modelคุณอำนวย17โรงพยาบาลภาคเหนือตอนล่าง


model faci

เรื่องเล่า…ของคุณอำนวยกลุ่มโรงพยาบาลภาคเหนือตอนล่าง ( 17 โรงพยาบาล)

        การพบกันของคุณอำนวยที่มาด้วยสัญญาใจ เพื่อทำคู่มือคุณอำนวย โครงการจัดการความรู้ของกลุ่มโรงพยาบาลภาคเหนือตอนล่าง ( 17 โรงพยาบาล) ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดยสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคมและสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพในวันที่ 22 – 23 สิงหาคม 2548 ที่ผ่านมาด้วยบรรยากาศที่เต็มไปด้วยความสนุกสนานแบบมีสาระ เป้าหมายในการมาพบกันครั้งนี้เพื่อ จัดทำคู่มือคุณอำนวยฉบับประสบการณ์ขอคุณอำนวยในโรงพยาบาลภาคเหนือตอนล่าง 17 โรงพยาบาล วันแรกรู้สึกตกใจเนื่องจากมีคุณอำนวยซึ่งเป็นตัวแทนของแต่ละโรงพยาบาลไม่ครบ ซึ่งหายไปประมาณ 9 โรงพยาบาล ซึ่งได้ก็ข่าวว่าเป็นช่วงที่มีการประชุมตรงกันพอดีจึงทำให้บางโรงพยาบาลมาไม่ได้

          วิกฤตเป็นโอกาสเสมอกลุ่มคนที่มีขนาดไม่เล็กไม่ใหญ่ 10 คนพอดี ถ้าไล่ชื่อก็มี พี่ด้า(คุณอำนวยตัวจริงที่มีประสบการณ์สูง) พี่เจี๊ยบ จาก รพ.พิจิตร พี่เจี๊ยบ (คนสวย และจริงใจ) คุณติ๋ม จาก รพ.ตสม. คุณจอย น้องเฟิร์ส จาก รพ.พิษณุเวช พี่แป้วจาก รพ.พุทธ น้องเล็ก จากสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ น้องจากรพ.ชาติตระการ และจากรพ.ค่ายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช( ผู้เล่า) และที่ลืมไม่ได้คือ พี่เกษราภรณ์ แห่งรพ.บ้านตาก ที่ให้แต่เอกสารคุณอำนวย แต่ไปทำหน้าที่เป็นคุณ CKO ถือว่าเป็นบุคคลที่มีสมรรถนะสูงมาก เริ่มเปิดวงสนทนาด้วยเล่าประสบการณ์การเป็นคุณอำนวยในโรงพยาบาลของตน โดยจะมานำเรื่องเล่าของแต่ละคนจับมาใส่ใน Theme ที่สำคัญเช่น ความหมายคุณอำนวย คุณสมบัติ บทบาท ปัจจัยแห่งความสำเร็จ และไม่สำเร็จ ที่น่าสนใจคือเราได้โมเดลของคุณอำนวยแบบยำๆ คือเรานำ Modelของแต่ละโรงพยาบาลมาใส่ตาราง Metrix เพื่อนำส่วนที่เหมือนมารวมกัน นำส่วนต่างมาเพิ่ม ซึ่งเต็มไปด้วยความสนุกสนานแบบมีวิชาการ ไม่เหมือนกลุ่มCKO ที่ค่อนข้างจะเครียดเพราะมีสาระสูงมากจนบางครั้งมีความรู้ล้นมาให้กลุ่มคุณอำนวยแบบไม่ได้ขอ(นั่งทำกลุ่มในห้องเดียวกัน) ซึ่งคู่มือที่ได้ในครั้งนี้ คุณไพฑูรย์จะนำไปส่งให้คุณอำนวยที่มาและไม่ได้มาในครั้งนี้เพื่อนำไปตรวจสอบเนื้อหาว่าจะเพิ่มหรือจะลดเพื่อให้ได้คู่มือจากผู้มีประสบการณ์จริงๆ ซึ่งตรงนี้ตรงใจผู้เล่ามาก เนื่องจากการจัดการความรู้ในโรงพยาบาลที่มีบริบทต่างกันนั้นยังไม่มีใครนำรูปแบบมายำรวมกันเพื่อให้เห็นภาพ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ ซึ่งคิดว่าตรงนี้เป็นจุดเริ่มต้น ซึ่งดูแล้วชวนติดตาม ในการพบกันครั้งนี้และก่อนหน้านั้นจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่มีเจ้าภาพคือ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม และสถาบันวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยเฉพาะ ศ.วิจารณ์ พานิช ผู้กระตุ้นสังคมไทยในทุกภาคสังคมทำให้เกิดการจัดการความรู้ ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด อาจารย์ผู้มุ่งมั่นเจ้าของโมเดลปลาทูที่ทุกคนจำได้ คุณวรรณา เลิศวิจิตรจรัส ผู้ประสานงานที่เข้มแข็ง และเจ้าหน้าที่สคส.ทุกท่าน ขอเป็นกำลังใจค่ะ

        และเราได้มีการนัดพบกันอีกครั้ง ในเดือนกันยายนค่ะเพื่อสรุปคู่มือคุณอำนวยใน 17โรงพยาบาลภาคเหนือตอนล่าง และตอนนี้คงต้องให้ดู Model คุณอำนวยกันหน่อย (ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างปรับปรุง) Model “คุณอำนวย”

 

     Phase I : สร้างทีมคุณอำนวย

    1. กำหนดคุณสมบัติของคุณอำนวย
    2. เลือกคุณอำนวย
    3. พัฒนาทักษะคุณอำนวย

                           3.1  ทักษะการบริหารจัดการ    3.2  ทักษะการให้คำปรึกษา   3.3  ทักษะการใช้เครื่องมือ

                                 (Tool KM)   River  diagram, Peer assit, AAR, Dialogue, storytelling

                                 หมายเหตุ  ICT ถ้ามีจะช่วยสนับสนุนส่งเสริมได้มากขึ้น

Phase II : กำหนดเป้าหมายของกิจกรรม (Knowledge Vision)

    • นโยบาย องค์กร / กระทรวง / ประเทศ
    • เข็มมุ่งของหน่วยงาน องค์กร / กระทรวง / ประเทศ
    • ตัวชี้วัด
    • SWOT Analysis (วิเคราะห์....)
    • โอกาสพัฒนาร่วม

Phase III : การดำเนินการ

    1. ค้นหา Best practice
    • ภายในองค์กร /Intranet, เวทีคุณภาพ, พูดคุย, เครือข่าย ฯลฯ
    • ภายนอกองค์การ Internet, web-blog, วาสาร, เครือข่าย ฯลฯ

(จะได้ทั้ง Tacit knowledge , Explicit knowledge)

                    2.  จัดช่องทางให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    • พูดคุย, วงสนทนา
    • การประชุม เช่น การประชุมสหสาขาวิชาชีพ
    • เวทีคุณภาพ / มหกรรมคุณภาพ
    • ประชุมปรึกษาหารือก่อน-หลังปฏิบัติงาน
    • Intranet, Internet, web-blog

                  3.  กระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

    • สร้างบรรยากาศความไว้วางใจ
    • สร้างแรงจูงใจ เช่น คำชมเชย, รางวัล, ประกาศนียบัตร

               4.  ประเมินผลกระบวนการ การดำเนินการ

หมายเหตุ ; ทุกขั้นตอนการดำเนินการ ต้องมีผู้จดบันทึก (note taker) สรุปประเด็นองค์ความรู้

Phase IV : รวบรวม Knowledge Asset

    • สร้างคลังความรู้ (เอกสาร, ICT)
    • เผยแพร่ในองค์กร
    • เผยแพร่นอกองค์กร

- จัดเก็บเอกสาร Knowledge Assets ให้สะดวกต่อการเข้าถึง

- เอกสาร

- ICT

- CD

Phase IV : เผยแพร่ความรู้เพื่อยกระดับความรู้ (Knowledge Leverage)

    • ภายในองค์กร
    • ภายนอกองค์กร
    • บุคคลสู่บุคคล (คนต่อคน)
    • บุคคลสู่หน่วยงาน (คนต่อหน่วยงาน)
    • หน่วยงานสู่องค์กร
    • องค์กรสู่องค์กร

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 3418เขียนเมื่อ 3 กันยายน 2005 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 13:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ขอเป็นกำลังใจนะครับ    ดูเค้าแล้วน่าจะออกมาดี    อย่าลืมใส่เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเชิงเคล็ดลับในการปฏิบัติจริงให้มากๆ นะครับ   กับคุณกิจหัวดื้อ คุณอำนวยมีเคล็ดลับอย่างไร    กับคุณกิจที่เกือบจะเป็น dead wood คุณอำนวยมีกุศโลบายปลุกให้ตื่นอย่างไร    เอาจากเรื่องจริงมารวบรวมไว้
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท