(11) การวิเคราะห์ภาระงานสอนของอาจารย์ในภาควิชาที่มีอาจารย์เป็นข้าราชการ และอัตราพนักงานมหาวิทยาลัย


การวิเคราะห์ , ภาระงาน , อาจารย์
          ในการวิเคราะห์ภาระงานสอนของอาจารย์ในภาควิชาที่มีอาจารย์เป็น
อัตราข้าราชการ และอัตราพนักงานมหาวิทยาลัย
  รวมอยู่ในภาคฯ เดียวกันนั้น....
           การคำนวณภาระงานสอนของอาจารย์ ให้แยกวิธีการคำนวณออกเป็น
สองส่วนคือ ส่วนที่หนึ่งภาระงานของอาจารย์ที่เป็นอัตราข้าราชใช้เกณฑ์ปกติ
ในแผนฯ 8(2540-2544) ในการคำนวณ  ส่วนที่สองภาระงานของอาจารย์ที่เป็น
อัตราพนักงานมหาวิทยาลัยใช้เกณฑ์ในแผนฯ 8(2540-2544) ที่เพิ่ม 1.5 เท่า
ในการคำนวณ   เช่น

ตัวอย่างที่ 3     ภาควิชาการพยาบาลแม่และเด็ก คณะพยาบาลศาสตร์ มหา
วิทยาลัยมหาสารคาม  ปัจจุบันมีอาจารย์ทั้งสิ้น 8 คน เป็นอัตราข้าราชการ
จำนวน 6 คน , พนักงานมหาวิทยาลัย 2 คน  ในปีการศึกษา 2548  ภาควิชา
การพยาบาลแม่และเด็กมีภาระงานสอนของอาจารย์ที่คำนวณเป็นนักศึกษาเต็ม
เวลา(FTES)รวมทั้งสิ้นเป็น  44.21  FTES  
         ภาควิชาการพยาบาลแม่และเด็ก พึงจะมีจำนวนอาจารย์ทั้งสิ้นเท่าใด
                            เมื่อคำนวณตามเกณฑ์มาตรฐาน ?

วิธีการคำนวณ

ภาระงานของอาจารย์ที่เป็นอัตราข้าราช
มีอาจารย์ประจำที่เป็นข้าราชการอยู่แล้วจำนวน  6  คน  แต่ละคนสามารถ
รับภาระต่อนักศึกษาเต็มเวลา(FTES) ได้สูงสุดคนละ 4  FTES (มาจาก 1 : 4)
ดังนั้นอาจารย์ที่มีอยู่สามารถรับภาระงานสอนที่เป็น FTES ได้สูงสุด  เท่ากับ
     6  X  4   =   24  FTES
ภาระงานของอาจารย์ที่เป็นอัตราพนักงานมหาวิทยาลัย
มีอาจารย์ประจำที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัยอยู่แล้วจำนวน  2  คน  แต่ละคน
สามารถรับภาระต่อนักศึกษาเต็มเวลา(FTES)ได้สูงสุดคนละ 6 FTES (เพิ่ม 1.5
เท่าแล้ว)
ดังนั้นอาจารย์ที่มีอยู่สามารถรับภาระงานสอนที่เป็น FTES ได้สูงสุด  เท่ากับ
    2  X  6   =   12  FTES
ภาระงานสอนสูงสุด(เต็มที่)ตามเกณฑ์มาตรฐาน ของอาจารย์ทั้งสิ้นเท่ากับ 
    24  +   12   =   36  FTES
จากโจทย์..มีภาระงานของอาจารย์ที่คำนวณได้ในปี 2548  เป็น 44.21 FTES 
จึงมีภาระงานที่สอนเกินเกณฑ์มาตรฐาน เท่ากับ  44.21 -  36   =   8.21 FTES
เกณฑ์มาตรฐานอาจารย์ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ต่อนักศึกษาเต็มเวลา(FTES)
    เท่ากับ  1  :  6   (เพิ่ม 1.5 เท่าแล้ว)
 ยังขาดอาจารย์ตำแหน่งพนักงานมหาวิทยาลัย เท่ากับ  8.21 / 6 = 1.36 คน  
หรือประมาณ   1   คน
    ดังนั้น ...ภาควิชาการพยาบาลแม่และเด็ก พึงจะมีจำนวนอาจารย์ทั้งสิ้น 10 คน
           (เป็นอัตราข้าราชการเดิม 6 คน , พนักงานมหาวิทยาลัยเดิม 2 คน
                       และพนักงานมหาวิทยาลัยที่ยังขาดอีก 2 คน)

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 32311เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2006 10:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 09:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
อ่านแล้วครับ ดีครับ เขียนต่อมากๆนะครับ จะมีเสื้อทีมKM มข แจก รอติดตามเร็วๆนี้ครับ

ผม copy เรียบร้อยแล้วครับ....ขอบคุณครับที่ให้สาระ

ข้อมูลเพื่อประกอบการทำงาน....รออ่านอีกครับ

ขอบคุณ  คุณพิชัย  และคุณสถิตย์ครับ ที่ได้เข้ามาอ่านที่ Blog นี้ของผม

       สัปดาห์ที่ผ่านมาผมไม่ได้เข้ามาที่ Blog เลย
วันนี้มีเวลาจึงเข้ามาเห็นข้อความที่เข้ามาแสดง
ความคิดเห็นครับ

                 ขอบคุณอีกครั้งครับ

อ่านแล้วครับพี่จั๊บ....ดีครับดีๆๆๆ แล้วก็มีเรื่องอยากรบกวนพี่จั๊บอีกหลายเรื่องเลยครับ  การวิเคราะห์อัตรากำลังที่มีเครื่องมือทางการแพทย์มาเกี่ยวข้อง  เช่น ทางด้านรังษีรักษาอ่ะครับ  เพราะตอนนี้โดนโยกมาทำงานด้านอัตรากำลังเต็มตัวเลยครับพี่...ปวดหมองๆๆๆ  ขอบคุณครับ
สวัสดีครับ คุณภรดา ขอบคุณครับที่เข้ามาอ่าน ส่วนเรื่องที่ถามมานั้น ในขณะนี้พี่ยังไม่มีเกณฑ์ในการวิเคราะห์ในเรื่องของ คนต่อจำนวนเครื่องมือ ถ้าจะมีน่าจะเป็นของกระทรวง สาธารณสุขที่เป็นเครื่องมือแพทย์ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท