Workshop วิทยุชุมชน


การแนะนำเทคนิคกระบวนการในการดึงความรู้ฝังลึก ค้นหาสิ่งๆ ดี ความสำเร็จต่างๆ ของเครือข่ายวิทยุชุมชน เพื่อสามารถถ่ายทอดไปสู่เพื่อนๆ คนอื่น

      

     จ๊ะจ๋าได้รับโอกาสอันดีอีกครั้งในการเข้าร่วมทีมวิทยากร  ในการแนะนำเทคนิคกระบวนการในการดึงความรู้ฝังลึก ค้นหาสิ่งๆ ดี ความสำเร็จต่างๆ ของเครือข่ายวิทยุชุมชน เพื่อสามารถถ่ายทอดไปสู่เพื่อนๆ คนอื่นที่ไม่ได้ร่วมงานครั้งนี้ ซึ่งงานนี้มีผู้เข้าร่วมมาจากวิทยุชุมชนภาคต่างๆ 6 ภาคประมาณ 50 คน ซึ่งได้แก่

  • เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคเหนือ
  • สมาพันธ์วิทยุชุมชนคนอีสาน
  • สมาพันธ์วิทยุชุมชนภาคตะวันออก
  • เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคกลาง
  • เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคตะวันตก
  • เครือข่ายวิทยุชุมชนใต้

แต่ละเครือข่ายมีจุดปฏิบัติการเรียนรู้ รวมกันกว่า 200 สถานี ออกอากาศมาเป็นเวลา 4 ปี มีกิจกรรมประสบการณ์ในการทำงานมากมาย มีการพบปะกันเป็นระยะ แต่ยังไม่มีการสนับสนุนการทำงานเป็นแบบ เพื่อนช่วยเพื่อน  ซึ่งกลุ่มคนที่เข้าร่วมงานครั้งนี้  แต่ละภาคจะต้องส่งกลุ่มคนเหล่านี้มาร่วมงาน คือ นักจัดรายการ ช่างเทคนิค ผู้บริหารจัดการสถานี และแกนนำเครือข่ายภาค  ซึ่งในงานนี้เราให้ชื่อว่า “โครงการพัฒนาศักยภาพเครือข่ายวิทยุชุมชน” กำหนดจัดขึ้นในวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2549 ณ โรงแรมโกลเด้นซิตี้ อ. เมือง จ. ราชบุรี
       ในวันแรก จ๊ะจ๋าและทีมงานได้มาถึงที่โรงแรมในเวลา 18.00 น เราก็ได้รับประทานอาหารเย็นหลังจากนั้น มีกิจกรรมสัมพันธ์ ซึ่งกลุ่มที่มาถึงในวันนี้ได้ร่วมกิจกรรมสัมพันธ์กับเราคือ เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคเหนือ    เครือข่ายวิทยุชุมชนใต้  สมาพันธ์วิทยุชุมชนภาคตะวันออก  เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคกลาง  เครือข่ายวิทยุชุมชนภาคตะวันตก   น่าชื่นชมที่ 2 กลุ่มแรกให้ความสำคัญมั๊กมาก ที่มากันครบถ้วนและพร้อมเพรียงจริงๆ....ขอปรบมือในการตรงต่อเวลาและส่งกลุ่มเข้าร่วมงานครบถ้วน...เราได้เริ่มเกมส์แรกคื่อ การแนะนำชื่อ...เป็นการรู้จักกันโดยการจับคู่พูดคุยและสลับหมุนเวียนกันไปในเวลาที่จำกัด...เพื่อทำความรู้จักกันในกลุ่มวิทยุชุมชน...เรียกความสนใจได้ไม่น้อย  เกมส์ฉีกช้าง ..โดยการให้กระดาษหนังสือพิมพ์ 1 คู่ และให้คนแรกของแต่ละภาคเริ่มฉีกกระดาษหนังสือพิมพ์ให้เป็นรูปช้างโดยไม่บอกเพื่อนคนถัดไปว่าตนฉีกช้างส่วนไหน ห้ามพูดกัน จนคนสุดท้ายฉีกเสร็จพร้อมทั้งนำเสนอว่าช้างของตน โดยกรรมการจะกำหนดเวลาในแต่ละคน...ซึ่งเกมส์นี้เรียกเสียงฮาได้อย่างมาก..เพราะแต่ละคนมีความสามารถพิเศษในการนำเสนอเศษกระดาษที่ตนฉีกว่าเป็นช้างได้อย่างหน้าตายมั๊กมาก....... บ้างก็ดูเป็นรูปช้างดี แต่บางกลุ่มช้างมี 3 ขา หรือไม่ ช้างเป็นโรคเท้าช้าง ช้างขาใหญ่เป็นพิเศษ....ขาไม่เท่ากัน.... ทุกคนก็สนุกสนานกันมากกับเกมส์นี้....เกมส์สุดท้ายของคืนนี้คือ เกมส์ตาซ้าย.....หลายคนสงสัยว่าเป็นอย่างไร ..ไม่ยากคะ ขอบอกว่าไปเล่นที่ไหนได้เสียงฮาที่นั่นจริงๆ....นั่นคือวิทยากรจะเป็นคนออกคำสั่งและถ้าคนไหนมีส่วนที่กรรมการบอกให้ลุกขึ้นและนั่งลงทันที...เช่น ใครใส่กางเกงยีนส์ลุกขึ้น....ใครใส่นาฬิกา....ใครใส่เสื้อเชิ้ต....ใครใส่เสื้อสีเหลือง....ใครใส่แหวน...วิทยากรพูดจนเพลิน...จนในที่สุด...ใครมีตาซ้ายข้างเดียวลุกขึ้น..........นั่นแหละที่บางคนไม่ลุก.....ฮากันทั้งกลุ่ม...ไม่ขอสงวนลิขสิทธิ์คะ นำไปใช้ได้...อิอิอิ

          เช้าของวันที่ 2 จ๊ะจ๋าก็มีโอกาสได้พูดคุยในทานข้าวเช้ากับพี่อาภรณ์ แสงโชติ พี่เค้ามีเรื่องที่น่าสนใจมั๊กมากกับการต่อสู้ในการเป็นวิทยุชุมชน  ปัจจุบันพี่อาภรณ์เป็นนักจัดรายการวิทยุชุมชน อ. ปาย จ. แม่ฮ่องสอน  จ๊ะจ๋าก็ซักถามพี่อาภรณ์ด้วยคำถามแรกว่า ผังรายการวิทยุชุมชนที่พี่อาภรณ์จัดรายการตั้งแต่เช้าถึงเย็นเป็นอย่างไร?  ซึ่งพี่น่ารักมากที่เล่าให้ฟังว่าผังรายการตั้งแต่ช่วงเช้าถึงเย็นมีรายการอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อชุมชน นั่นคือ มีรายการธรรมะ  เรื่องรอบรู้  การดูแลตัวเอง (โดยพยาบาล) สิทธิ์ที่คุณควรรู้  เพลงพื้นบ้าน (ปากอยอ ไทยใหญ่) การให้ความรู้ในเรื่องการรักษาของ คนตาบอด คนพิการ ผู้ติดเชื้อเอดส์  สมาชิกของวิทยุชุมชนของพี่เค้ามีหลายกลุ่มได้แก่ ผู้ติดเชื้อ AIDS ผู้หญิงภาคเหนือ เยาวชน ผู้สูงอายุ  ทรัพยากร  ทอผ้าและทำย่าม อาหาร ดอกไม้/บายศรี ตัดเย็บเสื้อผ้า...ขณะนี้มีสมาชิก 300 คน.....ด้วยความเป็นคนขี้สงสัย.....จ๊ะจ๋าก็ยังถามพี่เค้าอีกว่า  มีแรงจูงใจอะไรที่ทำให้มีการเข้าเป็นสมาชิก ...การหาตลาด..สร้างอาชีพให้.. และการไม่ทอดทิ้ง โดยมีการจัดประชุมสมาชิกทุกเดือน สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน  พี่อาภรณ์ได้เปิดบ้านตัวเองเป็นที่ทำงาน ซึ่งงบในการประชุมแต่ละครั้งจะมาจากการสมัครใจ และจัดขันโตกปีละครั้ง ได้เงิน 50000 บาท มาใช้เป็นค่าน้ำมัน เพราะบางครั้งจะเปลี่ยนสถานที่ในการจัดประชุม หมุนเวียนไปพบกลุ่มต่างๆ ซึ่งบางครั้งมีพื้นที่ไกลมากแต่ก็อาศัยการไม่ทอดทิ้ง....ซึ่งบางครั้งพี่อาภรณ์ เจออุปสรรคที่ต้องฟันฝ่า ทำให้ท้อแต่เพราะได้รับกำลังใจจากชาวบ้าน ทำให้เป็นแรงใจในการทำงานวิทยุชุมชน ....คุยกับพี่ซะเพลินมากไปหน่อยก็ถึงเวลาของการทำงาน....ผู้ช่วยวิทยากรทีม สคส.   
       เมื่อได้เวลาของการดำเนินงานตามกำหนดการคือ กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ เพื่อให้ชาววิทยุชุมชนที่เข้าร่วมเวทีนี้ได้รู้จัก   มีเป้าหมายร่วมกัน และสร้างความสัมพันธ์ให้เป็นเครือข่าย ทีมสคส. ก็ได้เล่นเกมส์ก่อนเริ่มกระบวนการคือ กระรอกย้ายรัง.... การรวมกลุ่มเพื่อวาดฝันสื่อออกมาเป็นภาพ และนำเสนอ ซึ่งแต่ละกลุ่มนำเสนอคล้ายคลึงกันว่า ต้องการให้คนในชุมชนมีความเข้าใจกัน ไม่ว่าจะศาสนาไหน ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ และสามารถสืบสานวัฒนธรรม ประเพณีของคนในชุมชนได้....หลังจากนั้นก็แบ่งกลุ่มโดยใช้เรื่องเล่าเร้าพลัง เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จในการทำงาน 4 หัวปลาย่อยคือ นักจัดรายการวิทยุ ช่างเทคนิค ผู้บริหารสถานีวิทยุชุมชน และ แกนนำเครือข่าย ซึ่งจ๊ะจ๋าก็ทำหน้าที่ในการเป็นคุณอำนวยในกลุ่มนักจัดรายการ ซักถาม สร้างบรรยากาศให้ผู้เล่ามีพลังที่อยากจะเล่า ผู้ฟังก็ตั้งใจฟัง ซึ่งกลุ่มนักจัดรายการเป็นกลุ่มที่ง่ายมากเพราะว่าแต่ละคนอยากจะเล่าเรื่องที่ตนได้ทำ ซึ่งเค้าเป็นกลุ่มผู้ปฏิบัติหรือคุณกิจนั่นเอง  หลังจากทุกกลุ่มได้นำเสนอเรื่องเล่า เราก็ได้ประเด็นจากเรื่องเล่า 6 ข้อ เมื่อทำการปรับเปลี่ยนและแก้ไข ได้ประเด็นร่วมกันดังนี้
1.      มีการประสานงาน เชื่อมโยงภาคี องค์กรเครือข่าย
2.      พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ
3.      สร้างกระบวนการ การมีส่วนร่วมของชุมชน
4.      รู้จริง ทำจริง ตั้งใจจริง เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารให้ชุมชน
5.      บริหารงานของสถานีอย่างเป็นระบบ ตรวจสอบได้
        ขอบอกว่า... กว่าจะได้ประเด็นร่วมกัน ผู้เข้าร่วมทุกท่านแสดงความคิดเห็นกันหลากหลายและมีการปรับเปลี่ยนกันหลายครั้งในแต่ละข้อ ทำให้ใช้เวลามากหน่อย แต่ก็เป็นการดีที่ได้ข้อสรุปประเด็นร่วมกัน ก็หมดเวลาของวันที่ 2 พอดี  ทีม สคส. ก็เลยให้ทุกคนในกลุ่มช่วยกันคิดเกณฑ์ในแต่ละประเด็นร่วมและนำเสนอในวันที่ 3  โดยมีเกณฑ์ที่ 1 ถึง 5 เกณฑ์ที่ 1 คือ พื้นฐาน และเกณฑ์ที่ 5 คือ ดีที่สุด ณ ขณะนั้น แต่เกณฑ์เหล่านี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ ตามความเหมาะสมและแต่ละบริบทของวิทยุชุมชนนั้นๆ 
          วันที่ 3 เราก็ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอเกณฑ์ต่างๆ ที่ทุกคนช่วยกันคิดให้กลุ่มอื่นได้รับรูตามป่ละประเด็น หลังจากนั้นให้แต่ละภาคนำเกณฑ์ที่เสนอมาประเมินในภาคของตัวเอง พบว่า เราได้ทั้งภาคที่ให้เรียนรู้และใฝ่รู้ ( Share and Leran )  และกิจกรรมสุดท้ายของวันที่ 3 คือ AAR (After Action Review) ทุกคนได้แสดงความคิดเห็นคล้ายกันดังนี้

   สิ่งที่ได้รับเกินความคาดหวัง ได้เห็นการรวมตัวของแต่ละภาค ได้เรียนรู้เทคนิคกระบวนการ ได้รับโอกาสแสดงความคิดเห็นได้เต็มที่ และได้เห็นจุดปัจจุบันที่ตนอยู่และจะไปเรียนรู้กับเพื่อนในเรื่องใด
  สิ่งที่รับน้อยเกินความคาดหวัง ไม่รักษาเวลากันเท่าที่ควร เวลาน้อยเกินไปในการระดมความคิด ได้รับรู้เรื่องเทคนิคน้อยเกินไป
   นำไปเรียนรู้ กลับไปทำอะไร จะนำกระบวนการและเทคนิคต่างๆ ที่ได้รับไปปรับปรุงสถานีวิทยุชุมชนของตน จะนำวิธีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประสานงานต่างๆ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และจะนำเรื่องราวทั้งหมดที่ได้ประชุมครั้งนี้ไปบอกต่อเพื่อนๆ

       แค่นี้ก็ชื่นใจแล้วคะ ที่ทุกคนบอกในที่ประชุมว่าจะนำกระบวนการที่ทางทีม สคส. ใช้ในเวทีนี้ไปปรับใช้ในหน่วยงานของตน แต่ที่น่าประทับใจสุดคือเห็นความตั้งใจในการช่วยกันระดมความคิดกันทำให้เราได้รับทราบและเห็นว่าทุกคนมีความคิดที่หลากหลายและได้บทสรุปร่วมกัน  และความประทับใจเล็กๆ คือได้คุยกับพี่อาภรณ์ ซึ่งมาทราบทีหลังว่ามีรีสอร์ทอยู่ที่อำเภอปาย คราวหน้าถ้าจ๊ะจ๋าไปปายก็จะจองรีสอร์ทพี่เป็นคนแรกแน่ๆ   อิอิอิ

หมายเลขบันทึก: 30887เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2006 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 เมษายน 2012 19:07 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยากได้วงจรเครื่องส่งอย่างง่าย ซัก1-2 w ครับ ทำโครงงานวิทยุหมู่บ้านนะครับ ตามโครงงานคือ4-5กิโลเมตรครับ  ขอแบบลายวงจรชัดๆ หน่อยนะครับ  รายละเอียดอุปกรณ์ต่างๆ .. ขอบคุณมากครับ ................มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชธานี อุดรธานี  .......ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท