การวิจัยในชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วม (Participatory Classroom Action Research)


การนำกระบวนการจัดการความรู้เข้าไปจัดการความสงสัยในแววตาของนักเรียน นักศึกษาเป็นสามารถตั้งชุดโจทย์วิจัยในชั้นเรียนได้อย่างหลากหลาย เพราะความสงสัยของนักเรียนแต่ละคนนั้นจะขึ้นอยู่กับพื้นฐานแลประสบการณ์ทางครอบครัวและสังคมที่แตกต่างกัน

การวิจัยในชั้นเรียนเป็นการหาคำตอบที่เกิดขึ้นในการจัดกระบวนการเรียนการสอนเพื่อแก้ไข ปรับปรุง และพัฒนากระบวนการเรียนการสอนนั้นให้ดีขึ้น คำว่าดีขึ้นนี้จะต้องพุ่งเป้าไปที่ตัวนักเรียนหรือลูกศิษย์ซึ่งมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น สามารถนำวิชาความรู้ไปใช้ได้ดีขึ้น ซึ่งจะเป็นการพัฒนาทั้งประสิทธิภาพของครูและประสิทธิภาพของลูกศิษย์

 

ประสิทธิภาพของครูคือ สามารถใช้เวลา สถานที่ และทรัพยากรในสถาบันการศึกษาที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การวิจัยในชั้นเรียนจะช่วยให้ครูสามารถประยุกต์ใช้สิ่งรอบกาย สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ในห้องเรียน อุปกรณ์ เครื่องมือต่าง ๆ พัฒนาให้เป็น "เครื่องมือช่วยสอน" ซึ่งสามารถประยุกต์ใช้หลักการของ "การวิจัยแบบมีส่วนร่วม" คือ ให้เด็กนักเรียน ร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมแก้ไข ร่วมพัฒนาปรับปรุง โดยมีส่วนสำคัญก็คือ "ร่วมกันเรียนรู้" ในทุก ๆ กระบวนการที่เกิดขึ้น

การวิจัยในชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วมนั้น (Participatory Action Classroom Research) จักต้องเน้นให้นักเรียนมีส่วนร่วมในทุก ๆ กิจกรรม

ตั้งแต่การเริ่มตั้งโจทย์ ซึ่งสามารถประยุกต์หลักการของ "การจัดการความรู้ (Knowledge Management)" เข้าไปจัดการข้อสงสัย ข้อติดใจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เองคือ จุดเริ่มต้นของการแสวงหาความรู้

การนำกระบวนการจัดการความรู้เข้าไปจัดการความสงสัยในแววตาของนักเรียน นักศึกษาเป็นสามารถตั้งชุดโจทย์วิจัยในชั้นเรียนได้อย่างหลากหลาย เพราะความสงสัยของนักเรียนแต่ละคนนั้นจะขึ้นอยู่กับพื้นฐานแลประสบการณ์ทางครอบครัวและสังคมที่แตกต่างกัน ดังนั้นโจทย์การวิจัยจะกว้างกว่าการตั้งโจทย์โดยอาจารย์ผู้สอนแต่เพียงคนเดียว

การจัดเวทีและการทำหน้าที่เป็นคุณอำนวยในชั้นเรียนจึงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ตัวอาจารย์เองจะต้องใช้คำถามแบบเปิด และไม่ละเลยคำถามของนักเรียนที่ส่วนใหญ่เรา (อาจารย์) มักมองว่าเป็นเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ

การทำวิจัยแบบมีส่วนร่วมในชั้นเรียนนี้เราสามารถตั้งทีมงานโดยให้นักเรียนจัดการได้ทั้งหมด แนวคิดนี้เป็นส่วนสำคัญ เพราะเราไม่ควรที่จะทำอะไรแต่เพียงผู้เดียว ทั้งการเขียน mind map การเตรียมวัสดุอุปกรณ์ การจัดเก็บ สรุปข้อมูล การถอดเทป ถอดความ การเตรียมงานในครั้งหน้า เราต้องแจกจ่ายงานให้เด็กตามความถนัดหรือ "แวว" ของเด็กแต่ละคน

อาจารย์ต้องพยายามใช้การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยการปฏิบัติให้มาก ให้เขาทดลองทำไปเรื่อย โดยพยายามจัดกระบวนการเรียนรู้ให้อยู่นอกเหนือจากคำว่า "ผิดหรือถูก"

คำว่าผิดหรือถูกมักจะเป็นตัวผิดกั้นกระบวนการเรียนรู้

เราต้องพยายามให้นักศึกษาทำไปเรื่อย ๆ เพราะทุก ๆ ครั้งที่เขาได้ลงมือทำนั่นคือการเรียนรู้

อาทิเช่นการเขียน mind map เราก็พยายามให้นักเรียนผลัดเปลี่ยนกันออกมาเขียน ให้เขาได้ทดลอง ซึ่งอาจจะมีนักเรียนที่เคยเขียนอยู่ก่อนคอยเป็นพี่เลี้ยงอยู่ใกล้ ๆ ให้เขาได้แลกเปลี่ยนความรู้กัน เพราะเขาเป็นคนวัยเดียวกัน เขาคุยกันได้ง่ายกว่าเรา

พยายามให้นักเรียนทำกิจกรรมการเรียนรู้ของเขาเองด้วยตัวของเขาเองให้มากที่สุด แล้วการวิจัยในชั้นเรียนแบบมีส่วนร่วมจะดำเนินไปถึงจุดที่ได้ประโยชน์อย่างแท้จริง


 


ที่มาจากบันทึก การวิจัยในชั้นเรียน (Classroom Research)

หมายเลขบันทึก: 337614เขียนเมื่อ 18 กุมภาพันธ์ 2010 07:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เมื่อใดที่มีโอกาสมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นในห้องประชุม ห้องเรียน หรือห้องทำงาน เหมือนกับว่า แต่ละครั้งสามสรถจดจำและเข้าใจในเรื่องนั้น ๆ ในแง่มุมที่มากขึ้นค่ะ เช่น เคยเขียนหรือ นำเสนอเรื่องนี้ ทำให้ย้อนคิดได้รวดเร็วที่จะดึงข้อมูลมาใช้ การมีกิจกรรมร่วมลดภาวะการใจลอย หรือ ละความสนใจในความรู้ที่เกิดขึ้น แถมในบางครั้งที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกันและกันเองเกิดความรู้ หรือ มุมมองใหม่ ๆ ขึ้นมาได้ค่ะ

แต่เมื่อไหร่ที่มีกิจกรรม แล้วมีส่วนร่วมน้อย จำเป็นมาก ๆ ที่ต้องตั้งใจและจดจ่อในเรื่องนั้น ๆ เป็นพิเศษ เพราะง่ายมาก ๆ ที่จะ หลุดประเด็น แต่การมีส่วนร่วมที่จดจำได้ดี มันจะเป็นกิจกรรมที่ทำแล้ว สนุกสนานครึกครื้นค่ะ ยิ่งนึกถึง ก็จะยิ่งจำได้เพราะจะถูกทวนขึ้นมาบ่อย แต่อันไหนที่เรียนด้วยความเคร่งเครียด แค่ภาพเหตุการณ์ปรากฏขึ้นมา ก็รู้สึกอ่อนใจ

เรียนท่านอาจารย์ F2F กันที่ Mini_UKM5 มทส ครับ ท่าน

ต้องหัดตั้งสมมติฐานให้บ่อย อย่าไปหลับหูหลับตาเชื่อคนอื่นให้ไวนัก (ต้องไปศึกษาหลัก "กาลามสูตร" ให้ดี)

หลัก "กาลามสูตร" นี้ไม่ใช่สอนให้เราเป็นคนหัวรั้น แต่สอนให้เรารู้จักเป็นคน "มีเหตุ มีผล" และเหตุผลนั้นจักต้องเกิดขึ้นจากเรา จากการกระทำของเรา จากการพิสูจน์ของเรา

เหตุผลที่ดีไม่ใช่เหตุผลที่คนอื่นไปทำแล้วเขาแค่มา "บอก" เรา

คนเราชอบอะไร หรือหวังผลประโยชน์อะไรเขาก็จะเอาสิ่งที่เขาชอบ สิ่งที่เขาหวังว่าบอกแล้วได้ประโยชน์ในทุกแง่ ทุกมุม ทุกด้านมาบอกกับเรา

บางครั้งเขาบอกเรา สอนเราก็เพียงเพื่อให้เรานับถือศรัทธาเขา สิ่งใดบอกเราแล้ว (ถึงแม้นว่าดี) แต่ทำให้เราเสื่อมศรัทธาจากเขา เขาก็จะไม่บอกเรา

การวิจัยสอนให้เราไม่เป็นคนเชื่อคนง่าย หัดใช้การตั้งสมมติฐานเพื่อพิสูจน์สิ่งต่าง ๆ ที่เขาบอกเรา หรือสิ่งต่าง ๆ ที่ใครต่อใครเขาพูดกัน

ทำวิจัยบ่อย ๆ ค้นหาอะไรให้มาก เราจะเป็นคนที่หนักแน่นขึ้น ความมั่นใจในตัวเองจะมากขึ้น

การฟังคนอื่นบ่อย ๆ ทำให้เราอ่อนแอ เขาไม่บอกเราก็ทำอะไรไม่เป็น

การวิจัยในชั้นเรียนก็เป็นแบบนั้นด้วยเช่นกัน ถ้าอาจารย์เอาแต่สอน แต่บอกนักเรียน นักเรียนก็ทำอะไรไม่เป็น แล้วมิหนำซ้ำยังบอกนักเรียนอีกว่าต้องเชื่อครู เชื่ออาจารย์ อาจารย์อาบน้ำร้อนมาก่อน เธอเป็นเด็ก ชั้นเป็นผู้ใหญ่ เธอเป็นนักเรียน ชั้นเป็นอาจารย์ ครูบอกไม่เชื่อครูเหรอ คนไทยเรามักสอนกันอย่างนี้

การวิจัยในชั้นเรียนยังสามารถทำลายอัตตาตัวตนของครูได้อย่างมากอีกด้วย เพราะทำให้ครูได้มีโอกาสฟังนักเรียน ให้โอกาสนักเรียนได้ทำในสิ่งที่ครูเคยคิดว่า "เด็กโง่" ทำไม่ได้หรอก

การพูด การสอน การบอก ที่นิยมใช้ในห้องเรียนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันนั้นได้ผลจริงไหม ก็ลองใช้ "ใจ" ไตร่ตรองและคิดดู...

เป็นเกียรติอย่างสูงครับท่านอาจารย์ JJ ที่ให้โอกาสผมคนที่ไม่มียศ ไม่มีตำแหน่งเข้าร่วมงานที่ยิ่งใหญ่ของวงการการศึกษาไทยขนาดนี้ครับ

ในระหว่างนี้ถ้าท่านอาจารย์หมอ JJ มีสิ่งใดให้ผมรับใช้ก่อนก็บอกได้เลยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท