รัฐสภามอบรางวัล การประกวดเพลงพื้นบ้าน 4 ภาค


การประกวดดนตรีและการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ประจำปี 2552 รอบชิงชนะเลิศ ระดับประเทศ ภายใต้หัวข้อ “พื้นบ้านสานไทย สานใจเยาวชน”

รัฐสภามอบรางวัล

"ประกวดเพลงพื้นบ้าน 4 ภาค"

ประจำปี 2552      

       เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2552 มีการประกวดดนตรีและการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม ประจำปี 2552 รอบชิงชนะเลิศ ระดับประเทศ ภายใต้หัวข้อ “พื้นบ้านสานไทย  สานใจเยาวชน” ณ หอประชุมใหญ่ กรมประชาสัมพันธ์ ซอยอารีย์สัมพันธ์ กรุงเทพฯ โดยสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร มีวัตถุประสงค์ให้กิจกรรมในครั้งนี้เป็นตัวช่วยส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และช่วยให้ชาวบ้านเข้าใจประชาธิปไตยในระบบรัฐสภามากยิ่งขึ้น โดยมีการถ่ายทอดสดทางสถานีโทรทัศน์ ช่อง 11 (NBT) กรมประชาสัมพันธ์ ในเวลา 16.00-18.00 น. ด้วย  ในงานนี้ประธานในพิธีมอบรางวัล คือ นายชัย  ชิดชอบ ประธานรัฐสภา

       การประกวดดังกล่าวแบ่งการละเล่นพื้นบ้านออกเป็น 4 ภาค ได้แก่

  1. ภาคเหนือ – วงปี่จุ่ม      จำนวนผู้แสดง  6 -10  คน
  2. ภาคกลาง – เพลงฉ่อย  จำนวนผู้แสดง  6 –10  คน
  3. ภาคใต้ – ดิเกร์ฮูลู        จำนวนผู้แสดง  7 -20  คน
  4. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ – หมอลำกลอน  จำนวนผู้แสดง  4 -6  คน

       โดยเกณฑ์การตัดสิน จะคำนึงถึงความถูกต้องตามศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเป็นหลัก และต้องมีเนื้อหาส่งเสริมประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมด้วย

  1. เนื้อหาสาระเป็นการส่งเสริมประชาธิปไตยแบบการมีส่วนร่วม
  2. ฉันทลักษณ์ สำนวนภาษาที่ใช้ถูกต้องเหมาะสม ใช้ภาษาถิ่นที่สื่อเข้าใจง่าย
  3. ท่วงทำนองของเพลงร้อง ดนตรีไพเราะถูกต้องตามรูปแบบ
  4. รูปแบบการนำเสนอ เครื่องแต่งกาย ลีลา และองค์ประกอบอื่นถูกต้องเหมาะสมกับเอกลักษณ์ศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านนั้น ๆ

รางวัลการประกวดแต่ละประเภท 

  รางวัลชนะเลิศ โล่เกียรติยศ เกียรติบัตร และเงินรางวัล                  100,000  บาท
  รางวัลรองชนะเลิศอันอับ 1 โล่เกียรติยศ เกียรติบัตร และเงินรางวัล  70,000  บาท
  รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 โล่เกียรติยศ เกียรติบัตร และเงินรางวัล  40,000  บาท

      

      

ผลการตัดสินการประกวดศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้านเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตย ปี 2552

พื้นบ้านสานไทย สานใจเยาวชน

ภาคเหนือ
 รางวัลชนะเลิศได้แก่   คณะมนต์เสน่ห์ล้านนา จังหวัดเชียงใหม่
 รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ คณะลูกจาวล้านนา จังหวัดเชียงใหม่
 รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ คณะลูกบัวตอง จังหวัดเชียงใหม่
ภาคกลาง
 รางวัลชนะเลิศได้แก่   คณะเพลงฉ่อยสายเลือดสุพรรณฯ  โรงเรียนบรรหารแจ่มใสวิทยา 1  จังหวัดสุพรรณบุรี
 รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ คณะวิทยาลัยนาฏศิลป์สุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี
 รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ คณะชมรมรักษ์ลำนำเมืองอู่ข้าว จังหวัดอ่างทอง
ภาคใต้
 รางวัลชนะเลิศได้แก่    คณะวิทยาลัยประมงปัตตานี จังหวัดปัตตานี
 รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ คณะชลธาราสิงเห จังหวัดนราธิวาส
 รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ คณะอิสลามวิทยาลัยแห่งประเทศไทย    กรุงเทพฯ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
 รางวัลชนะเลิศได้แก่     คณะสว่างแดนดินศิลป์อีสาน จังหวัดสกลนคร
 รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1 ได้แก่ คณะวัฒนธรรมอีสาน จังหวัดอุดรธานี
 รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2 ได้แก่ คณะต้นน้ำซี จังหวัดชัยภูมิ

                       

            (บันทึกสดการแสดง เพลงฉ่อยสายเลือดสุพรรณฯ รางวัลชนะเลิศระดับประเทศ โดยรัฐสภา ประจำปี พ.ศ.2552)

 

หมายเลขบันทึก: 301619เขียนเมื่อ 28 กันยายน 2009 22:10 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ต่างรูปแบบ ต่างวิธีการ แต่แสดงถึงเอกลักษณ์ของแต่ละภาคได้อย่างสวยงามและมีคุณค่า ขอแสดงความชื่นชมยินดีด้วย

สวัสดี กลุ่มพวง มาลัย

  • ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมเยือนเป็นกำลังใจให้กับคนทำงานตามแบบโบราณ
  • ใช่ครับ ในแต่ละท้องถิ่นมีสิ่งที่ดี มีความสวยงาม มีคุณค่าทางจิตใจมาก
  • ติดตามรายละเอียดเส้นทางความสำเร็จในบล็อก "ภูมิปัญยาท้องถิ่น" ได้ครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท