ปริศนาคำทาย


 

วิชาวรรณกรรมท้องถิ่น                     ปริศนาคำทาย 

ผู้เรียบเรียง  นายสมเกียรติ  คำแหง 

 

 

ความหมาย

                ปริศนา  อ่านว่า  ปริด-สะ-หนา เป็นคำนามหมายถึง สิ่งของ การกระทำ หรือถ้อยคำที่ผูกไว้ให้คิดเป็นเงื่อนงำ ปริศนาคำทาย คือ ถ้อยคำที่ผูกไว้ให้คิดให้ทาย ที่เราเคยรู้เช่น ปริศนาธรรม  ปริศนาลายแทง คนทางใต้เรียกปริศนาว่า เล่นทาย เล่นท้าย หรือเล่นไฮไหรเหอ

 

ประวัติ

                คงมีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย หรืออยุธยา เพราะจากประวัติวันสงกรานต์ก็มรนิทานประกอบตำนานวันสงกรานต์ว่า ท้าวกบิลพรหมได้ตั้งปัญหาถามเป็นการพนันกับ ธรรมบาลกุมารว่า “เวลาใดราศีอยู่ที่ไหน” ถ้าธรรมบาลกุมารตอบไม่ได้จะต้องให้ท้าวมหาพรหมตัดเศียร แต่ถ้าธรรมบาลกุมารตอบได้ ท้าวมหาพรหมจะเป็นผู้ถูกตัดเศียร เรื่องเล่าว่า (สมเกียรติ)

……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

ธรรมบาลกุมารจึงตอบปัญหาได้ ท้าวมหาพรหมเลยถูกตัดเศียร แต่เศียรของท้าวมหาพรหมจะตกไปในที่ใดไม่ได้ ตกบนดินจะเกิดเป็นไฟบรรลัยกัลป์ ตกในทะเลน้ำจะเหือดแห้ง ตกในอากาศจะเกิดฟ้าผ่า เมื่อตัดเศียรจะต้องเอาพานแว่นฟ้ามารองรับ เลยจึงมีวันสงกรานต์และมีนางสงกรานต์ลูกสาวทั้ง ๗ คน นำไปแห่แหนผลัดเปลี่ยนกันไปในแต่ละปี แล้วแต่วันสงกรานต์จะตรงกับวันไหน คำตอบของปริศนา คือ

เวลาเช้าราศีที่หน้าให้เรา.....................................................................................................................

เวลาเที่ยงราศีที่อกให้เรา...................................................................................................................

เวลาค่ำราศีที่เท้าให้เรา.......................................................................................................................

                คนที่ถือปฏิบัติตามปริศนานี้เรียกว่า มนุษย์สามราศี ใครปฏิบัติจะได้เป็นศิริมงคลกับตัวเอง อายุยืน ๆม่หลงๆ ลืมๆ เวลาอายุมากๆ คือ ให้ปฎิบัติดังนี้....................................................................

..........................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

พูดเรื่องปริศนาคำทายต่อ

 

                สมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีนักปราชญ์ และกวีแสดงความสามารถด้านภูมิปัญญา เปิดเวทีลานกวีเพื่อลับสมองให้ทุกคนได้เข้าแข่งกัน

                สมัยนั้น ม.ร.ว. คึกฤทธิ์  ปราโมช อายุประมาณ ๗-๘ ขวบ ไปเที่ยวที่งานฤดูหนาวที่วัดเบญจบพิตร มีการเล่นทายปัญหา มีการปลูกโรงทานปริศนา ผู้ที่จัดการเรื่องเล่นทายปัญหา คือ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธมงกุฎราชกุมาร (สมเด็จพระมงกุฎเกล้า)

                สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์ราชสุดาฯ ทรงกล่าวว่า “ในการโปรดเกล้าฯ ให้มีการเล่น ผะหมี ได้ทรงแต่งร้านแบบจีนเป็นห้องโถงมีช่องตอบแก้ปริศนา เขียนบนกระดาษสีต่างๆ ติดไว้ตามฝาผนัง ผู้ใดคิดได้ก็ปลดแผ่นปริศนาไปตอบ ผู้ตอบต้องเสียเงินหนึ่งบาทก่อน แล้วจึงตอบ เมื่อตอบแล้วก็มีอาณัติสัญญาดังขึ้นข้างในห้องเป็นเสียงกลองก็แสดงว่าทายถูก แล้วมีรางวัลเป็นสิ่งของต่างๆยื่นส่งมาให้ตอบแทน ผู้ตอบถูกรับของพร้อมด้วยใบปริศนาคืน แต่ถ้ามีเสียงดังเก๊กๆ ก็แปลว่าตอบผิด ผู้ตอบต้องนำใบปริศนานั้นไปติดไว้ที่เดิม”

                ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ก็ไปเล่นทายปริศนาด้วยปัญหาที่มีอยู่ว่า “เทิดทูลต่อสู้มีชื่ออยู่ในพุทธประวัติมีความหมายอยู่ที่คนคนเดียวคือใคร”

                ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ตอบว่า “............................................................................................”

                เหตุผล คือ คำว่า “เทิดทูล” หมายถึง....................................................................................

                                                “ต่อสู้”     หมายถึง...................................................................................

                มีชื่อในพุทธประวัติ คือ พระเวสสันดรชาดกกันฑ์ที่ ๕ ยังมีเรื่องเล่าต่อว่า พอเปิดปัญหาและคำตอบออกดูก็รับถือให้ตัวคุณตอบเพราะ ผู้ตอบใช้ชื่อว่า “คิดลึก” พอพระมงกุฎฯ รู้ว่าเป็นของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ก็ไม่เชื่อ เรพาะ ชื่อคึกฤทธิ์ สมเด็จแม่ของพระองค์พระทานให้ไม่ใช้ชื่อ “คิดลึก” จึงรับสั่งให้เข้าเฝ้าเพื่อนพิสูจน์ลายมือ จึงได้รับรางวัล

                ในนิทานพื้นบ้านก็มีการเล่นปริศนาคำทาย เช่น เรื่องศรีธนญชัย มีเรื่องเล่าว่า มเหสีของท้าวเจษราชทายปัญหาให้ศรีธนญชัยตอบ ซึ่งทายปัญหาศรีธนญชัยว่า

“อะไรเอ่ย รีรี เหมือนใบพลู           กลางมีรู     ดูดีดี  ริมมีขน

เจ้าผู้มี  ปัญญา  ยิ่งกว่าคน                        อย่าให้จน  ทายมา  ว่ากระไร

แต่ศรีธนญชัยไม่ตอบ แต่จะขอตั้งปริศนาทายเป็นการแลกเปลี่ยน เพราะรู้ว่ามเหสีลองภูมิ ศีธนญชัยพูดว่า

หลวงศรีฟัง  นั่งยิ้ม  ขยิ่มจิต            ด้วยคาดคิด  เห็นตรง ไม่สงสัย

จึงทูลว่า  ของด  กำหนดไป                    จะแก้ไข  ให้พระองค์  ทรงทำนาย

อะไรเอย  มู่ทู่  ดูพิกล                                โคนมีขน ผิดชาติ  ประหลาดหลาย

คนทายก่อน  อยู่ข้างล่าง  อย่างภิปราย   คนที่ทาย  ภายหลัง  อยู่ข้างบน

                พอโดนปัญหาย้อนกลับของศรีธนญชัย  พระมเหสีถึงกับกริ้ว  เพราะคิดว่าศรีธนญชัยเล่นทายของหยาบโลน  จึงฟ้องพระสวามี  ศรีธนญชัยเลยต้องไขปัญหาให้พระราชาฟังว่า

                อันว่าปริศนาของพระอรไท                              มีปัญหาว่าไว้เหมือนใบพลู

                                ว่ากลางรีมีช่องสองริมขน                  ในนุสนธ์พันพัวว่า.............

                ข้าคิดแก้ไขว่าให้ดู                                               อันมู่ทู่ที่โคนนั้นขนมี

                ก็คือว่า................ไม่ชั่วช้า                                    มิได้มาโหยกเหยกพูดเสกสี

                ที่ทายก่อนอยู่ล่างตามอย่างมี                              อันที่ทายหลังอยู่ข้างบน

                ก็เพราะพระมิ่งสมรทายก่อนอยู่                       คือว่าหูวัวแจ้งแห่งนุสนธ์

                ทายทีหลังเขากระบือถืออยู่บน                         เป็นเหตุผลเช่นนี้มีสำคัญ

 

                ในชาดกก็ยังมีการทายปัญหาหรือปริศนา เช่น ในเรื่องพระมโหสถ พระมโหสถต้องการหาชายาที่ฉลาด เมื่อพบหญิงงามคนหนึ่งพระองค์ใช้ปริศนาเป็นภาษาใบ้

                พระมโหสถ          :               กำมือแล้วยื่นออกไป หมายถึง......................................................

                นาง                        :               แบบมือตอบ หมายถึง...................................................................

                พระมโหสถ          :               นางชื่ออะไร

                นาง                        :               “สิ่งใดที่ไม่มีในอดีต ไม่มีในอนาคต และ ไม่มีในปัจจุบันเป็น

                                                                ชื่อนาง

                ตอบว่านางชื่อ (..............................................................................................................

ตอบปริศนาชื่อคน

                อะไรเอ่ย กินเมา เป่า ดัง ..................................................................................................

                อะไรเอ่ย อยู่บนหวันแต่วัวชนกัน........................................................................................

                ปริศนาคำทายของคนไทยเรา ถือว่าเป็นภูมิปัญญาจากอดีตถึงปัจจุบัน ต่อๆมายังมีคนคิดตั้งคำถามแบบใหม่ๆซ่อนเงื่อนซ่อนปม ถือว่าเป็นสิ่งที่ดี ให้คนเรารู้จักคิดใช้ปัญญา

 

               

 

 

 

 

 

 

 

อะไร อยู่บนเต่า.......  สี่ตีนเดินมาหลังคามุงกระเบื้อง............. ขี้ไหรอยู่ที่คน........

คำสำคัญ (Tags): #ภาษาไทย
หมายเลขบันทึก: 325210เขียนเมื่อ 5 มกราคม 2010 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 20:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สวัสดีครับครู คำแหง มาแหลงท้ายปัญหา ภาษาศิลป์ อยากร่วมวงสนทนาพายลยิน

ภาษาถิ่นใต้ไว้ลายแห่งปํญญา เรามาช่วยกันสืบค้น เสาะหานำมาแลกเปลี่ยนแบ่งปันกัน อย่าสูญหายไปเหมือนภูมปัฐฐาไทยหลายอย่างที่สืบค้น ตามรอยไม่พบครับ

เวลาเช้าราศีที่หน้าให้เรา....ตื่นมาล้างหน้า.................................................................................................................

เวลาเที่ยงราศีที่อกให้เรา.........เอาน้ำลูบอก..........................................................................................................

เวลาค่ำราศีที่เท้าให้เรา เอาน้ำล้างเท้า ครับท่าน

อะไรเอ่ย กินเมา เป่า ดัง ......ลูกลำโพง............................................................................................

อะไรเอ่ย อยู่บนหวันแต่วัวชนกัน............. วันอาทิตย์...........................................................................

อะไร อยู่บนเต่า...หม้อ.... สี่ตีนเดินมาหลังคามุงกระเบื้อง....เตา......... ขี้ไหรอยู่ที่คน ขี้คร้าน

กินเมาเป่าดัง  บังคิดว่า  เล่าปี่  (เหล้าปี่)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท