล้วกลบเมล็ดด้วยดินบาง ๆ ใช้อัตราเมล็ด 3 - 4 กิโลกรัม/ไร่

3) ปลูกแบบหยอดหลุม วิธีนี้ล่าช้าและไม่สะดวกในทางปฏิบัติอีกทั้งสื้นเปลืองแรงงาน ไม่เป็นที่นิยมใช้ในกรณีที่มีเมล็ดพันธุ์จำกัดมาก ใช้ระยะปลูก 50*100 เซนติเมตรหยดเมล็ด 2 - 3 เมล็ด/หลุม ใช้อัตราเมล็ด 1 - 3 กิโลกรัม/ไร่

หลังจากปอเทืองออกดอกช่วงอายุประมาณ 50 - 60 วัน ก็ไถกลบ การไถกลบควรจะไถ ขณะที่มีความชื้นอยู่ในดินพอสมควร

 

การใช้ประโยชน์

 

   ปลูกเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสด นิยมปลูกเป็นปุ๋ยพืชสดในสภาพพื้นที่ดอน โดยปลูกในรูปแบบของพืชหมุนเวียน โดยหว่านหรือโรยเมล็ด ก่อนการปลูกพืชหลัก เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย เป็นต้น อย่างน้อย 2.0 - 2.5 เดือน แล้วไถกลบปอเทืองที่อายุประมาณ 50 - 60 วัน ในขณะที่ดินยังมีความชื้นแล้วทิ้งไว้ 7 - 10 วัน ก่อนปลูกพืชหลัก หรืออาจปลูกในรูปแบบของพืชแซม โดยปลูกระหว่างแถวพืชหลัก ปลูกหลังจากพืชหลักประมาณ 1 - 2 สัปดาห์

 

เมล็ดพันธุ์ปอเทืองที่รอแจกจ่าย

 

แปลงยางพาราที่ปลูกปอเทือง ปี 2552 ม. 3 ต.ท่าเรือ
 

หลังจากที่ทำเอกสารแจกจ่ายเกษตรกรหวังว่าภายในอาทิตย์ที่จะถึงนี้คงมีเกษตรกรมาขอรับเมล็ดพันธุ์ปอเทืองไปปลูกกันทั่วน่าคงไม่ทิ้งไว้ให้งอกที่ศูนย์บริการฯ แต่ถ้าทิ้งไว้ศูนย์บริการฯคงจะโตมากๆ เพราะได้ไนโตรเจนเต็มที่ คงไม่ต้องรอรับงบประมาณสนับสนุนจากหน่วยงานไหนอีกเลย...

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 344264เขียนเมื่อ 14 มีนาคม 2010 14:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
  • แถวบ้านเรา ไม่ค่อยเห้นปลูกกัน
  • ถ้าปลูกได้ผลแล้ว แจ้งข่าวด้วยเน้อ..

-สวัสดีครับ

-ขอบคุณสำหรับเรื่องราว ของ ปอเทือง นะครับ...

ผมทำสวนมะพร้าวกะทิปลอดสารพิษที่ จันทบุรี พื้นที่มากกว่า 1000 ไร่ สวนนนี้สภาพดินเสื่อมโทรมมากๆๆ จึงคิดหาแนวทางที่จะปรับปรุงดิน ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด พอดีได้มาเจอ จึงสนใจ ปอเทือง อย่างมาก ผมจะสามารถสั่งซื้อได้มัย สามารถส่งทางไปรษรย์ได้มัย โดยที่ผมจะโอนค่าใช้จ่ายให้ ติดต่อ 087-1289260 ***039486345 คุณหน่อย

แถวๆหัวหินใครมีบอกด้วยครับ อยากได้สักจำนวนหนึ่ง 30ไร่ ใช้เมล็ดมากน้อยเพียงใดดี ช่วยบอกคนไม่รู้ด้วยครับ

แถวๆๆ เพชรบูรณ์ มีขายที่ไหนบ้าง ครับ ต้องการด่วน ผมทำประมาณ 10 ไร่ ใช้ปอเทืองประมาณ กี่กิโลกรัม ครับ ติดต่อด้วยน่ะครับ 0815967717 ผม วิโรจน์

คนนอกพื้นที่หรือไม่ได้อยู่ในจังหวัดสุราษฏร์ธานีขอรับเมล็ดพันธุ์ได้มั้ยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท