ไปฟังเขา"สร้างโจทย์วิจัย PAR"


กระบวนการสร้างโจทย์วิจัยชุมชนของเจ้าหน้าที่....

   ได้มีโอกาส ไปฟังเจ้าหน้าที่ที่เป็นนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรเล่ากระบวนการสร้างโจทย์วิจัย เพื่อใช้ PAR เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2549  ในการพัฒนาเกษตรกรที่เป็นกลุ่มนักวิจัยชาวบ้านที่ "คุณสนอง"  สำนักงานเกษตรอำเภอลานกระบือ  จังหวัดกำแพงเพชร เล่าให้ฟังในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่อง กระบวนการสร้างโจทย์วิจัยชุมชน โดยการตั้งกระทู้ว่า "ท่านช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่า...มีกระบวนการในการสร้างโจทย์วิจัยชุมชนนั้นท่านทำอย่างไร"  ซึ่งคำตอบที่เกิดขึ้นสรุปได้คือ

   กระบวนการดำเนินงานกับเกษตรกร

     ขั้นที่ 1 ค้นหาปัญหาของชุมชน

     ขั้นที่ 2  จัดลำดับความสำคัญของปัญหา

     ขั้นที่ 3  ผลกระทบของปัญหาที่เกิดขึ้นมีอะไรบ้าง

     ขั้นที่ 4  ตั้งกระทู้กับชาวบ้าน "มีใครพบปัญหาเช่นนี้แล้วบ้าง?"  แล้วมีวิธีการแก้ไขอย่างไร?  เพื่อหาคำตอบที่ทำมาแล้ว 

     ขั้นที่ 5  เชื่อมโยงความเป็นมาของปัญหาและจัดลำดับความสำคัญ

     ขั้นที่ 6  ตั้งกระทู้เพื่อตัดสินใจสรุปปัญหาและข้อสงสัยที่เกิดขึ้น 

   กระบวนการดำเนินงานของเจ้าหน้าที่

     ขั้นที่ 1  ตรวจสอบความเชื่อมโยงของปะเด็นปัญหากับงานที่ทำ

     ขั้นที่ 2  ประเมินโจทย์วิจัยกับเป้าหมายงาน  เช่น  Food Safety คือ ความปลอดภัยและมาตรฐานสินค้า และความยั่งยืนของสภาพแวดล้อม

     ขั้นที่ 3  ประเมินความสัมพันธ์ของโจทย์วิจัยกับความเป็นมาและปัญหาที่เกิดขึ้นของชุมชน

     ขั้นที่ 4  สรุปเป็นโจทย์วิจัยที่จะดำเนินการและประเด็นย่อย ๆ ที่ต้องการหาคำตอบเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน

   สิ่งเหล่านี้ เป็น "รูปแบบ" หนึ่งของแนวทางและวิธีการจัดกระบวนการปฏิบัติเพื่อสร้างโจทย์วิจัยกับชุมชนในบทบาทของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมที่ปรับตนเองเป็น "นักวิจัย" ในการทำงานกับชาวบ้าน ซึ่งเป็นข้อมูลที่ใช้เทคนิค "การถาม-ตอบ" เพื่อการเรียนรู้เป็นกลุ่ม.                                       26 พฤษภาคม 2549 

หมายเลขบันทึก: 30968เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2006 10:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท