งานที่ครูมอบหมาย; ขั้นตอนการทำ passport พระ


งานนี้หนูตั้งใจทำอย่างเต็มที่เอาเวลาขณะที่พอว่างจากงานมาจัดการ ถามว่าหนูรู้สึกเหนื่อยไหม เหนื่อยนะค่ะ แต่รู้สึกว่า ได้เรียนรู้กายมันเหนื่อยแต่ใจมัยก็สบายอยู่ ได้เรียนรูว่า เราอย่าพึ่งตัดสิน อะไร ๆ เร็วเกินไปจนกว่าจะตามให้ถึงต้นตอ ได้เห็นศักยภาพตนเอง ได้เห็นกิเลสตนเองที่อยากให้ครูชม มันเกิดขึ้นเร็วมากค่ะ ทั้งความกังวลทุกอย่าง แต่ว่าเรื่องนี้ทำให้หนูได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติเเบบเต็มที่ เห็นศักยภาพตนเองและ เห็นใจตนเองค่ะ

ท่านโทรมา “ให้ติดต่อเรื่องขั้นตอนการพาสปอร์ตของพระให้หน่อย” หนูรู้สึกดีใจที่ท่านเมตตา แต่ไม่เห็นจน ท่านพูดว่า “อย่าลิงโลด” จึงค่อยรู้สึกตัวค่ะ แล้วพอท่านย้ำว่า "อย่าช้า" ตอนแรกว่าจะรอไปหาที่ทำงาน จึงตัดสินใจนั่งค้นข้อมูลก่อน เพราะเน็ตที่ทำงาน เข้าใช้ยาก (วันนี้จึงตัดสินใจ notebook ไปทำงานด้วย)

ที่มาของรูป; http://www.mfa.go.th/web/2648.php กระทรวงต่างประเทส

          พอได้รายละเอียดรีบส่งไปก่อน ซึ่งเป็นขั้นตอนคร่าว ๆ และสาขาทั่วประเทศไทยที่รับทำหนังสือเดินทาง คิดถึงคำสอนครูที่บอกว่า “ได้แค่ไหนเอาแค่นั้นก่อน” จากนั้นหนูก็โทรติดต่อ สาขาที่ใกล้ที่สุดได้รายละเอียดมาเพิ่ม จึงรีบส่งเพิ่มไปให้ พระท่านจะต้องมีใบรับรองสถานะเหมือนเรียกว่า ใบอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศหนังสืออนุมัติจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(ศ.ต.ภ.) ซึ่งต้องดำเนินการให้มีใบนี้ก่อน จึงจะยื่นหนังสือเดินทางได้ หนูจึงโทรไปที่ สำนักเลขาธิการเถระสมาคม (02-4414548) ได้รายละเอียดมาเพิ่มเติมว่า

จะต้องสั่งซื้อใบขออนุญาตและคู่มือจากโรงพิมพ์พระพุทธศาสนา (02-2233351) ที่เดียวเท่านั้น เพราะมีการเรียงลำดับหมายเลข ในราคาชุดละ 300 บาท ถ้าให้จัดส่งก็เพิ่มอีก 50 บาท

แล้วให้ส่งเอกสารที่กรอกตามคู่มือไปที่วัดสังเวช (02-2822452)  ท่านเมตตาให้เบอร์ติดต่อทั้งสองที่มาให้หนูด้วยบอกว่าติดขัดอะไรก็โทรไปประสานได้ ตลอดระยะเวลาการพูดคุยท่านให้ข้อมูลละเอียดชัดเจน รู้สึกขอบคุณท่านมากค่ะ

     ระหว่างหนูเดินไปทำงานจึงโทรถามเพิ่มเติมกลายเป็นว่าข้อมูลที่ส่งให้ครั้งที่ 2 ผิดพลาดเยอะ จึงโทรถามที่โรงพิมพ์ได้ข้อมูลใหม่มาอีก พอถึงที่ทำงาน จึงรีบสรุปทั้งหมดใหม่ ขณะนั่งทำสรุป

    พี่ที่ทำงานเขาเห็นหนูนั่งตั้งใจทำแบบจริงจัง จึงเดินมาถามว่าทำอะไร บอกท่านไปว่าหาข้อมูลทำหนังสือเดินทางพระ ท่านจึงแนะว่า มันทำยากมาก ๆ ขั้นตอนเยอะเพราะตอนท่านบวช ท่านว่าจะไปแต่พรรษาไม่ถึง จึงไปไม่ได้อีกรูปหนึ่งบวชมา 2 พรรษาก็ไปไม่ได้ หนูรู้สึกอึ้ง แต่ก็บอกตนเองว่า

 “ดีที่ท่านเตือน แต่ต้องตรวจสอบให้ชัวร์ว่าแค่ไหน ๆ”

 จึงพูดกับพี่ว่าสงสัยหนูต้องโทรไปถามที่วัดสังเวชก่อน พี่เขาแนะนำว่า

"เราเป็นผู้หญิงโทรไปคุยกับพระผู้ใหญ่อาจจะไม่เหมาะ ถ้าเป็นพระที่รู้จักกันก็ถือว่าธรรมดา แล้วเนี่ยเราเป็นผู้หญิงไปถามเรื่องหนังสือเดินทางพระ เขาก็ต้องคิดว่าเราจะรู้ไปทำไม” หนูรู้สึกอึ้งอีก

แต่ก็คิดย้อนถึงการที่คุยโทรศัพย์กับพระอาจารย์ที่นับถือสองท่าน และหนูก็เคยโดนเตือนว่า ต้องดูเวลาและปฏิปทาของแต่ละท่านด้วย ถึงคำสอนครูว่า

 “พระแต่ละที่ปฏิปทาไม่เหมือนกัน” แล้วหนูก็นึกได้อีกว่า “อยู่ที่เจตนา” แต่ก็ไม่ได้เถียงพี่เขา จึงหาข้อมูลเพิ่มเติมตามประกาศ และเขียนสรุป mail ไปบอกใหม่

พอทำเสร็จมันก็อยากได้คำชมค่ะ อยากให้ครูชม ใจลิงโลด หมั่นเช็ค mail เปิด G2K ดูว่าครูท่าน online ไหม รึจะโทรหาดี แต่ก็คิดว่า เอ ไม่เร่งด่วนนะ เวลางาน ท่านอาจจะกำลังทำงานไม่ควรกวน สุดท้ายจึงส่ง sms ไป

        พี่เดินมาบอกว่าวันนี้ เริ่มงานเที่ยงครึ่ง จะ lecture และ subculture เลย หนูรู้สึกเพลีย ๆ พอครูส่ง sms กลับมา จึงรู้สึกดีขึ้นมีเสียงประมาณว่า “ok เรียบร้อย”

ประมาณห้าโมงครึ่งจึงไปทานข้าวกับป้าลงไปไม่เจอ จึงทานก่อน แล้วครูโทรมาถามรายละเอียดเพิ่มเติม ใจหนูกังวลที่จะต้องโทรไปวัดหรืออาจจะต้องคุยกับพระ แต่พอเห็นท่านหยุดคิด แล้วบอกว่า

“ไม่เป็นไรเดี๋ยวเราจะกังวล” เท่านั้นแหละค่ะหนูก็บอกตนเองว่า “เอาน่า ทำเต็มที่ ทำให้ดีที่สุด” จึงตัดสินใจว่าจะทำ โทรไปตอนแรกไม่มีใครรับ หนูจึงบอกตนเองว่า “อาจจะไปทานเที่ยงกัน เอะ พระท่านทานเที่ยงด้วยเหรอ อาจจะเป็นโยม” “น่านะใครก็เหอะ ไม่เจอก็คือไม่เจอ คิดทำไม” สักพักโทรไปอีก ได้รายละเอียดแล้วก็โทรแจ้งท่านเพิ่มเติม

งานนี้หนูตั้งใจทำอย่างเต็มที่เอาเวลาขณะที่พอว่างจากงานมาจัดการ ถามว่าหนูรู้สึกเหนื่อยไหม เหนื่อยนะค่ะ แต่รู้สึกว่า ได้เรียนรู้กายมันเหนื่อยแต่ใจมัยก็สบายอยู่ ได้เรียนรูว่า เราอย่าพึ่งตัดสิน อะไร ๆ เร็วเกินไปจนกว่าจะตามให้ถึงต้นตอ ได้เห็นศักยภาพตนเอง ได้เห็นกิเลสตนเองที่อยากให้ครูชม มันเกิดขึ้นเร็วมากค่ะ ทั้งความกังวลทุกอย่าง แต่ว่าเรื่องนี้ทำให้หนูได้เรียนรู้ผ่านการปฏิบัติเเบบเต็มที่ เห็นศักยภาพตนเองและ เห็นใจตนเองค่ะ

 

หมายเลขบันทึก: 312283เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2009 06:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:03 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อันนี้เป็นขั้นตอนค่ะ เผื่อบางท่านจะสนใจศึกษา (^___^)

 

สรุปขั้นตอนจากที่ค้นข้อมูลและโทรประสาน

 

สาขาย่อยอุบลราชธานี 045-242313

สำนักเลขาธิการมหาเถระสมาคม  02-4414548

โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสตร์ศานาแห่งชาติ 02-2233351 ค่ะ

 

สรุปขั้นตอนมีดังนี้ 

  1. เอกสารแสดงการได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศหนังสืออนุมัติจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(ศ.ต.ภ.) ถ้ามีแล้วยื่นได้เลยค่ะ แต่ถ้ายังไม่มี ดำเนินการดังนี้ค่ะ
  • สั่งซื้อใบอนุญาตจากโรงพิมพ์ สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเท่านั้นค่ะเพราะ Run หมายเลข (ข้อมูลแรกที่ได้ผิดพลาดค่ะ) ราคาฉบับละ 300 บาท ค่าจัดส่ง 50 บาท โดยโอนเงินไปที่ ธนาคารกรุงไทยสาขาวรจักร บัญชีออมทรัพย์ 05-111-8-777-26 แล้ว Fax ใบโอน ชื่อ ที่อยู่วัดที่จะจัดส่ง และเบอร์โทรศัพย์ ของพระเพื่อความสะดวกในการจัดส่ง
  • กรอกเอกสารในใบอนุญาต แล้วส่งไปที่วัดสังเวช ซึ่งเป็นศูนย์รวมในการอนุมัติหากมีข้อสงสัยในการกรอกติดต่อวัดสังเวชที่ 02-2822452 จะมีการประชุมทุก ๆ วันที่ 1 และ 15 แล้วจะประกาศหลังประชุมค่ะ (หนูค้นเจอประกาศการเดินทางไปต่างประเทศของพระ และข้อกำหนดต่าง ๆ จึงขออนุญาตแนบมาให้ในตอนท้ายค่ะ)
  1. การยื่น ถ้าได้รับการอนุมัติจาก ศ.ต.ภ แล้ว สามารถนำเอกสารไปยื่นทำหนังสือเดินทางได้ที่สาขาใกล้เคียง (ซึ่งหนูจะแนบไว้ช่วงท้ายค่ะ ) เอกสารมีดังนี้ค่ะ
  • เอกสารแสดงการได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศหนังสืออนุมัติจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(ศ.ต.ภ.)
  • หนังสือสุทธิ (ฉบับจริง)
  • ทะเบียนบ้าน/วัด
  • เอกสารประกอบ อาทิ ใบตราตั้งสัญญาบัตร ใบฐานานุกรม ใบเปรียญธรรม ใบตราตั้งเจ้าอาวาส ใบตราตั้งเจ้าคณะตำบล ใบฐานานุกรม(ชั้นพิเศษ)

         กรณีสามเณรอายุไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ จะต้องมีหนังสือรับรองความประพฤติจากเจ้าอาวาส ซึ่งระบุข้อความว่า ยินยอมให้เดินทางไปต่างประเทศเพื่อปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศมาแสดงด้วย
  • ค่าธรรมเนียม
         - การทำหนังสือเดินทางเสียค่าธรรมเนียม 1,000 บาท

จะได้รับหนังสือเดินทางหลังยื่น 1 อาทิตย์ค่ะ

เอกสารแนบ 1

สถานที่ติดต่อทำ

กรมการกงสุล แจ้งวัฒนะ แผนที่

- ที่อยู่ 123 ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ 10210

- โทรศัพท์ 0-2981-7171-99 โทรสาร 0-2981-7256

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว บางนา แผนที่

- ที่อยู่ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลซิตี้บางนา อาคาร "บางนาฮอลล์"(ด้านข้างศูนย์การค้า) ชั้น B1

- โทรศัพท์ 0-2383-8401-3 โทรสาร 0-2383-8398

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ปิ่นเกล้า แผนที่

- ที่อยู่ อาคารธนาลงกรณ์ทาวเวอร์(ชั้นใต้ดิน) แขวงบางบำหรุ เขตบางพลัด กทม. 10700

- โทรศัพท์ 0-2446-8111-2 โทรสาร 0-2446-8118-9

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดขอนแก่น แผนที่

- ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดขอนแก่น ถนนศูนย์ราชการ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000

- โทรศัพท์ 0-4324-2707, 0-4324-3462, 0-4324-2655 โทรสาร 0-4324-3441

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดเชียงใหม่ แผนที่

- ที่อยู่ ศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่ ถนนโชตนา ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 50000

- โทรศัพท์ 0-5389-1535-6 โทรสาร 0-5389-1534

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสงขลา แผนที่

- ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดสงขลา (หลังเก่า) ชั้น 1 ถนนราชดำเนิน อำเภอเมือง จ.สงขลา 90000

- โทรศัพท์ 0-7432-6510-1 โทรสาร 0-7432-6506

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุบลราชธานี แผนที่

- ที่อยู่ อาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนจังหวัด อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี 34000

- โทรศัพท์ 045-242313-4 โทรสาร 045-242301

- E-mail : [email protected]

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดสุราษฎร์ธานี แผนที่

- ที่อยู่ ศาลาประชาคม ถนนหน้าเมือง อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี 84000

- โทรศัพท์ 077-274940, 077-274942-3 โทรสาร 077-274941

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดนครราชสีมา แผนที่

- ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา ถนนมหาดไทย อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000

- โทร 044-243-132, 044-243-124 โทรสาร 044-243-133

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดอุดรธานี แผนที่

- ที่อยู่ ศูนย์อเนกประสงค์ ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี(ตรงข้ามกับศาลหลักเมือง) ถนนอธิบดี อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 41000

- โทร 042-212827, 042-212-318 โทรสาร 042-222-810

สำนักงานหนังสือเดินทางชัวคราว จังหวัดพิษณุโลก

- ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ถนนเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก 65000

- โทร 055-258-173, 055-258-155, 055-258-131, โทรสาร 055-258-117

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว จังหวัดยะลา

- ที่อยู่ ศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ถนนสุขยางค์ อำเภอเมือง จังหวัดยะลา 95000

- หมายเลขโทรศัพท์ 073-274-526, 073-274-036, 073-274-037 โทรสาร 073-274-527

สำนักงานหนังสือเดินทางชั่วคราว ภูเก็ต

- ที่อยู่ ศาลากลางจังหวัดภูเก็ต ถนนนริศร อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต 83000

- หมายเลขโทรศัพท์ 076-222-083, 076-222-080, 076-222-081 โทรสาร 076-222-082

ที่มา ; http://www.consular.go.th/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=47

เอกสารแนบ 2

 

การเดินทางไปต่างประเทศ สำหรับพระภิกษุ สามเณร

 

   อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕ ตรี แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕   แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์  (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๓๕ มหาเถรสมาคมวางระเบียบไว้  ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบมหาเถรสมาคมนี้เรียกว่า “ระเบียบมหาเถรสมาคม กำหนด วิธีปฏิบัติในการไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุสามเณร พ.ศ. ๒๕๓๗”
ข้อ ๒ ระเบียบมหาเถรสมาคมนี้ ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศ ในแถลงการณ์คณะสงฆ์เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ตั้งแต่วันใช้ระเบียบมหาเถรสมาคมนี้ ให้ยกเลิกระเบียบมหาเถรสมาคม กำหนดวิธีปฏิบัติในการไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุสามเณร พ.ศ. ๒๕๐๗

หมวด ๑
บททั่วไป

ข้อ ๔ การเดินทางไปต่างประเทศของพระภิกษุสามเณร แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

ก.ไปราชการหรือกิจของคณะสงฆ์

ข.ไปเป็นส่วนบุคคล

ข้อ ๕ การเดินทางไปต่างประเทศ ในประเภท ก. เป็นอำนาจหน้าที่ ของมหาเถรสมาคม
ข้อ ๖ การเดินทางไปต่างประเทศ ในประเภท ข. ต้องปฏิบัติตามข้อ กำหนดที่วางไว้ในระเบียบมหาเถรสมาคมนี้

หมวด ๒
คุณสมบัติของพระภิกษุสามเณรผู้เดินทางไปต่างประเทศ

                ข้อ ๗ พระภิกษุ ผู้จะเดินทางไปต่างประเทศ ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติทั่วไป ดังนี้
๑. มีพรรษาพ้น ๕ เว้นแต่กรณีที่ระบุไว้ในข้อ ๘
๒. มีความรู้พระธรรมวินัยพอรักษาตัวได้
๓. เป็นปกตัตตะ และมีความประพฤติเรียบร้อยดีงาม

                ข้อ ๘ พระภิกษุผู้มีพรรษาต่ำกว่า ๕ หรือสามเณรต้องมีพระภิกษุ ผู้มี คุณสมบัติตามข้อ ๗ เป็นผู้กำกับ หรือเจ้าอาวาส เจ้าคณะในต่างประเทศขอไปเพื่อการพระศาสนาหรือการคณะสงฆ์ในสำนักหรือในเขตปกครองของตน จึงจะมีสิทธิได้รับการพิจารณา ในการไปต่างประเทศ ตามระเบียบมหาเถรสมาคมนี้

หมวด ๓
กรณียะในการไปต่างประเทศ

                ข้อ ๙ ในกรณียะที่ยกเป็นเหตุในการขอเดินทางไปต่างประเทศได้ มีกำหนดดังนี้
๑. ไปสอนพระปริยัติธรรม หรือสอนพระพุทธศาสนาในถิ่น อันสมควร
๒. ไปศึกษาวิชาอันไม่ขัดต่อพระธรรมวินัยและสมควรแก่สมณวิสัย
๓. ไปนมัสการปูชนียวัตถุ และหรือปูชนียสถานเป็นหมู่คณะ ตามที่คณะกรรมการ ศ.ต.ภ. เห็นสมควร
๔. ไปบำเพ็ญกุศลเนื่องด้วยถวายผ้ากฐินตามเทศกาลหรือผ้าป่า
๕.  ไปเยี่ยมพระอุปัชฌาย์ อาจารย์ หรือญาติชั้นบุรพการี หรือญาติอื่นใด ตามที่คณะกรรมการ ศ.ต.ภ. เห็นสมควร
๖.  ไปกิจนิมนต์ตามที่คณะกรรมการ ศ.ต.ภ. เห็นสมควร

                ข้อ ๑๐ พระภิกษุผู้ได้รับอาราธนาไปเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมหรือสอน พระพุทธศาสนาจากเจ้าอาวาส เจ้าคณะ องค์การสมาคม หรือสถาบันอื่นใดในต่างประเทศ ให้เป็นหน้าที่ของผู้ได้รับอาราธนาแจ้งรายละเอียดพร้อมด้วยหลักฐานการอาราธนา  สถานที่จะทำการ กิจที่จะทำ วิธีที่จะทำ วิธีดำเนินการ การอุปถัมภ์ในการเดินทาง และการเป็นอยู่ ที่พักอาศัย
ถ้าหลักฐานต่างๆ เป็นภาษาต่างประเทศ ให้แปลเป็นภาษาไทย โดยผู้แปลและผู้ไปนั้นลงนามรับรองคำแปลด้วย

ข้อ ๑๑ พระภิกษุประสงค์จะเดินทางไปศึกษาวิชาอันไม่ขัดต่อพระธรรมวินัย และสมควรแก่สมณวิสัย ต้องประกอบด้วยคุณสมบัติเฉพาะอีกส่วนหนึ่ง ดังนี้
๑. เป็นเปรียญ
๒. มีพื้นความรู้สามัญศึกษา ไม่ต่ำกว่าชั้นมัธยมศึกษา ตอนปลาย หรือเทียบเท่า
๓. มีสุขภาพอนามัยดี ซึ่งนายแพทย์แผนปัจจุบันชั้น ๑ ตรวจและรับรองเป็นหลักฐานว่าสามารถไปศึกษาได้
๔. มีสติปัญญาและฉันทะ วิริยะ ขันติปานกลาง เป็นอย่างต่ำ ในกรณีนี้ให้ผู้ขออนุญาตแสดงหลักฐาน และคะแนนวิชาครั้งสุดท้ายที่ตนสอบไล่ได้

ข้อ ๑๒ พระภิกษุผู้ขออนุญาตเพื่อไปศึกษาในต่างประเทศ ต้องแจ้ง รายละเอียดพร้อมด้วยหลักฐานเกี่ยวกับสถานศึกษา การรับเข้าศึกษา รายวิชา ที่ศึกษา สถานที่พักเพื่อการศึกษา ค่าใช้จ่ายในการศึกษาแต่ละปี และผู้อุปถัมภ์ ในการเดินทาง ตลอดถึงการอุปถัมภ์ในการศึกษาจนกว่าจะจบหลักสูตร ถ้าหลักฐานต่างๆ เป็นภาษาต่างประเทศ ให้แปลเป็นภาษาไทยโดย ผู้แปลและผู้ไปนั้นลงนามรับรองคำแปลด้วย

หมวด ๔
วิธีการขออนุญาตไปต่างประเทศ

ข้อ ๑๓  พระภิกษุสามเณรผู้ประสงค์จะเดินทางไปต่างประเทศตามข้อ ๖  ให้ยื่นหนังสือขออนุญาตตามแบบขงคณะกรรมการ ศ.ต.ภ. ต่อผู้บังคับบัญชาตามชั้น ดังนี้
(๑)  รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส  พระภิกษุสามเณรในวัด ยื่นต่อเจ้าอาวาส
(๒)  รองเจ้าคณะตำบล เจ้าอาวาส นอกจากพระอารามหลวง ยื่นต่อเจ้าคณะตำบล
(๓)  รองเจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะตำบล ยื่นต่อเจ้าคณะอำเภอ
(๔)  รองเจ้าคณะจังหวัด เจ้าคณะอำเภอ เจ้าอาวาสพระ อารามหลวง รองหรือผู้ช่วยเจ้าอาวาสของเจ้าอาวาส ยื่นต่อ เจ้าคณะจังหวัด
(๕)  รองเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด ยื่นต่อเจ้าคณะภาค
(๖)  เจ้าคณะภาค ยื่นต่อเจ้าคณะใหญ่
(๗)  กรรมการมหาเถรสมาคม เจ้าคณะใหญ่ ยื่นต่อประธาน กรรมการมหาเถรสมาคม 

ข้อ ๑๔  ให้ผู้มีหน้าที่รับหนังสือขออนุญาตชั้นต้น  ตามความใน ข้อ ๑๓(๑) (๒)   (๓)   (๔) (๕)    ชี้แจงแสดงความเห็นในเรื่องถูกต้องตามระเบียบหรือไม่ในเรื่องสมควร ไม่สมควร ในกรณีจะอนุญาต แล้วเสนอตามลำดับ จนถึงเจ้าคณะภาค เมื่อเจ้าคณะภาคพิจารณาเห็นว่าถูกต้องตามระเบียบสมควรอนุญาต ให้เสนอไปยังคณะกรรมการ ศ.ต.ภ.  ถ้าคณะกรรมการ ศ.ต.ภ.  เห็นชอบตามความเห็นของเจ้าคณะภาค ให้แจ้งไปยังกรมการศาสนาเพื่อดำเนินการต่อไป ถ้าเจ้าคณะภาค หรือคณะกรรมการ ศ.ต.ภ. เห็นไม่สมควรอนุญาต ให้แจ้งแก่เจ้าคณะจังหวัดหรือเจ้าคณะภาคแล้วแต่กรณี  ทราบถึงการไม่อนุญาต การสั่งไม่อนุญาตนั้นๆ ให้เป็นอันสิ้นสุด

ข้อ ๑๕  ผู้มีหน้าที่รับหนังสือขออนุญาต ตามความในข้อ ๑๓ (๖) 
(๗)  มีอำนาจพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติก็ได้  และแจ้งการอนุมัติพร้อมด้วย
เรื่องที่ขออนุญาตไปยังคณะกรรมการ ศ.ต.ภ.

ข้อ ๑๖  ในกรณีพระภิกษุสามเณรซึ่งสังกัดในจังหวัดชายแดน  ขออนุญาตเดินทางไปต่างประเทศที่มีเขตติดต่อกับจังหวัดที่ตนสังกัดนั้น  ตามความในข้อ ๔  เป็นการชั่วครั้งคราว ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อเจ้าอาวาส ที่ตนสังกัด  เมื่อเจ้าอาวาสเห็นสมควรอนุญาต ให้เสนอต่อเจ้าคณะผู้มีหน้าที่ ติดต่อกับทางราชการในเรื่องอนุญาตการเดินทางไปต่างประเทศในจังหวัดนั้น เพื่อพิจารณาอนุมัติและติดต่อกับทางราชการผู้ออกหนังสือเดินทางผ่านแดนชั่วครั้งคราวตามระเบียบของทางราชการ ถ้าผู้ขออนุญาตเป็นเจ้าอาวาสหรือเจ้าคณะ  ให้ยื่นคำขออนุญาต ต่อเจ้าคณะผู้มีหน้าที่ติดต่อกับทางราชการดังกล่าวแล้วในวรรคแรก การพิจารณาอนุมัติของเจ้าคณะตามความในสองวรรคแรกให้ดำเนินการตามข้อ ๗ ข้อ ๘ และข้อ ๙ โดยอนุโลม เมื่อผู้เดินทางได้รับอนุญาตจากทางราชการแล้ว  ให้เจ้าคณะผู้อนุมัติรายงานไปยังคณะกรรมการ ศ.ต.ภ. ทราบ

                ข้อ ๑๗ การได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ ตามระเบียบมหาเถรสมาคมนี้ ให้ถือว่าเป็นการอนุญาตให้ไปเฉพาะครั้งเดียว และเฉพาะ กรณีที่อนุญาตเท่านั้น

                เมื่อจะขอวีซ่าเดินทางไปต่างประเทศครั้งต่อๆ ไปอีก เฉพาะกรณียะตามข้อ ๙(๓) (๔) (๕) หรือ (๖) ให้ขออนุญาตต่อเจ้าอาวาสหรือเจ้า คณะผู้บังคับบัญชาโดยใกล้ชิดแล้วแต่กรณี  เมื่อเจ้าอาวาสหรือเจ้าคณะ
ผู้บังคับบัญชาโดยใกล้ชิดอนุญาตแล้ว ให้รายงานคณะกรรมการ ศ.ต.ภ. ทราบให้นำความในวรรคสอง มาใช้ในกรณีที่เจ้าคณะใหญ่ หรือประธานกรรมการมหาเถรสมาคมอนุมัติให้วีซ่าด้วย

                ข้อ ๑๘ การขอต่ออายุหนังสือเดินทางไปต่างประเทศให้ปฏิบัติเช่นเดียวกับการขอครั้งแรก

หมวด ๕
การพำนักในต่างประเทศ

                ข้อ ๑๙ การพักแรมในระหว่างเดินทางหรือพักชั่วคราวในถิ่นที่ไปถึงของพระภิกษุสามเณรผู้เดินทางไปต่างประเทศ  ให้พักในสถานที่อันสมควรแก่ สมณวิสัย  หากจำเป็นต้องพักในเคหะที่สมควรของบุคคลให้พักได้ไม่เกิน ๑๕ วัน ในกรณีที่พระภิกษุสามเณรผู้ไปอยู่ประจำในต่างประเทศ เมื่อจะเดินทางไปพักแรมหรือพักชั่วคราวในถิ่นอื่น ให้ปฏิบัติตามความในวรรคแรก

                ข้อ ๒๐ พระภิกษุสามเณรผู้ได้รับอนุญาตให้เดินทางไปต่างประเทศ จะเดินทางไปได้เฉพาะในประเทศที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น ถ้าประสงค์จะเดินทาง ต่อไปยังประเทศอื่นใด    จากประเทศที่ได้รับอนุญาตต้องแจ้งเรื่องราวพร้อมทั้งรายละเอียดให้คณะกรรมการ ศ.ต.ภ. อนุมัติก่อน จึงจะเดินทางต่อไปได้

                ข้อ ๒๑  การขอต่ออายุหนังสือเดินทางในต่างประเทศก็ดี การขอเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในหนังสือเดินทางเป็นอย่างอื่นในต่างประเทศก็ดี ให้ผู้ขอทำรายงานชี้แจงเหตุผลในการที่จะต้องอยู่ต่อไป  หรือที่จะต้องเปลี่ยนวัตถุประสงค์ พร้อมทั้งระบุสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยที่จะขอให้ต่ออายุหรือให้เปลี่ยนวัตถุประสงค์นั้น   เสนอคระกรรมการ ศ.ต.ภ. เพื่อพิจารณาล่วงหน้าไม่ต่ำกว่า ๖ เดือน   ก่อนวันครบกำหนดอายุการใช้หนังสือเดินทาง หรือไม่ต่ำกว่า ๓ เดือน      ก่อนยื่นเรื่องราวขอเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในหนังสือเดินทางแล้วแต่กรณี ในการพิจารณาดังกล่าวในวรรคแรก  ให้คณะกรรมการ ศ.ต.ภ. สืบสวน สอบสวนก่อน  เมื่ออนุมัติหรือไม่อนุมัติประการใดแล้ว   ให้แจ้งผลไปยังผู้ขอหากอนุมัติก็ให้ส่งสำเนาหนังสืออนุมัตินั้นไปยังสถานทูตไทย  หรือสถานกงสุลไทย ตามที่ระบุไว้ในคำขอเพื่อรับทราบ เมื่อผู้ขอได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ศ.ต.ภ. ให้อยู่ในต่างประเทศต่อไปได้     หรือให้เปลี่ยนวัตถุประสงค์ในหนังสือเดินทางได้แล้ว ให้นำหลักฐาน
การอนุมัตินั้นไปแสดงพร้อมกับคำร้องขอต่ออายุหนังสือเดินทาง หรือขอเปลี่ยนวัตถุประสงค์ในหนังสือเดินทาง

หมวด ๖
คณะกรรมการ ศ.ต.ภ.

ข้อ ๒๒  ให้มีศูนย์ควบคุมการไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุ สามเณรเรียกชื่อย่อว่า ศ.ต.ภ. ประกอบด้วยคณะกรรมการคณะหนึ่ง  ซึ่งมหาเถรสมาคมแต่งตั้ง มีจำนวนไม่น้อยกว่า ๓ รูป และไม่เกิน  ๕ รูป คณะกรรมการ ศ.ต.ภ. สังกัดมหาเถรสมาคม ปฏิบัติหน้าที่คราวละ ๔ ปี และอาจได้รับแต่งตั้งอีกก็ได้

ข้อ ๒๓ คณะกรรมการ ศ.ต.ภ. มีอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในระเบียบ มหาเถรสมาคมนี้นอกจากนี้ให้มีหน้าที่ควบคุมทะเบียนและสอดส่องความเป็นไปเกี่ยวกับทุกข์สุขหรืออย่างอื่นใดของพระภิกษุสามเณรผู้ไปหรืออยู่ในต่างประเทศกับให้มีอำนาจกำหนดแบบหนังสือขออนุญาตและแบบพิมพ์ต่างๆ โดยอนุมัติมหาเถรสมาคม เมื่อมีความจำเป็นในการที่จะต้องรักษาความเรียบร้อยดีงามให้ยิ่งขึ้น มหาเถรสมาคมจะได้ขยายอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการ ศ.ต.ภ.  ให้กว้างขวาง ออกไปอีกตามความเหมาะสม

ข้อ ๒๔ ให้มีเลขานุการคณะกรรมการ ศ.ต.ภ. ทำหน้าที่การเลขานุการซึ่งคระกรรมการ  ศ.ต.ภ. จะได้พิจารณาแต่งตั้ง มีจำนวน ๑ รูป หรือหลายรูปแล้วแต่จะเห็นสมควร ให้เลขานุการคณะกรรมการ ศ.ต.ภ. พ้นจากหน้าที่เมื่อคณะกรรมการ ศ.ต.ภ. ผู้แต่งตั้งให้พ้น หรือคณะกรรมการ ศ.ต.ภ. ผู้แต่งตั้งพ้นจากหน้าที่ตามวาระ

หมวด ๗
เบ็ดเตล็ด

ข้อ ๒๕  ให้มีพระภิกษุควบคุมดูแลพระภิกษุสามเณรที่ไปปฏิบัติศาสนกิจ อยู่ในต่างประเทศ ซึ่งพระเถระที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้งจะได้พิจารณาแต่งตั้งตามที่เห็นสมควร ในประเทศที่มิได้แต่งตั้งพระภิกษุให้มีหน้าที่ควบคุมดูแลพระภิกษุสามเณรที่ไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ  ให้พระภิกษุสามเณรที่ไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศนั้นๆ แจ้งทุกข์สุข หรือความเป็นไปของตนต่อสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทย เพื่อขอให้ส่งเรื่องมายังพระเถระที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้ง สำหรับพระภิกษุสามเณรที่ไปศึกษาอยู่ในต่างประเทศให้แจ้งทุกข์สุข หรือความเป็นไปของตนต่อสถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทยในประเทศนั้นๆ เพื่อขอให้ส่งเรื่องมายังคณะกรรมการ ศ.ต.ภ.

ข้อ ๒๖ พระภิกษุสามเณรผู้เดินทางไปหรือพักอยู่ในต่างประเทศด้วยกรณีใดก็ตาม ให้ถือว่ายังอยู่ในสังกัดการปกครองของเจ้าอาวาสและเจ้าคณะผู้บังคับบัญชาเหนือตนตามเดิม เช่นเดียวกับเมื่อยังมิได้เดินทางไปต่างประเทศหากพระภิกษุสามเณรที่พักอยู่ในต่างประเทศรูปใดถูกกล่าวโทษหรือต้องอธิกรณ์    ให้พระภิกษุที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ควบคุมในประเทศนั้น ๆ หรือ สถานทูตไทย หรือสถานกงสุลไทย สอบสวนแล้วรายงานมายังพระเถรที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้ง     หรือคณะกรรมการ ศ.ต.ภ.  แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาดำเนินการและแจ้งเจ้าอาวาสวัดที่พระภิกษุสามเณรรูปนั้นสังกัดในประเทศที่ไม่มีพระภิกษุผู้ควบคุมดูแล    ให้สถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในประเทศนั้นๆ     รายงานการถูกกล่าวโทษหรือต้องอธิกรณ์มายังพระเถระที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้ง    หรือคณะกรรมการ ศ.ต.ภ.แล้วแต่กรณี เพื่อพิจารณาดำเนินการและแจ้งเจ้าอาวาสวัดที่พระภิกษุสามเณรรูปนั้นสังกัดอยู่ให้เจ้าอาวาสและเจ้าคณะผู้บังคับบัญชาตามวรรคแรก สืบสวนสอบสวนข้อเท็จจริง ถ้าเห็นสมควรจะเรียกตัวกลับ ก็ขอให้สถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในประเทศนั้นๆ  ส่งตัวกลับประเทศไทย     เพื่อดำเนินการตามควรแก่กรณี      หากพระภิกษุสามเณรรูปนั้นไม่ปฏิบัติตาม  ให้รายงานมหาเถรสมาคม หรือคณะกรรมการ ศ.ต.ภ. แล้วแต่กรณีพิจารณา

ข้อ ๒๗ พระภิกษุสามเณรรูปใดฝ่าฝืนระเบียบมหาเถรสมาคมนี้ ให้เจ้าอาวาสเจ้าคณะพิจารณาลงโทษตามสมควรแล้วรายงานเจ้าคณะเหนือตนและมหาเถรสมาคม หรือคณะกรรมการ ศ.ต.ภ.ทราบ

 

 

             ประกาศ ณ วันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๗

 

(สมเด็จพระญาณสังวร)
สมเด็จพระสังฆราช  สกลมหาสังฆปริณายก
ประธานกรรมการมหาเถรสมาคม
 

 

 

คำชี้แจงการเดินทางไปต่างประเทศสำหรับพระภิกษุและสามเณร แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

ก.  ไปราชการหรือกิจของคณะสงฆ์

ข.  ไปเป็นส่วนบุคคล

ประเภท ก. ไปราชการหรือกิจของคณะสงฆ์  หมายถึงไปปฏิบัติศาสนกิจ ณ วัดไทยในต่างประเทศ  ได้รับอนุมัติโดยมหาเถรสมาคม

การขอหนังสือเดินทาง

ขั้นตอนการดำเนินการ

๑.  เจ้าอาวาสวัดไทยในต่างประเทศมีหนังสือถึงเจ้าอาวาส เจ้าสังกัดของพระภิกษุที่จะขอไปต่างประเทศ  พร้อมกับนมัสการพระเถระที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้งให้มีหน้าที่ในการพิจารณาพระภิกษุเดินทางไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศ  ถ้าประเทศใดมีองค์กรสงฆ์ปกครองให้เสนอผ่านความเห็นชอบขององค์กรสงฆ์นั้นก่อน

๒.  พระเถระที่มหาเถรสมาคมแต่งตั้งในที่นี้หมายถึง
-  สมเด็จพระพุฒาจารย์ (มหานิกาย)  วัดสระเกศ  กทม.
-  พระธรรมปัญญาจารย์ (ธรรมยุต)  วัดมกุฏกษัตริย์  กทม. เมื่อเห็นชอบแล้ว นำเสนอมหาเถรสมาคมพิจารณา

 ๓.  มหาเถรสมาคมพิจารณาขออนุมัติแล้ว  ส่งสำนักงานพระพุทธศาสนา แห่งชาติ ดำเนินการ

 ๔.  สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีหนังสือแจ้งกระทรวงการต่างประเทศ เพื่อออกหนังสือเดินทาง

  ที่มาของข้อมูล :
ประกาศในแถลงการณ์คณะสงฆ์  เล่ม  ๘๒  ตอนที่ ๒ 
วันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๓๗

 

ครูท่านชี้แนะว่าให้อ้างอิงด้วยว่าเอาข้อมูลมาจากส่วนไหนบ้างเพราะเราไม่ได้คิดเอง ถ้าไม่อ้างถือว่าละเมิด ผิดศีลค่ะ หนูจึงขออนุญาตใส่ link แหล่งอ้างอิงนะคะ

ที่มา:

  1. http://www.lovetravelsclub.com/board/index.php?topic=32.0 คลับของคนรักการท่องเที่ยว
  2. http://www.consular.go.th/modules.php?name=Content&pa=showpage&pid=47 กรมการกงศุล
  3. http://www.siamairfare.com/tip-and-trick-travel/27-prepare-before-travel/69-travel-for-mong 

 

(^____^)

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท