วันนี้ทำให้นึกย้อนหลังกลับไปอีกครั้ง เมื่อเจอบล็อคเกอร์รุ่นพี่ ในการประชุมผู้ปกครองที่โรงเรียนเบญจราชูทิศ อ.ภีมผู้จุดประกายให้ผมเรียนรู้ Blog และมาเขียนบันทึกมาจนถึงทุกวันนี้
นานแล้วกับ อาจารย์ภีม เจ้าของงานเขียนใน Blog >>สถาบันจัดการความรู้เพื่อชุมชน ที่ไม่ได้เจอกันเพราะต่างก็มีภาระในงานที่ทำตามปกติ ครั้งหนึ่งเราเคยบูรณาการงานโดยจังหวัดเป็นศูนย์กลาง เจอกันที่ศาลากลางจังหวัดบ่อยครั้ง ในงานเพื่อพัฒนาชุมชนให้มีความเข้มแข็งพึ่งตนเองได้
วันหนึ่งของปี 2549 อ.ภีม เป็นผู้ดำเนินการชี้แจงในที่ประชุม เรื่องของการจัดการความรู้ (KM) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ และพัฒนาให้ชุมชนเข้มแข็งพึ่งตนเองได้ของจังหวัดนครศรีธรรมราช ช่วงหนึ่งได้นำเสนอเรื่องการบันทึก เมื่อมีการจัดการความรู้แล้ว และนำเสนองานเขียนของตนเองให้ดู ทำให้ผมเริ่มมีความสนใจ เพราะชอบเรื่องการเขียนอยู่บ้างไม่น้อย เคยเห็นเพื่อนที่เขียนเรียงความเก่ง ๆ สมัยเรียนมัธยมก็อยากทำกับเขาบ้าง แต่ติดตรงที่ว่าเขียนแล้ว จะเขียนให้ใครอ่าน และจะเก็บไว้อย่างไร เมื่อ อ.ภีม นำเสนอเรื่องดังกล่าวก็เห็นว่าน่าสนใจมาก ๆ และทราบว่าเขาเรียกว่า "Blog" เขียนแล้วอยู่บนเครือข่ายอินเตอร์เนต มีคนเข้ามาอ่านและแลกเปลี่ยนเรียนรู้แสดงความคิดเห็น จึงลองศึกษาดูและได้เรียนรู้ค้นคว้าดูแนวเขียนของรุ่น ๆ พี่ ๆ หลายคน และเป็นกำลังใจให้กันในที่สุดผมก็เป็น Blogger กับเขาคนหนึ่ง อบอุ่นเมื่อมีสมาชิกเข้ามาให้กำลังใจในเรื่องที่เราบันทึก การให้กำลังใจของสมาชิก GotoKnow เป็นทั้งการแลกเปลี่ยน และแนะนำ เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ได้เรียนรู้กระบวนการ "การจัดการความรู้" จนผมซึมซับประสบการณ์รุ่นพี่ ๆ ที่เคยงง ๆ หรือหลงทางมองภาพเลือน ๆ ไม่ชัดเจน ก็เริ่มชัดเจนยิ่งขึ้น
เนื่องจากเราต่างก็เป็นผู้ปกครองที่มีเป้าหมายการประชุมจึงไม่ได้คุยรื้อฟื้นเรื่องราวกันมากนัก แต่ก็ร่วมกันแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม ตามที่ทางโรงเรียนขอความร่วมมือ ซึ่งก็มีมุมมองให้ทางโรงเรียนพิจารณา 2-3 ประเด็น ระหว่าง นักเรียน(ผู้กำลังเป็นผลผลิต) โรงเรียน(โรงงานใหญ่) ครูอาจารย์(บุคลากรผู้ทำการผลิต) และผู้ปกครอง(ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย)ต้องไม่มีช่องว่าง รูรั่ว ต้องเชื่อมต่อให้ติดและจะเชื่อมต่ออย่างไร
สวัสดีค่ะ คุณชาญวิทย์
สวัสดีครับท่านชาญวิทย์ แวะมาเยี่ยมดึก ๆ (ไม่ได้ทะนายหัวภีมนานแล้ว)
สบายดีน่ะท่าน
สวัสดีครับพี่ชาญวิทย์ ผู้เฒ่าวอญ่าและครูดา
เรื่องที่ผู้ปกครอง2คนคุยกันคือ โรงเรียนชี้แจงให้ทราบผลการเรียนของนักเรียนมัธยมปลายม4,5และ6 นำเสนอ2ข้อมูลในภาพรวมคือ1)จำนวนนักเรียนได้เกรดเฉลี่ย3-4ใน3ชั้นประมาณ60% โรงเรียนตั้งเป้าไว้62.8% 2)จำนวนนักเรียนที่ได้คะแนนต่ำหรือตกประมาณ4% ตั้งเป้าให้ลดเหลือ2% รองวิชาการและรองกิจการนักเรียนชี้แจงว่า มีการสอบเก็บคะแนนเรื่อยๆ เช่น 10 ครั้งถ้าเด็กไม่ส่งงานในส่วนของการเรียนก็จะได้เกรดต่ำ ในส่วนของเกณฑ์ชี้วัดเด็กดี มีความสุขก็จะวัดที่ผ่านกับไม่ผ่าน ตัวชี้วัดคงมีข้อท้วงติงได้เยอะ เช่น ตัดผมทุกเดือนของเด็กชาย ประเด็นคือ กลไกในการช่วยให้นักเรียนส่งงานสม่ำเสมอหรือทุกครั้งไม่มีบทบาทของผู้ปกครองอยู่เลย หมายถึงผู้ปกครองไม่รู้ มารู้กันก็ตอนประชุมผู้ปกครองนี่แหละ เป้าหมายที่ตั้งไว้ของโรงเรียนทั้งการเพิ่มจำนวนนักเรียนให้เกรดสูงขึ้น และลดจำนวนนักเรียนสอบตก รวมทั้งตัวชี้วัดเด็กดีมีความสุข จึงขึ้นอยู่กับครูกับนักเรียนเท่านั้น
ช่วงหลังเมื่อท่านผู้ว่าราชการจังหวัดวิชม ทองสงค์เกษียณอายุราชการ พวกเราก๊วนจัดการความรู้เมืองนครก็ไม่ค่อยได้พบปะร่วมงานกันเท่าไร อย่างไรก็ตาม แต่ละคนก็ยังคงทำภารกิจจัดการความรู้ในหน่วยงานของตนเองอยู่ ครูนงก็หายไปจากblog เช่นเดียวกับผม แต่ก็ยังคงเข้ามาติดตามข่าวคราวในgotoknowอยู่ครับ
บังวอญ่าสบายดีนะครับ งานสวัสดิการชุมชนตามนโยบายสมทบ1ต่อ1ของรัฐบาลคงได้พบปะกันบ้าง มาเมืองคอนเมื่อไรก็ส่งข่าวทักทายกันบ้างนะครับ
สวัสดีครับ ครูตา ท่านพี่วอญ่า อ.ภีม
ได้ติดตามครูตาไปดูกิจกรรมแล้วครับ ท่านพี่วอญ่าคิดถึงอยู่เด้อ ขอบคุณ อ.ภีมที่มาเพิ่มข้อมูลนะครับ
สวัสดีค่ะ แวะ มาทักทายคนนครฯ ค่ะ ดิฉันก็เคยอยู่มา 8 ปี คิดถึง..
สวัสดีครับครูบันทิง
กลับไปเที่ยวบ้างซิครับ ขอบคุณที่มาเยี่ยมครับ
สวัสดีค่ะ อยากไปเหมือนกันค่ะ แต่ไม่มีโอกาส แบบว่าไม่โสดแล้วค่ะ อิอิ เรื่องเทคนิคก็ไม่ค่อยเก่งหรอกค่ะ ฝึกทำไปเรื่อยๆ