การดำเนินการ "นาฬิกาให้ท่า"


 

 

  ชี้แจ้งการดำเนินงานกิจกรรม “นาฬิกาให้ท่า” รพ.ท่าคันโท ตามที่คุณอรชร อินแฉล้ม  ถามมาค่ะ    ขออนุญาตต้นสังกัดสักเล็กน้อยค่ะ

 

    ขั้นตอนการดำเนินงาน

-          เริ่มจากง่าย ๆ การคุยกันเมื่อเจอปัญหาผู้ป่วยจะทำอย่างไร เพื่อป้องกันการเกิดปัญหานี้ เพราะหากมีก็แสดงว่าคุณภาพการพยาบาลเราด้อยไปสักหน่อยเราทนไม่ได้ ฮิ ฮิ

-          ค้นหาวรรณกรรม และวิธีปฏิบัติ กับสถานพยาบาลใกล้เคียง สรุปได้แบบประเมินมา หนึ่งอย่างคือ U.S. National pressure ulcer advisory panel ซึ่งรายละเอียดดังข้างล่างค่ะ

 

     การแบ่งระดับ  U.S. National pressure ulcer advisory panel

ระยะที่ 1 บริเวณที่กดเป็นรอยแดง  ไม่หายไปในเวลา 30 นาที   เมื่อลดการกดทับบริเวณนั้นจะเป็นรอยช้ำ  แต่ผิวหนังที่ปกคลุมยังไม่มีรอยฉีกขาด

 

ระยะที่ 2 มีการฉีกขาดของผิวหนังชั้นนอก เช่น แผลถลอกเป็นตุ่มพอง หรือเป็นแผลตื้น ๆ รอบ ๆ  แผลจะแดง อาจมีน้ำเหลืองซึม

 

ระยะที่ 3 เกิดแผลถึงชั้นใต้ผิวหนัง  ชั้นผังพืด  มักเป็นหลุมลึก เซาะไปยังเนื้อเยื่อรอบ ๆ บริเวณนั้นหรือมีน้ำเหลือหรือหนอง จากแผล

 

ระยะที่ 4 มีการตายของเนื้อเยื่อชั้นลึกถึงกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น หรือเยื่อหุ้มข้อต่อ เนื้อเยื่อที่ตายจะมีสีม่วงคล้ำ หรือดำ 

 

                                         

 

-          เมื่อได้แล้วนำมาดัดแปลงเป็นรูปเอกสารที่สามารถประเมินได้ เช่น พิมพ์ชื่อ รพ. ชื่อ-สกุลคนไข้ เพิ่ม วดป .ที่ประเมิน แล้วแต่จะประยุกต์ค่ะ

-          ตกลงมาตรฐานร่วม ประเมินครั้งแรกเมื่อใด และจะประเมินเมื่อใดต่อ โดยใช้แบบฟอร์มนี้ 

-          ใช้เครื่องมือคือ “นาฬิกาให้ท่า”  ติดหน้าเตียง ตกลงร่วมใช้ระหว่างเจ้าหน้าที่ คนไข้  ญาติ จะเปลี่ยนท่าเมื่อใด ทุก 2 ชม. เริ่มจากท่าใด แล้วเลื่อนนาฬิกาไปเรื่อย ๆ

-          บางทีใช้แบบเซ็นต์เมื่อปรับท่าแล้ว ว่าทำจริง  ทำไมต้องมีด้วยนะ แบบนี้ 555  

-          ประเมินระดับแผลว่าแนวโน้มเป็นอย่างไรบ้าง ดีหรือแย่ลง

-          ติดตามตัวชี้วัดอย่างต่อเนื่อง 

 

           พอจะเข้าใจกันบ้างหรือยังค่ะ    ปวดหัว ๆ ๆ

                                  

 

 

หมายเลขบันทึก: 334153เขียนเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2010 18:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)

สวัสดีครับ  แวะมาเยี่ยมสบายดีนะครับ

ตำรวจเป็นมิตร  ใกล้ชิดประชาชน

  • สวัสดีค่ะ
  • สุขสันต์วันวาเลนไทน์ และมีความสุขกับทุก ๆ วันนะค่ะ

  • ุุ666

    สวัสดีค่ะ พี่เพชรน้อย

    นาฬิกาให้ท่า ถึงบางอ้อแล้ว ไม่ปวดหัว อย่างนี้ก็มีด้วย

    คิดถึงค่ะ

    สุขสันต์วันตรุษจีนจ้า   ซินเจียยู่อี่  ซินนี้ฮวดใช้

    ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้  for u  Happy  Valentine  Day

    สวัสดีครับคุณเพชรน้อย ง่ายๆแต่มีคุณค่า นำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์

    ใช้เครื่องมือคือ “นาฬิกาให้ท่า” ติดหน้าเตียง ตกลงร่วมใช้ระหว่างเจ้าหน้าที่ คนไข้ ญาติ จะเปลี่ยนท่าเมื่อใด ทุก 2 ชม. เริ่มจากท่าใด แล้วเลื่อนนาฬิกาไปเรื่อย ๆ

    - บางทีใช้แบบเซ็นต์เมื่อปรับท่าแล้ว ว่าทำจริง ทำไมต้องมีด้วยนะ แบบนี้ 555

    ตั้งเวลาให้ท่า ชื่ชชมครับ

    สวัสดีค่ะคุณบุษรา

    - สุขสันต์วันวาเลนไทม์และทุก ๆ วันค่ะ

    สวัสดีค่ะคุณน้ำชา

    - ถึงบางอ้อ แล้วสบายใจเยอะเลยค่ะ

    - เรามาให้ท่า....กันหน่อยนะค่ะ

    สวัสดีคะคุณครูปุ๋ม

    - สุขสันต์ทั้งวันวาเลนไทม์และตรุษจีนค่ะ

    - ขอให้เฮง ๆ ๆ ค่ะ

    สวัสดีค่ะท่านผู้เฒ่า

    - อะไรก็ตามที่เกิดจากการร่วมมือระหว่างกันและกันมักจะเกิดผลเสมอค่ะ

    ตกใจหมดเลย นาฬิกาให้ท่า...อิอิ เข้าใจตั้งชื่อ น่าสนใจดีค่ะ และประโยชน์ก็ไม่แพ้ความน่าสนใจด้วยค่ะ มีความสุขทุกๆวันนะค่ะคุณเพชรน้อย

    สวัสดีค่ะ

    • นวัตกรรมใหม่  เข้าท่าดีค่ะ
    • นาฬิกาให้ท่า  ขอขอบคุณค่ะ
    • จะนำไปบอกต่อนะคะ

     

    แวะมาเรียนรู้ การเตรียมให้บริการผู้ป่วย “นาฬิกาให้ท่า” เป็นเทคนิคน่าสนใจมากๆค่ะ

    สวัสดีค่ะป้าเหมียว

    - ท่าไหนจะดีกว่ากันค่ะ

    - อย่างนี้ต้องลองค่ะ

    สวัสดีค่ะครูคิม

    - ขอบคุณค่ะ

    - อย่างนี้ต้องบอกต่อ เพื่อประโยชน์หลาย ๆ

    สวัสดีค่ะคุณ นารี

    - ไม่เจอกันนานเลยค่ะ

    - คิดถึงและขอบคุณค่ะ

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท