(12) ข้าราชการพลเรือนในมหาวิทยาลัย : ความก้าวหน้า


ความก้าวหน้า

           ข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัย สายบริการวิชาการ (สาย ข.)  และสาย
บริหารธุรการ(สาย ค.) มีโอกาสและความก้าวหน้าตามตำแหน่งหน้าที่ ที่เริ่มต้นบรรจุ
จำแนกตามระดับแรกเริ่มของการบรรจุ ได้ดังนี้

 


               ตำแหน่งแรกเริ่มบรรจุ                 ความก้าวหน้าสูงสุดในตำแหน่ง
                          ระดับ 1 (วุฒิ ปวช.)                          ระดับ 4
                          ระดับ 2 (วุฒิ อนุปริญญา )                  ระดับ 5
                          ระดับ 3 (วุฒิ ปริญญาตรี)          ระดับ 6  หรือ 7 (หัวหน้างาน)
                          ระดับ 4 (วุฒิ ปริญญาโท)         ระดับ 6  หรือ 7 (หัวหน้างาน)
                          ระดับ 5 (วุฒิ ปริญญาเอก)        ระดับ 6  หรือ 7 (หัวหน้างาน)
             ข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัย สายบริการวิชาการ (สาย ข.)  และสายบริ
หารธุรการ(สาย ค.) เมื่อเริ่มต้นบรรจุในระดับต่ำที่สุดเป็นข้าราชการ ระดับ 1 (สาย 1 )
ด้วยวุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)  มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่  ได้สูงสุด
เพียงแค่ระดับ 4 เท่านั้น 
หากไม่มีการศึกษาต่อเพิ่มเติม(วุฒิสอดคล้องกับณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง)  และขอปรับวุฒิที่เริ่มต้นบรรจุเป็นสาย 2  เช่น
              ข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัย สายบริการวิชาการ (สาย ข.)  และสายบริ
หารธุรการ(สาย ค.)  เมื่อเริ่มต้นบรรจุในระดับ 2 (สาย 2 ) ด้วยวุฒิอนุปริญญา (ปวท. ,
ปวส. ,ปกศ.สูง/ เทียบเท่า)มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ได้สูงสุดเพียงแค่ระดับ 5
เท่านั้น
 หากไม่มีการศึกษาต่อเพิ่มเติม(วุฒิสอดคล้องกับคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่ง)
และขอปรับวุฒิที่เริ่มต้นเป็นสาย 3  เช่น
         ข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัย สายบริการวิชาการ (สาย ข.)  และสาย
บริหารธุรการ(สาย ค.)  เมื่อเริ่มต้นบรรจุในระดับ 3 (สาย 3 )  ด้วยวุฒิปริญญาตรี /
เทียบเท่า มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ได้สูงสุดเพียงแค่ระดับ 6 เท่านั้น ยกเว้น
ถ้าเป็นหัวหน้างานจึงจะสามารถก้าวหน้าถึงระดับ 7  เช่น

               ข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัย สายบริการวิชาการ (สาย ข.)  และสาย
บริหารธุรการ(สาย ค.)  เมื่อเริ่มต้นบรรจุในระดับ 4 (สาย 4 )  ด้วยวุฒิปริญญาโท /
เทียบเท่า มีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ ได้สูงสุดเพียงแค่ระดับ 6 เท่านั้น เท่ากับ
ผู้สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีที่เริ่มต้นบรรจุในระดับ 3 (สาย 3) ยกเว้นถ้าเป็นหัว
หน้างานจึงจะสามารถก้าวหน้าถึงระดับ 7 

               **ข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัย สายบริการวิชาการ (สาย ข.)  และสาย
บริหารธุรการ(สาย ค.) ที่เริ่มต้นบรรจุด้วยวุฒิปริญญาตรี จากระดับ 3(สาย 3 ) แม้จะมี
การศึกษาต่อในระดับปริญญาโท หรือจะเป็นปริญญาเอก ตรงตามสายงานมีการขอปรับ
วุฒิตามระเบียบทางราชการ  ก็ไม่สามารถเจริญก้าวหน้าไปกว่าระดับ 6  นี้ได้เลย หาก
บุคคลผู้นั้นมิได้ดำรงตำแหน่งทางการบริหาร เช่นเป็นหัวหน้างาน จึงจะสามารถก้าวหน้า
ไปถึงระดับ 7 ซึ่งในระดับคณะ/หน่วยงาน เทียบเท่าคณะมีหัวหน้างานระดับ 7 มากที่สุด
ได้เพียงแค่ 5 ตำแหน่งเท่านั้นคือ หัวหน้างานบริหารและธุรการ  ,  หัวหน้างานนโยบาย
และแผน  ,  หัวหน้างานคลังและพัสดุ  , หัวหน้างานบริการการศึกษา และ หัวหน้างาน
บริการวิชาการและวิจัย เท่านั้น
                นอกจากนี้ข้าราชการพลเรือนมหาวิทยาลัย สายบริการวิชาการ (สาย ข.) 
และสายบริหารธุรการ(สาย ค.) ในระดับคณะ/หน่วยงานสามารถที่จะเจริญก้าวหน้าไปถึง
ระดับ 8 ได้ในตำแหน่งทางการบริหารเช่น  เลขานุการคณะ  หรือ ผู้อำนวยการกอง ซึ่ง
ก็มีได้เพียงหนึ่งเดียวของคณะ
/หน่วยงานเท่านั้น

         ***จึงไม่แปลกเลยที่ พ่อก็เป็น C.6  , แม่ก็เป็น C.6 ลูกจบปริญญาตรีมาบรรจุ
เป็น C.3  อีก 8-10 ปี ต่อมาลูกเป็น C.6  เท่ากับพ่อและแม่ เห็นอยู่มากมายในมหา
วิทยาลัย***

        พูดง่ายๆว่าข้าราชการสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัย ไม่ว่าจะบรรจุด้วยวุฒิปริญญา
ตรี , โท หรือ เอก ถ้าไม่ได้เป็นหัวหน้างาน หรือผุ้บริหาร "ก็เกษียณตายคาซี 6"

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32934เขียนเมื่อ 2 มิถุนายน 2006 14:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 11:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ยินดีต้อนรับ สมาชิกบล็อก มข.ครับ

http://gotoknow.org/pichai3

เรียน พี่เรืองชัย

         ขอบคุณครับที่ให้ความรู้ดีๆ  ผมจะเข้ามาอ่านเรื่อยๆ ครับ

ขอบคุณ  คุณพิชัย  และคุณสถิตย์ครับ ที่ได้เข้ามาอ่านที่ Blog นี้ของผม

                 ขอบคุณอีกครั้งครับ

ผมอ่านวัตถุประสงค์ของบล็อกแล้วครับดีมากเลยครับที่สร้างบล็อกนี้ขึ้นมาเพื่อการนำเสนอข้อมูลต่อบุคลากร และตามเจตนารมย์ของบล็อกคือเป็นสมองของผู้บริหาร เราต้องยอมรับว่าส่วนหนึ่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนในคณะต่าง ๆ เรามีข้อมูลอยู่ในเมือแต่หาวิธีเพื่อนำเสนอให้ผู้บริหารยอมรับ และตัดสินใจบนข้อมูลที่มีอยู่ไม่ค่อยได้ บล็อกนี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการนำเสนอข้อมูล โดยข้อมูลจริงเพื่อการตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลที่มีอยู่ ให้กำลังใจ และเอาใจช่วยครับ

        ขอบคุณครับ....ท่านที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นเมื่อวันที่ 15 มิย.2549(ไม่ได้ระบุชื่อมา)
        เวทีนี้จะเป็นเวทีของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผนทุกคน ที่จะได้นำ"ข้อมูล" เรามีอยู่ในมือแล้วทำการ"สะเดาะข้อมูล" ดิบที่มีอยู่ในมือให้เป็นสารสนเทศ แล้วมันจะมีคุณค่ามากขึ้นกว่าที่เป็นเพียง
"ข้อมูล" เฉยๆครับ

ในความเห็นแล้ว น่าจะเลื่อนระดับได้จนถึง 7 โดยกำหนดกติกามาตรฐานคุณภาพให้ชัดเจนและเที่ยงธรรม ส่วนการพิจารณาชำนาญการ ควรเปิดโอกาสให้กับทุกคน ที่มีความรู้ ความสามารถและคุณภาพเพียงพอ โดยไม่ต้องมีข้อจำกัดที่จำนวนกรอบอัตรากำลังอีก

สิ่งดีๆ ในชีวิตที่รับราชการมา 27 ปี มีความพยายามที่จะเล่าเรียนใต่เต้ามาเรื่อย ๆ จนจบ ป.ตรี และได้เป็นสาย ข ระดับ 6  แต่ก็ต้องมาจนมุมที่ซี6 อยู่จนถึงทุกวันนี้ เงินเดือนก็จะตันปีสองปี ที่พี่จั๊บกล่าวมาเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งขอสนับสนุน

เรียน   คุณจิรวัฒน์ และคุณกฤษฎี

       โอกาสที่ข้าราชการสายสนับสนุนในมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะสามารถทะลุ C6 ไปสู่ C7 ใกล้จะเป็นความจริงแล้วครับ ถ้าใครที่ได้ไปฟังท่านอธิการฯ
กล่าวกับบุคลากรของศูนย์/สถาบัน/สำนัก ในการ
บรรยายเรื่องการปรับโครงสร้างสำนักงานอธิการบดี
ที่คณะ HS เมื่อวันเสาร์ที่ 10 มิย.2549 ท่าผ่านมา

         โดยหลักการท่านอธิการบอกว่าไม่ได้โดยอัติ
โนมัติทุกคน  แต่จะได้เพาะคนที่ผ่านเกณฑ์ตามที่
มหาวิทยาลัยกำหนด ซึ่งเกณฑ์ที่ว่านี้เป็นอย่างไร?
และมีรายละเอียดเป็นอย่างไร? ท่านอธิการฯ ยัง
ไม่ได้บอกในวันนั้น
          ส่วนคำบรรยายของท่านอธิการในวันนั้น เห็นว่า
ได้มีการนำขึ้นเวปของมหาวิทยาลัยแล้วครับ

อยากทราบวิธีการทำผลงานสำหรับเลื่อนระดับนะคะ ตอนนี้เป้นซี 5 ได้ ประมาณ 3 ปีแล้วอยากเป็นซี 6แก่ ๆนะคะ แต่ไม่มีต้นแบบในการที่จะทำเลย

เรืองชัย จรุงสิรวัฒน์
เรียน   คุณ patima 

           คุณไม่ได้แจ้งว่าเป็นซี 5 ในตำแหน่งอะไร ? บรรจุเข้ามาด้วยวุฒิอะไร ? 

เป็นตำแหน่งทางบริหารหรือไม่ ? (หัวหน้าหมวด หัวหน้าหน่วย หัวหน้างาน)

เพราะทั้ง 3 อย่างที่ผมตั้งคำถามนี้ มันจะเกี่ยวพันไปถึงการเข้าสู่ตำแหน่งซี 6

                การที่คุณเป็นซี 5 ในขณะนี้  ก็ตัดประเด็นการบรรจุเข้ามาด้วยวุฒิ
ปวช. (เริ่มต้นที่ซี 1) ออกไปได้เลย เพราถ้าเข้ามาด้วยวุฒิ ปวช. จะก้าวหน้าสูงสุด

เพียงแค่ซี 4 เท่านั้น

                ดังนั้นจึงเหนือประเด็นที่ว่าบรรจุเข้ามาด้วยวุฒิ ปวส.(เริ่มต้นที่ซี 2)
ซึ่งโดยปกติแล้วจะไปตันที่ ซี 5  เว้นแต่เป็นหัวหน้าหน่วย  หรือหัวหน้างาน
ก็จะขอกำหนดตำแหน่งเป็น ซี 6 การขอกำหนดตำแหน่งให้สูงขึ้นอีก 1 ระดับ
แล้วแต่หน่วยงานที่สังกัดว่าจะออกระเบียบยากมากน้อยเพียงใด บางหน่วยงาน
เพียงแค่ประเมินโดยการ พูดคุย สัมภาษณ์ ก็ให้เลื่อนระดับได้ บางหน่วยงาน
ต้องเขียนคู่มือในการปฏิบัติงาน การพัฒนางาน ประกอบการขอเลื่อนตำแหน่ง

                ส่วนถ้าคุณบรรจุด้วยวุฒิปริญญาตรี(เริ่มต้นที่ ซี3) ซึ่งโดยปกติทุกคน
ที่บรรจุด้วยปริญญาตรีสามารถไปไกลที่สุดเป็นซี 6 อยู่แล้ว เว้นแต่ถ้าเป็นผู้บริ
หาร เช่น เป็นหัวหน้างาน ก็จะสามารถกำหนดตำแหน่งเป็น ซี 7 ได้ ซึ่งก็ต้อง

เสนอผลงานเพื่อกำหนดตำแหน่ง

                ผลงานที่ใช้ประกอบการเลื่อนระดับให้สูงขึ้นนั้น ส่วนใหญ่เขาจะ

นำเสนอเป็นคู่มือการปฏิบัติงาน บางแห่งอาจกำหนดให้มีงานวิเคราะห์ หรือ
งานวิจัยด้วย  ทั้งนี้และทั้งนั้นขึ้นอยู่กับผู้บังคับบัญชา และผู้บริหารของ

หน่วยงานที่สังกัดว่าจะกำหนดให้ยาก หรือง่ายครับ

เรียนปรึกษา

ดิฉันปัจจุบันดำรงตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพ5เมื่อ 29 ธ.ค.2549 จะสามารถปรับเป็นพยาบาลวิชาชีพ6

ต้องมีคุณสมบัติอย่างไร มีรูปแบบการขึ้นสู่ตำแหน่งอย่างไรคะ ( เดิมดิฉันสังกัดกระทรวงสาธารณสุข

โอนย้ายมาเป็น ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทะภิกขุ ชลประทาน มศว.เมื่อ ต.ค.2550 )ไม่ทราบในหลักเกณฑ์

ระบบมหาวิทยาาลัยคะ ขอความกระจ่างด้วย ขอบพระคุณอย่างสูง

เรียน คุณกัณจนา

เนื่องจากรายละเอียดการแต่งตั้งให้กำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้น

เป็นเอกสารหลายหน้า ดังนั้นโปรดส่ง Mail ไปหาผมอีกครั้งหนึ่ง

ที่ [email protected] แล้วผมจะส่งเป็นไฟล์ไปให้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท