ทำไมต้องละหมาดร่วมกัน..ที่มัสยิด


ก่อนหน้านี้ผมได้เขียนบันทึกไว้หนึ่งเรื่อง คือ เรื่อง ทำไมมุสลิมต้องละหมาด 5 เวลา และคิดว่าจะเขียนต่อ เพราะที่เขียนไปนั้นเป็นแค่เศษเสี้ยวหนึ่งของสิ่งที่จะพูดถึงเท่านั้น วันนี้ก็ขอพูดต่อซึ่งก็คิดว่าจะไม่หมด และจะให้หมดนั้นคงทำไม่ได้

การละหมาดของมุสลิมนั้น ทุกคนจะต้องละหมาดวันละ 5 เวลา ไม่ว่าชายหญิง เล็ก(เว้นแต่เด็กๆ)หรือไหญ่ ต้องกระทำทั้งนั้น จะอยู่ในเวลาคับขันอย่างไรก็ต้องทำ เว้นแต่เวลานั้นเขาคนนั้นไม่รู้สึกตัว อย่างตัวผมเมื่อต้องไปนอนไอซียู จำได้ว่าเมื่อรู้สึกตัวก็ละหมาดทันที

ตอนผมนอนอยู่ที่ห้องศัลยกรรมกระดูก ก็ละหมาดทุกเวลาที่ต้องทำ  ก็มีคนป่วยบางคนมาถามาว่า ทำอย่างไร ก็อธิบายในสิ่งที่มุสลิมควรกระทำ และครั้งหนึ่งผมเดินทางโดยรถไฟ ผมละหมาดและชวนคนนั่งข้างๆละหมาดด้วย พอละหมาดเสร็จเขาก็ตอบว่า มันไม่ยากเลย มันง่ายนิดเดียว ทำไมเขาไม่เคยทำ

ในสภาพปกติ ผู้ชายมุสลิมจะต้องละหมาดร่วมกันหรือที่เรียกว่า ละหมาดญะมาอะฮฺ ตามมัซฮับเรา(ชาฟีอี) ในหมู่บ้านหนึ่งๆจะต้องมีละหมาดญะมาอะฮฺ ถ้ามีแล้วคนอื่นๆก็จะละพ้นข้อบังคับให้ละหมาดญะมาอะฮฺ แต่บางมัซฮับ อย่างฮานาฟี เช่น กลุ่มมุสลิมอินเดียปากีสถาน พวกเขาจะต้องละหมาดญะมาอะฮฺทุกคนและทุกเวลาทั้ง 5 เวลา และเท่าที่ผมศึกษาจากความเข้าใจการละหมาดร่วมกันหรือละหมาดญะมาอะฮฺนี้ สรุปได้ว่าทุกคนต้องทำเว้นแต่มีเหตุจำเป็นสามารถทำได้

ถามหรือสงสัยบ้างไหมว่า ทำไมต้องละหมาดญะมาอะฮฺหรือร่วมกัน ..?

ถ้าเราคิดและศึกษาดีๆ จะพบว่า ฮิกมะฮฺหรือประโยชน์(ระยะหลังนี้ผมจะเรียกว่าผลทางจิตวิทยา)จากการละหมาดญะมาอะฮฺมีมากมายมหาศาล ผม่ขอยกเป็นข้อๆ บางส่วนดังนี้

  •  สถานที่รวมกันที่ดีที่สุด สนับสนุนให้ชายไปทุกคน คือ มัสยิด แน่นอนทุกคนไปที่นั้น รวมตัวกันที่นั้น ถามทุกข์สุข เห็นหน้าเห็นตากัน มีความรักกันและกัน เพราะอยู่ในตำบลเดียวกัน
  • ในแต่ละวันจะละหมาดกลุ่มเล็กๆที่มัสยิดใกล้บ้าน แต่ในเวลาหนึ่งอาทิตย์จะต้องไปรวมตัวกัน เจอะเจอกัน ณ มัสยิดประจำตำบล คือ ละหมาดญุมอะฮฺหรือละหมาดวันศุกร์
  • ในหนึ่งปี ส่งเสริมให้ทุกคน ไม่ว่าชายหรือหญิง เล็กใหญ่ เด็กหรือผู้ใหญ่ ละหมาดได้หรือไม่ได้ ให้ไปรวมตัวกัน ณ สนามแห่งหนึ่ง และที่นั้นเขาจะรวมตัวกันละหมาด ที่เรียกว่าละหมาดอีด หรือละหมาดรายอ ฉะนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกเลยที่ในวันนั้นต้องละหมาดที่สนาม เพราะการจะรวมตัวกันคนทั้งหมู่บ้านทุกคนนั้นที่มัสยิดย่อมเป็นไปไม่ได้
  • ในช่วงละหมาดญะมาอะฮฺนั้น สิ่งที่ต้องทำก็เหมือนๆกับละหมาดคนเดียว คือ อ่านอัลกุรอานซูเราะฮฺอัลฟาติหะฮฺ ซึ่งความหมายในซูเราะฮฺนี้มันยิ่งใหญ่นัก เพียงแต่เราส่วนใหญ่จะอ่านให้ผ่านพ้นเงื่อนไขเท่านั้น ไม่ได้อ่านให้เข้าใจ จดจำ ตระหนักในความหมายและเปลี่ยนแปลงสู่พฤติกรรม
  • ในอายัต ในซูเราะฮฺนั้น เรากล่าววอนขอจากอัลลอฮฺให้พระองค์ชี้ทางนำที่ถูกต้องแก่เรา ไม่ใชแนวทางของคนที่พระองค์ทรงกริ้วโกรธ และทางนำที่ถูกต้องนั้น โตะอิมามหรือผู้นำละหมาดจะบอกแก่เรา คือ ท่านจะอ่านโองการ บทบัญญัติที่มีบันทึกไว้ในอัลกุรอาน... แต่น่าเสียดาย..พวกเราส่วนใหญ่ไม่เข้าใจกัน.. และไม่พยายามจะทำให้เข้าใจ
  • บางมัสยิด อย่างเช่นที่มหาวิทยาลัยอิสลามยะลา หลังจากละหมาดเสร็จผู้รู้ก็จะให้ความรู้ ความสำนึก ให้ทุกคนกระทำการดี

  • อธิการบดีกำลังกล่าวกระตุ้นให้ทุกคนทำการดีโดยยึดคำสอนศาสนา
  • นอกจากนี้ในการไปรวมตัวกันทีมัสยิด ก็สามารถให้เกิด Cop (ชุมชนนักปฎิบัติ) อย่างเช่น ทางภาคใต้เรานี้ ส่วนใหญ่จะกรีดยาง ก็มีการบอกเล่าความสำเร็จของแต่ละคนในการไปกรีดยางได้ผลตอบแทนที่ดี

    เป็น Cop ของคนปฎิบัติที่จะนำสู่ประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัย และเกิดขึ้นหลังละหมาดอัศริ
  • บางครั้งเมื่อได้มีรวมตัวกันแล้วก็แนะแนะ มาร่วมกันศึกษาหาความรู้ร่วมกัน โดยเชิญผู้รู้มาให้ความกระจ่าง หรือที่มหาวิทยาลัยอิสลามยะลาเรียกว่า ฮะละเกาะฮฺ

            นักศึกษารวมตัวกันเพื่อเรียนรู้จากหัวหน้าสาขาวิชาชะรีอะฮฺ 
หมายเลขบันทึก: 328569เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2010 20:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ภาพที่อาจารย์นำมายากครับจะหาจากสถาบันอุดมศึกษาใด แม้จะมีชมรมมุสลิมอยู่ในสถาบันนั้นก็ตาม ผมเองอัลฮัมดุลิลละฮฺ...ที่แม้รู้บ้างไม่รู้บ้างก็มีความสุขว่าอย่างน้อยๆเรามาอยู่ที่ความรู้เรื่องความถูกต้องมันพัฒนาขึ้นเรื่อยๆครับ (วัลลอฮฺอะัลัม) ครับ

แวะมาเยี่ยมครับ ช่วงนี้เร่งโครงการประกันฯ ระยะสองครับ เลยมีเวลาไม่พอสำหรับเขียนบันทึกเอง

ขอบคุณที่ยังมีบันทึกดีๆ จากอาจารย์ไว้เรียนรู้ (ฮิฮิ คนเสื้อสีฟ้า ภาพที่สองจากข้างใต้ ดูยังงัยๆ ก็หล่อดีนะครับ มาชาอัลลอฮ์ ฮิฮิ)

ผมก็ว่าเช่นนั้นเหมือนกันครับ อ.

P
อ.ทราบไหมครับว่า ทำไมมัสยิดที่บาโงยซิแนมันใหญ่
จากการที่ผมอยู่ในสมัยเริ่มก่อสร้างจากผู้ริเริ่ม และจากประสบการณ์
คนที่ริเริ่ม(อาเยาะผมเองครับ) บอกว่า กว้างๆ ให้แยกเป็นกล่มๆ และมุมต่างๆ ต่างคนต่างสอนต่างคนต่างเรียน
และมันกว้างเพราะมันจะได้จุคนมาก จากจำนวนประชากรเพิ่มขึ้น ก่อนหน้านี้มัสยิดบาโงยซิแนทั้งตำบลมีมัสยิดเดียว(เว้นแต่หมู่ที่ ๔) ก็ตอบสนองการรวมกลุ่มทั้งตำบลไงครับ แต่ระยะหลังมีแนวคิดประหลาดๆ หรือแนวคิดตื้นๆ เมื่อมันเซาะฮฺทำไมแยกไม่ได้ !!!??? 

ผมก็ว่าแบบนั้นเหมือนกันครับ

P
วันก่อนถึงทักผมว่ารูปนี้สวย
ผ่านแถวสำนักวิทยฯ ไปหาผมด้วยนะครับ มีเรื่องจะปรึกษา
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท