กระจกเจ้าปัญหา เด็ก และองค์กรแห่งการเรียนรู้


Appreciative Inquiry เพื่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ (35)

เมื่อเกือบร้อยปีก่อน ฟอร์ด เจ้าของบริษัทฟอร์ดที่ผลิตรถโมเดลที เป็นผู้ผลิตรถรถยนต์แบบครั้งละมากๆ เป็นรายแรก ต้องสติแตกกับปัญหาที่ เวลาคนขับรถยนต์ไปชนกันทีไร กระจกจะแตกเป็นลิ่มๆ จนปักคอคนโดยสารตายไปมาก (กระจกสมัยก่อนไม่แตกเป็นเม็ดเล็กๆ อย่างปัจจุบัน) ฟอร์ดจึงเรียกวิศวกร นักวิทยาศาสตร์ และบริษัทซัพพลายเออร์ชั้นนำในยุคนั้น แล้วขอให้พวกเขาช่วยกันคิดกระจกที่เมื่อรถชนกันแล้วจะไม่แตกเป็นลิ่ม แต่แตกเป็นเม็ดๆแทน ผู้โดยสารจะได้ปลอดภัย  ครับบุคลากรชั้นยอดของโลก ต่างส่ายหัวครับ ว่าเป็นไปได้ จะใช้เงินหมดโลกก็ไม่มีทางคิดค้นกระจกย่างนั้นได้ 

ฟอร์ดต้องสติแตก หมดหนทาง หลังจากไตร่ตรองอยู่พักหนึ่ง เลยลองโทรศัพท์ไปที่คณะวิศว ของม. มิชิแกน ไม่ได้โทรไปหาอาจารย์ด้วย แต่โทรไปบอกนักศึกษาปี 4  ที่กำลังจะทำ Project ก่อนจบ บอกว่าบริษัทจะให้ทุนสักประมาณ 100 ดอลล่าร์กว่าๆ เพื่อจะให้พวกเขาลองคิดกระจกที่ไม่แตกเป็นลิ่ม  แต่แตกเป็นเม็ดแทน โดยไม่บอกเด็กๆ ว่าเขาเคยขอให้วิศวกร นักวิทยาศาสตร์ และอาจารย์ชั้นหัวกะทิ แต่ไม่มีใครเชื่อว่าทำได้มาแล้ว

ครับได้ผล อีกสามเดือนกว่าถัดมา เด็กกลุ่มนี้ก็คิดได้ครับ  เด็กกลุ่มนี้เป็นคนคิดกระจกที่ไม่แตกเป็นลิ่มที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบันนี่เองครับ คนรุ่นต่อรุ่นล้วนเป็นหนี้เด็กที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่กลุ่มนี้ครับ เห็นไหมครับ องค์กรของคุณอาจติดอยู่กับที่ไม่ไปไหน ลองถามเด็ก ถามคนนอกวงการดู อาจเกิดนวัตกรรมได้

 

เขียนสำหรับวันเด็กครับ  แม้กลุ่มตัวอย่างจะเลยเด็กไปหน่อย

 

ตอนนี้เป็นตอนที่สามที่ผมเขียนถึงวุฒิสี่อย่างคือ ชาติวุฒิ วัยวุฒิ คุณวุฒิ และปัญญาวุฒิ องค์กรเราอาจยังอยู่กับที่ไม่ไปไหน เพราะเราทำอะไรตามวัยวุฒิ คุณวุฒิ  ลองคบ ลองถามคนที่หลากหลายดูอาจได้คำตอบที่ดีกว่าครับ อย่าอยู่กับคนกลุ่มเดียวกัน อาชีพเดียวกัน วัยเดียวกันเกินไป

คำสำคัญ (Tags): #appreciative inquiry#learning organization
หมายเลขบันทึก: 326012เขียนเมื่อ 9 มกราคม 2010 08:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

สวัสดีค่ะ

ติดตามบันทึกของอ.แต่ไม่ได้แสดงความคิดเห็น

ขอบคุณนะคะที่นำเรื่องราวดีๆมาแบ่งปัน

การทำงานในปัจจุบันแม้คนจะมีความคิดที่เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น

ยอมฟังกันมากขึ้นแต่การทำอะไรแบบตามวัยวุฒิ คุณวุฒิ ..

และคนหลายๆคนก็ไม่กล้าคิดหรือแสดงความคิดเห็น

หรือไม่กล้าออกนอกกรอบองค์กรก็เลยไม่ได้รับสิ่งใหม่ๆ

ชอบมากครับบันทึกนี้ การไม่ติดยึดและยึดติดจะนำมาซึ่งความเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาไปสู่การขับเคลื่อนที่ควรจะเป็นครับ

สวัสดีค่ะอาจารย์

  • ขอขอบพระคุณป็นอย่างสูงค่ะ
  • อันแรก..  กับความรู้ที่ยังไม่เคยทราบมาก่อนคือเรื่องการผลิตกระจกรถค่ะ
  • อันต่อมาคือ..การยอมรับเด็ก การให้เด็กได้แสดงความสามารถความคิดเห็น ความไว้วางใจในตัวเด็ก เป็นการลดอัตตาของผู้สอนมกานะคะ
  • ถ้าหากครูยอมโง่กับเด้กเสียบ้างและไม่มีอัตตาในตัวเองมากเกินไป เราจะได้เห็นความน่าทึ่งของเด็กมากมายนะคะ
  • ส่วนการเคารพ การมีสัมมาคารวะนั้น  เป็นสุดยอดของคนไทยอยู่แล้วค่ะ แต่ครูก็ไม่ควรละเลยปลูกฝัง
  • อยากให้คุณครูมาอ่านมาก ๆนะคะบันทึกนี้

คนในองค์กรมักจะยึดติดอยู่กับอะไรเดิมๆครับอาจารย์

การที่ออกไปถาม หรือปรึกษาคนนอกให้ลองทำในสิ่งที่คนในองค์กรคิดว่าทำไม่ได้เป็นอะไรที่สุดยอดครับ

อีกประเด็นหนึ่งคือ เด็กจบใหม่ ไฟแรงครับ ก่อนที่เขาจะถูกวัฒนธรรมองค์กรกลืนกิน

รีบปรึกษา หรือถามจุดที่เขาคิดว่าองค์กรควรจะเปลี่ยนแปลง ผมว่ามันน่าจะเวิร์คนะครับ

สวัสดีวันเด็กครับอาจารย์ ^^

เคยอ่านเจอเหมือนกันครับเรื่องนี้

อันที่จริงมันอาจจะเป็นเรื่องง่ายเกินไป

ที่ คนเก่งๆจะคิดออกละมั้งครับ

อย่าตัดสินคนจากเพียงภายนอกหรือว่าดูจากอายุเท่านั้นค่ะ จริงๆแล้วมีเด็กๆหลายคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ที่ดีๆมากมาย ขาดแค่โอกาสเท่านั้นเอง

ค่ะ อาจารย์ เหมือนอย่างที่อาจารย์เคยเรียนว่า

การเสนอความคิด โดยดูจากคนต่างองค์กร

เรียกได้ว่า cross functional

บางครั้ง มุมมองของเราที่คิดว่ายากเหมือนงมเข็ม

แต่ว่า กลับเป็นความคิดที่เป็น ตรรกะ

ของศาสตร์อื่นๆ ที่เสนอมาให้เรา แบบเส้นผมบังภูเขา

jw

ขอบคุณทุกท่านที่แวะมาครับ

ติดตามการเคลื่อนไหวของกลุ่ม AI THAILAND ได้ที่

http://gotoknow.org/planet/aithanlandcom

โลกนี้ชั่งกว้างใหญ่นัก เราก็ไม่ควรจะมองแค่จุดที่เรายืนใช่ไหมค่ะ

ขอบคุณสำหรับความรู้ที่ไดัรับค่ะอาจารย์

ชอบครับชอบ เด็กต้องฟังผู้ใหญ่ ผู้ใหญ่เรียนรู้กับเด็ก ร่วมกันเรียนรู้

เกิดองค์กรแห่งการเรียนรู้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท