GotoKnow

AAR Peer Assist ของ สสส.

Prof. Vicharn Panich
เขียนเมื่อ 25 สิงหาคม 2548 13:05 น. ()
แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2555 13:56 น. ()

AAR Peer Assist  ของ สสส.


          เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2548   สคส. ได้ไปช่วย สสส. ทำ Peer Assist (เพื่อนช่วยเพื่อน) ตามที่ผมเคย AAR ไว้แล้ว (link) นั้น   ต่อไปนี้คือ AAR ที่ทาง สสส. ได้แสดงความคิดไว้

วันนี้ท่านอาจารย์วิจารณ์และทีมงานให้เกียรติ สสส.
มาทำกระบวนการเพื่อนช่วยเพื่อน ในการพัฒนา
ระบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใน สสส.
ทางทีม สคส. อยากให้พวกเราลองทบทวนว่าได้อะไรจากการเข้าร่วมครั้งนี้บ้าง
ดังนี้
1. สิ่งที่คาดหวัง และสิ่งที่ได้ผลตามความคาดหวัง
2. สิ่งที่คาดหวัง แต่ไม่ได้รับ
3. ประโยชน์ที่เกิดกับตัวท่าน
รบกวนเขียนด้วยกกันด้วยเด้อ เพื่อนำมาสู่การพัฒนาให้ดีขึ้นครับ
ภายในวันจันทร์ที่ 22 สค 48 นี้นะครับ ขอบคุณครับ
Attach :
 




<table cellspacing="0" cellpadding="0" width="90%" border="1">

คนที่ 1
Posted : 19 สิงหาคม 2548
   



1.สิ่งที่คาดหวังและสิ่งที่ได้ผลตามความคาดหวัง : ได้มีความคิดและลองปฏิบัติในกระบวนการการทำให้เกิด "องค์กรเรียนรู้" ขึ้นจริงๆ ใน สสส.
ประทับใจมากกับเรื่องที่อ.วิจารณ์เน้นเรื่องการชื่นชม เพราะอยู่ สสส. แล้วเสีย self มาก ต้องคอยเตือนตัวเองอยู่เสมอว่า "เราก็มีดี แบบที่คนอื่นไม่มีเหมือนกันนา"
2.สิ่งที่คาดหวังแต่ไม่ได้รับ: คือ ช่วง 25 นาทีที่ตั้งไว้ตามกำหนดการว่า อ.วิจารณ์ จะบรรยาย เพราะคิดว่าจะได้ความคิดรวบยอด แต่อ.พูดนิดเดียว ส่วนตอนอยู่ในห้องประชุมแล้วบอกว่าจะให้คน สคส.สะท้อน ก็คาดหวังมากว่าจะได้อะไร แต่ปรากฎว่าก็ได้แค่ว่า สคส.ทำอะไร ซึ่งมิติมันต่างกันมากกับ สสส. เหลี่ยมมุมของการสะท้อนยังไม่พ้นจากวิถีประจำวันที่องค์กรแบบ สคส. โดยผู้บริหารออกแบบไว้
3.ประโยชน์ที่เกิดกับตัวฉัน : ได้เยอะเลย จากคำพูดของพี่โต้งที่กระตุกให้เราได้คิดว่าทุกเวลาที่เราทำงาน เราก็ได้เรียนรู้อยู่แล้ว ซึ่งนี่มันเป็นเหตุผลที่ตัวเองเลือกที่จะเปลี่ยนหน้าที่ตัวเอง โดยไม่สนใจตำแหน่ง (แต่เงินเดือนข้าใครอย่าแตะ เพราะแค่นี้ก็ต้องใช้ทุนทางสังคมส่วนตัวอยู่ทุกวันแล้ว) และก็เข้าใจและเชื่อมโยงมิติที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเรียนรู้ได้มากขึ้น อย่างที่ทุกคนบอกว่าเหมือนกับดาเป็นคนสรุปที่พูดมากันในห้องนั่นแหละ ก็ขอถือโอกาสบันทึกความคิดตัวเองไว้ละกัน
มิติที่เกี่ยวข้อง มี 4 มุม ได้แก่ 1)การมีเวลา 2)เรื่องมากมายที่ต้องเรียนรู้ 3)เทคนิค/แรงจูงใจ 4)การเรียนรู้ที่ตั้งข้อสังเกตไว้ว่า เราเรียนรู้ตลอดเวลาอยู่แล้วใช่หรือไม่ กับเราเรียนรู้กันจนทะลักอยู่หรือเปล่าเนี่ย
ทั้ง 4 ด้านนี้มันมาสู่หัวใจของการที่เราเรียกร้องการเรียนรู้อย่างไร ซึ่งมี 2 คำถามในชีวิตที่เป็นจริงและต้องมีกระบวนการเพื่อค้นหาคำตอบ (ให้เป้าหมายคือกระบวนการ ไม่ใช่คำตอบเป็นเป้าหมาย) คือ
1.เป้าหมายส่วนตัวมีกันอย่างไร มันถึงจะบอกได้ว่าเราต้องการการเรียนรู้อีกหรือไม่ รวมถึงเรื่องอะไร และไกลกว่านั้น คือ สสส.จะตอบสนองเป้าหมายนี้ได้หรือไม่
2.เป้าหมายขององค์กร หมายความว่า องค์กรต้องการสร้าง "วัฒนธรรมองค์กร" หรือ "คน" แบบไหน ยกตัวอย่างเช่น AIS ของท่านทักษิณเขาจะชัดในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้ยึดลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ดังนั้นทุกคนจะทำหน้าที่ของตัวเองอย่างเต็มความสามารถเพื่อให้ลูกค้าแต่ละรายเกิดความพอใจประทับใจอย่างแท้จริง
ใครอธิบายได้ว่า วัฒนธรรมองค์กรและ คน "แบบ สสส." ที่เป็นและควรเป็นอย่างไร ซึ่งเรื่องเหล่านี้ควรตั้งเป้าหมายไว้ที่ กระบวนการค้นหาอย่างที่กล่าวแล้วนั่นแล สูเอย
สรุปว่าดีค่ะ ได้ทบทวนตัวเองรวมหมู่ในเวลาอันสั้น
Attach :
 

คนที่ 2
Posted : 22 สิงหาคม 2548
   



1.สิ่งที่คาดหวัง คือ การได้เรียนรู้วัฒนธรรมองค์กรอื่น การพัฒนาตนเองและองค์กร

2.สิ่งที่คาดหวังแต่ยังไม่ได้รับ คือ ความน่าจะเป็น การเอาจริงอาจัง และรูปธรรมที่ สสส.จะดำเนินการต่ออย่างต่อเนื่อง (มีบ้าง แต่ยังไม่ชัดในทางปฏิบัติ)

3.ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง คือ ได้รับมุมมองใหม่ๆ เรียนรู้ว่ามีวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นได้จริง มิใช่เพียงทฤษฎี และหากองค์กรใดต้องการให้เกิดขึ้นนั้น ไม่สามารถลอกเลียนแบบได้ เพราะมีปัจจัยหลายอย่างมากที่จะเป็นหัวใจแห่งความสำเร็จ เช่น สไตล์การทำงานของผู้บริหาร ของพนักงาน สไตล์การเอาใจใส่ซึ่งกันและกัน(คุยกันเรื่องอื่นๆ ของชีวิตบ้างนอกจากงาน อารมณ์ขัน ทุกข์ สุข ความสำเร็จ  ฯลฯ)  รวมถึงสไตล์ของการให้ความสำคัญต่อการสร้างกระบวนการเรียนรู้ สิ่งที่สำคัญที่สุดน่าจะเป็นบุคคลแต่ละบุคคลที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นองค์กรจะต้องเห็นความสำคัญ และมองเป็นการพัฒนาตนและพัฒนางานร่วมกัน

อยากให้องค์กรแบบ สสส.เป็นองค์กรแห่งการมีวัฒนธรรมการเรียนรู้นะคะ  เพราะเราคงต้องทำงานบนพื้นฐานความรัก ความเข้าใจ และข้อมูลที่ต้องพัฒนาไปตลอดเวลาค่ะ
Attach :
 

</table>


<table cellspacing="0" cellpadding="0" width="90%" border="1">

คนที่ 3
Posted : 22 สิงหาคม 2548
   



หลังจากประชุมเสร็จในวันนั้นแล้ว พวกเรา สสส.สามสี่คนกับทีม สคส.ได้นั่งทบทวนสะท้อนมุมมองต่างๆ ร่วมกันอีกนิดหน่อย  นึกถึงบรรยากาศเหมือนได้ดูหนังแล้วนั่งวิจารณ์หนังอะไรทำนองนั้น คำถามพื้นๆ ก็คือ ได้ข้อคิดอะไร? เป็นอย่างไรบ้าง?
ผมเองไม่ได้คาดหวังอะไรครับของการประชุมครั้งนี้  เพียงแต่ตั้งใจว่าจะมาฟังอาจารย์วิจารณ์และคณะเกี่ยวกับประเด็นประชุมที่ตั้งไว้...มีประเด็นที่จะขออนุญาตแลกเปลี่ยนด้วยอย่างนี้ครับ
1. การเรียนรู้ต้องเริ่มจากตัวเราเองจริงๆครับ  แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่เข้าใจกันดีอยู่แล้ว เพียงแต่บางทีจะรู้สึกเหนื่อยหรือล้าหรือเปล่าครับ?  ดังนั้นในทางปฏิบัติทำอย่างไร?  ผมเองเห็นว่าพวกเราทุกคนน่ะมีเรื่องนี้กันอยู่แล้ว  และองค์กร(สสส.)ก็ดูเหมือนว่าเปิดโอกาสให้ทำกิจกรรมทำนองนี้อยู่แล้ว เพียงแต่ว่ายังน้อยอยู่หรือเปล่าเอย ใครมีวิธีอย่างไรลองเสนอไปที่แนทดีไหมครับ?
2. ทบทวน/สรุปบทเรียน ผมเห็นว่าพวกเราให้น้ำหนักกับเรื่องนี้น้อยน่ะ  หลังทำกิจกรรมใดๆ เสร็จพวกเราไม่ค่อยได้นั่งทบทวนเพื่อปรับปรุงงานในครั้งต่อๆ น่ะ(บางส่วนกับงานที่รับผิดชอบอยู่) จะว่าไปแล้วเรื่องนี้มีรายละเอียดเยอะเหมือนกันน่ะ  เจ้าภาพเรื่องนี้น่าจะเป็นเจ้าของงาน(ผู้ประสานงานคนตั้งเรื่องแหล่ะครับ)
          ส่วนที่ผิดหวังน่ะไม่มีครับ เพียงแต่รู้สึกว่าพวกเรายังไม่ได้เล่าเรื่องราว  แต่เป็นการตอบคำถามมากไปนิดหนึ่งครับ อาจเป็นข้อจำกัดเรื่องเวลากระมัง?
       ดูเหมือนที่ประชุมเห็นว่าโอกาสการเรียนรู้น่าจะเริ่มที่สำนัก ผมเห็นด้วยครับ "ช่วงหนึ่งที่ผมได้มีโอกาสทำงานกับอ.สุปรีดา(รักษาการสำนัก5) จำได้ว่าเวลาประชุมสำนักอาจารย์จะตั้งคำถามที่เป็นเชิงถอดบทเรียนของงานเสมอๆ ซึ่งดีมากๆเลยครับ และอีกช่วงหนึ่งที่ได้มีโอกาสทำงานกับ ทพ.กฤษดา ก็จะเจอคำถามในเชิงท้าทายอยู่เสมอ เช่น แผนงานนี้มีเป้าหมายอะไร?  เราไปประชุมหรือไปร่วมประชุมเพื่ออะไร? คาดหวังอะไร? จะทำบทบาทไหน? ฯลฯ (เหนื่อยเหมือนกันแหล่ะ ฮิฮิฮิ)
        พวกเราเป็นตำราให้กันและกันอยู่แล้วครับ  และก็มีเวทีให้พวกเราได้มีโอกาสแสวงหากันอยู่แล้วใช่ไหมเอย?
ขอให้พี่น้อง สสส.ทุกคนมีกำลังใจทำงานและสู้ต่อไปครับ
Attach :
 

คนที่ 4
Posted : 22 สิงหาคม 2548
   



1.สิ่งที่คาดหวัง และสิ่งที่ได้ผลตามความคาดหวัง
ได้รับเมล์จากแนทเตอร์รู้สึกดีใจเป็นอย่างมาก เพราะมีความรู้สึกมาตลอดว่า สสส. น่าจะมีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบหรือ การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ขึ้นในองค์กร  ก็คาดหวังว่าเราจะได้เรียนรู้ว่าเขาทำกันอย่างไร
ฟังแล้วก็ได้หลายอย่างนะ รู้สึกว่า สสส.ขาดการทำ AAR เป็นอย่างมาก ไม่ว่าเราจะจัดงานใหญ่ขนาดไหน ทั้งในระดับองค์กรและสำนัก (ไม่ว่าจะเป็นแบบทางการหรือไม่ทางการ จริงจังหรือไม่จริงจัง) 
ประทับใจเช่นเดียวกับพี่ดา ในเรื่องบรรยากาศของการชื่นชมและการเฉลิมฉลอง  มันเป็นภาพของการทำงานที่เราตั้งใจทำอย่างเต็มที่ แล้วเราก็ผ่านมันไปได้  คุ้น ๆ ว่าเหมือนเคยมีบรรยากาศแบบนี้ในช่วงแรกที่เข้ามาทำงานที่นี่  แต่มันหายไปตอนไหนก็ไม่รู้ 
2. สิ่งที่คาดหวัง แต่ไม่ได้รับ
วันนั้น  อยากฟังความคิดของผู้บริหารในเรื่องแนวทางปฏิบัติ  แต่ก็ไม่ชัดเจนนัก 
3. ประโยชน์ที่เกิดกับตัวท่าน
ทำงานที่นี่ เหมือนเรากำลังตะลุยเดินไปข้างหน้า โดยลืมที่จะเก็บเกี่ยวความสวยงามของดอกไม้ 2 ข้างทาง ที่มันจะสร้างกำลังใจและพลังในการทำงานให้กับเรา
รู้ว่าทุกอย่างต้องเริ่มที่ตัวเรา  เพียงแต่เราไม่รู้ว่า เราจะเริ่มมันยังไง
เป็นเรื่องที่น่าจะคิดอย่างจริงจังนะ

</table><p>                                                                                               </p><p>                                                                                               วิจารณ์  พานิช
                                                                                                  24 ส.ค.48
</p>

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized 


ความเห็น

ชาตรี
เขียนเมื่อ

วัฒนธรรรมองค์กรนั้น สมาชิกองค์กรคัดสรรและทำซ้ำผ่านพิธีกรรม พิธรการ และ interaction ระหว่างกัน ทำนองสังคมจะดีได้สมาชิกต้องมีใจ care+share กันและกัน ซึ่งในฐานะนอกนอกที่ยืนชิดรั้ว สสส. ผมมองว่ามี care เป็นทุนสำคัญพอท่านอาจารย์มาสะกิดก็เกิดตื่นรู้ share+learn จะตามมา

 

 

ชาตรี
เขียนเมื่อ

วัฒนธรรรมองค์กรนั้น สมาชิกองค์กรคัดสรรและทำซ้ำผ่านพิธีกรรม พิธรการ และ interaction ระหว่างกัน ทำนองสังคมจะดีได้สมาชิกต้องมีใจ care+share กันและกัน ซึ่งในฐานะนอกนอกที่ยืนชิดรั้ว สสส. ผมมองว่ามี care เป็นทุนสำคัญพอท่านอาจารย์มาสะกิดก็เกิดตื่นรู้ share+learn จะตามมา

 

 


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท
ภาษาปิยะธอน (Piyathon)
เขียนโค้ดไพทอนได้ด้วยภาษาไทย