หนานเกียรติ
เกียรติศักดิ์ หนานเกียรติ ม่วงมิตร

เรียน KM กับ พอช. (๒) ว่าด้วยการเขียน


IMG_4975 by picstation.

 

      ทำอย่างไรจะเขียน ?

      นั่นคือโจทย์ที่ผมชักชวนคน พอช. ช่วยกันคิดค้นหาคำตอบร่วมกัน

      ทำไมจึงไม่กลับมาเขียน ?

      ผู้บริหาร พอช. ท่านหนึ่ง ถามตัวเองดัง ๆ ต่อหน้าคน พอช. ที่เพิ่งจะระดมสองตอบคำถามของผมอย่างเอาจริงเอาจัง และเริ่มเห็นแนวทางที่จะเริ่มต้น ในการบรรยายของท่านก่อนการปิดอบรม

      ท่านเล่าต่อไปว่า ที่ท่านไม่อยากเขียน เพราะท่านไม่มีแรงจูงใจอีกแล้ว ทั้งลาภ ยศ และสรรเสริญ

      ผมควรแนะนำท่านที่ตั้งคำถามนั้นเพิ่มเติมด้วยว่า

      ก่อนที่ท่านจะเข้ามาร่วมงานกับหน่วยงานนี้ ท่านยังชีพด้วยการเขียน เขียนมาแล้วไม่น้อยกว่า ๑,๐๐๐ เรื่อง ยังไม่นับรวมกับบันทึกประจำวันและบันทึกต่าง ๆ ที่บันทึกมาตั้งแต่อายุ ๑๓ ปี

      นอกจากนั้นท่านยังเป็นบรรณาธิการ ผ่านการอ่านและตรวจตรางานเขียนมาแล้วไม่รู้กี่ร้อยต่อกี่ร้อยเล่ม

      ผมพอเข้าใจได้กับการตั้งคำถามตัวเองของท่าน

      แต่ที่ยังไม่เข้าใจก็คือ การเขียนหนังสือ ให้ผลเพียงลาภ ยศ และสรรเสริญเพียงเท่านั้นหรือ

      ท่านต้องการสื่ออะไรจากการพูดคุย นั่นคือสิ่งที่ผมเข้าใจไม่ถึง

      สำหรับผมแล้ว การเขียนหนังสือเป็นสิ่งที่อยู่ในระหว่างการพัฒนา รวมทั้งหาแนวทางที่เป็นตัวของตัวเอง  แน่นอนว่าอยู่ในระยะเริ่มต้น

      ทำไมการเขียนจึงสำคัญกับชีวิตผม ทั้งที่ในชีวิตยังมีเรื่องราวอีกมากมายให้จัดการ

      ผมเคยเขียนแบ่งปันในบันทึกแล้วว่า ผมมีทัศนะที่ดีต่องานเขียนและคนเขียนหนังสือ กระทั่งมีปัจจัยอื่นเข้ามาเสริมผมจึงเริ่มต้นฝึกหัดอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง

      แม้ว่าจะได้เงินจากงานเขียนบ้าง ได้รับคำสรรเสริญบ้าง แต่สิ่งเหล่านั้นก็มิใช่แรงจูงใจสำคัญสำหรับการเขียน ผมได้รับเงินและการสรรเสริญจากเหตุอื่นมากกว่าการเขียน แต่ผมก็รักการเขียน ยังอยากเขียน หากไม่นับเรื่องลูกและเมีย ผมให้เวลากับการเขียนมากกว่าการณ์อื่น ๆ ทั้งปวง

      นอกจากการพูดคุยเรื่องการเขียน ผมเห็นด้วยและได้ความรู้จากการพูดคุยของท่านหลายประการ

      ท่านบอกว่าความรู้มีหลายระดับ ระดับแรก คือ ข้อมูล (data) ถัดมาคือ ข่าวสาร (information) ขยับขึ้นมาเป็น ความรู้ (knowledge) ขยับขึ้นมาอีก คือ ปัญญา (wisdom)

      ท่านยังกล่าวต่อไปว่านี่คือขั้นของความรู้ที่ฝรั่งค้นพบและบอกไว้ แต่อีกขั้นที่พระพุทธเจ้าเลยไปไกลกว่านั้นคือ ปัญญาตรัสรู้

      ท่านบอกว่า พอช. เกี่ยวข้องกับผู้นำชาวบ้าน หรือปราชญ์ชาวบ้านจำนวนมาก ในแต่ละวันบุคคลเหล่านั้นจะวนเวียนมาร่วมงานกับ พอช. อยู่สม่ำเสมอ

      คนเหล่านี้ทำงานและมีประสบการณ์จนตกผลึกเป็นความรู้และปัญญา และเมื่อพูดคุยกันมักจะไม่พูดถึงระดับ ข้อมูล และ ข่าวสาร ดังเช่นคนทั่วไป

      คนเหล่านี้ไม่เขียนแต่พูด ไม่อ่านแต่ฟังและทำ

      โดยส่วนตัวผมแล้ว ผมเห็นด้วยว่ารากฐานวัฒนธรรมไทย เป็นวัฒนธรรมการพูด-ฟัง มิใช่เป็นวัฒนธรรมการเขียน-อ่าน นี่กระมังที่ทำให้การเขียนการอ่านของคนไทยไม่เข้มแข็ง

      การพูด-ฟัง ค่อนไปทางสัญชาติญาณหรือธรรมชาติ ส่วนการเขียน-อ่าน ค่อนไปทางวัฒนธรรม เป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นมาภายหลังซึ่งนำพามนุษย์ไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองและมีอารยธรรม

      พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ที่สืบเนื่องมาได้กว่า ๒,๐๐๐ ปี ก็เพราะมีบันทึกที่เราเรียกว่าพระไตรปิฎก เฉกเช่นเดียวกันกับพระคัมภีร์ใบเบิ้ลของคริสตชน และคุมภีร์อัลกุลอ่านของอิสลามิกชน

      ศาสตร์ต่าง ๆ ที่เจริญเติบโตมาได้ก็เพราะเหตุสำคัญประการเดียวกันคือการเขียน การบันทึก

      ฝรั่ง จีน อินเดีย ที่มีอารยธรรม ล้วนได้รับอิทธิพลมาจากการเขียน-บันทึก อีกทั้งการเขียนและการอ่านก็เป็นการวัดคุณภาพประชาชนของแต่ละประเทศอีกด้วย

      สังคมไทยแม้การเขียน/บันทึก จะไม่เข้มแข็ง แต่ก็มิได้หมายความว่าไม่มีความรู้/ปัญญา ในทางตรงกันข้ามเราพบความรู้และภูมิปัญญาอยู่ทั่วเต็มแผ่นดิน โดยเฉพาะความรู้/ปัญญาที่แฝงอยู่ในตัวคน ที่เราเรียกว่าปราชญ์ชาวบ้าน ที่ พอช. เกี่ยวข้องสัมพันธ์อยู่เป็นอันมาก

      ความรู้/ปัญญาเหล่านี้ถ่ายทอดกันอยู่ในท้องถิ่น โดยใช้การพูด-ฟัง (รวมทั้งชวนทำ) เป็นส่วนใหญ่ ในทัศนะผม แม้ความรู้/ปัญญาเหล่านี้จะมีคุณค่า แต่ก็ต่อยอด ขยายผล และพัฒนาต่อได้ลำบาก

      ถามว่าเราพึงพอใจอยู่กับวัฒนธรรมเดิมคือการพูด-ฟัง เพียงเท่านี้เพียงพอหรือไม่

      สำหรับผมคิดว่าไม่ควรพึงพอใจอยู่เพียงเท่านี้ครับ แต่จะให้ปราชญ์ชาวบ้าน กระทั่งชาวบ้านที่แวดล้อมอยู่กับความรู้นั้นเขียนบันทึกความรู้/ปัญญาเหล่านั้น ก็ออกจะคาดหวังเกินไปสักหน่อย การเปลี่ยนหรือสร้างวัฒนธรรมเขียน-อ่าน ผมเชื่อว่าต้องใช้เวลาหลายชั่วคนครับ

      แล้วจะทำอย่างไรกันดี ตรงนี้ก็มาบรรจบกับภารกิจของ พอช.

 

IMG_5011 by picstation.

 

หมายเลขบันทึก: 321416เขียนเมื่อ 19 ธันวาคม 2009 11:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 20:11 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (32)
พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

หลายอย่างที่เป็นภูมิรู้ปัญญาท้องถิ่นที่เนื่องติดอยู่กับบุคคล

เมื่อท่านจากไปก็ตามท่านไปเกือบทั้งหมดหรือสืบต่อด้วยมุขปาฐะก็อยู่ได้ไม่ยืนนาน

การเขียนเป็นวิธีการหนึ่งที่เราพยายามจะเก็บความทรงจำนั้นไว้อย่างคลาสสิกที่สุด ไม่ต้องมีเเรงจูงใจทางด้านลาภ ยศ สรรเสริญ เข้ามาเกี่ยวข้อง แต่เเรงจูงใจนั้นมีเพียงเเต่ว่าอยากเขียน เขียนให้ตัวเองเองได้ทบทวน เขียนเพื่อสื่อสารให้คนบางคนเข้าใจ ก็พอ...

ท่านพุทธทาส ท่านก็ใช้การเขียนในการเผยแพร่ธรรมะ เกดิการเรียนรู้มากมายหลังจากนั้น

เขียนเพราะความรัก รัก ให้เกียรติตัวเอง รักในมนุษยชาติ นี่หละครับเเรงจูงใจที่ยิ่งใหญ่

กราบนมัสการครับ พระมหาแล ขำสุข(อาสโย)

เราสูญเสียไปเยอะมากครับ หลังจากการล้มหายตายจากของบุคคลผู้ทรงภูมิรู้ภูมิปัญญา
น่าเสียดายมากครับ
หากการเขียนเข้ามาช่วยรักษาไว้ก็จะเป็นประโยชน์กับคนรุ่นหลังได้ไม่น้อย
บางทีอาจจะพัฒนาต่อยอดความรู้/ปัญญานั้นไปอีกไกลด้วยครับ
ขอบพระคุณพระอาจารย์ที่เข้ามาเยี่ยมเยียนและแบ่งปันความเห็นครับ

 

P สวัสดีครับ คุณเอก จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร

เห็นด้วยครับ การเขียนเป็นการเก็บท้ังความรู้ ความทรงจำ มาแต่ไหนแต่ไร
ผมไม่ได้เขียนไปในบันทึก เพราะเดี๋ยวจะพูดเรื่องตัวเองเยอะเกินไป
ผมเองพัฒนาตัวเองจากการเขียนเยอะมาก
การเขียนทำให้ความคิดเป็นระบบมากขึ้น คิดได้ไกลและเชื่อมโยงกับเหตุปัจจัยต่าง ๆ ได้มากขึ้น

  • สวัสดีค่ะ คุณหนานเกียรติ
  • "การฟังทำให้คนพร้อม  การอ่านทำให้คนเต็ม  การเขียนทำให้คนประณีต"
  • ทักษะการเขียนจึงสำคัญและสูงสุด  การเขียนยังเป็นการฝึกสมาธิ  ฝึกจิต
    การลำดับความคิด  เก็บความทรงจำไว้ได้อย่างดี  นับเป็นประโยชน์สูงสุด
    ที่ควรฝึกฝน
  • ขอบพระคุณบันทึกดี ๆ ที่แบ่งปันค่ะ

    Ddd-1

 

P สวัสดีครับ คุณ ธรรมทิพย์

ขอบคุณมากครับ
ผมได้รับประสบการณ์อย่างที่กล่าวขึ้นมาจริง ๆ ครับ

"การฟังทำให้คนพร้อม  การอ่านทำให้คนเต็ม  การเขียนทำให้คนประณีต"

 

สวัสดีค่ะ แวะมาให้กำลังใจค่ะ..

 สู้ สู้ ค่ะ

 

สวัสดีค่ะ

  • จบแล้ว  ก็สรุปว่าเขียนดีค่ะ
  • ให้ความรู้คนอ่าน ก่อให้เกิดความคิดอีกด้วย
  • เป็นความรู้ใหม่  ไม่ใช่ความรู้มือสอง

เอาของผมอีกคนหมั๊ยหนานเกียรติ

  • การอ่านทำให้พบความจริง
  • การฟังทำให้พบความดี
  • การเขียนทำให้พบความงาม

ผมกำลังฝึกฝนตัวเองทำงานศิลปะ

ด้วยการเขียนงานศิลปะให้มีความประณีตขึ้น 

ครับหนานเกียรติ

  • หากเขียน..จะได้วิเคราะห์ ประมวล สรุป จัดหมวดหมู่ ลำดับ นำเสนอ ฯลฯ ไปโดยอัตโนมัติครับ
  • เป็นบันทึกที่ชี้ให้เห็นประโยชน์จากการเขียนที่ดีบันทึกหนึ่งเลยครับ ชอบความข้องใจที่ว่า"เขียนเพื่อลาภ ยศ สรรเสิญเท่านั้นหรือ" เชื่ออย่างหนึ่งว่า จะเขียนให้ได้ดี ต้องเขียนเพราะอยากเขียนครับ
  • ขอบคุณข้อคิดดีๆเกี่ยวกับการเขียนครับ

ขอผมอีกรอบน๊ะหนานเกียรติ

  • การอ่านทำให้เป็นผู้รู้
  • การฟังทำให้เป็นผู้ตื่น
  • การเขียนทำให้เป็นผู้เบิกบาน

ผมอยากเป็นคนเบิกบาน(เป็นคนทำงานศิลปะ)  ผมจึงฝึกฝนตัวเองในงานเขียน

น้องกานต์เป็นคนชอบอ่าน   และชอบฟัง

ขาดทักษะการเขียน  เขียนได้แต่การเขียนบันทึก

เขียนตามอารมณ์พาไป  เขียนแบบผู้รู้ยังเขียนไม่เป็น

ได้รับข้อคิดดีๆจากพี่ๆ คงต้องไปฝึกฝนการเขียนให้เป็น

ขอบคุณสาระดีๆที่มีประโยชน์ค่ะ

ถนัดพูด ฟัง อ่านมากกว่าค่ะ ตอนนี้กำลังฝึกการเขียนอยู่ค่ะ ขอบคุณสำหรับแนวคิดที่นำมาถ่ายทอดและแบ่งปัน

             

                              

สวัสดีค่ะ คุณหนานเกียรติ

  •     เขียนดีแล้ว  จูงใจน่าอ่านและอ่านได้เข้าใจเรื่องราว
  •     ที่จริงในเชิงการสื่อสารคงยากหมด คือ ทำอย่างไร(ตัวเรา)จึงเข้าใจ และทำอย่างไร (คนอื่น)จึงเข้าใจ
  •     การสื่อสารรวมทั้งการเขียนต้องมีความชำนาญ จึงเรียก "ทักษะ"
  •     เรื่องเล่าของเฌวาหายไปนานนะคะ  และ  ยินดีต้อนรับที่ยะลาค่ะ

สวัสดีค่ะ

-กำลังยุ่ง แต่ระลึกถึง ต้องมีส่งกำลังใจให้คนทำงานก่อนกลับบ้าน

- ท่าน ผอ.สพท. ใช้งานข้ามหน่วยงาน... ฟ้าง เลย....

- ขอบ้านไปทานข้าวดีกว่า

- มีความสุขกับการทำงานนะคะ

 

 

P สวัสดีครับ คุณ ครูบันเทิง 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ
สวัสดีปีใหม่ครับ

 

P สวัสดีครับ พี่ ครูคิม

แหะ แหะ พี่ครับ... ที่ว่าเขียนดีเนี่ย
"ผมเขียนดี" หรือว่า "การเขียนดี" ครับ
ขอบคุณครับพี่...

 

P สวัสดีครับ พี่สุเทพ ไชยขันธุ์

ขอบคุณมากครับพี่
สวัสดีปีใหม่ครับ...

 

 

P สวัสดีครับ อ.ธนิตย์ สุวรรณเจริญ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมและแบ่งปันความเห็นครับ
สวัสดีปีใหม่ครับ...

 

P สวัสดีครับ คุณ กานต์

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมและแบ่งปันความเห็นครับ
เขียนต่อไปเถอะครับ ผมคิดว่าเขียนอย่างไรก็ได้ ดีทั้งนั้น
สวัสดีปีใหม่ครับ...

 

P สวัสดีครับ คุณ @..สายธาร..@

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ
สวัสดีปีใหม่ครับ

 

P สวัสดีครับ พี่ แมว - มนัสนันท์

P สวัสดีครับ อาจารย์ นายประจักษ์ ปานอินทร์

P สวัสดีครับ พี่ใหญ่ - นาง นงนาท สนธิสุวรรณ

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมทักทายครับ
สวัสดีปีใหม่นะครับ
ขอให้มีความสุขตลอดปีใหม่ที่จะถึงนี้และตลอดไปครับ

  • สวัสดีครับท่านหนานเกียรติ
  • มาขอบคุณที่แวะไปทักทายครับ

 

 

P สวัสดีครับ อ.นิตยา เรืองแป้น 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมและแบ่งปันความเห็น
เฌวากลับมาแล้วนะครับ...
สวัสดีปีใหม่ครับ

 

P สวัสดีครับ คุณครูใจดี

โดนเขตใช้งานเหรอครับ...
แสดงว่าเป็นคนมีฝีมือครับ จึงได้รับมอบหมายงาน
ฝากความระลึกถึง ผอ.เขต ด้วยครับ
สวัสดีปีใหม่ครับ

 

P สวัสดีครับ อ.นายก้ามกุ้ง

ขอบคุณเช่นกันครับ
สวัสดีปีใหม่ครับ....

 

สวัสดีครับ ท่านหนานเกียรติ

  • สังคมไทยเรามี คนมีความรู้และภูมิปัญญาอยู่มากมายครับ แต่น่าเสียดายที่บางอย่างใช้วิธีการสืบทอดจากปากต่อปาก และสั่งสมโดยใช้ทักษะ คือ "ทำได้ ทำเป็น แต่เขียนหรือบรรยายไม่ค่อยเป็นหรือไม่ให้ความสำคัญกับการเขียนครับ"
  • สวัสดีปีใหม่ครับ ขอให้ ท่านและครอบครัว มีความสุขมากๆ ครับ

สวัสดีครับ

P คุณ ณัฐวรรธน์

P คุณ เด็ก(like)สาระ!!

P คุณ ปีตานามาจิตต์

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียนทักทายครับ....

สวัสดีค่ะ แวะมาทักทายค่ะ

การเขียน มีมาตั้งแต่โบราณกาลแล้วล่ะค่ะ

ในการเล่าความเป็นมาต่าง ๆ เพื่อให้ชนรุ่นหลังได้เห็นภาพ

เพราะสมัยก่อนเทคโนโลยี่ การใช้เครื่องมือต่าง ๆ ยังไม่มี

แต่สมัยนี้ คนส่วนมาก ชื่นชอบความสะดวก นวัตกรรมใหม่ ๆ

เลยขี้เกียจที่จะ "เขียน" อิอิ

บุญรักษาค่ะ ^^

แวะมารับข้อมูลดีๆค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ krutoiting 

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท