งานวิจัยที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ในการจัดการเรียนการสอน


บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)

ชื่อเรื่องวิจัย   การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน(CAI)วิชาสุขศึกษา เรื่อง สิ่งเสพติด

                  ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 

ชื่อผู้วิจัย       นิคม ปุยะติ , เนอรี่  อันวิชา, เนาวรัตน์  เอมสุรัตน์, ยุทธการ  เหล่ามะลอ

                   อำนวย  สว่างใหญ่

                   การศึกษามหาบัณฑิต  สาขาหลักสูตรและการสอน (ระบบเอกภาค)

วัตถุประสงค์

          1. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาสุขศึกษา เรื่องสิ่งเสพติด

ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5

          2. เพื่อทดลองใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนโดยเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  วิชา

สุขศึกษาเรื่องสิ่งเสพติด ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ของนักเรียนกลุ่มทดลอง  ที่เรียนโดยบทเรียน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอนและกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยวิธีปกติ

          3. เพื่อประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาสุขศึกษา เรื่องสิ่งเสพติด ระดับชั้นมัธยม

ศึกษาปีที่ 5

วิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า

          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเอราวัณ

วิทยาคม กิ่งอำเภอเอราวัณ  จังหวัดเลย จำนวน 60 คน โดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม

คือ กลุ่มทดลองโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมโดยใช้การ

สอนด้วยวิธีสอนปกติ จำนวน 30 ค ใช้เวลาในการสอน 5 คาบเรียน คาบละ 50 นาที

          เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า  ได้แก่ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาสุขศึกษา

เรื่องสิ่งเสพติด  จำนวน 5 หัวข้อ  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสุขศึกษา เรื่องสิ่ง

เสพติด มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก และแบบประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

มาตราสาวนประมาณค่า 5 ระดับสำหรับครูผู้สอนและนักเรียน

          การวิเคราะห์ข้อมูล  การสร้างและหาประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน

วิเคราะห์ด้วยการหาค่าความเหมาะสม โดยประยุกต์มาจากค่าดัชนีความสอดคล้อง การหา

ประสิทธิภาพของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิเคราะห์โดยหาค่าร้อยละและเปรียบเทียบผล

สัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มควบคุมกับกลุ่มทดลองโดยใช้ค่า t -test การประเมินบทเรียนบท

เรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิเคราะห์โดยหาค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

 ผลการศึกษาค้นคว้าพบว่า

          1.  บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.42/89.630 ตาม

เกณฑ์มาตรฐาน 80/80

          2.  นักเรียนกลุ่มที่เรียนโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูง

กว่ากลุ่มที่เรียนโดยใช้วิธีสอนปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

          3.  ผลการประเมินบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน พบว่าครูผู้สอนวิชาสุขศึกษาและนักเรียน

มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 30279เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2006 06:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 17:50 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เป็นงานวิจัยที่ดีมาก เหมาะสำหรับนักเรียน ดิฉันอยากได้นำไปศึกษาเพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาสื่อการสอนและทำผลงานทางวิชา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท