การดูแลแผลเท้าเบาหวานด้วย CNPG;RNAO


Nursing Best Practice Guideline: RNAO 2005

โดยทั่วไปเจ้าหน้าที่สุขภาพมักเข้าใจว่าแผลเบาหวานทุกชนิดมีวิธีการดูแลและทำแผลเหมือนกันแผลเท้าเบาหวานจึงไม่ได้รับการดูแลอย่างถูกต้องทำให้โอกาสที่แผลเหล่านี้จะหายมีน้อยและในบางครั้งแผลนั้นเกิดการลุกลาม..ส่งผลให้ท้ายสุดแล้วผู้ป่วยอาจเสียเท้าหรือขา..ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง

ดังนั้นวันนี้ผู้เขียนจึงขอแนะนำแนวปฏิบัติการพยาบาลในการจัดการแผลเท้าเบาหวานซึ่งเป็นNursing Best Practice Guideline ของ RNAO(Registered NursesAssociation of Ontario) ดังนี้ ค่ะ

 

Nursing Best Practice Guideline: RNAO2005

 ข้อเสนอแนะ(recommendations)

ระดับของหลักฐาน                (level ofevidence)

ข้อเสนอแนะในการปฏิบัติ

เสริมพลังและให้ความรู้ผู้ป่วย

(patient Empowerment and Education)    

1.0 ผู้ป่วยเท้าเบาหวานทุกคน หรือผู้ดูแลควรจะเข้าใจเงื่อนไขและแหล่งสนับสนุนของตัวเอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเบาหวาน และการดูแลแผล ของตนเอง

 ।a

1.1 การให้ความรู้ เป็นเรื่องจำเป็นสำหรับการจัดการตนเองของผู้ป่วยเบาหวานและการป้องกันหรือลดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ

IV

1.2 การให้ความรู้ ขึ้นกับความต้องการของแต่ละบุคคล ปัจจัยเสี่ยงสภาพแผล  ความเป็นไปได้ และโอกาสหายของแผล

IV

การประเมินแบบองค์รวม (Holistic Assessment) 

 Vascular status

 Infection

 Neuropathy    

Foot deformity and Pressure

2.0 บันทึกประวัติการเจ็บป่วยที่สมบูรณ์ รวมทั้งการจัดการเบาหวานการแพ้ การใช้ยา การตรวจร่างกายการทำหน้าที่ของส่วนต่างๆของร่างกาย(เช่น หลอดเลือด การติดเชื้อหนังหนา เส้นประสาทเสื่อม เท้าผิดรูป การลงน้ำหนักกดทับแผล   

Ib-IV

2.1 ประเมินอวัยวะส่วนปลายทั้งสองข้างเพื่อดูการไหลเวียนเลือดและการวินิจฉัยที่เหมาะสม

IIb-IV

2.2ประเมินอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ ในผู้ป่วยเท้าเบาหวานทุกคนเพื่อการวินิจฉัย และให้การรักษาที่เหมาะสม

IIa

2.3 วินิจฉัยเส้นประสาทส่วนปลาย โดยประเมินการรับสัมผัสการเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหว   

II-IV

2.4 ประเมินการกดทับของเท้า การผิดรูป  การเดินรองเท้าและอุปกรณ์เสริม ความสะดวกและความเหมาะสม

।a -IV

Foot ulcer Assessment

 

 

3.0 บรรยายและบันทึกลักษณะของแผล

IV

3.1 ระบุตำแหน่ง ความยาว  ความกว้าง ความลึกและชนิดของแผล

।a -IV

3.2 ประเมินขอบแผล หนอง กลิ่นเหม็น และผิวหนังรอบๆแผล

IV

Goals  of care

(เป้าหมายการดูแล) 

4.0 การกำหนดเป้าหมาย ขึ้นกับข้อค้นพบทางคลินิกความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และความยินยอมของผู้ป่วย

IV

4.1 ตรวจสอบความเป็นไปได้หรือโอกาสที่แผลจะหาย

IV

4.2 พัฒนาเป้าหมายร่วมกันทั้งผู้ป่วยและทีมสุขภาพ

IV

Management (การจัดการ)

Systemic factor

Local factor

Extrinsic Factors

Non-healing diabetic

Foot wound   

5.0 ระบุปัจจัยภายนอกและภายใน ที่สามารถสนับสนุนการหายของแผล

IV

5.1 แก้ไขปัจจัยและปัจจัยร่วมซึ่งอาจรบกวนหรือกระทบการหายของแผล

IV

5.2 จัดให้มีการดูแลแผลที่เฉพาะ เช่น การตกแต่งแผลควบคุมการติดเชื้อ และให้ความชุมชื้นแผล

Ia-III

5.3 จัดให้ มีการกระจายแรงเพื่อลดการกดทับของแผล

IIa

5.4 ประเมินผล และเลือกการรักษาสำหรับแผลที่รักษาไม่หาย

               IV

Evaluation 

Reassess 

Other therapies

6.0 ประเมินผลกระทบ และประสิทธิภาพของแผนการรักษา

               IV

6.1 ประเมินซ้ำ ปัจจัยอื่นๆเพิ่มในกรณีที่แผลไม่หายในเวลาที่คาดไว้

                III-IV

6.2 พิจารณาใช้ ตัวแทนทางชีวภาพ  การรักษาเพิ่มเติม และหรือการผ่าตัด ถ้าการหายของแผลไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ ทบทวนตัวช่วยแต่ละข้อเสนอแนะ

 Ia-IV

จากแนวปฏิบัติดังกล่าวร่วมกับประสบการณ์ในการดูแลแผลเท้าเบาหวาน ผู้เขียนเห็นว่าการให้ความรู้ สำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วย ทุกครั้งที่ผู้ป่วยมาล้างแผล พยาบาลควรเน้นย้ำ ข้อควรปฏิบัติเช่น งดบุหรี่ งดเหล้า ลดการเดินหรือถ้าจำเป็นให้เดินโดยไม่ลงน้ำหนัก(ใช้ไม้ค้ำยัน) ที่สำคัญคือ ให้กำลังใจค่ะเพราะแผลเบาหวานแม้เพียงเล็กน้อย แต่ต้องใช้เวลาในการเยียวยา(healing) นานกว่าแผลปกติค่ะ ไม่ควรตำหนิผู้ป่วยเพราะอาจทำให้ผู้ป่วยขาดการดูแล ล้างแผลที่ต่อเนื่อง..

ตัวอย่างเช่น..

แผลหลังตกแต่งแล้ว..

ผู้ป่วยรายนี้ท่านเป็นข้าราชการครูที่เกษียนราชการแล้วค่ะท่านเดินลงน้ำแล้วเหยียบหอย มีแผลเน่าตายซึ่งถ้าเป็นคนทั่วไปที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน แผลอาจไม่รุนแรงขนาดนี้ค่ะ..และหลังจากแพทย์ได้ตกแต่งแผลแล้ว ( Debridement)จำหน่ายผู้ป่วย ให้กลับไปทำแผลที่สถานีอนามัยใกล้บ้านแต่ด้วยความกังวลใจ กลัวจะถูกตัดขา(ผู้ป่วยบอกว่าถึงตายก็ไม่ยอมตัดขา)ผู้ป่วยจึงมาล้างแผลที่หน่วยงานของผู้เขียน..ดูแลตามแนวทางของ RNAO.. กระทั่งแผลดีขึ้น ดังภาพ 

                                           หลังให้การดูแล 3 สัปดาห์..ผู้ป่วยไปล้างแผลต่อที่สถานีอนามัยใกล้บ้านเมื่อวานนี้ผู้เขียนโทรติดตาม ประเมินผล ทราบว่าแผลแห้งดีใกล้หายเป็นปกติแล้ว ดีใจด้วยค่ะ ..

คำสำคัญ (Tags): #apn#cnpg#dm#dm foot#rnao
หมายเลขบันทึก: 316432เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2009 06:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:57 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

http://gotoknow.org/blog/nurseanaesthqa/316424

ลองไปอ่านการดูแลแผลโดยเติมจิตวิญญาณของเราเข้าไปด้วยนะคะ

...งานของแพทย์ พยาบาลได้ใกล้ชิดกับโอกาสนี้มากกว่าคนอื่นๆ เรื่องราวของคนไข้ เบื้องหลังของคนไข้...เขามีฝัน เรามีโอกาสเชื่อมความฝันของเขาให้เป็นความจริงได้... เรื่องเหล่านี้มันมักเกิดขึ้นทุกวัน ทุกเตียงคนไข้ ตัวอย่างเช่น การดูแลแผลเบาหวานที่เท้าหรือที่ตา retinopathy หากมองต่อไปว่า ถ้าแผลของเขาหาย เขาสามารถกลับไปเดินเล่นบนชายหาดได้ หรือ กลับไปมองเห็นลูกหลานของเขาได้อีก เขากลับไปใช้ชีวิตกับครอบครัวของเขาได้ สานฝันของเขาให้เป็นจริง...

 

แวะมาศึกษาครับ

แผลน่ากลัวมากเลยครับพี่

ถ้าเรารู้วิธีการดูแล คนไข้ก็สบายใจใช่ไหมครับ

ขอบคุณสำหรับความรู้ดี ๆ ครับผม

  • เห็นแผลแล้วน่ากลัวนะครับพี่
  • มาบอกพี่ว่า
  • ตอนนี้วิ่งเล่นเล่นบอล
  • รอบเอวลดแล้ว
  • ฮ่าๆๆๆ
  • ขอเอาภาพนี้ส่งไปให้ผู้ทำเรื่องเบาหวานนะครับ

P
เป็นเช่นนั้นจริงๆค่ะ
ผู้ป่วยชายรายหนึ่งเป็นแผลเท้าเบาหวานต้องหยุดงานก่อสร้างเกือบ 4 เดือน
ขาดรายได้วันละ 350 บาท..พอแผลใกล้จะหาย เขาก็รีบไปทำงานค่ะ
ปัจจุบันแผลหายดีแล้ว  ดาก็รู้สึกดี..ขั้นดีถึงดีมากค่ะ..คิดเป็นตัวเลขไม่ได้ ค่ะ
ขอบคุณค่ะ

 

P อีกนิดค่ะพี่แก้ว..

สำหรับคนอิสานแล้ว..ดาไม่ค่อยห่วงเรื่อง จะไปเดินชายหาดค่ะ

ดาห่วงว่า ถ้าเขาทำงานไม่ได้ จะมีอีกกี่คนที่ต้องเดือดร้อน หรือเป็นภาระ คะ

มีผู้ป่วยอีกรายหนึ่ง เขาไม่ยอมถูกตัดขาง่ายๆ เพราะ เขาไม่มีคนดูแลแม่ค่ะ

อยู่ระหว่างการดูแลค่ะ แล้วจะเล่าให้ฟังค่ะ

สวัสดรครับคุณ ลดา อ่านเรื่องนี้แล้ว ต้องนำไปคุยต่อกับทีมเบาหวานแล้วครับ

สวัสดรครับคุณ ลดา อ่านเรื่องนี้แล้ว ต้องนำไปคุยต่อกับทีมเบาหวานแล้วครับ

สวัสดรครับคุณ ลดา อ่านเรื่องนี้แล้ว ต้องนำไปคุยต่อกับทีมเบาหวานแล้วครับ

P ท่านวอญ่า ..ทำไมมาตั้ง 3 รอบ ค่ะ..เกรงว่าจะไม่ถึงขอนแก่นหรือไร??คะ

P ครูโย่ง..หน้าตาดีกว่าเดิม..

แผลน่ากลัวค่ะ..แต่คนบางคนน่ากลัวมากกว่าแผล..นะสิบอกให่

ซำบายดี..ค่ะ

P
อาจารย์ ขจิต ฝอยทอง
ดีนะคะที่วิ่งเล่นบอล..ถ้านั่งเล่น..นอนเล่นเมื่อไหร่..จนแน่ๆค่ะ
ขอให้สุขภาพดีค่ะ

เป็นความรู้ที่ดีมากๆครับ

ขอบคุณท่านเบดูอิน ..

ช่วยถ่ายทอดในงานของท่านด้วยจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่งๆค่ะ

สวัสดีครับ คุณลดา

  • กลัวมากโรคเบาหวานเพราะเคยได้ยินแบบนี้บ่อยๆ
  • บางรายติดเชื้อรุนแรงถึงตัดขาก็มี
  • ผมต้องกินหวานน้อยๆใช่ไหมครับ ถึงจะไม่เป็น
  • ขอบพระคุณคุณหมอมากครับ
  • ที่ไปเยี่ยมให้กำลังใจ
  • พวกเราทุกคนดีใจมากที่คุณน้าไม่ได้เป็นถุงลม
  • เลยต้องขอบพื้นที่ตรงนี้ขอบพระคุณสถาบันโรคทรวงอก
  • และที่สำคัญเป็นการแบ่งปันประสบการณ์สำคัญของชีวิต
  • คุณหมอสบายดีนะครับ โชคดี

กำลังศึกษาเกี่ยวกับแผลเบาหวานแต่ก็ยังไม่เข้าใจเรื่องแผลอยู่ดี เราจะใช้เครื่องมืออะไรวัดค่ะว่าแผลแบบไหนกี่วันจะหาย (ส่วนใหญ่เจอคนไข้ถามว่าเมื่อไร่จะหาย)ล องหาดูก็จะเจอแต่เครื่องมือประเมินการหายของแผลกดทับ สามารถใช้ด้วยกันได้หรือเปล่าค่ะ อยากศึกษาให้เข้าใจมากกว่านี้แต่ไม่รู้จะเริ่มจากไหนก่อนดีค่ะ รบกวนแนะนำด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

คุณสุภาณี

ขออภัยที่ตอบช้ามากกกกกก

อัตราการหายของแผลเบาหวาน ขึ้นกับชนิดของแผลค่ะ

แผลเบาหวานมี 3 แบบ ค่ะ (อ่านในบันทึกได้ ค่ะ)

โดยทั่วไปอัตราการหายของแผล คือ 1 mm/สัปดาห์ ค่ะ

คือว่า ถ้าแผลมีความกว้าง 1 cm =10 mm = 10 สัปดาห์ หรือ ประมาณ 2 เดือนครึ่ง ค่ะ

ทั้งนี้ แผล ขาดเลือด และ แผลประสาทเสื่อม จะหาย ช้ามาก ค่ะ

กรณี แผลขาดเลือด ควรพิจารณาให้ผู้ป่วยได้รับการประเมินเส้นเลือด การไหลเวียนเลือด ถ้าไม่ดี

ควรส่งผู้ป่วยพบแพทย์ เพื่อแก้ไข เส้นเลือด (Angioplasty) ซึ่งจะช่วยให้แผลเท้าเบาหวาน หายเร็วขึ้น ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท