วิเคราะห์ภาระงาน


            ห้องสมุดกำลังประชุมกันอย่างหน้าดำคร่ำเครียดในการวิเคราะห์ภารกิจของห้องสมุด หลังจากที่เราเชิญวิทยากร ดร.มลิวัลย์ จากมหาวิทยาลัยรังสิตมาให้ความรู้และแนวคิดกับพวกเรา

               การระดมความคิด ในวันนี้ถือเป็นการต่อยอดจากการระดมความคิดเมื่อครั้งที่ผ่านมา โดยเรานำกรอบความคิดจากวิสัยทัศน์ขององค์กรเป็นตัวตั้ง และดูว่าเราจะมีงานเชิงรุกอย่างไรเพื่อที่จะขับเคลื่อนองค์กรของเราให้บรรลุตามวิสัยทัศน์

              จากคำถามที่ห้องสมุดต้องคิดในเชิงรุกก็คือ

  • จะทำอย่างไรให้บุคลากรสำนักหอสมุดรวมเป็นส่วนหนึ่งของทีมวิจัย
  • จะทำอย่างไรให้บุคลากรสำนักหอสมุดเป็นส่วนหนึ่งของทีมการเรียนการสอน
  • จะทำอย่างไรที่ให้ห้องสมุดมีชีวิตชีวา เป็นห้องสมุดมีชีวิต
  • จะทำอย่างไรที่ให้ลูกค้า หรือผู้ใช้บริการเป็นทีมหนึ่งกับเราที่จะบอกความจริงว่าผู้ใช้บริการต้องการอะไร
  • จะทำอย่างไรที่จะพัฒนาบุคลากรของเราเป็นมืออาชีพ และมีความชำนาญในงานของเรา
  • จะทำอย่างไรให้ห้องสมุดเรามีผลิตภัณฑ์สินค้า และบริการที่สามารถขายได้
หมายเลขบันทึก: 34240เขียนเมื่อ 15 มิถุนายน 2006 15:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 14:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • งานห้องสมุดที่ มน ดีมากเลยครับ

อยากให้ห้องสมุดมีวารสารเทคโน ฯ เยอะ ๆ นะคะ

   ในฐานะที่หม่อมกลางเป็นบรรณารักษ์งานวารสารจะรับดำเนินการจัดหาวารสารเทคโนฯให้นะคะ  แต่ถ้าจะให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้อยากให้เสนอรายชื่อวารสารที่ต้องการให้สำนักหอสมุดบอกรับได้เลยค่ะ และขอขอบคุณอีกครั้งที่ช่วยแนะนำค่ะ

    ดิฉันได้ไปดูงานห้องสมุดมีชีวิตที่ห้องสมุดมารวย ที่กรุงเทพ  เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้เห็นภาพห้องสมุดมีชีวิตแล้วขอชื่นชมว่าเขาทำได้ดี  สิ่งหนึ่งที่เป็นที่มาของห้องสมุดมีชีวิต  คือ การพัฒนาจากงานวิจัย  (ขอเก็บตกจากวารสาร มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ) สรุปงานวิจัย ได้ว่า 

1.ต้องการให้มีมุมกาแฟ ร้ายขายอาหาร เครื่องดื่ม มีการจัดสวนภายในตัวอาคาร สร้างสีสันในตัวอาคารและเปิดเพลงเบาๆ ขณะให้บริการ

2. ต้องการมีการบริการที่ยิ้มแย้มแจ่มใส บริการรวดเร็ว  มีการยืม คืนวัสดุด้วยตนเอง ให้บริการตลอด 24 ช.ม. มีการประชาสัมพันธ์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีการจัดกิจกรรมเสริมภายในห้องสมุดเพื่อกระจุ้นการอ่าน

3. มีการพัฒนาระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตเชื่อมโยงกับหน่วยงานภายนอก  มีการแนะนำวัสดุผ่านอินเตอร์เน็ต  ใช้อินเตอร์เน็ตช่วยในการศึกษาค้นคว้า

       เป็นอย่างไรบ้างคะผลการวิจัยแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาจากกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม  ได้แก่ กลุ่มนักศึกษา  กลุ่มอาจารย์และกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ   ทางห้องสมุดมารวยเขาได้พัฒนาห้องสมุดจากพื้นที่เล็ก ๆ ให้เป็นห้องสมุดมีชีวิต(Living Library)  น่าชื่นชมทีมงานของเขามาก

      บอกจริงๆ ว่าอยากนำมาพัฒนาโรงเรียนที่ดิฉันทำงานอยู่แต่คงต้องมีปรับให้เข้ากับบริบทที่เป็นอยู่  ที่สำคัญโรงเรียนประถมศึกษาในชนบทคงต้องหาทุนเอง  ทำเอง เป็นสูตรตายตัวที่ต้องยอมรับมานานแล้ว  ท่านใดพอจะแนะนำแหล่งทุนบอกมั่งนะคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท