PRA : การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม


PRA หรือชื่อเต็มคือ Participatory Rural Appraisal หมายถึง การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม ปัจจุบันเริ่มเป็นที่รู้จักและนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายหลายประเภทในพื้นที่ต่างๆ ผลการนำไปใช้พบว่า แนวคิด หลักการ และกระบวนการ PRA มีความเหมาะสมเพื่อนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมต่างๆด้วย

            PRA หรือชื่อเต็มคือ Participatory Rural Appraisal หมายถึง การวิเคราะห์ชุมชนแบบมีส่วนร่วม  ปัจจุบันเริ่มเป็นที่รู้จักและนำไปใช้กับกลุ่มเป้าหมายหลายประเภทในพื้นที่ต่างๆ  ผลการนำไปใช้พบว่า แนวคิด  หลักการ และกระบวนการ PRA มีความเหมาะสมเพื่อนำผลการวิเคราะห์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมต่างๆด้วย จึงขอนำเนื้อหาที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมค่ายดังนี้ 

การจัดเตรียมการจัดกิจกรรม PRA

ก่อนการจัดกิจกรรม วิทยากรควรเตรียมการในเรื่องดังนี้

1.เตรียมกลุ่มเป้าหมาย·       ก่อนเริ่มกิจกรรมหากวิทยากรเข้าไปทำความรู้จักหรือสร้างความสัมพันธ์กับผู้เข้าร่วมกิจกรรมก่อนก็จะเป็นการสร้างความคุ้นเคย ไม่เป็นคนแปลกหน้าต่อกัน จะช่วยให้การแสดงออกต่อกันเป็นไปโดยธรรมชาติ·       ศึกษาข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มผู้ที่มาเข้าร่วมกิจกรรม เช่น พื้นฐานทางครอบครัว การศึกษา ธรรมเนียม ประเพณี ข้อมูลเหล่านี้สามารถนำมาเป็นประเด็นในการพูดคุยได้

2.เตรียมสถานที่จัดกิจกรรม·       หลักการของ PRA เน้นความเสมอภาค การจัดที่นั่งที่สอดคล้องที่สุดคือการนั่งพื้น  การจัดสถานที่จึงควร เป็นพื้นราบเรียบ พื้นดิน  ใต้ร่มไม้ มีแสงสว่างพอสมควร สะดวกต่อการจัดกิจกรรม บรรยากาศสบายๆไม่เป็นทางการ ไม่มีผู้คนพลุ่กพล่าน

3.การนัดหมายกลุ่มเพื่อทำกิจกรรม·       การนัดหมายกลุ่มควรให้ทางกลุ่มเป็นผู้กำหนดเอง แต่หากวิทยากรกำหนดไว้แล้วเป็นตารางกิจกรรม ควรถามความคิดเห็นจากทางกลุ่มเพื่อถือเป็นการตกลงร่วมกันในการนัดหมาย วิทยากรต้องสำรวจความเรียบร้อยของสถานที่ก่อนจะมีการจัดกิจกรรมทุกครั้ง  และวิทยากรต้องอดทนเพราะบางกลุ่มอาจมาล่าช้า ไม่พร้อมเพรียงกัน วิทยากรอาจต้องมีกิจกรรมสำรองระหว่างรอเวลานานๆ

4.เตรียมกิจกรรมสำรอง·       การจัดกิจกรรม ทุกครั้งจะต้องมีกิจกรรมสำรองไว้ทุกครั้ง เพราะกิจกรรมที่ตั้งไว้อาจจัดไม่ได้ด้วยเหตุผลต่างๆ วิทยากรจะได้นำกิจกรรมสำรองมาใช้·       ในการตั้งคำถาม ควรเตรียมเผื่อไว้ หรือตั้งคำถามในหลายลักษณะ เพื่อช่วยให้เข้าใจประเด็นชัดเจน

5.      เตรียมวัสดุ อุปกรณ์ให้พร้อม·       วัสดุ อุปกรณ์ เตรียมไว้สำรองด้วยเผื่อต้องแบ่งกลุ่มเพิ่มถ้ามีคนจำนวนมาก 

การจัดกิจกรรม PRA            เมื่อเตรียมทุกอย่างพร้อมแล้ว ต่อไปคือการจัดกิจกรรมกับกลุ่ม ตามลำดับดังนี้

1.การจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อม·       แนะนำตัว/ละลายพฤติกรรม

·       กิจกรรมเตรียมความพร้อม

-          ปฐมนิเทศ/ การชี้แจงกิจกรรม

-          เล่นเกมสนุกๆใช้เวลาเล็กน้อยแต่ได้สาระ

2.แบ่งกลุ่มเป็นกลุ่มขนาดเล็กการแบ่งเป็นกลุ่มเล็กเพื่อ

-     ทุกคนมีส่วนร่วมเต็มที่

-     ลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมบางอย่างเช่น การพูดมาก การพูดโอ้อวด

-      รู้จักสนิทสนมง่ายการแบ่งกลุ่มทำได้หลายวิธี เช่น

-ใช้การนับ ต้องการให้มี 5 กลุ่มก็ให้นับ 1- 5 แล้วรวมคนนับเลข 1 เข้าเป็นกลุ่มเดียวกัน-ใช้อายุ วัน เดือน ปี เกิดแบ่ง วิธีนี้ทำให้ทราบข้อมูลผู้เข้าร่วมกิจกรรมด้วย

3.เริ่มทำกิจกรรม ต่างๆ ตามที่ทางวิทยากรเตรียมมา4.คอยสังเกตและเข้าไปช่วยเหลือ

-          การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมีความเสมอภาคหรือไม่ ถ้าพบว่าไม่มีความเสมอภาคต้องเข้าไปช่วยแก้ไข

-          พฤติกรรมที่จะต้องพิจารณาแก้ไขคือ พฤติกรรมที่ขัดขวางการทำงานและความก้าวหน้าของกลุ่ม ได้แก่

-          ขี้อาย นั่งเฉยๆ ลังเล-          พูดมาก โอ้อวด

-          ไม่ฟังความคิดเห็นคนอื่น ชอบโต้แย้ง

-          ล้อเลียนเพื่อน  หัวเราะเยาะความคิดเพื่อน

-          ทำตลก ดึงความสนใจเพื่อน

-          พูดจาก้าวร้าว ไม่สุภาพพฤติกรรมดังกล่าว หากเห็นว่าทำให้กิจกรรมกลุ่มไม่ก้าวหน้า วิทยากรต้องเข้าไปแก้ไขอย่างละมุนละม่อม อย่าสั่ง วิธีที่เหมาะคือ

-          พยายามให้ทุกคนมีส่วนร่วม  ชักชวนคนที่ไม่พูดให้ได้พูดแสดงออกบ้าง เช่น น้องส้มคิดว่าอย่างไงบ้างค่ะ

-          ให้ผู้ที่พูดมากให้โอกาสคนอื่นพูดบ้าง เช่น ไหน เราฟังน้องออมเล่าบ้างดีไหมค่ะน้องตูม

-          เสนอทางเลือกให้กลุ่มพิจารณา หากกลุ่มคิดไม่ออก เวลาใกล้หมดแล้ว

-          กระตุ้นให้กลุ่มรีบคิด โดยอาจยื่นข้อเสนอหากคิดเสร็จเร็วจะพาเล่นเกม

-          ผู้ที่ทำตัวเป็นปัญหาต่อกลุ่มมากอาจต้องเชิญมาคุยเป็นการส่วนตัว

5.จดบันทึกปรากฎการณ์ในกลุ่ม

-          บรรยากาศการแลกเปลี่ยน และการทำกิจกรรม

-          สนุกสนาน  ผ่อนคลาย

-          เครียด

-          เฉื่อยชา

-          การมีส่วนร่วมของผู้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละคน

-          ปัญหาและการแก้ปัญหา

-          ระยะเวลาที่ใช้ในการทำกิจกรรม

-          เก็บผลงานของทางกลุ่ม หรือจำลองผลงาน

6.สรุปกิจกรรมหลังจากบันทึกปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นภายในกลุ่มแล้ว เราควรมีการสรุปภาพรวม และรายบุคคลของทั้งกลุ่ม ว่าเป็นอย่างไร เช่น

-          การช่วยเหลือ เอื้ออาทรกันภายในกลุ่ม

-          การสร้างปัญหาและการแก้ไขปัญหา

-          การยอมรับความคิดเห็น

-          ความเป็นผู้นำผู้ตามของแต่ละคน

-          ความพึงพอใจในแต่ละกิจกรรมของแต่ละคน

7.ประเมินกิจกรรมหากต้องการทราบว่าผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีความพอใจในกิจกรรมหรือไม่เราควรให้ผู้เข้าร่วมประเมินกิจกรรม โดยการ

-          ถามความรู้สึกแต่ละคน

-          เขียนภาพหน้าคน 3 แบบ ยิ้ม J (พอใจ)  เฉยๆ  (ปานกลาง)  หน้าเบ้  (ไม่พอใจ)  แล้วให้แต่ละคนออกไปกาใต้ภาพที่ตรงกับความรู้สึกของตน

-          แจกแผ่นกระดาษที่ตัดไว้ แล้วให้เขียนแสดงความรู้สึก

-          ติดแผ่นกระดาษเปล่าไว้แล้วให้ออกไปเขียนแสดงความรู้สึก

8. สรุปบทเรียนของ Leader            เมื่อกิจกรรมสิ้นสุดลง Leader ควรมีการสรุปบทเรียนให้กับตัวเอง เช่น

-          ข้อผิดพลาด ข้อบกพร่อง เกิดอะไร วิธีที่แก้ไขใช้ได้หรือไม่ อย่างไร หากไม่ได้ จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร-          ความสำเร็จในการทำงานครั้งนี้คืออะไร

-          ความประทับใจในการทำงาน มีอะไรบ้าง

-          สิ่งที่เรียนรู้เพิ่มเติมจากการทำงาน

หมายเลขบันทึก: 34131เขียนเมื่อ 14 มิถุนายน 2006 13:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 10:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

นำเนื้อหาไปทำรายงานในวิชาที่เรียน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท