การจัดการความเสี่ยง


ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือ เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลกระทบ หรือทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จ

สวัสดีครับ

วันนี้เป็นวันหนึ่งที่เป็นวันหยุด แต่ผมไม่หยุดทำงาน เพราะต้องจัดทำเอกสารประกอบการบรรยาย เรื่องการบริหารจัดการความเสี่ยงในงานด้านรังสีวิทยา ได้ค้นคว้าเอกสารบางส่วนเพิ่มเติมและรวบรวมตัวอย่างจากสิ่งที่ได้ลงมือทำ ได้ปฏิบัติกับทีมงานในภาควิชารังสีวิทยา เพื่อนำไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในงานประชุมวิชาการรังสีเทคนิค เดือนหน้า  

ความคาดหวังของสังคมโรงพยาบาลในฝัน

ได้รับการดูแลด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ เต็มด้วยความรู้ ความสามารถ

รับฟังและแก้ปัญหาด้วยความเต็มใจ

ให้ผู้รับบริการได้รับรู้ ได้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพ

ตรวจรักษาด้วยความพอดี ไม่มาก ไม่น้อยไป

ปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง ไม่สมควรตายก็อย่าตาย ไม่สมควรพิการก็อย่าพิการ

(อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล และคณะ, สถาบันรับรองคุณภาพโรงพยาบาลม, 2544)

 

แต่ความเสี่ยง ความผิดพลาด ความไม่สมบูรณ์ ก็ยังเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงได้มีการจัดการ การบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อให้เกิดความปลอดภัย

 

ความเสี่ยง (Risk) หมายถึง โอกาสที่จะเกิดความผิดพลาด ความเสียหาย การรั่วไหล ความสูญเปล่า หรือ เหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจเกิดขึ้นในอนาคต และมีผลกระทบ หรือทำให้การดำเนินงานไม่ประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์กรในด้านต่างๆ

 

 

 

การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)

หมายถึง กระบวนการที่ใช้ในการบริหารจัดการให้โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลง หรือผลกระทบของความเสียหายจากเหตุการณ์ความเสี่ยงลดลงอยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้ ซึ่งการจัดการความเสี่ยงมีหลายวิธี เช่น

- การยอมรับความเสี่ยง (Risk Acceptance) เป็นการยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น เนื่องจากไม่คุ้มค่าในการจัดการควบคุมหรือป้องกันความเสี่ยง

- การลด/การควบคุม/ป้องกันความเสี่ยง (Risk Reduction) เป็นการปรับปรุงระบบการทำงาน หรือการออกแบบวิธีการทำงานใหม่ เพื่อลดโอกาสที่จะเกิด หรือลดผลกระทบ หรือควบคุม ป้องกันให้อยู่ในระดับที่องค์กรยอมรับได้

- การกระจายความเสี่ยง หรือการโอนความเสี่ยง (Risk Sharing) เป็นการกระจายหรือ ถ่ายโอนความเสี่ยงให้ผู้อื่นช่วยแบ่งความรับผิดชอบไป

- การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง (Risk Avoidance) เป็นการจัดการกับความเสี่ยงที่อยู่ในระดับสูง และหน่วยงานไม่อาจยอมรับได้ จึงต้องตัดสินใจยกเลิกโครงการ/ กิจกรรมนั้นไป

จากเอกสาร คู่มือการบริหารความเสี่ยง สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย

 

ความเสี่ยงในงานด้านรังสีวิทยา ที่มักพบเห็น ได้แก่

1.ความเสี่ยงในการถ่ายภาพรังสีผิดคน/ผิดอวัยวะ

2.ความเสี่ยงที่ผู้ป่วย/บุคลากรที่ปฏิบัติงาน/ที่เกี่ยวข้องจะได้รับรังสี (โดยจำเป็นและไม่จำเป็น) หรือได้รับมากไป

3.ความเสี่ยงที่ผู้ป่วย/ผู้รับบริการ อาจจะเกิดมีอาการแพ้ยา แพ้สารทึบรังสี/การติดเชื้อ/การบาดเจ็บในช่วงเวลาก่อน/ระหว่าง/หลังการตรวจ

4.ความเสี่ยงจากความไม่พึงพอใจ/ความล่าช้า/ความบกพร่องผิดพลาดของผู้รับบริการจากการขบวนการให้บริการ

5.ความเสี่ยงที่เกิดจากมลพิษจากสิ่งแวดล้อม/ห้องตรวจ/สภาพเครื่องมือ/วิธีการการทำงานที่บกพร่อง

6.ความเสี่ยงของการวินิจฉัยโรคผิดพลาด

 

 

ดังนั้น การบริหารความเสี่ยงขององค์กรจำเป็นจะต้องทำควบคู่กับการกำกับดูแลและตรวจสอบอย่างมีประสิทธิภาพ

  

ความรู้ความเข้าใจและเครื่องมือที่ใช้ในการบริหารความเสี่ยงอย่างมีประสิทธิภาพ จึงต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สอดคล้องกัสถานการณ์ต่างๆที่อาจเกิดขึ้น แต่ละหน่วยงานอาจมีการบริหารงานที่แตกต่างกันได้

 

หมายเลขบันทึก: 306609เขียนเมื่อ 17 ตุลาคม 2009 21:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

ขอ อนุญาต แสดง ความเห็นครับ

ผมว่า ลอง เข้าไปพูดคุยกับคนไข้บ่อยๆ หรือ ตรวจดู ประวัติคนไข้ อาจจะได้ไอเดียใหม่ๆ เรื่องความเสี่ยง ครับ

เพราะเมื่อก่อน เรื่องยา ผมก็มองแค่ จัดยา ผิด จ่ายยาผิด ซึ่ง ไม่ได้ ประโยชน์ แก่คนไข้เท่าไร เลยครับ

เรียน คุณศุภรักษ์

การพูดคุยกับผู้รับบริการทำให้ได้รับข้อมูลอีกรูปแบบหนึ่ง ช่วยให้มองเห็น ได้มองต่างมุม ขอบคุณครับ

เรื่องการจ่ายยาผิด ผมเองก็เคยเจอกับตัวเอง คือ ได้รับยาที่มี dose สูงกว่าที่ควรจะต้องกิน ดีที่เรามีความรู้เรื่องยาและเคยกินยานี้มาก่อน รวมถึงได้มีการตรวจสอบและกล้าสอบถามจากเภสัชกร แต่หากความผิดพลาดนี้เกิดกับผู้ป่วยที่ไม่รู้เรื่องยาเลย ตาสี ตาสา ย่อมเกิดผลเสีย มีความเสี่ยง จะส่งผลต่อผู้ป่วยในระยะสั้นและยาวได้ ครับ

สวัสดีค่ะ

- เรื่องความเสี่ยงพูดได้แทบทุกวันเลยค่ะ

- จริงอย่างว่า บางอย่างคนไข้ยังไม่เห็นผลกระทบอะไร

- แต่เราเฝ้าระวังป้องกันไม่ให้เกิดกับเขาค่ะ

- การมีส่วนร่วมกับทุกฝ่าย อย่างน้อยกับคนไข้ ญาติ เราไม่ค่อยเข้าหาในเชิงรุกสักทีค่ะ

สวัสดีค่ะ แวะมาด้วยความคิดถึงค่ะ

พร้อมรับความรู้เพิ่มเติมค่ะ

สวัสดีครับท่านอาจารย์

เข้ามาเรียนรู้ครับ

ขอบคุณสำหรับบทความดีๆ ครับ

ถึง อ.ต้อม

การแพ้อาหารทะเล โยงใยกับการแพ้สารทึบแสงหรือไม่ครับ

สวัสดีครับอาจารย์

ไปอบรมเอ็กเรย์ มาหนึ่งเดือนมาทำงานเป็นคนแรกของเอกซ์เรย์ อยู่ เจ็ดปี ถึงได้มีรังสีเทคนิคมาประจำ

มัความเสี่ยง เครื่องป้องกันรังสีก็ไม่รู้จัก

แต่ก็ปลอดภัมมาได้ครับ

เรียน คุณเพชรน้อย คุณKRUPOM คุณณัฐวรรณ์

ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยม มาเรียนรู้ ครับ

เรียน คุณศุภรักษ์

เกี่ยวข้องกันครับ สารทึบรังสีทางรังสีวิทยามีส่วนประกอบของไอโอดีน สำหรับคนที่แพ้อาหารทะเล ควรหลีกเลี่ยงไปใช้การตรวจชนิดอื่นๆที่ไม่ต้องใช้สารทึบรังสี เช่น ตรวจด้วยอัลตร้าซาวน์ หรือ เอ็มอาร์ไอ ครับ

เรียน คุณวอญ่า

ยินดีด้วยครับ ที่ปลอดภัยจากรังสี

การถ่ายภาพรังสีทั่วไป มักจะปลอดภัยอยู่แล้ว เนื่องจากเครื่องเอกซเรย์ค่อนข้างมีมาตรฐานอยู่แล้ว

แต่สำหรับเครื่องเอกซเรย์ชนิดฟลูออโรสโคปี ค่อนข้างอันตรายสำหรับผู้ปฏิบัติงานและอยู่บริเวณใกล้เคียง ครับ

สวัสดีคะ อาจารย์

ขอแลกเปลี่ยน ด้วยคะ การบริหารความเสี่ยงของงานรังสีวิทยา

การวิเคราะห์ความเสี่ยง(การค้นหา)

1 จากกระบวนการหลัก 2 เครื่องมืออุปกรณ์ 3 โครงสร้างสิ่งแวดล้อม 4 ผู้ให้บริการ

กระบวนการหลัก

1 การสอบถามชื่อสกุล ก่อนให้บริการ เพื่อลดการถ่ายภาพผิดคน

2 ประเมินผู้ป่วยตรวจตามความเร่งด่วน

3 ใบ requst ข้อบ่งชี้ในการส่งตรวจ เพื่อลดการถ่ายซ้ำ

4 ตรวจสอบโลหะ ทุกครั้งก่อนให้บริการ ลดการถ่ายใหม่จาก FB

5 จัดท่าให้ถูกต้องที่สุด เพื่อให้ได้ภาพที่ดีที่สุด

6 ให้ปริมาณรังสีตาม Exposure chart ของแต่ละเครื่อง เพื่อลดการถ่ายซ้ำ

7 ปริ้นชื่อผู้ป่วยลงบนฟิล์ม ต้องตรวจสอบให้ถูกต้อง ลดการถ่ายใหม่

8 ฯลฯ

เครื่องมือุปกรณ์

1 ตรวจสอบความพร้อมใช้งานทุกวัน เช่น รางเลื่อน เพื่อป้องกันการหล่นของอุปกรณ์ที่แขวนด้านบน

2 warm up ทุกวันฟังเสียงผิดปกติ เพื่อป้องกันการบริการที่หยุดฉงัก

3 ทำความสะอาดเตียงตรวจทุกวันก่อนให้บริการและหรือทุกครั้งที่เปื้อน เพื่อป้องกันการติดเชื้อเพิ่ม

4 คาสเซท สกรีน ต้องสะอาดพร้อมใช้ รวมถึง set ตรวจต่างๆ ผ่านการฆ่าเชื้อถูกต้องตามหลัก IC

ฯลฯ

โครงสร้างสิ่งแวดล้อม

1 ห้องตรวจปลอดภัย ขณะให้บริการปิดประตู ไฟสีแดง ป้ายเตือนหญิงมีครรภ์

2 รังสีรั่วจากหลอดตามมาตรฐาน

3 ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องเปลี่ยนเสื้อผ้า มิดชิดปลอดภัย

4 ผู้ป่วยรถนั่ง รถนอนปลอดภัยขณะรอตรวจ

5 ฯลฯ

ผู้ให้บริการ

1 มีความพร้อม ไม่เครียด ไม่อารมณ์เสีย

2 มีความเชียวชาญในอาชีพ(คำของ กพ.)

3 มีทักษะ และปรับเปลียนได้ทุกสถานะการณ์

4 ฯลฯ

วิเคราะห์ แล้วนำมาวางแผนป้องกันมิให้เกิดขึ้น

การป้องกันก่อนเกิดเหตุ ล้อมคอกก่อนวัวหาย

การแก้ไขหลังเกิดเหตุ แล้ววางระบบ วัวหายแล้วล้อมคอก

ขอบคุณคะ ที่ให้แลกเปลี่ยน

เรียน คุณ Kanitta

ขอบคุณมากครับ

สำหรับข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต่อชาวรังสี เพื่อไป ต่อยอด พัฒนา ป้องกัน หรือ ลดความเสี่ยงดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นในหน่วยงาน

เพื่อการเป็นคนคุณภาพ ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท