M.P.A.17 บริจาคของให้แก่เด็กนักเรียน ณ ร้อย ตชด.215


M.P.A.17 บริจาคของให้แก่ ร้อย ตชด.215

 

พล.ต.อ.ดร.ไกรสุข  สินศุข บริจาคอุปกรณ์กีฬาแลเครื่องอำนวยความสะดวกแก่  ตชด.215

ร้อย ตชด.215

 

" กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน เป็นหน่วยงานหลักของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ       ที่มีความเชี่ยวชาญในการเฝ้าระวัง และ แก้ไขปัญหาความมั่นคงของรัฐในพื้นที่ชายแดน "

     

  ช่วงที่ 1
                          หลังสงครามโลกครั้งที่สองได้ยุติลงในปี  พ.ศ.2488  ประเทศอาณานิคมที่เคยเป็นเมืองขึ้นมาเป็นเวลานานหลายประเทศ ก็ได้รับเอกราชคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศเพื่อนบ้านโดยรอบก็ได้รับเอกราชใหม่ทุกประเทศได้แก่  พม่า ลาว     เขมร  เวียตนาม  และมาเลเซีย  แม้ประเทศเหล่านี้จะได้รับเอกราชสมบูรณ์ แล้วก็ตาม แต่ความสงบสุขของบ้านเมืองในแถบนี้ยังห่างไกลจากความเป็นจริง ทั้งนี้เกิดจากความยุ่งยากทางการเมืองภายในจาก การชิงอำนาจของนักการเมืองที่มีความคิดเห็นยุ่งยากทางการเมืองภายใน จากการชิงอำนาจของนักการเมืองที่มีความคิดเห็นในนโยบายการปกครองแตกต่างกันออกไป   โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยุ่งยากอันเกิดจากการเมืองภายนอกที่ประเทศคอมมิวนิสต์   และบริวารพยายามแผ่ขยายอิทธิพลเข้ามาสู่ภูมิภาคของโลกส่วนนี้ให้อยู่ในอุ้งมือให้จึงได้    ทั้งได้พยายามดำเนินการทั้งมวลที่จะให้ประชาชนของประเทศเหล่านั้นจับอาวุธเข้าต่อสู้รัฐบาลของตนและประชาชนที่เป็นชาติเดียวกันเองหนักมือยิ่งขึ้น    ซึ่งเป็นชนวนแห่งความยุ่งยาก และก่อให้เกิดเหตุร้ายในส่วนนี้ของโลกตราบเท่าทุกวันนี้       

 

ช่วงที่ 2                      

ประเทศไทยได้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.2484 และ สิ้นสุดลงในปี  พ.ศ.2488 ซึ่งได้รับความบอบซ้ำจากสงครามโลกครั้งที่   2  เช่นเดียวกับประเทศเพื่อนบ้านอื่นๆ  เศรษฐกิจและการทหารก็นับว่าอยู่ในระยะที่จะต้องปรับปรุงทั้งสิ้น  ต่อมาในปี  พ.ศ.  2494 ปรากฏว่าสถานการณ์รอบๆ  ประเทศไทยและในภาคพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เริ่มตั้งเค้าแห่งความไม่สงบขึ้นเพราะการใช้สงครามบ่อนทำลายของฝ่ายคอมมิวนิสต์มีสิ่งบอกเหตุว่าภยันตรายอาจจะเกิดขึ้นกับประเทศไทยได้   ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยสู้รบระหว่างฝ่ายเวียตมินต์หรือฝ่ายเวียตนามคอมมิวนิสต์กับฝรั่งเศสมีการแทรกซึมของฝ่ายเวียตมินห์เข้าสู่ประเทศลาวและประเทศเขมร ประเทศไทยอยู่ในฐานะที่ถูกคุกคามได้ตลอดเวลา ทางด้านภาคเหนือของประเทศไทยได้มีการสู้รบกับระหว่างกองทัพของประเทศพม่ากับกองทหารจีนชาติ(ก๊กมินตั๋ง) ที่ถูกคอมมิวนิสต์ตีถอยร่นลงมาทางใต้ ตั้งแต่ปีพ.ศ.  2492  และได้เข้าอยู่ในพื้นที่ของบ้านตูมและบ้านญวนในเขตแดนพม่าตรงข้ามกับอำเภอฝาง  จังหวัดเชียงใหม่และพื้นที่อื่น ๆ  ตรงข้ามกับจังหวัดเชียงรายและแม่ฮ่องสอน   นอกจากนั้นกองทัพพม่ายังต่อสู้กับกระเหรี่ยงและไทยใหญ่ ที่เรียกร้องสิทธิในการปกครองตนเอง  ซึ่งอยู่ติดกับทางทิศตะวันตกและทิศเหนือของไทยอีกด้วยทางด้านภาคใต้โจรจีนคอมมิวนิสต์ได้ใช้พื้นที่บริเวณชายแดนไทย - มาเลเซีย   เป็นฐานทำการต่อสู้กับรัฐบาลของอังกฤษและรัฐบาลมาเลเซีย ประเทศไทยจึงอยู่ในภาวะที่จะต้องระมัดระวังอย่างยิ่งเพราะภัยที่ยังมองไม่เห็นกำลังคุกคามประเทศรอบด้านในขณะที่เหตุการณ์ภายนอกประเทศมีแนวโน้มซึ่งแสดงการคุกคามต่อประเทศไทยขณะเดียวกันเหตุการณ์ภายในประเทศก็เกิดขึ้นอีกโดยปฏิกิริยาของชาวญวนอพยพในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเช่น จังหวัดหนองคาย และจังหวัดอุบลราชธานี   

 

ช่วงที่ 3
                       รัฐบาลและกรมตำรวจ ได้ร่วมกันพิจารณาภาวะการทางการเมืองดังกล่าวข้างต้น  และพิจารณาหาหนทางในการป้องกันที่จะมิให้เกิดความเสียหายต่อความสงบสุขและความมั่นคงปลอดภัยของชาติและได้พิจารณาว่าหากจะใช้ตำรวจภูธรซึ่งงานในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมก็ล้นมืออยู่แล้วเพราะในขณะที่ศีลธรรมและขวัญของประชาชนเสื่อมและตกต่ำอย่างมากในระยะสงครามและ ยิ่งต่ำลงเมื่อสงครามเลิกแล้วส่วนการพิจารณาที่จะใช้กำลังทางทหารป้องกันและต่อสู้กับการคุกคามของคอมมิวนิสต์ด้วยวิธีการต่าง ๆ  ในขณะนั้นจะมีผลกระทบกระเทือนต่อสัมพันธไมตรีอันดีระหว่างประเทศอย่างไรหรือไม่  เพราะประเทศรอบบ้านเราต่างก็มีประวัติศาสตร์ที่เคยสู้รบแย่งชิงอำนาจกันมาก โดยตลอดและการใช้กำลังทหารในขณะนั้นจะได้ผลคุ้มค่าทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและเป็นการประหยัดหรือไม่เพราะเป็นการใช้ภารกิจด้านเดียวเพราะไม่สามารถเข้าทำการปราบอาชญากรรมหรือให้การบริการแก่ประชาชนได้เหมือนข้าราชการตำรวจและพลเรือน ปัญหาก็คือจะใช้หน่วยงานอะไรจึงจะใช้ทำงานได้ผล รัฐบาลและกรมตำรวจจึงได้พิจารณาตกลงใจว่าจะต้องจัดตั้งหน่วยงานขึ้น และต้องเป็นหน่วยงานที่มีลักษณะเป็นทั้ง ทหาร ตำรวจ และพลเรือน เมื่อไม่รบก็ต้องปราบปรามอาชญากรรม และในขณะเดียวกันก็ต้องบริการประชาชนได้หน่วยงานนั้นนอกจากจะเป็นผลต่อความมั่นคงปลอดภัย และรักษาความสงบตามชายแดน แล้วยังควรที่จะสามารถดำเนินการตามนโยบายของทุกกระทรวง ทบวง กรม อีกด้วย หรืออาจกล่าวโดยสรุป ก็คือว่าหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นนั้นจะต้องมีคุณลักษณะ 3 ประการ

 

ช่วงที่ ๔
                                    แนวความคิดของรัฐบาลและกรมตำรวจในการจัดตั้ง ตชด. ก็เพื่อเสริมกำลังตำรวจภูธรในการรักษาความสงบเรียบร้อยตามชายแดนและป้องกันการรุกรานของคอมมิวนิสต์ ประหยัดการใช้กำลังทางทหารในยามปกติรักษาสัมพันธไมตรีกับประเทศเพื่อนบ้านฝึกกำลังตำรวจเพื่อทำหน้าที่คล้ายทหาร   และกำลังแบบทหารฝึกกำลังให้กับประเทศใกล้เคียง   ในการต่อต้านคอมมิวนิสต์วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งตำรวจตระเวนชายแดนเป็นการเตรียมกำลังตำรวจให้พร้อม เพื่อจะปฏิบัติการต่อต้านการรบนอกแบบโดยเฉพาะการรบแบบกองโจรเป็นการเตรียมกำลังตำรวจ ให้พร้อมที่จะสนับสนุนการปฏิบัติการของกองทัพอื่น ๆ  ได้ทันที   ถ้าสงครามเกิดขึ้นทำการคุ้มครองพื้นที่ของประเทศที่เป็นป่าเขาทั่วไปที่การคมนาคมทุกชนิดเข้าไปไม่ถึงด้วยการเดินเท้า หรือโดยการส่งลงทางอากาศทำการปราบปรามโจรผู้ร้ายที่ใช้รอยต่อของจังหวัดและของประเทศเป็นที่ซุกซ่อนกับการสกัดกั้นการลักลอบลำเลียงของหนีภาษี และยาเสพติดเมื่อไม่มีเหตุการณ์ สามารถพัฒนาสร้างสรรค์ให้เกิดการกินดีอยู่ดีแก่ประชาชน

 

เห็นรอยยิ้มแล้วก็ อิ่มใจจริงๆ

หมายเลขบันทึก: 315600เขียนเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2009 22:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

มีประวัติ ตชด.น่าอ่านมากครับ

ภาพกาตูนย์ทหารเคลื่อนไหว

ดูน่ารักครับ

สวัสดีค่ะ

- มาร่วมชื่นชมยินดีค่ะ

- มีกำลังใจทั้งหน้าที่การงาน และชีวิตส่วนตัวเช่นกันนะค่ะ

สวัสดีเพื่อน ๆ คิดถึงมาก

ขอบคุณพี่เพชรน้อยกับพี่หมอศุภรักษ์ ครับที่แวะมาทักทาย พี่กุ้งคงคิดถึงกันมากเล่นซะ 1 บรรทัด

  • สวัสดีค่ะ คุณสามารถ
  • ว้าว กลับมาที่รูปเดิมดีใจจังได้เห็นรูปคนหล่อ ๆ อีกครั้ง  บุษราบอกแล้วไง ภาพนี้แหละเจ๋งสุดดดดดด 
  • ได้อ่านประวัติ ตชด. อ่านอย่างไม่เครียดแล้วนะ (ปืนกับบุษราไม่ค่อยถูกกัน) 55555
  • โชคดีค่ะ
  • ตามมาดูครับ
  • ไปบุรีรัมย์มาเลยนะครับ
  • เสียดายไม่ทราบ
  • จะได้ให้ไปที่นี่
  • http://gotoknow.org/blog/sutthinun

มีเด็กที่ต้องการความช่วยเหลืออีกมาเลยครับ พอดีได้สัมผัสกับพี่ตชด.ตอนเรียน ที่ๆต้องการความช่วยเหลือมีอีกมากครับ

  • สวัสดีค่ะ
  • มาเป็นรอบที่ 2 เลยสำหรับวันนี้
  • วิเคราะห์จากประสบการณ์ต่าง ๆ 50 ปี ยอมรับได้ค่ะ (555) 
  • มีความสุขกับการทำงานนะค่ะ 

ครับท่านอาจารย์ จังหวะตอนเรียนผ่านไป และได้สอบถาม กับพี่ตชด.เอาไว้หลายๆท่าน ว่าต้องการความช่วยเหลืออีกมากครับ ผมก็จะช่วยและประสานงานเท่าที่จะทำได้ครับ ท่านอาจารย์ขจิต ส่วนของท่านอาจารย์ผมก็กำลังบอกต่อๆกันครับ แต่ส่วนมากจะเป็นหนังสือวิชาการ ซึ่งผมก็อยากได้หนังสือที่มีเนื้อหาสบายๆมากกว่าครับ เบอร์ภายในของท่านอาจารย์เบอร์อะไรครับ ของผม 3944ครับ

  • ไม่ได้ใช้เบอร์ภายในครับ
  • ใช้แต่มือถือ
  • เนื่องจากมีคนโทรมารบกวนมากๆๆๆ
  • ขอบคุณมากครับ

วันนี้เจอท่านอาจารย์ตัวจริง ยืนยัน หล่อกว่าในรูปครับ คงได้มีโอกาสรับใช้ท่านอาจารย์บ้างครับ

อยากไปบริจาคของอีกนะมีที่ใหนน่าไปบ้างถ้ามีชวนกับบ้างนะ

นกตอนนี้พี่ติดต่อกับท่านอาจารย์ขจิตอยู่ ท่านกำลังจะไปบริจาคหนังสือให้เด็กนักเรียนน่ะ ถ้ายังไงก็รวบรวมเอาไว้น่ะ แล้วผ่านไปจะไปเอา พี่ๆท่านอื่นแวะผ่านมา อยากจะบริจาคหนังสือก็รวบรวมกันเอาไว้น่ะครับ คิดถึง

อยากให้ลงภาพเยอะๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท