ประสบการณ์ตรวจรับเครื่อง PET-CT ที่มาเลเซีย


ผมมีโอกาสได้ไปทำการตรวจแรกรับ (acceptance testing) เครื่อง PET-CT ที่มาเลเซีย

PET-CT เป็นเทคโนโลยีใหม่ที่พึ่งเข้ามาในภูมิภาคนี้ปีสองปีที่ผ่านมานี่เอง ผมมีโอกาสได้ไปทำการตรวจแรกรับ (acceptance testing) เครื่อง PET-CT ที่มาเลเซีย โดยเครื่องแรกอยู่ที่เกาะปีนัง ส่วนเครื่องที่สองอยู่เมืองหลวงใหม่คือปุตราจายา จริงๆผมมีโอกาสลงไปทำงานและสอนหนังสือที่มาเลเซียค่อนข้างบ่อยจึงคุ้นเคยกับประเทศเขาดี ระบบงานรังสีเขาเป็นระบบมาตรฐานมากกว่าบ้านเราคือเขารับเอาระบบยุโรปและอเมริกามาใช้หลายปีแล้ว เช่นการที่เครื่องมือทางรังสีวิทยาทุกเครื่องจะต้องมีการตรวจแรกรับและการตรวจคุณภาพประจำปีจากนักฟิสิกส์การแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงสาธารณสุข โดยคนของกองรังสีของกระทรวงทำหน้าที่เป็น auditor เท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงมีระบบของบริษัททางด้านการตรวจคุณภาพเครื่องมือรังสีเกิดขึ้นหลายแห่ง โดยผมเองเป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทหนึ่งในฐานะ consultant physicist (ผมเซ็นเอกสารไม่ได้เนื่องจากไม่ได้ขึ้นทะเบียนเนื่องจากไม่ได้ถือสัญชาติมาเลเซีย) นอกจากนี้ทาง University of Malaya มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของประเทศและทางกระทรวงสาธารณสุขมาเลเซียรวมถึงสมาคมรังสีเทคนิคมาเลเซียได้เชิญผมลงไปบรรยายหลายครั้งทั้งในฐานะนักรังสีเทคนิค และนักฟิสิกส์การแพทย์

Prof. Ng Kwan Hoong, medical physics program director และนายกสมาคมนักฟิสิกส์การแพทย์อาเซียนเองก็ให้ความเอ็นดูผมเป็นพิเศษ เนื่องจากท่านมีความสนิทสนมกับอาจารย์ที่ปรึกษาของผมที่สหรัฐคือ Prof. Gary Fullerton อยู่ก่อนสมัยท่านไปทำงานที่ University of Wisconsin

ด้วยเหตุนี้ทาง Prof. Ng เองได้ขอให้ผมลงไปช่วยทำการตรวจรับเครื่อง PET-CT ที่ปีนังเป็นแห่งแรกเมื่อปีก่อน จากนั้นเมื่อเดือน เมษายนที่ผ่านมาผมได้ไปตรวจรับให้อีกเครื่องที่ปุตราจายา ทั้งนี้ผมได้ทำการตรวจรับเครื่อง PET-CT ทั้งหมดแล้ว 3 เครื่องคือที่มาเลเซีย 2 เครื่องและที่ รพ.วัฒโนสถ กรุงเทพ อีกเครื่องหนึ่ง

การตรวจรับ PET-CT ยังไม่มี protocol จาก AAPM หรือ IPEM ออกมา แต่ใช้การตรวจของ NEMA 2001 ผมเองสมัยเรียนที่อเมริกาก็เคยทำแต่เครื่อง PET ธรรมดาโดยใช้ protocol เก่าคือปี 1994 โดย protocol ปี 2001 มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบพอสมควร ส่วนการตรวจรับในส่วนของ CT นั้นไม่เป็นปัญหาเนื่องจากมีประสบการณ์เป็นอย่างดี สิ่งที่ผู้จะซื้อ      PET-CT ควรตระหนักคือการตรวจรับด้วย NEMA 2001 มักไม่รวมอยู่ใน package โดยเฉพาะบ้านเราซึ่งกฎหมายด้านนี้ยังไม่มีการบังคับใช้ จึงอยู่ในดุลพินิจของนักฟิสิกส์ในแต่ละโรงพยาบาลที่จะต้อง request บริษัท โดยวิศวกรจากแต่ละบริษัทเองที่สามารถทำการตรวจแบบนี้ได้ก็มีไม่มากนัก  (วิศวกรจะทำการตั้งค่าการตรวจตามโปรโตคอลที่นักฟิสิกส์ต้องการใน service mode)

การทำ NEMA 2001 นั้นค่อนข้างยุ่งยากและใช้เวลานาน คือหากไม่มีการต้องทำการตรวจซ้ำในระบบการทำงานใดๆ จะใช้เวลา 3 วันสำหรับ PET และ 1 วันสำหรับ CT ทั้งนี้ไม่รวมเวลาการปรับ scanning protocol เพื่อ optimize คุณภาพของภาพ อีกทั้งหากไม่มี cyclotron onsite จะยุ่งยากมากเนื่องจากต้องใช้ F-18 ปริมาณมาก (เวลาเอา survey meter เข้าไปวัดนี่วิ่งแทบไม่ทัน)

สิ่งที่ได้รับจากการลงไปทำงานนี้คือประสบการณ์ที่อาจเรียกได้ว่าเป็นนักฟิสิกส์การแพทย์คนแรกของประเทศไทยที่ได้มีโอกาสทำงานนี้ รวมทั้ง technical skill ที่ได้รับเพื่อปรับปรุงการทำงานในครั้งต่อไป ขณะนี้ที่มาเลเซียมี  PET-CT อยู่ 3 เครื่อง เป็นของรัฐบาล 2 เครื่อง ขณะที่เมืองไทยคาดว่าภายในปีนี้จะมี  5 เครื่อง อยากฝากว่าคุณภาพของภาพและการปรับปริมาณรังสีอย่างเหมาะสมในเครื่องมือที่ซับซ้อนแบบนี้ควรได้รับการดูแลจากนักฟิสิกส์การแพทย์ที่มีความชำนาญเพื่อประโยชน์สูงสุดของการใช้เครื่องมือกับผู้ป่วย ส่วนักรังสีเทคนิคเองก็มีส่วนไม่น้อยเนื่องจากเป็นผู้ใช้เครื่องและอยู่กับเครื่องทุกวัน ความรับผิดชอบในส่วนการควบคุมคุณภาพประจำวันควรต้องอยู่ใน job description ด้วย

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 31867เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2006 21:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:24 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

ขอชื่นชมด้วยความจริงใจค่ะ  และรู้สึกภูมิใจที่อาจารย์บอกว่า ประเทศมาเลเซียเขาเป็นระบบมาตรฐานมากกว่าบ้านเรา  แต่ยังต้องเชิญผู้เชี่ยวชาญจากไทยไปช่วย  ขอเป็นกำลังใจ และขอให้อาจารย์ถ่ายทอดสิ่งดีดีแก่บ้านเรา ให้ไม่แพ้ใครต่อไปนะค่ะ   

ยินดีครับอาจารย์ ทางนเรศวรอยากจัดสัมมนาอาจารย์ไหมครับ พวกเราจะได้ไปพบกัน อาจจะขอทุนสมาคมได้ส่วนหนึ่งครับ
อยากซิคะ  ต้องตอบว่าอยากไว้ก่อน แล้วค่อยถามว่า สัมมนาเรื่องอะไรเอ่ย ?  ทาง ม.นเรศวร ยินดีต้อนรับเต็มที่เลยค่ะ  ขอให้บอก....

เรื่องมาตรฐานหลักสูตรรังสีเทคนิคไงครับ

หากมีมหาวิทยาลัยใดรับจัดสัมมนา ทางสมาคมรังสีเทคนิคคงไม่ขัดข้องที่จะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายครับ

ยินดีเป็นอย่างยิ่งค่ะ  ถ้าอย่างนั้น คงต้องหาช่วงเวลาที่เหมาะสมนะคะ 

อยากจะเรียนเสนอว่า วันที่ 7 - 11 สิงหาคม ที่จะถึงนี้ ทางคณะฯ จะจัดประชุมวิชาการเนื่องในโอกาสสถาปนาคณะสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ครบรอบ 10 ปี  http://www.ahs.nu.ac.th/  มีการประชุมทั้ง 4 สาขาวิชา RT MT PT CVT โดยรังสีเทคนิค จัดเพียง 3 วัน คือ วันที่ 7 - 9 ช่วงนี้คงมีนักรังสีเทคนิคมาประชุมกันมากพอสมควร  จึงน่าจะเป็นเวลาที่เหมาะสม

วันสุดท้าย คือวันที่ 9 สาขา RT พอจะมีเวลาเหลืออีกครึ่งวันตอนบ่าย  หากทางสมาคมยินดีที่จะใช้โอกาสนี้ ขอให้บอกก่อนนะคะ จะได้รีบสำรองห้องไว้

หรือหากสมาคมมีความต้องการเป็นอย่างอื่น ก็หารือกันได้ค่ะ 

เดี๋ยวผมขอหารือกับทางสมาคมก่อนนะครับ

สวัสดีครับ พี่โอ๊บ,

 ผมดีใจจังเลยครับ ที่พี่จัดทำองค์ความรู้ที่คนทั่วไปสามารถเข้ามาศึกษาได้  ถ้าในเรื่องงานประชุมวิชาการ อยากให้ช่วยอะไรก็บอกได้นะครับ ยินดีที่จะช่วยเต็มที่

 

 

  

สวัสดีครับ ผมน้องพลจะโรงพยาบาลสงขลา ขอบคุณมากสำหระบความรู้ไหม่ที่มากเล่าสู่กีนฟัง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท