เครื่องมือที่ใช้วัดความปวด


การประเมินความปวด ( pain assessment )ที่ดีควรประกอบด้วยการวัดความปวด ( pain measurement ) เพื่อให้ทราบถึงความรุนแรงว่ามากน้อยเพียงใด เพราะความปวดลักษณะเดียวกัน บางคนพอทนได้ บางคนทนไม่ได้

บทบาทของพยาบาลในการประเมินความปวด

          พยาบาลเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยตลอดเวลาขณะที่ผู้ป่วยรับการรักษาในโรงพยาบาล การระงับปวดที่ดีต้องมีการประเมินที่ถูกต้องและสม่ำเสมอ การเลือกวิธีการประเมินที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละรายจะช่วยให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการรักษาพยาบาล อันจะเป็นพื้นฐานที่นําไปสู่ความสําเร็จในการบําบัดความปวด

 

หลักการประเมินความปวด

พยาบาลหรือบุคลากรทางการแพทย ซึ่งเป็นผู้ประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการประเมินโดยยึดหลักดังต่อไปนี้

1. ประเมินก่อนให้การพยาบาล เพื่อเป็นสมมติฐาน และหลังให้การพยาบาล เพื่อประเมินผล

2. ควรประเมินอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง โดยประเมินทั้งขณะพักและขณะทํากิจกรรม

3. เลือกวิธีที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย และควรใช้วิธีเดียวกันตลอดการให้การพยาบาลนั้นๆ

4. เด็กเล็ก, ผู้สูงอายุ, ผู้ที่มีการรับรู้บกพร่อง หรือไม่สามารถสื่อสารได ควรดูแลเป็นพิเศษ เนื่องจากการประเมินอาจได้ข้อมูลไม่ครอบคลุมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด

5. มีการบันทึกเป็นหลักฐาน

6. หลีกเลี่ยงคําถามนําอันเป็นเหตุให้บดบังข้อเท็จจริง หรือคําถามที่กระตุ้นใหเกิดอารมณเศร้าเสียใจ

 

บทบาทของพยาบาลกับการประเมินความปวด

1. สร้างสัมพันธภาพที่ดี ใช้คําพูดสุภาพ เข้าใจง่าย

2. ให้ความสนใจโดยเป็นผู้ฟังที่ดี และเชื่อในคําบอกเล่าของผู้ป่วย

3. ระหว่างการประเมินควรบันทึกพฤติกรรม แนวคิด สภาพอารมณ จิตใจ และบุคลิกภาพของผูป่วย เพื่อเป็นข้อมูล

4. ถ้าผู้ป่วยไม่สามารถตอบข้อซักถามได อาจใช้วิธีสัมภาษณ์จากคนดูแลใกล้ชิด ถ้าเป็นเด็กเล็กอาจถามจากบิดา มารดา หรือสังเกตพฤติกรรมและผลกระทบที่เกิดจากความปวด เช่น ผู้ป่วยที่ยังไม่รู้สึกตัวดี ครึ่งหลับครึ่งตื่น หรือผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย เป็นต้น

5. ถ้าระดับความปวดเพิ่มมากขึ้นทันที พร้อมทั้งมีการเปลี่ยนแปลงของสัญญาณชีพ เช่น ความดันโลหิตตก ชีพจรเบาเร็ว หายใจเร็ว หรือเหนื่อยหอบ ควรรีบรายงานแพทยเพราะอาจมีสิ่งผิดปกติเกิดขึ้น เช่น การมีเลือดออกของอวัยวะภายใน ฯลฯ

6. ให้ยาแก้ปวดปริมาณสูงสุด หรือให้การพยาบาลแล้วความปวดไม่ลดลง ควรตรวจหาสาเหตุอื่น เพื่อปรับเปลี่ยนแผนการพยาบาล หรือรายงานแพทย เพื่อปรับแผนการรักษา

 

วิธีการประเมินความปวด

การประเมินความปวดอย่างครอบคลุมจะเป็นพื้นฐานที่นําไปสูการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และมีผลข้างเคียงน้อยที่สุด ข้อมูลที่จะนําไปประเมินเป็นข้อมูลที่ได้จาก

1. คําบอกเล่าของผู้ป่วย (patient self-report) ซึ่งเป็นข้อมูลที่เชื่อถือไดมากที่สุด เพราะความปวดเป็นความรู้สึกส่วนตัว (individual or subjective) ที่ไม่มีใครสามารถบอกหรือบรรยายแทนกันได้ดีเท่าตัวผู้ป่วยเอง

2. การเปลี่ยนแปลงทางสรีระวิทยา เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการ หายใจความดันโลหิต เหงื่อออก ตัวเย็น เหล่านี้ เป็นต้น

3. จากพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออก เช่น การเคลื่อนไหว สีหน้า ท่าทางหรือการส่งเสียง

 

          การประเมินความปวด ( pain assessment )ที่ดีควรประกอบด้วยการวัดความปวด ( pain measurement ) เพื่อให้ทราบถึงความรุนแรงว่ามากน้อยเพียงใด เพราะความปวดลักษณะเดียวกัน บางคนพอทนได บางคนทนไม่ได้

 

การวัดระดับความปวด มี 2 วิธี คือ

1. การวัดความปวดโดยไม่ใช้เครื่องมือ ได้แก่

 

1.1 การบอกความรู้สึกด้วยคําง่ายๆ ( simple descriptive scales) เช่นพยาบาลอาจถามผูป่วยว่าขณะนี้ปวดไหมคะผู้ป่วยอาจตอบว่าไมปวดหรือปวดถ้าปวดพยาบาลก็จะถามต่อว่าปวดมากน้อยแค่ไหนก็จะได้คําตอบว่าปวดเล็กน้อยปวดพอทน ปวดมาก หรือปวดมากจนทนไม่ไหว เหล่านี้เป็นต้น

1.2 การบอกความรู้สึกเป็นตัวเลข (numerical rating scales : NRS) เป็นการประเมินความปวดด้วยตัวเลขโดยพยาบาลจะบอกผู้ป่วยว่าถ้าไม่ปวดเลยแทนด้วยเลข 0 และ ปวดรุนแรงมาก แทนด้วยเลข 10 หรือ 100 อย่างใดอย่างหนึ่งให้ผู้ป่วยเลือกว่าปวดตอนนี้อยู่ที่เลขใด 

โดยทั่วไปจะพบว่าผู้ป่วยให้คะแนนความปวด(pain score)

          1-2 คือ ยอมรับได

          3-4 มีอาการปวดเล็กน้อยพอทนได

          5-6 ปวดปานกลางบางครั้ง

          มากกว่า 6 ขึ้นไป ถือว่าควรได้รับการบําบัดรักษาอาจใช้ยาแก้ปวดร่วมด้วยซึ่งไม่ควรรอให้ถึง 10 หรือจนผู้ป่วยบอกว่าทนไม่ไหวเพราะการรักษาความปวดแต่เนิ่นๆเป็นวิธีการที่ถูกต้องและให้ผลดีทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ

 

2. การวัดความปวดโดยใช้เครื่องมือประกอบการวัด ได้แก

 2.1การวัดระดับความรุนแรงของความปวดแบบมิติเดียว (unidimensional assessment) วิธีนี้เป็นการวัดความรุนแรงความปวดเพียงอย่างเดียวนิยมใช้ในทางปฏิบัติเนื่องจากวิธีการไม่ยุ่งยาก ใช้เวลาค่อนข้างน้อยเครื่องมือนี้ได้แก่

     

2.1.1

เฟเชียล สเกลส (facial scales)คือ การใช้รูปภาพแสดงสีหน้าบอกความรู้สึกปวด

          - เริ่มตั้งแต่ไม่ปวดแทนด้วยภาพสีหน้ายิ้มร่ามีความสุข

          - ปวดพอทนแทนด้วยภาพหน้านิ่วคิ้วขมวดจนถึง  

          - ปวดมากที่สุด แทนด้วยภาพใบหน้าที่มีน้ำตาไหลพราก

วิธีนี้นิยมใช้ในผู้ป่วยเด็กเล็กคนชราหรือคนที่ไม่สามารถสื่อสารได้ด้วยคําพูด พยาบาลจะให้ผู้ป่วยดูรูปดังกล่าวอธิบายแล้วให้ผู้ป้วยชี้ภาพหน้า ที่ตรงกับความรู้สึกขณะนั้นอยู่ที่ระดับใดโดยนํามาแทนค่าเป็นคะแนนตามที่กํากับไว้ใต้ภาพ

 

 

2.1.2 วิช่วลอนาล็อกสเกลส (visual analogue scales : VAS) เป็นการวัดโดยใช้เส้นตรงยาว 10 เซนติเมตร ให้ปลายข้างหนึ่งแทนค่าด้วยเลข 0 หมายถึง ไม่ปวด ปลายอีกข้างหนึ่งแทนค่าด้วยเลข 10 หมายถึง ปวดรุนแรงมากที่สุด

           วิธีการวัดกระทําโดยผู้ป่วยทําเครื่องหมายบนเส้นตรงนี้เพื่อแสดงความรุนแรงของความปวดแล้วนําค่าที่ได้มาวัดเป็นเซ็นติเมตรแทนค่าความปวดเหมือนการให้คะแนนความปวด (pain score) เป็น 0 – 10 วิธีการนี้มีข้อจํากัดในผู้ป่วยสูงอายุหรือผู้ที่มีปัญหาทางสายตา

  

2.1.3 วิช่วลเรตติ้งสเกลส (visual rating scales:VRS) คือการวัดโดยใช้เส้นตรงยาว 10 เซนติเมตรแบ่งเป็น 10 ช่องๆละ 1 เซนติเมตร ให้ผู้ป่วยทําเครื่องหมายบนเส้นตรงที่มีตัวเลขแทนค่าความรุนแรงของความปวดโดยปลายข้างหนึ่งแทนค่าด้วยเลข 0 หมายถึง ไม่ปวดปลายอีกข้างแทนค่าด้วยเลข 10 หมายถึง ปวดรุนแรงมากที่สุด ผู้ป่วยทําเครื่องหมายตรงเลขใดถือเป็นคะแนนความปวด

 

2.1.4

บอดี้ไดอาแกรม (bodydiagrams) คือการวัดโดยใช้ภาพวาดให้ผู้ป่วยชี้หรือเขียนลงในภาพวาดรูปคนแสดงตําแหน่งที่มีความปวดวิธีนี้บอกความรุนแรงไม่ไดแต่บอกตําแหน่งที่ปวดซึ่งสามารถอธิบายบริเวณที่ปวดว่ามากขึ้นหรือน้อยลงเหมาะสําหรับเด็กหรือผู้สูงอายุ 

  

2.2

การวัดระดับความรุนแรงของความปวดแบบหลายมิติ (multidimentional assessment)

เป็นการประเมินความปวดหลายๆมิติที่ค่อนข้างละเอียด ไม่นิยมใช้ในทางปฏิบัติเนื่องจากใช้เวลามากส่วนใหญ่ใช้ในการทําวิจัยหรือต้องการข้อมูลเพื่อประกอบการรักษาพยาบาลเพิ่มเติมเครื่องมือที่ใช้วัด ได้แก

2.2.1

แบบสอบถามของแมคกิลล (McGill pain questionnair : MPQ) เป็นเครื่องมือวัดระดับความปวดซึ่งประกอบด้วยการ

          ประเมินความรู้สึกทางระบบประสาท (sensory)

          ประเมินสภาพอารมณ จิตใจ

(affective)

          และประเมินโดยรวม (evaluative)

 

การประเมินความรู้สึกทางระบบประสาทเป็นการประเมินลักษณะความปวดว่าเป็นความปวดชนิดใดเช่นความปวดที่เกิดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อลักษณะความปวดจะเป็นแบบปวดตื้อปวดหนึบหรือปวดบิดถ้าเป็นความปวดจากเส้นประสาทได้รับบาดเจ็บความปวดจะมีลักษณะปวดแปล๊บปวดเสียวหรือปวดแสบปวดร้อน เป็นต้น

 

การประเมินสภาพอารมณ จิตใจ เป็นการประเมินความรู้สึกที่ถูกคุกคามจากความปวด ถ้ารุนแรงจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ ผู้ป่วยจะมีความรู้สึกเบื่อหน่าย รําคาญ เศร้าหมอง รู้สึกไร้ค่าหรือบางครั้งทําให้เกิดความกลัวและทุกข์ทรมาน

 

การประเมินโดยรวมหมายถึงการรวมคะแนนของทั้งหมด

1-10 ประเมินความรู้สึกทางระบบประสาท

11-15 ประเมินความรู้สึกทางด้านอารมณและจิตใจ

16 ประเมินโดยรวม

17-20 ประเมินอื่นๆ

ดัชนีระดับความปวด( Pain Rating Index : PRI ) คือคะแนนรวมทั้งหมด

 ประเมินระดับความปวดปัจจุบันโดยใช้คะแนน 0- 5 (PPI)

 

2.2.2 แบบสอบถามของแมคกิลลแบบย่อ ( short-form Mcgill pain questionnair : SF-MPQ) เป็นแบบสอบถามที่ดัดแปลงมาจากแบบสอบถามของแมคกิลล โดยมีการประเมินที่สั้นลงเพื่อใช้ในกรณีที่พยาบาลมีเวลาไม่มากนักแต่ต้องการข้อมูลมากกว่าความรุนแรงของความปวดประเมินความรู้สึกทางระบบประสาท

 

 

2.2.3 บัตรสอบถามความรุนแรงและความรู้สึกของผู้ป่วย (memorail pain assessment card) คือการประเมินความรุนแรงของความปวดโดยใช้บัตรคําในบัตรนี้มีการวัดผลการรักษาร่วมด้วย โดยเปรียบเทียบบัตรแต่ละใบลักษณะของบัตรจะเป็นกระดาษแข็งขนาด 8.5 x 11 นิ้วแบ่งออกเป็น 4 ส่วน

          ส่วนที่1 เป็นการถามระดับความรุนแรงของความปวด

          ส่วนที่2 เป็นการถามระดับของอารมณ์ผู้ป่วยขณะมีความปวด

          ทั้ง  2 ส่วนนี้ใช้วิธีวัดโดยวิช่วลอนาล็อกสเกล

          ส่วนที่3 เป็นการถามความรู้สึกของผู้ป่วยโดยการใชเวอร์เบลเรทติ้งสเกล

          และส่วนสุดท้าย  เป็นการถามระดับความพอใจของระดับการบรรเทาปวด ใช้การวัดโดยวิช่วลอนาล็อกสเกลเช่นกัน

 

2.2.4 การประเมินทางสรีระวิทยาและพฤติกรรมที่แสดงออกขณะมีความปวด (biobehavioral pain inventory) เช่นความดันโลหิตเปลี่ยนแปลง ชีพจรเร็ว ร้องกวน หงุดหงิด กระสับกระส่าย หรือไม่ยอมเคลื่อนไหว และอื่นๆ วิธีนี้เหมาะสําหรับเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่ยังไม่รู้สึกตัวดี หรือผู้ที่สื่อสารไม่ได้

 

เอกสารอ้างอิง
สุรศักดิ์ นิลกานุวงศ. การประเมินผู้ป่วยที่มีอาการปวด, In The Common Chronic
กรุงเทพมหานคร : เรือนแก้วการพิมพ, 2534 ; 16-20
- Donovan Ivers Marilee. A Practical Approach to Pain Assessment, In Pain
- Faucett Julia.Pain Assessment, In IASP Refresher course syllabuss 1993 ; 133-
134
m a n a g e m e n t n u r s i n g p e r s p e c t i v e 1 9 9 2 ; 6 6 - 6 7
Pain Problems and Management
- Watt-Walson H. Judith .Misbeliefs About Pain, Pain management nursing 
perspective 1992; 41

 

หมายเลขบันทึก: 301625เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2009 22:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (16)

 

เพิ่งจะทราบว่า  มีการวัดความเจ็บปวดด้วยในทางการแพทย์

ถ้าให่เลือก  พี่ชอบแบบ facing scale  ค่ะ  ตอบง่ายดี

ไม่อยากพบกับความเจ็บปวดเลย  แต่ก็คงหนีไม่พ้น

พี่เพิ่งกลับมาจากลาวค่ะ

สวัสดีค่ะพี่ครูอรวรรณ

ยินดีต้อนรับกล้บเมืองไทยนะค้า ^___^

ไปสปป.ลาวมาเป็นไงบ้างคะ

เครื่องมือวัดความปวดมีหลากหลายรูปแบบเลยค่ะ

เลือกใช้ให้เหมาะกับแต่ละบุคคลจะเกิดประโยชน์สูงสุดค่า

ใช่ค่ะ เกิดเป็นมนุษย์แล้วหนีไม่พ้นความเจ็บปวดแน่นอน..

หลักพุทธศาสนาจึงสอนว่าให้เราอยู่กับปัจจุบันขณะ ปวดก็ให้รู้ว่าปวด ค่ะ

มันก็แค่ปวด ความปวดมันมาเดี๋ยวมันก็ไปค่ะ ^___^

มีผู้ป่วยมะเร็งระยะสุท้ายรายนึง สามารถหลุดพ้นตรงความทุกข์ทรมานจากความปวดตรงนี้ได้

โดยเมื่อความปวดทรมานมาเยือนปุ๊บ รับรู้ว่าปวดท้อง...ปวดแค่ที่กาย ใจไม่ได้ปวดตามค่ะ

เค้าฝึกแบบนี้ ทุกวัน และใช้วิธีพนมมือ ในมือถือดอกบัว 1 ดอก อธิษฐานว่าขอให้เอาความปวดออกไป

แล้วส่งดอกบัวออกไป เมื่อความปวดมาเยือนครั้งต่อมา ผู้ป่วยเพียงรับรู้ว่าปวด

และคอยดูนาฬิกาที่ผนังห้อง ผู้ป่วยดีใจมากที่ความปวดที่เข้ามาแต่ละครั้งนั้น มีระยะเวลาสั้นลงๆทุกครั้ง

ผู้ป่วยขอยาแก้ปวดจากพยาบาลความถี่ห่างออกไปเรื่อยๆ จาก ทุกชั่วโมงต้องขอยาแก้ปวด เป็นทุก 2 ,3,4....6

และจนสามารถลุกขึ้นนั่งบนเตียง ทานอาหารได้ ลุกเดินจากเตียงไปเข้าห้องน้ำ ทำกิจวัตรประจำวันได้เองด้วยค่ะ

สีหน้าสดชื่นขึ้นด้วย และมีรอยยิ้มเสมอเลยค่ะ สังเกตว่าผู้ป่วยรายนี้มี social support ที่ดีด้วย

เพราะมีสามีคอยเป็นกำลังใจเฝ้าข้างเตียงตลอด คอยเช็ดเนื้อเช็ดตัวให้ คอยนั่งจับมือเสมอเวลามีอาการปวด.

กำลังใจที่ดีที่สุดที่ผู้ป่วยต้องการไม่ใช่จากพยาบาลหรือทีมสุขภาพค่ะ แต่เป็นญาติสนิท บุคคลสำคัญในชีวิตนั่นเอง...

หลังจากนั้น 4 สัปดาห์ ผู้ป่วยรายนี้จากไปอย่างสงบ ...

งงจังเลยค่ะ เมื่อคืนหนึ่งเขียน blog นี้ และเซฟใหม่หลายรอบมาก

แล้วก็ยังคงเป็นแปลกแบบนี้เหมือนเดิม

เกิดอะไรขึ้นน้อ อยู่ดีๆข้อความต่างๆก็สลับบรรทัดกัน

ลองแก้ไขอีกครั้ง

ในที่สุด แก้ไขได้แล้วค่ะ ต้องแก้หลายรอบมากเลย ปวดหัวๆๆๆ อิอิ

เข้ามาแวะครั้งแรกค่ะ

ขออนุญาตใส่ไว้ในแพลนเน็ตนะค่ะ

สวัสดีค่ะคุณpivara

ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่า ยินดีค่า ^__^

ผมใช้อันไหนวัดดีครับ

สวัสดีค่ะคุณตาหยู

วัดอาการปวดหลังที่บอกใช่ป่าวคะ

numerical rating scales : NRS <== iระดับคุณตาหยูไม่ต้องมีเครื่องมือ

วัดได้โดยให้บอกระดับความปวดเป็นตัวเลขได้เลยค่ะ อิอิ

ให้คุณตาหยูให้คะแนนความปวดหลังที่เป็นตอนนี้นะคะ ถ้าคะแนนเต็ม 10

0 คือไม่ปวดเลย

10 คือปวดมากที่สุดในชีวิตที่เคยปวดมา

วันนี้คุณตาหยูปวดกี่คะแนนคะ???

ประมาณ 4 ครับ

มากหรือน้อยไปครับ

.

คำว่า ปวด กับเมื่อย ทางการแพทย์ ถือว่าต่างกันมั้ยครับ

สวัสดีค่ะคุณตาหยู

ระดับความปวดที่วัดกับเครื่องมือนี้ ใช้วัดระดับความรุนแรงของความปวดค่ะ

ว่าผู้ป่วยแต่ละรายมีความปวดที่ระดับไหน

จริงๆ WHO กำหนดระดับความปวดไว้เป็น 3 ระดับค่ะ

mild => 0 - 3 คะแนน

Moderate => 4 - 6 คะแนน

severe => 7 - 10 คะแนน

แพทย์จะพิจารณาให้ยาแก้ปวดตามเกณฑ์ ค่ะ (กรณี > 6 คะแนน จำเป็นต้องได้รับยาแก้ปวดแล้วค่ะ)

ยังไม่ได้ตอบคำถาม อิอิ

ถามว่ามากหรือน้อยไป อันนี้ตอบไม่ได้ค่ะ

แต่ละคนระดับความรุนแรงความปวดก็ต่างกัน

แต่ยิ่งมีคะแนนมาก แสดงว่ายิ่งรู้สึกทุกข็ทรมานมาก

เพราะฉะนั้น ไม่ปวดจะดีที่สุดค่า อิอิ

เรื่องความปวดกับความเมื่อย ถามว่าต่างกันหรือไม่ ต้องมาดูที่ความหมายค่ะ

ความปวด (pain) หมายถึง ความรู้สึกหรืออารมณ์ที่ไม่พึงปราถนา อันเกิดจากการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อที่ชัดเจน หรือมีแนวโน้มที่จะเกิด หรือเป็นเพียงการบรรยายอาการเหล่านั้นจากความรู้สึก (IASP)

ความเมื่อย (stiffness) หมายถึงอาการเพลียของกล้ามเนื้อ (พจนานุกรมออนไลน์) ความเมื่อยล้า

สวัสดี หมอฮานะ

เป็นราชบัณฑิต อีกตำแหน่งดีไหม จะได้ช่วยคนไม่รู้หนังสือได้อีกเยอะเลย

สวัสดีค่ะ ดีใจได้พบคนเก่ง


ขอบคุณสำหรับเรื่องดีดีที่นำมาให้เรียนรู้นะคะ พอดีแป้งกำลังจะไปสอบสัมภาษณ์เข้าทำงานเลยเข้ามาหาความรู้ในนี้อะคะ^^ ซึ่งแป้งเชื่อว่ามันจะเป็นประโยชน์อย่างมากเลยค่ะ

BP วัดที่บอกว่าเพิ่มขึ้น เพิ่มจากค่า BP ปกติ หรือจาก ค่าเฉลี่ยของตัวคนไข้คะ

ถ้าเป็นการตรวจวัดเรื่องความปวดฟันของเด็ก ควรประเมินอย่างไรดีคะ อายุประมาณ 4-10 ปี ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท