ซุมแซง (ภาษาลาว/ไทย)


อันว่า แนวนามเชื้อซุมแซง วงศ์เผ่า

                สวัสดีครับ  ทุกท่านที่เคารพครับ  ผมขาดการเขียนมาปีเศษ  แต่ก็เข้ามาอ่านเป็นประจำ  ช่วงนี้ผมเพิ่งจะมีโอกาสดาวน์โหลดฟอนท์ภาษาลาวมาพิมพ์ที่เครื่อง  จึงใช้ความรู้การเขียนภาษาลาวที่พอมี  นำบทกวีภาษาลาวพิมพ์แล้วสแกนเป็นไฟล์ภาพ  นำมาลง  และขอเรียนว่าได้มีการเผยแพร่ที่บล็อกอื่นมาแล้วโดยคนเขียนคนเดียวกัน  แต่คนละนามแฝงครับ

                     อวิโรฒ ศรีสุโร 

                    ซุมแซง๒

                    อันว่า        แนวนามเชื้อซุมแซง  วงศ์เผ่า

                                   เป็นข่อยเจ้าเว้าด้าม  เดียวกัน

                   เถิงว่า          สายนทีกั้นบ่เตื้องต่อ  ใจแหนง

                                   สายแพงฮักบ่ขาดไล  ลาปี้น

                   ฟังยิน         เสียงพิณห่าวจ้าวแคน  ลายล่อง

                                  ปลุกวิญญาณพี่น้อง  ใจซ่วนม่วนกะเสิม

                   ปางแต่        เดิมดาเค้าข้าวคำ  จ้ำบ่าย 

                                 ปลาแดกบ้ำ  บองบั้งอ่อมอู๋  

              ซุมแซง๓    

                         ก็จึ่ง     อยู่มาได้   เป็นลาว-ไทยอีสาน

                                   ผองแต่บูฮาน  แม่นต่อนเดียวโดยด้าม

                                   มีฮีตคองธรรมค้ำ   เสียงแคนลำม่วน

                                  ปูมผญาคนล้วน  เฮียนฮู้บ่เซา 

                                  ขอให้ใจโทมต้อม  ดอมกันอย่าแบ่ง

                                  ฮักแพงตุ้มซุมเชื้อ  หมู่เฮา

                                  โฮมปานเต้า  แคนเป่าสุดสะแนน

                                  แสนหมื่นปีกะบ่มี  วายม้าง...

                                  แสนหมื่นปีกะบ่มี  วายม้าง... นั่นถ่อน

                                             บุญมา  ภูเม็ง

               อวิโรฒ ศรีสุโร/

                (ภาพทั้ง ๒ แผ่น จาก บันทึกอีสาน ฯ โดย อาจารย์วิโรฒ  ศรีสุโร)

 หมายเหตุ

 ซุมแซง : ซุม  หมายถึง  พวก  กลุ่ม / แซง  หมายถึง  เส้น  สาย  ทาง  แกน  ซุมแซงมีความหมายคล้ายคำว่า  วงศ์วาน  ว่านเครือ  ในภาษาไทย 

 เตื้องต่อ : เอาใจใส่  สนใจ

 บ่ขาดไล ลาปี้น : ไล  หมายถึงพลัดพราก  การจาก / ปี้น : ปลิ้น  พลิก  การเปลี่ยนแปลง

 ซ่วน : การใช้มือประคอง  รองรับ  ชูสิ่งใด ๆ ในมือ  การต่างรับให้คนอื่น  เรียกว่าการซ่วน

 กะเสิม : เกษม  มีความสุข

 จ้ำบ่าย  : ใน "ข้าวคำ  จ้ำบ่าย" จ้ำ: จิ้ม การใช้ข้าวเหนียวจิ้มอาหาร / บ่าย : การใช้ข้าวเหนียวปั้นบีบคลุกกับอาหาร  หรือนำข้าวเหนียวมาประกบอาหารไว้ตรงกลางแบบแซนวิช  ถือกินแบบสบาย ๆ ตามทางเวลาไปนา เดินทางไกล  เช่น ข้าวบ่ายแจ่ว คือข้าวเหนียวแซนวิชแจ่วปลาร้า  เป็นต้น

 บ้ำ : ปลาบ้ำ  คือปลาเล็ก เช่น ปลาซิวนำมาหมักส้ม / บอง : น้ำพริกปล้าร้าบอง แจ่วบอง / บั้ง : น้ำพริกปลาร้าบรรจุกระบอกไม้ไผ่ บั้งไม่ไผ่ / อ่อม,อู๋ : แกงอ่อมอีสาน/ลาว ปรุงปลาร้านำทำให้กลมกล่อม(รสนัว) ส่วนอู๋หน่อไม้  อู๋เพี้ย  อู๋น้องงัว/ควาย ก็มีวิธีทำแตกต่างกันออกไป

 โทม, ต้อม, โฮม, เต้า : รวม  รวมกัน  

 ตุ้ม : ห่ม  คลุม  โอบผ้า  โอบแขนให้อบอุ่น 

 

หมายเลขบันทึก: 337620เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2010 08:53 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 13:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

ซาบซึ้งใจค่ะ

สุดยอดเลยครับครูชา ผมก็เคยเรียนภาษาลาวมา

ขอบคุณนะครับ

สวัสดีครับ คุณสีทันดร และคุณครูราชิต สุพร ครับ

ขอบคุณที่เข้ายี่ยมอ่าน ครับ

สุดยอดเลยครับ ครู อ่านแล้วผมขนลุกครับ

ขอบคุณและสวัสดีครับ  คุณบ่าวบ้านนอก... บ้านใด๋น้อ..

สุดยอดครับ! ทว่าการเขียนภาษาลาวควรเอาใจใส่ตัว ย = ຍ และ อย = ຢ. วิญญาณ = ວິນຍານ, ผญา = ຜຫຽາ - ຜະຫຍາ.

สุดๆครับ. เขียนต่อมากๆนะครับ

อ่านแล้ว รู้สึกงดงาม ยกใจมากครับ

อาจารย์ชาตรี

" เซื้อซุมแซง" มีความหมายลึกๆค่ะ...คนอีสานก็คือหนึ่งในเซื้อซุมแวงแม่นบ่หล่ะ....

อาจารย์ชาตรี

" เซื้อซุมแซง" มีความหมายลึกๆค่ะ...คนอีสานก็คือหนึ่งในเซื้อซุมแวงแม่นบ่หล่ะ....

บ่ค่อยได้เข้ามา เขียน มาอ่านพอปานใด๋ ดนนานเข้า แต่ก็ชอบอ่าน เขียน กวีอีสาน/ลาว ขอบคุณดร. ภิญโญ และท่านนีนาด ครับ

ถูำแล้วครับ เซื้อซุมแซงเฮายาวมาแต่ปุปู้ มีพ่อเฒ่าแม่ตู้พากินข้าวเหนียว บ่ายจ้ำปลาแดกมาโน่นแหละครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท