สรุปบทเรียนจากตลาดพระเครื่อง: ครบรอบ ๑ ปีแห่งการเรียนรู้


จากหลักฐานพระกรุ พบว่าการพัฒนาทางศาสนาพุทธมีความเข้มแข็งมาตั้งแต่ปลายยุคลพบุรี ที่มีพระนางจามเทวีเป็นกำลังสำคัญ จนมีการแพร่กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือมาก ที่มีศูนย์กลางอยู่แถบลำพูน กำแพงเพชร เชียงแสน ที่ต่อมาได้พัฒนามาทางสุโขทัย พิษณุโลก สุพรรณบุรี อยุธยา ตามลำดับ

ท่านที่ติดตามอ่านบันทึกในบล็อกนี้ก็จะทราบว่า ผมเข้ามาในตลาดพระเครื่องเพราะวัตถุประสงค์ในการเรียนประวัติศาสตร์ ที่เกี่ยวเนื่องกับพุทธศาสนาในประเทศไทย

ผมมีความสนใจการเข้ามา และการแพร่กระจายของศิลปะ เทคโนโลยี ความเชื่อ และวัฒนธรรม

ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นครั้งแรกของการเข้ามาของศาสนาพุทธในอาณาจักรล้านช้าง ในสมัยการก่อกำเนิดพระธาตุพนม แล้วก็เว้นไประยะหนึ่งประมาณ ๘๐๐ ปี

แต่ก็กลับเข้ามาอีกในยุคกลางๆของฟูนัน เกิดเป็นยุคทวาราวดี ที่มีจุดเริ่มต้นที่นครปฐม แล้วแพร่กระจายมาทางภาคกลาง ตะวันออก และทางตะวันออกเฉียงเหนือของไทยปัจจุบัน

หลังจากนั้นอีกประมาณ ๔๐๐ ปี ก็เข้ามาอีก โดยมีศูนย์กลางทางภาคใต้ของไทยปัจจุบัน

ศาสนาพุทธได้แพร่กระจายตามเมืองเล็กๆ เข้าสู่เมืองใหญ่ตามระดับการพัฒนา

จากหลักฐานพระกรุ พบว่าการพัฒนาทางศาสนาพุทธมีความเข้มแข็งมาตั้งแต่ปลายยุคลพบุรี ที่มีพระนางจามเทวีเป็นกำลังสำคัญ จนมีการแพร่กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือมาก ที่มีศูนย์กลางอยู่แถบลำพูน กำแพงเพชร เชียงแสน ที่ต่อมาได้พัฒนามาทางสุโขทัย พิษณุโลก สุพรรณบุรี อยุธยา ตามลำดับ

ลักษณะการสร้างพระเครื่องมีสองรูปแบบใหญ่ๆ คือ การสร้างเพื่อบรรจุกรุ และการสร้างเป็นเครื่องรางของขลังในการออกรบ เมื่อรบเสร็จก็นำมารวมกันไว้ที่วัด

วัสดุแรกเริ่มที่ใช้ในการสร้างพระก็ได้แก่ ดินเผาเนื้อแกร่งจนมีลักษณะเหมือนหิน ใช้กรีดกระจกได้ ต่อมาก็มีการใช้สำริดแบบต่างๆ ตะกั่ว เงิน และทอง ตามความมั่งคั่ง และยุคของการพัฒนา

การทำให้พระเครื่องทนทานต่อการสึกกร่อนนั้น นอกจากจะใช้ละอองดินหรือแร่ดินเหนียวแล้ว ยังอาจผสมหินสีต่างๆบดปนลงไปในนามของ “เม็ดแร่” หรือใช้ “ทรายผสมกับดินเหนียว” สำหรับพระที่เน้นการพกพาไปใช้งาน ทำให้มีส่วนประกอบของพระตามท้องที่ และตามยุคสมัยของการใช้งาน

ดังนั้น เมื่อพิจารณาความเก่าของพระ จึงต้องดูส่วนผสม ความกร่อนของมวลสารและเม็ดแร่ คราบกรุ ทั้งตามธรรมชาติ และการใช้งานที่ผ่านมา โดยต้องมีความรู้และเข้าใจถึง

มวลสารตั้งต้น การเก็บหรือการใช้งาน และสภาพแวดล้อมที่เก็บ จึงจะเข้าใจ ดูออก และไม่โดนแผงพระหลอกได้ง่าย

แต่เดิมพระเครื่องจะกระจายอยู่ตามท้องถิ่น แต่ระบบการตลาด และการกว๊านซื้อของคนกลาง ทำให้เกิดการรวมศูนย์ในระยะต่อๆมา โดยเฉพาะพระที่แตกกรุในระยะหลังๆมานี้

ราคาเช่าพระจะถูกกำหนดโดยคนกลาง ทั้งโดยจำนวน ความต้องการ และการปั่นราคา ทำให้ราคาในปัจจุบัน มีตั้งแต่หลักสิบ หลักร้อย จนถึงหลักล้าน

การประกวดพระเครื่องเป็นกลไกการทำให้ราคาพระเครื่องสูงขึ้น เพื่อสนับสนุนระบบพุทธพานิช โดยมีการโฆษณา “พุทธคุณ” นำทาง

ผู้ประกอบอาชีพในตลาดพระเครื่อง มีตั้งแต่ คนเดินแลกพระ เช่าพระตามบ้าน

แผงพระย่อย แผงพระใหญ่ ร้านค้าย่อย และร้านค้าใหญ่

ผู้เช่าพระส่วนใหญ่ก็เป็นนักสะสม และพ่อค้าคนกลาง ที่จะปั่นราคาเป็นลำดับ ตั้งแต่หลักสิบในมือต้น เป็นหลักร้อยที่แผงเล็ก หลักพันที่แผงใหญ่ หลักหมื่นหรือแสนตามร้านค้าเล็ก หลักแสนหรือล้านในร้านค้าใหญ่ ทั้งๆที่พระเครื่ององค์เดียวกันนั่นแหละ

คนที่ดูพระไม่เป็นจะถูกหลอกทั้งตอนขายและตอนซื้อ ที่มักขายได้ในราคาพระปลอม และซื้อได้ในราคาพระแท้ ตามระดับของตลาด

การจะหาพระเครื่องที่แท้ และราคาไม่แพง ควรศึกษาการดูพระเสียก่อน แล้วไปหาตามแผงเล็ก ที่อาจต้องใช้เวลามากหน่อย แต่ราคาจะถูก

การสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับแผงพระ และนักเดินแลกพระ จะทำให้ได้พระเครื่องแท้ ตามที่ต้องการและราคาถูก และเสี่ยงน้อยกว่าการไปหาซื้อเอง

ข้อควรจำ พระเครื่องทุกชนิดจะราคาถูกถ้าซื้อที่มือต้น แต่มือต้นจะมีพระปลอมมากกว่า ต้องดูเป็น และเลือกอย่างระมัดระวัง

ตอนนี้ผมเก็บพระเครื่องไว้ศึกษามากพอสมควร คิดว่าสักวันคงต้องปล่อยกลับสู่ตลาดเช่นเดิม

ใครสนใจวิธีการหาพระแท้ราคาถูก หรือขอคำปรึกษาด้านพระเครื่อง ยินดีช่วยเหลือทุกท่านครับ

นี่คือบทเรียน ๑ ปีในตลาดพระเครื่องครับ 

หมายเลขบันทึก: 315607เขียนเมื่อ 24 พฤศจิกายน 2009 01:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

สวัสดีครับ ท่านอาจารย์ ดร.แสวง ผมเคยอ่าน นวนิยายเรื่องพระนาง จามเทวี และเรื่องเจ้า จันทร์ผมหอม ในเนื้อเรื่องพูดถึงความเชื่อเรื่องพระเครื่องหลายตอนอยาก อ่านบันทึกอาจารย์แล้ว อยากกลับไปอ่านหนังสือนั้นอีก ค้นไม่พบแล้วครับ

สวัสดี ครับ อาจารย์

วันนี้ ถือเป็นโอกาส ดี

ผมขออนุญาต เข้ามากราบสวัสดี ปี ใหม่ 2553 กับอาจารย์ล่วงหน้า นะครับ

ด้วยความเคารพรัก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท