ปิดทองหลังพระ และความสามัคคี


การทำงานด้วยใจรักต้องหวังผลงานนั้นเป็นสำคัญ แม้จะไม่มีใครรู้ใครเห็นก็ไม่น่าวิตก เพราะผลสำเร็จนั้นจะเป็นประจักษ์พยานที่มั่นคง

“การทำงานด้วยใจรักต้องหวังผลงานนั้นเป็นสำคัญ แม้จะไม่มีใครรู้ใครเห็นก็ไม่น่าวิตก เพราะผลสำเร็จนั้นจะเป็นประจักษ์พยานที่มั่นคง เมื่อพูดเช่นนี้เหมือนสอนให้ปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิดว่าที่จริงแล้วคนโดยมากไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้าไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย จะเป็นพระที่งดงามสมบูรณ์ไม่ได้”

พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์ ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2506





ในสมัยรัชกาลที่ 4 ได้ทรงโปรดให้สมเด็จพระสังฆราช (สา) วัดราชประดิษฐ์ คิดค้นถ้อยคำประดับตราแผ่นดิน ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้คิดคาถาภาษาบาลี จารึกบนแพรแถบด้วยอักษรไทยว่า “สพฺเพสํ สงฺฆภูตานํ สามคฺคี วุฑฒิ สาธิกา” ซึ่งแปลโดยความหมายได้ว่า “ความพร้อมเพรียงของบุคคลทั้งปวงผู้อยู่เป็นหมวดหมู่กัน ย่อมเป็นเครื่องทำความเจริญให้สำเร็จ” หรือ การใหญ่ของแผ่นดินจักสำเร็จได้ด้วยความสามัคคี


เวลา : 16:17
IP : 125.26.241.98

แจ้งลบกระทู้นี้
หมายเลขบันทึก: 311871เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2009 14:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กันยายน 2015 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  • เวลาไปวัดก็ชอบไปปิดทองที่ด้านหลังองค์พระค่ะ
  • ยึดเป็นหลักในการดำเนินชีวิตเสมอนะคะ  พระองค์ท่านเคยตรัสกับนายทหารท่านหนึ่งว่า..."การปิดทองหลังพระนั้นทำเป็นประจำ  วันหนึ่งทองนั้นก็จะล้นออกมาด้านหน้าเอง"

สวัสดีค่ะคุณสหายสิกขา

แวะมาเยี่ยมชม

"การใหญ่ของแผ่นดินจักสำเร็จได้ด้วยความสามัคคี"

ชอบประโยคนี้จังเลยค่ะ^^

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท