Self AAR May 2006


          ไม่เพียง "โครงการกลับบ้านสานประโยชน์"  โครงการดีดี โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปนดา  เตชะทรัพย์อมร รองคณบดีฝ่ายวิชาการ ในช่วง ต้นเดือนพฤษภาคม เท่านั้น

          ยังมีอีกหลายโครงการ และกิจกรรมที่ดิฉันมีโอกาสเข้าร่วม ได้แก่

          วันที่ 4 พ.ค. เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวที  "เสวนาคนเขียน Blog"  ซึ่งจัดโดย หน่วยประกันคุณภาพ มน. งานนี้ที่ประทับใจสุดๆ เห็นจะเป็นเรื่อง การถ่ายทอดสดภาพบรรยากาศการเสวนาคนเขียน Blog บน Blog และมีอาจารย์หมอ JJ (รศ.นพ.จิตต์เจริญ  ไชยาคำ มข.) เข้ามาร่วมสังเกตุการณ์และเสวนา online กันด้วย idea ประยุกต์อรรถประโยชน์ของ Blog อย่างเกินคาดของคุณรัตน์ทวี  อ่อนดีกุล (คุณโอ) หัวหน้างานประชาสัมพันธ์และ IT man ของ NUQA สร้างสีสันในวันประชุม และบรรยากาศ KM ได้เป็นอย่างดียิ่ง 

          วันที่ 7 - 8 - 9 พ.ค. เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวที "คุณเอื้อ" ซึ่งจัดโดย สคส. ดิฉันก็บันทึกไว้แล้วเช่นกัน งานนี้ ดิฉันประทับใจหลายอย่าง จึงได้เล่าไว้โดยละเอียด Link

          วันที่ 16 พ.ค. เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ "ปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชากายภาพบำบัด" หัวหน้าภาควิชากายภาพบำบัด อาจารย์กนกพร  อุณเอกลาภ ได้นำวิธีการของ KM มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการวิพากษ์หลักสูตรของคณะกรรมการด้วย  เราโชคดีจริงๆ ที่ได้คุณหมอพิเชฐ  บัญญัติ จากโรงพยาบาลบ้านตากมาร่วมเวทีเสวนาในฐานะผู้ทรงคุณวุฒิด้วย  แม้ดิฉันจะติดภาระกิจไม่สามารถร่วมวงวิพากษ์หลักสูตรด้วยได้  แต่ก็ได้คุยกับคุณหมอช่วงพักรับประทานอาหารกลางวัน และได้รับทราบผลการประชุมจากคณาจารย์กายภาพบำบัด  เพียงเท่านี้ ดิฉันยังสัมผัสได้ว่า คุณหมอพิเชฐ ไม่ธรรมดาเลย คุณหมอช่วยให้บรรยากาศการวิพากษ์หลักสูตร เป็นแบบ KM ที่ไม่เครียด  แถมด้วย idea ในมุมมองที่แตกต่าง  เป็นไปได้ และมีประโยชน์มากๆ แก่การปรับปรุงหลักสูตร อย่างที่คนในวิชาชีพเองยังต้องทึ่ง ดิฉันขอจารึกคำขอบคุณเป็นอย่างสูงแก่คุณหมอ ไว้ ณ Blog ของดิฉันนี้ อีกครั้งหนึ่ง

          วันที่ 18 พ.ค. ประชุมกรรมการยกร่างหลักสูตร ป.โท สาขาชีวเวชศาสตร์ นัดก่อนวิพากษ์หลักสูตรในสัปดาห์ถัดไป  การดำเนินการเป็นไปตามกำหนดเวลาตามแผนที่วางไว้ตั้งแต่ต้นปี  กับการที่เราได้ ท่านที่ปรึกษาคณบดี ศาสตราจารย์ทวีสุข  กรรณล้วน มาเป็นที่ปรึกษาในการร่างหลักสูตรเป็นประจำทุกเดือน  ทำให้การดำเนินงานราบรื่น  นี่ถ้าไม่ติดว่า จำนวนอาจารย์ ป.เอก ในสาขาอื่นๆ นอกจากสาขาเทคนิคการแพทย์ ยังไม่เพียงพอ ดิฉันชักจะติดใจแล้วซิว่า หลักสูตร ป.โท ในสาขาอื่นๆ น่าจะเปิดได้อีก

          วันที่ 23 พ.ค. วันสำคัญที่ดิฉันรอคอยมาเป็นปี วันที่ อาจาย์จันทวรรณ และอาจารย์ธวัชชัย มาเยือน มน. ดิฉันจึงบันทึกอย่างละเอียดไว้อีกเช่นกัน ที่นี่ ท่านทั้งสองมาแรงจริงๆ  ไม่ใช่มาพร้อมกับ KnowledgeVolution เท่านั้น ยังมากับน้ำป่าที่ถล่มเมืองลับแล อุตรดิตถ์ และสุโขทัย อีกด้วย (แซวนะ.. อย่าโกรธ แค่ทำให้จำได้แม่น) ไม่เชื่อดู ที่นี่

          วันที่ 25 พ.ค. ช่วงเช้า ร่วมประชุมวิพากษ์ร่างหลักสูตรป.โท สาขาชีวเวชศาสตร์  เราได้ผู้ทรงคุณวุฒิมาร่วมวิพากษ์ ทั้งจาก ม.มหิดล  ม.จุฬา และ รพ.รามาธิบดี  ได้ข้อคิด แง่ปรับปรุงดีๆ มากมาย ด้วยคณาจารย์ของคณะสหเวชศาสตร์ มีความคุ้นเคยแล้ว กับการรับฟังอย่าง Deep listening และมีความสามารถในการ Dialogue เป็นอย่างดี รวมทั้งเราเน้นกันอย่างมากถึงการจดบันทึก และใช้เทคโนโลยีในการบันทึก (ใช้ mp3) อย่าให้ขาดตกบกพร่อง จึงได้สาระมาปรับปรุงกันอย่างครบถ้วน 

          ช่วงบ่าย เข้ารับฟัง เกณฑ์การประเมิน สมศ. รอบสอง  พร้อมเอกสารใหม่สด ล่าสุด จัดโดย หน่วยประกันคุณภาพ มน. อาจารย์วิบูลย์ (ผศ.ดร.วิบูลย์  วัฒนาธร) เป็นผู้บรรยายสรุป และก็อีกนั่นแหละ มีการจัดวงเสวนา (แบบ KM) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทำความเข้าใจเกณฑ์ประเมินมาตรฐานแต่ละด้านเป็นวงๆ ด้วย  ที่ดิฉันประทับใจก็คือ บุคลากรของคณะสหเวชศาสตร์ ทั้งที่เป็นคณาจารย์ และฝ่ายสนับสนุน มาเข้าร่วมกันอย่างคับคั่ง ทั้งนี้ โดยมิได้นัดหมาย หรือจับเกณฑ์กันมาด้วยคำสั่งใดใด อย่างนี้ อาจารย์ ดร.ศิริลักษณ์  ธีระภูธร รองคณบดีฝ่ายวิจัยและประกันคุณภาพ ของดิฉัน คงสบายใจหายห่วง

          วันที่ 26 พ.ค. งานวิจัย สหเวชฯ ได้จัดกิจกรรม สัมมนาเพื่อพัฒนาศักยภาพการวิจัยของอาจารย์ อีกรอบ  คราวนี้ อ.ดร.ศิริลักษณ์ ธีระภูธร  ได้เชิญท่านรองนายกเทศมนตรีนครเมืองพิษณุโลก นายแพทย์สุธี  มาเป็นผู้เล่าเรื่อง ให้พวกเราเหล่าคณาจารย์ได้ฟังว่า ปัญหาด้านสุขภาพของคนเมืองพิษณุโลก เป็นอย่างไรบ้าง  นับเป็นโชควาสนาอีกครั้งของชาวสหเวชฯ ที่ได้เรียนรู้จาก Peer assist ที่เป็นแพทย์เข้าใจงานด้านสาธารณสุข และอธิบายให้เราเข้าใจปัญหาเชิงระบบ การจัดการด้านสาธารณสุขระดับท้องถิ่น  ซึ่งเป็นเรื่องที่นักวิชาการไม่เคยทราบมาก่อน  เอาไว้มีเวลา  เจ้าหน้าที่งานวิจัยคงได้สกัดความรู้ที่ได้ในวันนั้นออกมาเผยแพร่นะค่ะ

          วันที่ 27 พ.ค. ดิฉันได้ร่วมเดินทางไปกับหน่วย Mobile ของมหาวิทยาลัย ที่บ้านน้ำเรื่อง จ.สุโขทัย เพื่อจะได้รับรู้สภาพการทำงาน ปัญหาต่างๆ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการทางวิชาการ ของคณะสหเวชศาสตร์ด้วยตาตนเอง ครั้งนี้ท่านอธิการก็ไปด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่า ผู้รับบริการบางตา เหตุก็เพราะ ต่างยังกังวล หรือบางส่วนก็ได้รับความเสียหายไปแล้ว กับเหตุการณ์อุทกภัยน้ำท่วม  เมื่อต้นสัปดาห์

          วันที่ 29 พ.ค. ไปเป็นวิทยากร KM ที่มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ บันทึกไว้ก่อนหน้านี้นี่เองค่ะ Click  

          วันที่ 30 พ.ค. เป็นวิทยากรร่วม กับอาจารย์ JJ  อาจารย์เทียมจันทร์ เรื่อง ประสบการณ์การเป็นผู้ประเมิน จัดโดย NUQA ติดตามได้ที่ Click และ Click 

คำสำคัญ (Tags): #self#aar
หมายเลขบันทึก: 33734เขียนเมื่อ 12 มิถุนายน 2006 00:54 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:08 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

อาจารย์มีบันทึกที่ยอดเยี่ยม  ทำให้ผู้ที่ไม่รู้  กลับมารู้ได้  เยี่ยมจริงๆค่ะ  ดิฉันติดตามอ่านงานของท่านอาจารย์เสมอมา  ทำให้โลกทัศน์ขอดิฉันกว้างและลึกอีกค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ขอบคุณคุณสิริพร มากนะคะ ดิฉันจะพยายามให้ดีที่สุดค่ะ  สัญญา....

เห็นด้วยกับคุณสิริพรทุกประการค่ะ

ขออนุญาตร่วมแชร์ประสบการณ์ว่า การที่คน QA ของ KPRU มีไฟพัฒนาและใช้ KM เพื่อเป้าหมาย(คุณภาพการศึกษา) รวมถึงมีบล็อกใช้งานกันถ้วนหน้าได้ ก็ด้วย "ความกรุณา"  เผยขุมทรัพย์ทางปัญญาที่ประเมินค่ะมิได้ของท่านอาจารย์มาลิณี ท่านอาจารย์วิบูลย์ วัฒนาธร และบุคลากรมหาวิทยาลัยนเรศวรท่านอื่นๆ ซึ่งเราได้มีโอกาสได้พบและเป็นนักเรียน KM ในงานรวมพลังฯ ครั้งที่ 2 ณ มหาวิทยาลัยนเรศวร   แม้วันนี้ KM ของเราจะอยู่ในขั้นเริ่มต้นเตาะแตะแต่ก็มีความเชื่อมั่นเต็มเปี่ยม และอบอุ่นใจว่าได้พบแล้วซึ่งเส้นทางของ "ครูอาจารย์และท่านผู้รู้" ทั้งหลาย

 

อันความกรุณาปราณี

จะมีใครบังคับก็หาไม่

หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ

จากฟากฟ้าสุราลัยสู่แดนดิน

 

บทกลอนนี้ผุดขึ้นมาในห้วงความคิดทันทีค่ะด้วยความเคารพอย่างสูง

และสำหรับ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.)  ที่ "กรุณาทุ่มเทกายใจขับเคี่ยวเพื่อขับเคลื่อนการจัดการความรู้ในประเทศไทย"   เชื่อว่าเยาวชนลูกหลานเราจะซาบซึ้งกับกลอนบทนี้เช่นเดียวกันค่ะ เมื่อใดที่ได้ยินคำว่า

  KM  และ สคส.

เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม ที่ผ่านมาได้มีโอกาสนำนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (2 รถบัส)  ไปเยี่ยมชมการดำเนินงานด้านประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยนเรศวรโดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา(ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง และเป้าหมายหรือ "ดวงใจ" ของการประกันคุณภาพการศึกษา)     ซึ่งได้รับความกรุณาและการให้การต้อนร้บอย่างอบอุ่นจากท่านผู้บริหารและบุคลากรจำนวนหลายหน่วยงาน 

เมื่อสรุปการเยี่ยมชมฯในบล็อกแล้วจะเข้ามาเรียนเชิญท่านอาจารย์มาลิณีเข้าไปชมภาพและอ่านบันทึกนะคะ ด้วยความระลึกถึงท่านเป็นอย่างยิ่งค่ะ

 

 

เสียดายจัง ไม่มีโอกาสได้ต้อนรับ หากมีโอกาสแวะมาเยี่ยมคณะสหเวช มน.บ้างนะคะ 

เป็นบันทึกที่ยอดเยี่ยม  อย่างที่ครูอ้อย สิริพร กุ่ยกระโทก ว่าไว้ มีคุณค่ามากมาย ทั้งต่อเจ้าของ Blog และ ผู้มาเยือน  เยี่ยมจริงๆครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท