เรื่องเล่าชาวอิสานฟันดี 3 : ส่งใจฝากมา...จากอยุธยา


พี่แดงมานิต ทีมทันตแพทย์รุ่นพี่เลี้ยง + รุ่นผู้นำ สรุปบทเรียนการพัฒนาผู้นำส่งเสริมสุขภาพช่องปาก..ภาคอิสาน

ตอนที่  3  ส่งใจฝากมา...จากอยุธยา 

สรุปผลการดำเนินงาน  โครงการส่งเสริมและพัฒนาผู้นำด้านส่งเสริมสุขภาพช่องปากปี 2552  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายการเรียนรู้ทันตแพทย์ผู้นำการพัฒนา (ภาคอีสาน)  วันที่ 25 - 26 มิถุนายน 2552
ณ  ห้องประชุมโรงแรมโคราชรีสอร์ท    จ.นครราชสีมา

วันแรก

ภาคกลางวัน ละลายพฤติกรรม   ความคาดหวังของผู้เข้าร่วมประชุม           

 แบ่งกลุ่มย่อยเล่าเรื่อง สิ่งดีดีจากการทำงานทันตสาธารณสุข

กิจกรรมการฝึกผ่อนคลายอย่างสมบูรณ์

 คัดเลือกและกำหนดประเด็นสนใจร่วมของภาคอีสาน

ภาคค่ำ  สายธารชีวิต

วันที่สอง 

แบ่งกลุ่มตามประเด็นสนใจแลกเปลี่ยนเรื่องที่สนใจร่วมกัน

ตารางอิสรภาพ

วางแผนการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องที่สนใจร่วมกัน

นำเสนอแผนการทำงานแลกเปลี่ยนเรียนรู้

AAR

กลุ่มแลกเปลี่ยน 3 กลุ่ม

กลุ่มที่ 1  การพัฒนางานทันตสาธารณสุขในชุมชน  จัดกิจกรรมวันที่ 10 - 11 สิงหาคม 2552  อ.บ้านฝาง  และ อ.น้ำพอง  จ.ขอนแก่น

กลุ่มที่ 2  การพัฒนาระบบบริการและงานทันตสาธารณสุขใน Primary health care   จัดกิจกรรมวันที่ 13 - 14 สิงหาคม 2552  อิงนภารีสอร์ท  จ.อุบลราชธานี

กลุ่มที่ 3  การพัฒนาเครือข่ายสุขภาพเด็กเล็ก  จัดกิจกรรมวันที่ 3 - 4 กันยายน 2552  ณ  รพ.สระใคร  และชุมชนบ้านไชยา  ต.สระใคร  อ.สระใคร   จ.หนองคาย

ประสบการณ์จากการประชุมครั้งที่ 1

ความประทับใจในการจัดกิจกรรม 

ความคุ้นเคย พี่ ๆ น้อง ๆ มาเจอกัน  รู้จักมุมอื่น ๆ ในชีวิตจากการเล่าและฟัง

การรวมกลุ่มเพื่อไปเรียนรู้ต่อ  จากของจริงที่ทำมาแล้ว

ความทุ่มเทเสียสละของทีม + วิทยากร หมอจินดา และ หมอฝน  จากพี่ ๆ น้อง ๆ พี่แดง พี่เฮ้าส์  และพี่เลี้ยงภาคอิสานทุกคน มาช่วยกันทำงานอย่างเต็มที่

หมายเลขบันทึก: 311769เขียนเมื่อ 8 พฤศจิกายน 2009 00:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายทันตแพทย์  เพื่อการพัฒนางานทันตสาธารณสุขในชุมชน วันที่ 10 - 11 สิงหาคม 2552  ณ พื้นที่ศึกษา อ.บ้านฝาง และ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น

 วันแรก    จัดกิจกรรมที่ รพ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น  ผอก.รพ.ต้อนรับ

ศึกษาดูงานพื้นที่ การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนางานทันตสาธารณสุข              

          พื้นที่ 1   รร. บ้านกระเดื่อง ต.ป่ามะนาว              

          พื้นที่ ชุมชนบ้านเหล่า อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น

ศึกษารูปแบบการบริหารงานของ CUP บ้านฝาง

อภิปรายแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และให้ภาคชุมชนเข้าร่วมกิจกรรม

ภาคค่ำ  อภิปรายปัญหาทั่วไป  และกิจกรรมสันทนาการ

วันที่สอง   จัดกิจกรรม ที่ รพ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น

การบรรยาย เรื่อง “การมีส่วนร่วมชุมชน” จาก ผู้อำนวยการโรงพยาบาล น้ำพอง จ.ขอนแก่น    ทำให้เชื่อมโยงเรื่องราวการทำงานชุมชนได้

จัดวงแลกเปลี่ยนเรียนรู้  และสรุปผลเพื่อเตรียมนำเสนอครั้งที่ 2

  

พื้นที่ 1   รร. บ้านกระเดื่อง  ต.ป่ามะนาว   อ.บ้านฝาง

ชาวบ้านมีส่วนร่วมพัฒนางานสาธารณสุขกับโรงเรียนและสถานีอนามัย 

ผู้นำชุมชนเสียสละ  เศรษฐกิจพอเพียง  ปลูกฝังคุณธรรมในเยาวชน

โครงการคู่หูสองวัยใส่ใจสุขภาพ  กลุ่มอสม.  ผู้สูงอายุและกลุ่มผู้นำฯ หมุนเวียนเข้ามาช่วยกิจกรรมในโรงเรียน  เล่าเรื่องหน้าเสาธง  แต่งเพลงพื้นบ้านอีสานรณรงค์การบริโภคอาหาร  ตรวจฟันเด็ก   กระตุ้นการแปรงฟัน  แจ้งผู้ปกครองให้ดูแลแปรงฟันตอนเย็น  ให้ความรู้ทางหอกระจายข่าว  น้ำสมุนไพรอ่อนหวาน  ให้นักเรียนรับประทานกล้วยน้ำว้า

จนท.สอ.เน้นความรู้พื้นฐานในการทำงานต้องบูรณาการให้เป็นหนึ่งเดียว

พื้นที่ บ้านเหล่า   ต.บ้านเหล่า  อ.บ้านฝาง

โครงการ อสม. ร่วมใจใส่ใจผู้ป่วยเบาหวาน (ตรวจคัดกรองเบาหวานตรวจสุขภาพช่องปาก  เยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวาน  รับผู้ป่วยเบาหวานมาขูดหินน้ำลาย อบรม อสม.)

ภาคสาธารณสุข  ปรับเปลี่ยนตามบริบทชุมชน  บูรณาการงาน  ทำงานต่อเนื่อง  มีความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน

อบต.  ผู้นำชุมชน  เข้าใจปัญหาของชุมชน  สนับสนุนงบประมาณและอุปกรณ์

เรียนรู้จาก  .บ้านฝาง  ต.บ้านกระเดื่อง

Ø จนทสอ.ทำวิจัยร่วม เรื่อง สุขภาพช่องปากเด็กเล็กกับโรงเรียน ทำแผนงานยุทธศาสตร์กับชุมชน (ผู้นำชุมชนเป็นอสม.) 

Ø การตั้งคำถามที่ดี  เปิดให้เกิดการเรียนรู้  "ทำไมถึงทำเรื่องนี้ได้"   หมอรุ่งพาทำ    "หมอรุ่งเป็นอย่างไร"   ใครก็ได้ที่ซื้อใจได้  ทำด้วยกันไม่ใช่สั่งเขาทำ ........หมอรุ่งเข้าชุมชนตอนเย็นตลอด   เข้าร่วมกิจกรรมชุมชนตลอด    "ทำไมทำเรื่องฟัน"   เพราะเป็นปัญหาและมีต้นทุนอยู่แล้ว    "ถ้าเป็นน้องหมอฟันทำไหม"   ถ้าน้องหมอฟันทำเรื่องอื่น  รับได้เพราะหมอทุกคนต้องเรียนรู้   ไม่มี Barrier ในการทำงานว่าเป็นจนทสอ/ทภ. 

เรียนรู้จาก  อ.บ้านฝาง

Ø วัฒนธรรมชุมชน  ใครที่เข้ามาต้อง Orientation  เป็นผู้ใหญ่ในหมู่บ้านไป approach  หมู่บ้านนี้ไม่มีแบ่งแยกขั้วอำนาจ เช่น ได้รับเลือกตั้งมาเป็นผู้ใหญ่บ้านก็ยอมรับกัน  มีการดูแลรักษาวัฒนธรรมของชุมชนไม่ให้เป็นสังคมบริโภค

Ø รู้จักบุคลากรเพื่อให้การดูแลอย่างเหมาะสม เช่น "อึ่ง" ชอบการเรียนรู้ บุคคลแห่งการเรียนรู้  ให้โจทย์ไปแก้ไข “หมอเถ่าดูแลเหมือนพี่น้อง พร้อมให้คำ ปรึกษาตลอดเวลา หลังทำงานเสร็จก็จะได้ (รางวัล) ไปเรียนรู้ดูงานที่อื่น

Ø รพ.บ้านฝางมีวัฒนธรรมการทำงานแบบพี่กับน้อง  “พี่” เป็นคนที่ได้รับการยอมรับจากคนอื่น ๆ  เมื่อพี่พูดน้องจะฟังและทำตาม  ผอ.เปิดโอกาสให้ทำในสิ่งที่อยากทำ (เหมือนกับวิธีเลี้ยงลูกตนเองของ ผอ.)

เรียนรู้จากอำเภอน้ำพอง

ผอ.น้ำพอง สะท้อนภาพว่าทันตะเป็น service based แม้ว่าจะเป็นเชิงรุก  แต่เป็นการเคลื่อนย้ายตัวเองไปให้บริการมากกว่าส่งเสริมสุขภาพ  รพช.เป็นสถาบันการเรียนรู้ที่จะต้องพัฒนาคน  ทำงานใช้ การวิจัย/ R to R/ concept Small is beautiful

บ้านคำมืดได้รางวัล รร.คู่หู  เน้นการแปรงฟันตอนกลางคืน  ทุกคนมีบทบาทแม้แต่เกษตรฯ   ยายไปขบคิดว่าจะทำอย่างไรจึงจะสอนเด็กได้   ยายถอดฟันปลอมออกมา   เด็กเลยกลัวไม่อยากเป็นอย่างยาย

หมอที่บ้านนี้ต้องคัดเลือกมา (พยาบาลกับทันตา) ได้ทุนของชุมชน  เป็นคนเก่ง  เรียนรุ่นเดียวกัน  ทำงานร่วมกันประสาพี่น้อง  ซื้อใจชุมชน  เป็นแพทย์สนามมวย  ทำกิจกรรมร่วมกับชุมชน  ทภ.เอ๋ เดิมมี conflict ว่าต้องทำงานเฉพาะงานทันตะ  เป็นแรงบันดาลใจให้ ทภ.คนอื่น ๆ 

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายทันตแพทย์  เพื่อการพัฒนาระบบบริการและงานทันตสาธารณสุขใน Primary health care  
วันที่ 13 - 14 สิงหาคม 2552   ณ  อิงนภารีสอร์ท  จ.อุบลราชธานี

นำเสนอการทำงานพัฒนางานของ 12 รพ. แลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิควิธีการทำงานของแต่ละโรงพยาบาล  สรุปผลการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำเสนอในการประชุมครั้งที่ 2

การทำงานพัฒนางาน PCU และ CUP  12  รพ. ประกอบด้วย

รพ. พนมไพร/ รพ. จตุรพักตรพิมาน /รพ. โพนทอง  จ.ร้อยเอ็ด

รพ. เขาวง  จ.กาฬสินธุ์

รพ. มัญจาคีรี  จ.ขอนแก่น

รพ. หัวตะพาน  จ.อำนาจเจริญ

รพ. ม่วงสามสิบ /รพ. ๕0พรรษามหาวิชราลงกรณ์ /รพ. สมเด็จพระยุพราชเดชอุดม  จ.อุบลราชธานี

รพ. ราศีไศล  จ.ศรีสะเกษ

รพ. วาปีปทุม /รพ. ยางสีสุราช  จ.มหาสารคาม

รพ.ลำปลายมาศ  จ.บุรีรัมย์

 

 สรุปสิ่งที่ได้เรียนรู้ร่วมกัน  ของการจัดบริการทันตสาธารณสุขปฐมภูมิ  ในรพ.แต่ละแห่ง

1.  การพัฒนาศักยภาพ / การผลิตทันตบุคลากร

  • ขอโควตานร.ทันตาภิบาล  ทุนของอำเภอ

  • การจัดสรร ทันตาภิบาล ต้องมาคู่ ผู้ช่วยทันตแพทย์   

  • ค่าใช้จ่าย CUP อบต. / เทศบาล  /  PCU ดูแล แล้วแต่พื้นที่

  • การจัดสรร ผช.ทพ. มีระบบการ Trainning จาก รพ.

  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่าง PCU  จากการสรุปผลงานประจำปี

  • Trainning  Need  และจัดอบรม  ทพ. / ทภ. ใน CUP / PCU  

  • วางแผน Career Path ทภ. / ผช.ทพ.

2.  การจัดหางบประมาณ / การหาแหล่งงบประมาณ

    ต้องทำความเข้าใจที่มางบประมาณ เงิน UC

3.   การสนับสนุนครุภัณฑ์ - วัสดุทันตกรรม

 ครุภัณฑ์ - อุปกรณ์ ทันตกรรม   กันงบประมาณ จัดสรรลง PCU

 ระบบการดูแลรักษาเครื่องมือ  คู่มือการใช้  การซ่อมครุภัณฑ์เบื้องต้น นำโปรแกรมสำเร็จรูปมาใช้ในการบริหารจัดการคลังวัสดุแก่ PCU

 กันงบประมาณซ่อมบำรุง   /  การซื้อทดแทนกรณีชำรุด

กันงบการผลิตสื่อทันตสุขภาพ / สื่อสนับสนุนจากกองทันตะ

4.  การบริหารจัดการระบบงาน

     การจัดระบบบริการทันตกรรม

 การจัดบริการ  ทพ. / ทภ.ประจำ  CMU ขนาดใหญ่  ทภ.ดูแล  (เป็น CEO)

 การจัด ทพ. เป็นที่ปรึกษาประจำทุก PCU เพื่อให้เข้าถึงง่าย และ รับ consult

 จัดหน่วยคาราวานทันตกรรมร่วมกับหน่วยบริจาคโลหิต

 มีการจ่ายค่าตอบแทนที่เหมาะสมในการปฏิบัติงาน

ระบบส่งต่อระหว่าง PCU - รพ. เกณฑ์การส่งต่อ / การดูแล ผป. เบื้องต้นก่อนส่งต่อ / การทำลายเชื้อ / Central  Supply / ขยะติดเชื้อ

การทำ CPG /ซ้อม CPR

5.  การทำภาคีเครือข่าย / การทำงานโดยประชาชนมีส่วนร่วม

• เครือข่ายครู ศพด.

• อสม. แกนนำ

• อสม. ทำหน้าที่ Screen (วัด BP + คัดกรอง + จัดคิว)

• อบรมครูอนามัย  โดยใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM)

ร่วมคิด หาแนวร่วม ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย  "สมคิด" รางวัลนวัตกรรม ที่ 1  จ.ร้อยเอ็ด  น้องพี่ สอ. อย่าลืมดูแล  ผู้ปกครอง  แกนนำนักเรียน  ครู  อบต.  ผู้นำชุมชน

6. นวัตกรรมงานทันตสาธารณสุข

การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาผสมผสาน....สีย้อมฟันจากดอกอัญชัน..... โรงเรียนคู่หูทันตสุขภาพ

Face shield  พอเพียงเพื่อเพียงพอ

• จัดทำสื่อทันตสุขศึกษาให้ความรู้แก่ผู้ใช้บริการ

 AAR จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ดี เกินคาด

มีอะไรต้องเรียนรู้อีกมาก

เกิดไฟ อยากกลับไปทำจัง

ไม่ผิดหวังเลยที่มา

ชาวอุบลต้อนรับอบอุ่น  ที่พักดีแต่นอนคนเดียว กลัวผี

บรรยากาศเอื้ออาทร กัลยาณมิตร

เรียนลัดจากประสบการณ์เพื่อน

เครือข่ายเนี่ย ดีจริง ๆ เลย

อยากดูงานสถานที่จริงซักแห่ง

เวลาน้อยเกินไป / งบน้อยไปหน่อย

โหดจริง ๆ  ฝนตก  กินข้าวก็ดึก

อยากมีเวทีเจอกันอีกในเวทีนวัตกรรม

ไปดูงาน  เยี่ยมเยียนกันเถอะ

ไปเที่ยวเวียดนามกันเน้อะ

การประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายการพัฒนาเครือข่ายสุขภาพเด็กเล็ก
วันที่ 3 - 4 กันยายน 2552   
ณ  รพ.สระใคร  และชุมชนบ้านไชยา  
ต.สระใคร   อ.สระใคร   จ.หนองคาย

จัดกิจกรรมที่  รพ.สระใคร  .หนองคาย  วันแรก 

แบ่งกลุ่มย่อยเพื่อถอดบทเรียนของพื้นที่  ประกอบด้วย

กลุ่มที่ 1  ทันตแพทย์  ทันตาภิบาล  พยาบาล  เจ้าหน้าที่

กลุ่มที่ 2  ผู้นำชุมชน  แกนนำ อสม.   ผู้ดูแลเด็ก  เข้าพื้นที่ชุมชนบ้านไชยา  

กลุ่มที่  3  และกลุ่มที่ ผู้ปกครอง  ที่ชุมชนบ้านไชยา / ศพด.

วันที่สอง

นำเสนอข้อมูลเรียนรู้ที่ได้จากการลงชุมชน  และถอดบทเรียนของทุกกลุ่ม

สรุปบทเรียนรู้  ความเหมือนในความต่าง ความต่างในความเหมือน

เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ World café

(ดูภาพสรุปความเหมือนในความต่างความต่างในความเหมือน)

ความเหมือนในความต่าง ความต่างในความเหมือน

(ดุภาพบางส่วนของ World Cafe)

world cafe ลปรร. สระใคร 3-4 ก.ย. 52

เรียนรู้จากการดูงานที่ อ.สระใคร

ไปดูงานเป็นทีมงาน  ทำให้กลับมาทำงานต่อได้ (รพ.ลำปลายมาศ /รพ.ท่าคันโท) เริ่มงานในพื้นที่จากการดูงานที่สระใคร / การทำงานทันตะโดยพยาบาล

ประทับใจกระบวนการเรียนรู้เรื่อง World Cafe / ได้ทบทวนตนเอง / ทพ.กับทภ.มีช่องว่างบางอย่าง / วิเคราะห์ความเหมือนในความต่าง ความต่างในความเหมือน

ทำงานแล้ววิจัยไปด้วย

 เด็กในศพด.ชอบแปรงฟัน  อบต.รู้ไปหมด  เข้มแข็งขึ้นเรื่อย ๆ มีความเป็นเจ้าของงาน สส.สุขภาพมากขึ้น  กลุ่มแม่บ้านได้ความรู้จากสื่อ  หมอไม่จำเป็นต้องสอน /จัดประกวดทุกปี

ทำอย่างไรจะต่อเชื่อมระหว่าง service-based (อุบล) & development- based (อ.บ้านฝาง  ขอนแก่น)

 

สิ่งที่ได้เรียนรู้

การพัฒนาความเป็นผู้นำ  กระบวนการที่สระใครเน้นการทำงานเป็นทีม มากกว่ารายบุคคล (Individual) เกิดความยั่งยืน  ผูกพัน มิตรภาพ  และความสุข

ทำงานบนพื้นฐานเท่าเทียมกัน  ไม่มีช่องว่างระหว่างเขากับเรา   ไม่มีผลประโยชน์ส่วนตัว    

 การปลูกฝังให้ทุกคนมีวิถีชีวิตแบบพอเพียง  โดยเฉพาะทันตแพทย์ผู้นำในระดับอำเภอ  สร้างศรัทธาและแรงบันดาลใจให้ผู้ร่วมงานอยู่ในพื้นที่ (ตัวอย่างที่อ.สระใคร  และที่ .บ้านฝาง)

การพัฒนางานสู่ความสำเร็จ  ต้องรู้จักการรอเวลา  เหมือนน้ำหยดลงหิน  ทุกวันหินยังสึกกร่อน  ฉันใดฉันนั้น (เคล็ดลับความสำเร็จของ .บ้านฝาง)

Mindmap ความคาดหวัง ลปรร.สระใคร

  ประสบการณ์จากการประชุม

 มีข้อเสนอจัดเวทีพบปะแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน  หลังจากกลับไปทำงานในพื้นที่แล้วในระยะเวลาหนึ่ง  เพื่อให้มีการเรียนรู้ต่อเนื่อง

การประชุมสรุปงานเครือข่ายทันตแพทย์ผู้นำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  วันที่  15-16  ตุลาคม  2552   ณ ราชาวดีรีสอร์ต  อ.เมือง  จ.ขอนแก่น

•  นำเสนอผลการจัดกระบวนการของแต่ละ node

•  จัดวงแลกเปลี่ยนประสบการณ์ของทุกคนในการเข้าร่วมโครงการนี้

•  World cafe’ ผสมเกสรความรู้การพัฒนาเครือข่ายทันตแพทย์ผู้นำ  ด้านส่งเสริมสุขภาพช่องปาก

กิจกรรมวันที่สอง

•  “หลักการทรงงานของในหลวงฯ”  ทพญ.สุรัตน์ มงคลชัยอรัญญา

•  ภาพวาดระบายสี

ระบายภาพออกจากใจ สรุป 3 node อิสาน 15-16 ต.ค. 52 ขอนแก่น

งานอะไรที่เราอยากจะไปทำต่อในพื้นที่

•  สนใจนำงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากที่ได้เรียนรู้ไปลองทำ

•  ติดตามงานที่ทำไว้แล้ว  ปรับรูปแบบ  เน้นการประเมิน

•  สร้างทีมงานให้เข้มแข็ง  ทำให้ทภ.ได้เรียนรู้ร่วมกัน  ให้ทีมทำงานอย่างมีความสุข

•  พัฒนาระบบหน่วยทันตกรรมเคลี่อนที่  ใช้เครื่องมือใหม่  แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์  ให้ประชาชน/ภาคีแสดงศักยภาพ

•  สร้างเครือข่าย (อปท. วัด ชุมชน)  ค้นหาสิ่งที่เหมาะสมกับบริบท  ค่อย ๆ  ก้าว   แต่ก้าวอย่างมั่นคง

•  สร้างความสมดุลย์ของงานและครอบครัว

 

เราจะพัฒนาร่วมกันได้อย่างไร

•  ควรใช้ IT ช่วยการติดต่อสื่อสาร (web board) , เริ่มทำblog

•  ต้องการเรียนรู้เครื่องมืออีกหลายตัว เช่น การเป็น Fa ที่ดี  ทักษะการการจับประเด็น  การออกแบบการเรียนรู้  ทักษะการสร้างคำถาม  จิตตปัญญาศึกษา แผนที่ทางเดินยุทธศาสตร์  OM

•  อยากพบกันอีก  เพื่อพัฒนาตนเอง  การทำงานร่วมกันเป็นทีม  อยากไปดูเครือข่ายอื่น ๆ

ควรทำต่อเนื่อง  ดึงน้องรุ่นใหม่มาอีกเรื่อย ๆ  มีการติดต่อระหว่างกัน  คุ้นเคยกัน  กล้าเข้าไปขอเรียนรู้   เป็นที่ปรึกษาให้กัน

ขอบคุณที่รับฟังและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้   เติมพลังแห่งความสร้างสรรค์

 

สวัสดีครับ คุณหมอฟัน ทันตกรรมนาม "ธิรัมภา"รพ.สระไคร แสนดีใจที่คุณหมอมาเล่าเพิ่มเสริมบทเรียน

ได้ไปอ่าน อาจารย์ ศิลา อาจารย์ เอกถอดบทเรียนที่อยุธยา แล้วมาเติมเต็มเล่าต่อ.......หมอครับ ขอบคุณ

ยินดีที่รู้จักนะคะ....ท่านวอญ่า-ผู้เฒ่า

ขอบคุณมากเช่นกันที่บอก....เรื่อง การถอดบทเรียน ที่อยุธยา

ได้ตามไปอ่านทั้งอาจารย์ศิลา (ภูชยา) และอาจารย์เอก (จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร) แล้วนะคะ

อิ่มค่ะ....อิ่มอกอิ่มใจ มีแรงมากมายไปทำงานพรุ่งนี้

ขอบคุณอีกครั้งที่มาเยี่ยมนะคะ

อ้อ

แวะมาเยี่ยมและฝากคำชมไปถึงคุณหมอที่ทุ่มเทแรงกายและแรงใจกับการทำงานยิ่งกว่าหน้าที่ทุกท่านด้วยนะคะ จริง ๆ แล้วที่เขียนบันทึกไปก็เก็บคำพูดเรื่องเล่าของคุณหมอในวงลปรรมาเรียบเรียงใหม่เท่านั้น อัจฉริยะกันทุกท่านเลยค่ะ มีความสุขมากเลยค่ะที่ได้มีโอกาสฟังเรื่องเล่าดี ๆ จากคุณหมอ ขอเป็นกำลังใจในการทำงานให้กับคุณหมอด้วยคนนะคะ

สวัสดีค่ะ....อาจารย์ศิลา

     ขอเรียกอาจารย์พี่ ได้ไหมคะ ? ก็เป็นอาจารย์ของทีมทันตแพทย์พี่เลี้ยงไงคะ

     ตั้งแต่เข้าวง ลปรร. ที่ทีมทันตแพทย์พี่เลี้ยงภาคอิสานจัดมา  รู้สึกได้เลยค่ะว่า....ชีวิตมีความสุขขึ้น  มีที่ปรึกษา  มีเพื่อนที่เข้าใจกันมากขึ้น    ทั้งแนวการทำงานและการใช้ชีวิตให้สมดุล   สร้างแรงบันดาลใจได้  ทั้งจากภายนอกและภายในใจเราเอง  

     ยิ่งพอมาเจอ (ความคิด) ของอาจารย์พี่ที่ดี ๆ มากมาย  โดยเฉพาะการถอดบทเรียนชั้นครู  แก่น "การทำหน้าที่ยิ่งกว่าหน้าที่"  ยิ่งมีกำลังใจล้นเหลือ  ไม่นับสัมผัสด้วยใจได้ว่าออกจากความรู้สึกดี ๆ  ของอาจารย์พี่จริง ๆ  "ทำหน้าที่ครูยิ่งกว่าครู"  ต้องขอเรียกใหม่ว่า...คุณครูพี่...มังคะ   คงรักการเป็นผู้ให้มาก ๆ เลย 

          เช่นกันค่ะ....รักการเป็นหมอชนบท

                    อ้อ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท