ศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพ


สอนสนุก บุกไม่เบื่อ ทำเพื่อเด็ก คือ เอกบรมครู

ศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพ

โดย พรชัย  ภาพันธ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนไทยรัฐวิทยา 63(ชุมชนบ้านคำแดง)
อำเภอเมือง จังหวัดยโสธร

บทความี้ได้รับการตีพิมพ์ วารสารวิชาการ ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 

(กรกฎาคม - กันยายน 2551)

  

         การปฏิรูปการศึกษาปรับเปลี่ยนโฉมหน้าใหม่ ไปสู่การอบรมให้ผู้เรียนเกิดความรู้คู่คุณธรรมและจัดการศึกษาให้มีคุณภาพสูงเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นคนดี เป็นคนเก่งและมีความสุขในชีวิต  มีความสามารถทางสติปัญญา IQ.(Intelligence  Quotient)มีความฉลาดทางอารมณ์EQ.(Emotinal Quotient) และมีคุณธรรมจริยธรรม MQ.(Moral Quotient ) เป็นคนมองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง  คุณภาพผู้เรียน  คือ  คุณภาพของครู  แม้จะมีเทคโนโลยี  หรือนวัตกรรมใหม่ๆ  เข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนรู้มากขึ้นเพียงใด  ครูยิ่งมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น นับวันคุณค่าของความเป็นครูยิ่งมีอิทธิพลต่อการพัฒนาผู้เรียนมากยิ่งขึ้น จิตวิญญาณแห่งความเป็นครูที่มีความรัก ความเมตตาต่อศิษย์อย่างเปี่ยมล้น  และด้วยศรัทธาอย่างมั่นคงต่อวิชาชีพครู จึงทำให้สังคมไทยผ่านพ้นวิกฤต ครูสามารถสร้างคนให้เป็นพหูสูต( ผู้คงแก่เรียน)  โดยการฝึกให้ฟังมาก จำได้คล่องปาก เจนใจ ประยุกต์ใช้ได้ ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความหมายและสนุกในการเรียนรู้  ซึ่งเกิดจากศิลปะการถ่ายทอด  ซึ่งเป็นทักษะชั้นสูงของครูมืออาชีพ

 

หลายคนพูดได้แต่น้อยคนที่จะพูดเป็น

        การพูดเป็น คือ การพูดที่มีประโยชน์แก่ผู้พูดและผู้ฟัง การพูดเป็นจึงเป็นการถ่ายทอดความคิด ความรู้จากตัวผู้พูดไปยังผู้ฟัง เพื่อให้ผู้ฟังมีความรู้ความเข้าใจ เกิดความสามารถในอันที่จะปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและมีทัศนคติในการทำงานร่วมกับผู้อื่น สิ่งที่ผู้พูดควรปฏิบัติคือ พูดจากใจ จริงใจ มั่นใจ สุดใจ แต่อย่าย่ามใจ คนที่พูดเป็นจึงมีลักษณะคนฉลาดเอาปากไว้ที่ใจ คนโง่เอาใจไว้ที่ปาก การใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม คือยาขนานเอกที่มีประสิทธิภาพสูงสุดซึ่งมนุษย์ใช้อยู่ เพราะผู้ฟังเหมือนผู้เก็บแต่ผู้พูดเหมือนผู้หว่าน ความสำคัญของการถ่ายทอดของครู มีความสำคัญคือใช้สอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ ครูผู้มีความสามารถในการถ่ายทอดนั้นจะต้องฝึก อาศัยพรแสวงมากกว่าพรสวรรค์

เทคนิคในการถ่ายทอดของครู

                         ครูผู้ถ่ายทอดจะต้องเสริมสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ โดยช่วยให้ผู้เรียนเกิดความสนใจตั้งแต่เริ่มแรก เพื่อลดช่องว่างระหว่างครูและผู้เรียน เป็นการสร้างการมีส่วนร่วมโดยง่าย ซึ่งจะทำให้เรื่องยากกลายเป็นเรื่องง่าย ผ่อนคลายความตึงเครียด ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจและติดตามอย่างประทับใจ ครูมืออาชีพจึงควรมีเทคนิคในการถ่ายทอด ซึ่งสมชาติ  กิจยรรยง (2546:154-166)ได้เสนอแนะเทคนิคการถ่ายทอดไว้ ดังนี้

         1. เทคนิคในการสอนบรรยาย  ผู้สอนที่จะบรรยายควรใช้เทคนิค7 ประการ คือการแสดงท่าทางกระตือรือร้น(Enthusiasm) การสร้างความสนในให้เกิดขึ้นก่อนจะเริ่มถ่ายทอดโดยบอกวัตถุประสงค์ให้ผู้เรียนรู้ก่อน(Interes) จัดให้มีกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างบรรยาย(Actiuities) การสร้างความสัมพันธ์กับผู้เรียนทุกคน(Contact) สรุปประเด็นสำคัญเมื่อบรรยายจบแต่ละหัวข้อ (Sumeries) การแสดงท่าทางในการบรรยาย (Posture) และการบรรยายที่ใช้ระดับเสียงน่าฟังมีเสียงสูงเสียงต่ำบ้างตามจังหวะที่ควรเน้น(Voice control) หน้าที่ของครูสอนบรรยายจึงควรดึงดูดความสนใจของผู้เรียน แจ้งวัตถุประสงค์การเรียนรู้ แจ้งวิธีการวัดผลให้ผู้เรียนทราบขณะบรรยายควรใช้คำถามสังเกตปฏิกิริยาของผู้เรียนตลอดเวลา รับฟังความคิดเห็นของผู้เรียน การบรรยายจะสำเร็จจะต้องย้ำและทำให้ผู้เรียนฝังใจจำแม่นไปนานๆ

          2. เทคนิคในการทำให้ผู้เรียนเข้าใจและจำง่าย  วิธีที่จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจและจำได้ง่ายมี 9 วิธี คือ การใช้ภาพประกอบ การเล่านิทานผูกเป็นเรื่อง ใช้คำย่อเชื่อมสองสิ่งให้เข้าด้วยกัน ใช้กาพย์ โคลงกลอน ใช้ตารางกราฟ ยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัว สอนเป็นเรื่องลำดับขั้นตอนและกล่าวถึงสังคมและวัฒนธรรมของกลุ่มที่ยกสัญลักษณ์เพื่อส่วนรวมให้เกิดความเข้าใจ

         3. เทคนิคการสร้างอารมณ์ขัน  การถ่ายทอดที่ทำให้สนุกสนาน คือชื่นบานทั้งผู้พูดและสำราญอุราทั้งคนฟัง การสร้างอารมณ์ขันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ซึ่งครูควรนำวิธีการสร้างอารมณ์ขัน ให้กับผู้เรียน 2 ประการ ดังนี้

            3.1 การสร้างอารมณ์ขันโดยการพูด โดยใช้ภาษาเพื่อให้คิดคือภาษาที่กำกวมและภาษาต้องตีความ ดังตัวอย่างภาษากำกวม โดยให้ผู้เรียนทายว่าผู้พูดประกอบอาชีพอะไร “อ้ากว้างๆหน่อยคะจะได้สะดวก” (ทันตแพทย์) ส่วนภาษาที่ต้องตีความอาจจะพูดหักมุมเช่น เป็ดตัวผู้หมด อาจตีความได้ 2 อย่างคือทั้งหมดเป็นเป็ดตัวผู้หรือเหลือแค่เป็ดตัวเมีย การพูดเพื่อให้จดจำ อาจจะเป็นคำคล้องจอง  กินข้าวจานแมว อาบน้ำในคู เป็นอยู่อย่างทาส มุ่งมาดความวาง  ทำอย่างตายแล้ว มีแห้วนมือ คือดวงจิตว่าง การพูดเพื่อให้เปรียบเทียบเช่น ไม้คาดกลัวเจ๊ก เหล็กกลัวฝรั่ง สตางค์กลัวไทย เสนียดจัญไรกลัวพระและมานะกลัวมอญ บางครั้งอาจจะใช้ภาษาต่างถิ่นที่ใกล้เคียงกับภาษาไทย ได้แก่ ภาษาลาว ดังคำว่า ห้องปาด (ห้องผ่าตัด) นางบำเรอกำปั่น (แอร์โฮสเตส)

           3.2 การสร้างอารมณ์ขันด้วยภาษาท่าทาง ส่วนใหญ่จะแสดงออกทางมือ ใบหน้าและบุคลิกส่วนตัว การแสดงออกทางมือและการใช้มือประกอบการพูด ควรใช้มือที่สูงกว่าระดับเอว เช่น การใช้มือชูขึ้นเพื่อปลุกเร้าให้ต่อสู้ การหงายฝ่ามือ เพื่อให้รู้ว่าต้องถอย สู้ไม่ได้หรือยอมแพ้

        เทคนิคการสร้างอารมณ์ขัน มี 5 วิธี คือ

             (1) มองโลกแง่ดี

             (2) มีความแหลมคม จดจำและบันทึกคำพูดหรือประโยคที่ใช้ความแหลมคมทั้งหลาย

             (3) สะสมจดจำประโยคคำพูดที่ดีและสร้างสรรค์ไว้

             (4) นำมาดัดแปลง นำ มาดัดแปลงตกแต่งเล็กน้อย เอาไว้ใช้ในการสนทนาปราศรัยกับบุคคลต่าง ๆ

             (5) แสดงถูกกาลเทศะ คือพูดให้เหมาะสมกับเวลา บุคคล โอกาสและสถานที่

             ข้อควรระวังในการสร้างอารมณ์ขัน คือ อย่าลอกเลียนแบบ อย่าเน้นอารมณ์ขันมากกว่าเนื้อหาสาระ จงหลีกเลี่ยงเรื่องหยาบหรือตลกอนาจาร ที่สำคัญอย่ากระทบผู้เรียน อย่าแตะปมด้อยผู้เรียน

        4. เทคนิคการตั้งคำถาม  การถามครูอาจจะถามโดยระบุชื่อผู้ตอบ หรือถามขึ้นลอย ๆ เพื่อเน้นหรือสรุปเรื่องสำคัญ  เพื่อหยั่งดูว่าผู้เรียนเข้าใจหรือไม่ เทคนิคการถามนักเรียนรายบุคคล  ครูจะต้องตั้งคำถามโดยทอดเวลาให้ผู้ตอบคิดหาคำตอบ แล้วพิจารณาท่าทีของผู้เรียนจึงชี้ให้ตอบคำถามเพื่อป้องกันไม่ให้เด็กอับอายหรือเสียกำลังใจ การตั้งคำถามให้ทุกคนหาคำตอบควรใช้คำถามว่า ทำไม  อย่างใด เพราะเหตุใด(จงอธิบาย จงอภิปราย) หลีกเลี่ยงการถามอะไร ใคร ที่ไหน เมื่อไร เมื่อเด็กตอบผิดครูจะต้องอธิบายและชี้แจงให้เห็นคำตอบที่ถูกต้องให้ได้  ครูต้องถามให้ผู้เรียนนำประสบการณ์เดิมของตนเองออกมาใช้ให้ได้  เทคนิคการตั้งคำถามที่ครูต้องตระหนัก ควรมีลักษณะดังนี้ ครูตั้งคำถามนักเรียนตอบ  ครูรอคำตอบ นักเรียนตอบ ครูรับรองคำตอบ

        5. เทคนิคการตอบคำถาม ครูที่จัดกิจกรรมการเรียนรู้เมื่อถูกผู้เรียนถาม ควรชมเชยผู้ถามว่าเป็นคำถามที่ดี  และให้ผู้ถามทบทวนคำถามเพื่อครูจะมีเวลาคิดหาคำตอบ การตอบคำถามจะต้องตอบให้ผู้เรียนทุกคน บางครั้งจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนเป็นผู้ตอบร่วมกันการตอบคำถามของครูจะต้องตรงประเด็น

 

ศิลปะในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้

       นอกจากครูจะมีความสามารถในการถ่ายทอดได้ดีแล้ว ครูควรนำสื่อมาสร้างช่องทางการรับรู้ของผู้เรียน จากผลการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้ คนทั่วไปสามารถจดจำได้ 10  % ของสิ่งที่อ่าน20% ของสิ่งที่ได้ยิน30% ของสิ่งที่ได้เห็น และได้ยิน70%  ของสิ่งที่ได้พูดหรือซักถาม  90%  ของสิ่งที่เขาพูดขณะปฏิบัติ  สิ่งเหล่านี้จะช่วยสร้างประสิทธิภาพในการสื่อสาร  ในขณะเดียวกันการสร้างประสิทธิภาพในการสื่อสาร ในขณะเดียวกันการสร้างแรงจูงใจ กระตือรือร้น  ร่วมมือที่จะเรียนรู้  มีบรรยากาศที่ดี หลักการเรียนรู้ที่ครูจัดกิจกรรมต้องนำมาใช้คือ การพูดให้เข้าใจง่าย   ต้องได้เนื้อหาสาระ คละเคล้าความสนุก มีการปลุกสมองให้รู้จักคิด ช่วยพิชิตปัญหา มารู้จักกัน ฉันถูกเสมอ  มีข้อเสนอที่ดี  มีความสำเร็จ  หลักในการจัดกิจกรรมเพื่อการเรียนรู้ให้ประสบความสำเร็จมีดังนี้

         1. สร้างแรงจูงใจ  โดยวิธีการถ่ายทอดที่ผสมผสาน

         2. คำนึงถึงความสามารถในการเรียนรู้โดยปกติเด็กจะสนใจสูงใน 15 นาทีแรกและการเรียนรู้จะลดถอยลงถ้าไม่มีกิจกรรมอื่นแทรก             

         3. ต้องคำนึงประสบการณ์ในอดีตของผู้เรียน คนเราชอบฟังเรื่องใกล้ตัวผู้เรียน

        4. ให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม  ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลางให้เด็กได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้

        5. ครูควรสร้างบรรยากาศที่เป็นกันเองและท้าทาย  ครูต้องเป็นกัลยาณมิตรพร้อมสร้างกิจกรรมให้ผู้เรียน อยากรู้อยากลอง ท้าทายหรือประลองฝีมือ มีการแข่งขัน สนุกสนาน

        6. แนะแนวหรือชี้นำมากกว่าการสอน  ครูควรเปลี่ยนบทบาทจากผู้บอกมาเป็นพี่เลี้ยง  ชี้แนะหรือสรุปมากกว่าสอนแบบจ้ำจี้จำไช

        7. ให้ผู้เรียนมีอิสระในการคิดการทำ โดยครูต้องมีขอบเขตตามบทบาทของผู้เรียน  เช่น  ไม่ตะโกนส่งเสียงดังรบกวนสมาธิของผู้อื่น

        8. ใช้วิธีสอนที่หลากหลาย  เช่น  เกม  กิจกรรมกลุ่ม  บทบาทสมมุติ  เพลง  ทดสอบ  รวมทั้งสื่อโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ

        9. ครูควรจัดกิจกรรมให้สัมพันธ์หรือสอดคล้องกับสภาพปัญหาที่เห็นอยู่

        10. การจัดกิจกรรมควรให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที ควรทำให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ดัดแปลง  ตกแต่ง  ทำให้ก้าวหน้า  เพื่อประโยชน์ต่อสังคม  และประเทศชาติ

 

ครูมืออาชีพกับการถ่ายทอด

         ครูที่ประสบความสำเร็จในการถ่ายทอดจะต้องสร้างความศรัทธา ทำให้ผู้เรียนรักและไว้วางใจ  ครูมืออาชีพจึงควรพัฒนาตนเอง ดังนี้

         1. บุคลิกดี ครูต้องมีมาดต้องตา  วาจาต้องใจ  ภายในต้องเยี่ยม  เพราะหากครูมีบุคลิกภาพดีก็มีชัยไปกว่าครึ่ง การยืน การเคลื่อนไหวจะต้องดูกลมกลืนเหมาะสม สิ่งที่เป็นเสน่ห์คือรอยยิ้มของครู   แสดงภาษาน่าชื่นชมต่อผู้เรียน

         2. มีความกระตือรือร้น  คล่องแคล่วมั่นใจ

         3. สนใจร่วมมือ  ครูต้องแสดงความสนใจผู้เรียน ร่วมมือให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้

         4. ใช้สื่อช่วยสอน  ครูต้องนำส่วนประกอบของร่างกาย มาใช้เป็นสื่อในการสอนไม่ว่าจะเป็นตาได้เห็น ทางปากได้ซักถามพูดคุย ทางหูได้ยิน ทางมือคือได้ทดลองสัมผัส หรือทางลิ้นได้ลิ้มรสทดสอบจะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้เร็วขึ้น

         5. ไม่อ่อนประสบการณ์  ครูต้องแนะแนวทางให้ผู้เรียนจดจำและเรียนรู้ได้เร็วโดยดัดแปลงแต่งเติมให้เหมาะสมกับวัยเนื้อหาของบทเรียน

         6. การงานสำเร็จดี  ครูที่เด็กอยากเรียนด้วยจะต้องมีความสำเร็จในการพัฒนาผู้เรียน  ยิ่งครูส่งเสริมให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จ เกิดความเป็นเลิศ  จะทำให้เกิดการยอมรับจากผู้ปกครองมากขึ้น  คุณภาพของครูจึงเกิดจากคุณภาพผู้เรียน

         7. มีความสามารถในการถ่ายทอด  สามารถเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับประสบการณ์เดิมของผู้เรียนโดยใช้รูปภาพ  สถานการณ์จริงให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ประทับใจ บันเทิงใจควบคู่กันไป  ซึ่งครูต้องมีเทคนิคและลีลา  ภาษาและศิลปะในการแสดงออก

         8. ถอดหัวใจผู้เรียน  ครูต้องเข้าใจธรรมชาติของผู้เรียน  ต้องมีความเป็นกัลยาณมิตร  ต้องรู้ว่าผู้เรียนเป็นใคร ชอบอะไร สนใจและมีความถนัดเรื่องใด

         9. เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมได้  ครูต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้เรียน  มุ่งให้ผู้เรียนเกิดความรู้  (Knowledge)  ความเข้าใจ  (Understanding) ความถนัด(Skill) ทัศนคติและจริยธรรมที่ดี  (Habbit)  ครูต้องมีอารมณ์ขันและได้สาระ

         10. ไม่หลงตัวเอง  ไม่ว่าครูจะมีระยะเวลาในการสอนมายามนานก็ต้องเตรียมตัวให้พร้อมตลอดเวลา ครูมืออาชีพจึงควรพัฒนาตนเองให้เกิดพฤติกรรมดังนี้ คือ ต้องใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือผู้เรียนเข้าใจง่าย ได้เนื้อหา พาสนุกปลุกความคิด พิชิตปัญหา เพื่อเปลี่ยนพฤติกรรม ทำให้ผู้เรียนเกิดประโยชน์ ไม่เป็นโทษเป็นภัย ให้ เสนอแต่สิ่งที่ดีต่อเด็ก

 

กลยุทธ์ในการถ่ายทอด

      ครูที่เป็นครูมืออาชีพจะต้องมีทักษะในการถ่ายทอด ใช้ชิวหาเป็นอาวุธในการที่จะแปรเปลี่ยนน้ำคำที่ประกอบไปด้วยน้ำมนต์มหาเสน่ห์ให้ผู้ฟังชื่นชอบครูจึงควรใช้กลยุทธ์ 7 ประการ ในการประสานใจให้ผู้เรียนยอมรับและปรับพฤติกรรมตามแนวทางของผู้ถ่ายทอด ดังนี้

       1. กลยุทธ์การสร้างความพร้อมของครู ผู้ถ่ายทอดต้องมีความกระตือรือร้น มีชีวิตชีวา  พูดพร้อมกับใช้ภาษาท่าทาง แสดงออกอย่างมีศิลปะ เตรียมสื่ออุปกรณ์ให้พร้อม ทำการถ่ายทอดแบบเพื่อน  เป็นกันเอง

       2. กลยุทธ์เสริมสร้างแรงจูงใจในการเรียนรู้  ครูต้องบอกประโยชน์ บอกแนวทางในการสอนตั้งคำถามให้ผู้เรียนคิดติดตาม  สิ่งสำคัญครูต้องเปลี่ยนอิริยาบถของผู้เรียน

       3. กลยุทธ์และใช้เทคนิคในการถ่ายทอดน่าสนใจโดยให้เรียนเป็นกลุ่ม  การสอดแทรกกิจกรรมที่สนุก  และมีบรรยากาศการแข่งขันให้ผู้เรียนได้ประเมินตนเองเพื่อทราบศักยภาพตนเอง 
       4. กลยุทธ์ในการสร้างบรรยากาศที่ดีในการถ่ายทอดครูต้องสร้างความสัมพันธ์กับผู้เรียนทุกคนใช้ศิลปะในการใช้ภาษาท่าทาง  ที่เหมาะสมกับเนื้อหา  บางโอกาสก็ใช้อารมณ์ขันช่วยเสริมสร้างบรรยากาศ

       5. กลยุทธ์การถ่ายทอดได้ชัดเจนและเป็นขั้นตอน  นำเสนอกิจกรรมเป็นลำดับขั้นตอนจากง่ายไปหายาก  ทำการทดสอบของผู้เรียนเป็นระยะและสรุปประเด็นเพื่อทำการเสนอแต่ละกิจกรรม          
       6. กลยุทธ์กระตุ้นผู้เรียน การพูดของครูต้องใช้เสียงสูงต่ำ พลังเสียงต้องปลุกความสนใจการตั้งคำถามควรท้าทายกับผู้ฟัง 

      7. กลยุทธ์ในการทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่ายและจำง่าย  ครูควรใช้ภาพประกอบ  ใช้เพลง  โคลง  กลอน  เพื่อสร้างความจดจำ  ยกตัวอย่างที่ใกล้ตัวกับผู้เรียน  หรือเรื่องที่เกิดขึ้นปัจจุบันทันด่วน  ควรให้ผู้เรียนได้ถกเถียง  หรือโต้แย้งหาข้อยุติร่วมกัน

       กระแสโลกเปลี่ยนแปลง วิทยาการมีความเจริญก้าวหน้า โลกแคบลงเป็นโลกไร้พรมแดนคนเรียนรู้ตั้งแต่แรกเกิดจนตาย ทุกคนในโลกล้วนมีโอกาสนำเสนอเรื่องราวผ่านไปยังบุคคลอื่นครูที่ยิ่งใหญ่ คือ ผู้ดลใจให้เด็กคิด ครูมืออาชีพจึงต้องวางแผน เพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสงสัย ใฝ่รู้ สร้างโอกาสให้เด็กได้ใช้สมองและสองมือ กล่าวคือมุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ฝึกคิด ได้ปฏิบัติเพื่อความสำเร็จ ครูควรยึดคำกล่าวที่ว่า ถ้าฝาตุ่มยังไม่เปิด ก็อย่าเพิ่งเติมน้ำ การมีทักษะการถ่ายทอดที่ดีเยี่ยมและเข้าใจธรรมชาติผู้เรียนว่ามีลีลาการเรียนรู้อย่างไร จะส่งผลให้การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ สิ่งสำคัญบุคลิกภาพของครูต้องดึงดูดใจ สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความหมาย การเป็นครูเหนือครูจึงอยู่ที่กระบวนการคิดของครูที่มองเป้าหมาย ไปที่ผู้เรียนซึ่งเป็นผลผลิตจากการสอน ซึ่งจะสะท้อนผลงานของครู

                                                ลืมหายใจไหนจะมีชีวิตรอด

                                ลืมถ่ายทอดความรู้เป็นครูหรือ

                                ต้องฝึกฝนศิลปะและฝีมือ

                                เพื่อสร้างชื่อให้เด็กไทยได้ยืนยง

 

เอกสารอ้างอิง

 

สมชาติ  กิจยรรยง. เทคนิคการถ่ายทอดอย่างมีประสิทธิภาพ.กรุงเทพฯ :

              อินฟอร์มีเดีย บุคส์,2546

วันชัย  พงษา. จัดการเรียนการสอนอย่างไรให้เด็กมีปัญญา.พิมพ์ครั้งที่ 2.

               นครศรีธรรมราช : โรงพิมพ์เม็ดทราย, 2546

 

 

หมายเลขบันทึก: 301744เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2009 12:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:21 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (24)

สวัสดีค่ะ

  • ขอขอบพระคุณ
  • สำหรับสาระดี มีประโยชน์สำหรับอาชีพค่ะ
  • อย่างน้อยก็เป็นข้อคิด ข้อเตือนใจ
  • อยากให้เพื่อนครูได้มาอ่านกันมาก ๆนะคะ

สวัสดีค่ะ

  • เข้ามาศึกษาศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพอีกคนค่ะ

เรียนครูคิม

เอามะพร้าวอ่อน ไปขายสวนหรือเปล่า

บทความบางที่ก็เป็นบทบ่นครับ ผมกำลังเขียนบทความเรื่อง ศิลปะการเขียนบทความอย่างไรให้น่าอ่าน

ศึกษาจากเอกสารของ อาจารย์ นิธิ เอียวศรีวงศ์ และ ดร เกรียงศักดิ์ เจริญวงศศักดิ์

เรียนครูแป๋ม

ผมอาจจะเขียนเป็นวิชาการไปหน่อยก็คงจะรับได้นะครับ ครูแป๋มมีศิลปะการถ่ายทอดอย่างไรก็บอกด้วยครับ

สวัสดีค่ะท่าน ผอ.พรชัย

  • ครูอิงแวะเข้ามาตั้งแต่บันทึกก่อน เรื่อง ผลงานทางวิชาการ
  • ไม่ทราบเหมือนกันว่าทำไมเม้นท์ไม่ติด (อาจตรงกับตอนเน็ตล่ม)
  • ขอบพระคุณค่ะ สำหรับข้อมูล ศิลปะการสร้างแรงจูงใจให้เกิดการเรียนรู้
  • และขอบพระคุณที่ท่านแวะไปส่งกำลังใจให้ครูอิงที่ "ลานดินกลิ่นหญ้า"
  • มึความสุขเสมอ ๆ นะคะ

 

  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • มองโลกแง่ดี มีความแหลมคม สะสมจดจำ นำมาดัดแปลง (ขออนุญาตนำมาปรับประยุกต์ใช้ในการทำงานที่โรงพยาบาลบ้างนะค่ะ)
  • อ่านแล้วชอบในหลาย ๆ ประโยคที่อาจารย์ได้เขียนไว้

เรียนคุณอิงจันทร์

ผมชอบที่จะอ่านบันทึกของท่าน ร้อยรัด ชัดเจน ภาษงดงาม

ขอบคุณที่มาเยี่ยมชมให้กำลังใจครับ เข้ามาแสดงความเห็นบ้างนะครับ

ผมพร้อมเปิดโลกทัศน์ครับ สิ่งคนทำได้ยากคือการฟัง ผมจะตั้งใจฟังครับ

เรียนคุณบุษรา

ผมชอบคำคม "มองโลกแง่ดี มีความแหลมคม สะสมจดจำ นำมาดัดแปลง"

งานโรงพยาบาลก็ไม่ต่างกับครูหรอก ต้องถ่ายทอดความคิด ความรู้ ความรู้สึก (บางที่ก็ความในใจ)ให้คนตลอดเวลา

ดีใจที่นางฟ้ากลับมาเยี่ยมชมให้กำลังใจครับ

สวัสดีครับท่าน ผอ.

  • ไม่ได้เป็นครูอ่านแล้วอดชื่นชมความเป็นครูของท่านไม่ได้
  • อย่างนี้ต้องชม น่าจะเป็นต้นแบบของครู
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงาน

มาอ่านสาระดีๆ จากท่าน จะนำไปพัฒนาตนเอง และเผยแพร่ต่อไปค่ะ

เรียน คุณเหรียญชัย มาวงษ์

ขอบคุณครับที่มาเยี่ยมเยือน ตอนแรกนึกว่าเป็นเหรียญชัย สีหะวงษ์ อดีตนักวิ่งทีมชาติวิ่ง 100 เมตร

ข้อคิดข้อเขียนคนเป็นครูเขียน คนอ่านมักจะเป็นครูอ่าน แต่ท่านไม่ใช่ครู(คงมีแฟนครู)ท่านมาสนใจจึงถือเป็นเกียรติ

อย่างยิ่ง จะติดตามผลงานท่านเช่นกันครับ

เรียน คุณ rinda

ขอบคุณที่มาเยี่ยมชมครับ บทความจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อมีคนอ่านครับ ยิ่งสามารถนำไปใช้ยิ่งเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่ม

ให้กับผู้อ่าน ลูกชายที่เคียงข้างเขาหล่อมาก มาก ฝากบอกหนุ่มน้อยด้วยครับ

สวัสดีค่ะคุณครู

หนูขอขอบพระคุณที่คุณครูไปเยี่ยมบันทึกของหนู

วันนี้หนูมีเวลามาเขียนบันทึกใหม่แล้วค่ะ

ขอบคุณ หนูนัท

ครูขอเป็นกำลังใจในการโหวตนะคับ หนูโชคดีที่มีครูเก่งอย่างครูคิม การเขียนเป็นการจัดกระบวนการคิด

ให้แหลมคมครับ ครูชื่นชมในตัวหนูที่สุด อีกไม่นานอาจจะมีลูกศิษย์ครูร่วมแจมครับ แต่เขาคงแจมในเวลาเรียน

เป็นศิลปะการถ่ายทอดของครูมืออาชีพจริง ๆ ค่ะ...ขอนับถือค่ะ...มีทั้งเทคนิควิธีการสอน...การส้างแรงจูงใจให้เด็ก...ครบรสในบทความเดียวค่ะ...ขอบพระคุณมากค่ะ

เป็นบทความที่ถ่ายทอดความเป็นครูที่แท้จริง และเป็นต้นแบบได้ เคยเป็นครูคะ ตอนนี้เป็นแม่ค้า  แต่สามีเป็นครูคะ ถ้าเขาเข้าใจและพัฒนาได้ตามนี้ เขาคงจะเป็นครูตัวอย่างได้  แต่ในชีวิตจริง ไม่อยากพากษ์ ทำได้หรือได้คิดจากที่ท่านเขียนก็จะดีไม่น้อย

แต่ก็ไม่อยากว่า เป็นครูมานาน อ่านจะเซ็งและเบื่อหน่ายแล้ว รอแต่วันที่จะครบการเป็นครู 25 ปี นี่แหละสมควรเออรี่ เพราะการเป็นครูต้องเสียสละและมีจิตวิญญาณของความเป็นครูจริงๆ ควรให้คนมีครูใหม่ไฟแรงและมีอุดมการณ์มาสานแต่งต่อดีกว่า

แต่ก็ไม่อยากว่า ตอนนี้อายุมากแล้ว เขาเคยเป็นหนุ่มมาแล้ว เคยไฟแรงมาแล้ว ก็เลยปล่อยเขาไป เมื่อไหร่จะออกมาช่วยเมียค้าขายเสียที เราก็ต้องการคนมาช่วยเหลือเหมือนกันคะ   นี่คือความรู้สึกของการเป็นเมียครูคะ

แต่ก็อยากขอเป็นกำลังใจให้ท่านมากที่สุด ที่ไฟยังไม่มอดไปเสียก่อน และรู้จักเลยท่านชอบสะสมคำคม คติ ท่านคงจะเป็นคนจริงจังและพัฒนาตนอยู่ตลอด

ขอบคุณที่เข้าไปเยี่ยมชมหมอลำขูลูนางอั้วนะคะ ที่สุนำมาเสนอนั้น เพื่อเป็นตัวอย่างให้เห็นว่า เดี๋ยวนี้ครูและนักเรียนรู้จักการพัฒนาตน ไปด้วยกันได้อย่างแนบเนียน ใครว่าวัยรุ่นสอนยาก ไม่ตั้งใจเรียน แท้ที่จริงแล้ว อยู่ที่ครูจับทางนักเรียนได้ แล้วสอนตามเด็กสมัยใหม่ที่ต้องการแสดงออกถึงความสามารถของตนในทางที่ถูกต้อง นักเรียนเขาก็มีศักดิ์ศรีเหมือนกัน ให้เขาภาคภูมิใจในสิ่งที่เขามีและได้มีโอกาสแสดงออกคะ

เม้นท์ยาวไปแล้ว จะรอดูกิจกรรมการแสดงของนักเรียนท่านเช่นกันนะคะ  เป้าหมายก็คงเหมือนกัน สั่งเหมือนกัน ดูซิว่าเด็กจะมีความสามารถและพร้อมใจกันแค่ไหน ไปหละคะ

  • โอ้..ได้ความรู้ ประดับสติปัญญามากเลยครับ
  • สั้น กระทัดรัด ได้สาระ ได้ใจความดีมากๆๆ ครับ
  • ขอบพระคุณจริงๆ

มาชม

ทายทักแบบสบาย ๆ นะครับ

เรียน คุณสามสัก

ติดตามงานเขียนและการนำเสนอของท่านครับ ขอบคุณที่ให้กำลังใจ ส่งผลให้ผมรักการอ่านเพิ่มขึ้น ได้อ่านความคิด

อ่านความรู้สึก รับรูสิ่งอื่นๆอีกมากมาย การทำงานของท่านจึงเป็นได้ทุกอย่างที่สังคมอยากให้เป็น ยากยิ่งกว่าครู

ขอเป็นกำลังใจ ให้มีความสุขกับงานครับ

เรียน ดร Umi

ขอบพระคุณที่มาทักทาย คงเหมือนกับร้านสะดวกซื้อที่ เขียนว่าเพียงท่านแวะชม เราก็แอบนิยมท่านอยู่ในใจ

สวัสดีครับ

ขอบคุณครับที่ไปเยี่ยมเยียนกัน ขออนุญาตนำเอาหลักการไปใช้ด้วยนะครับ ผมว่าน่าจะนำไปประยุกต์ใช้กับงานบริหารคนและทีมงานได้ด้วย ไม่ใช่แต่เพียงเรื่องการสอนเด็กเท่านั้น

สวัสดีค่ะ..ท่าน ผอ.พรชัย

ครูมีข้อมูลดีๆมาเผยแพร่ให้ครูได้นำไปปฏิบัติตามจริงๆ

ครูเล็กขอน้อมรับศิลปะครูมืออาชีพไปปฏิบัติตามค่ะ

จะพยายามเป็นครูดีศรีสังคม..ให้สมกับตามที่ได้รับคำนิยมของเด็กๆมา

แต่บางทีก็ตะบะแตกเหมือนกัน..แต่ก็คิดเสมอว่า..เราทำดีที่สุดแล้ว..

และจะทำเพื่อศิษย์และจิตสำนึกของครูที่ดีต่อไป

สวัสดีค่ะท่าน ผอ. ร่วมถ่ายทอดศิลปะด้วยคนค่ะแม่ทำได้งัย หล่อจังกั๊บ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท