เป้าหมายและวิธีเรียนรู้แก้ไขปัญหาความยากจน


การแก้ไขปัญหาความยากจน ที่ทำได้เลยไม่ต้องรอถ้าใคร ก็คือการแก้ไขปัญหาความยากจนโดยประชาชนเอง อาศัยทุนทุกอย่างของประชาชน ลงมือหรือปฏิบัติการแก้จนด้วยตนเอง ไม่รอรัฐอย่างเดียว เว้นแต่ว่าจะเกินกำลังในบางเรื่อง


โครงการแก้ไขปัญหาความยากจนระดับบุคคลของ กศน.เมืองนครศรีฯ ต้องการให้ผู้เข้าร่วมโครงการสำรวจตรวจสอบทุนทุกอย่างของตนเอง กำหนดเป้าหมายการทำงานหรือการเรียนรู้ ให้ชัดเจนว่าตนพร้อมที่จะทำอะไรได้บ้างในปริมาณมากน้อยเท่าใด แต่ที่มากไปกว่านั้นคือต้องการให้กระบวนการเรียนรู้และการพึ่งตนเองเป็นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ถาวรติดตัวผู้เข้าร่วมโครงการไป  ทั้งในด้านที่เป็นการเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย และการออม

วิธีการขั้นตอนการดำเนินงาน คือ สำรวจข้อมูลความยากจนเพื่อหาผู้เรียนหรือผู้เข้าร่วมโครางการรวมทั้งความสนใจตั้งใจจริงของผู้ที่จะเข้าร่วมโครงการ โดย ครูอาสาฯ ทำเวทีพูดคุยปลุกใจ สร้างอุดมการณ์ (ในส่วนของหัวปลาของแต่ละคน) ให้แต่ละคนออกแบบการทำงาน / การเรียนรู้ ว่าจะสามารถทำอะไรกันได้บ้าง หลังจากนั้นก็เป็นระยะเวลาของปฏิบัติการแก้จนตามที่ได้ออกแบบกิจกรรมไว้ในแผนการเรียนแต่ละคน  ครูอาสาฯจะนัดแนะผู้เรียน/ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ทำเวทีประชาคมทบทวนการปฏิบัติงานร่วมกัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อ ปรับปรุงการทำงานในครั้งต่อๆไป   ผมได้ร่วมกับเพื่อนครูอาสาฯ ทดลองใช้แล้ว แต่ยังไม่เห็นผลจริงจังนัก แต่คิดว่าโมเดลนี้จะเป็นประโยชน์ จึงนำมาเผยแพร่

เครื่องมือที่ใช้ ก็มีอย่างเดียวครับ คือ ให้ผู้เข้าร่วมโครงการสัญญากับตัวเองว่าจะแก้จนด้วยการทำกิจกรรมเพิ่มรายได้อะไรบ้าง ไม่ว่าที่จะให้มีรายได้มาในแต่ละวัน แต่ละสัปดาห์ แต่ละเดือน แต่ละ.........(โดยให้คำนึงความยากง่ายของกิจกรรม กำลังทุกอย่างของตนเองที่จะทำว่าจะสำเร็จได้ภายในระยะเวลานั้นหรือไม่ เช่น รายได้ที่สามารถทำได้ภายใน 1 วัน ได้แก่ ทอดกล้วยแขกขายทำขนมขาย เป็นต้น รายได้ที่สามารถทำได้ภายใน 1 สัปดาห์  ได้แก่ เพาะถั่วงอก ทำปลาเค็มปลาร้า ฯลฯ....) จะคิดได้ในเวทีประชาคมหรือกลับไปคิดต่อกับสมาชิกในครัวเรือน ก็ลงไว้ในเครื่องมือนี้ ตั้งชื่อเครื่องมือนี้ว่า  “แบบกำหนดเป้าหมายกิจกรรมและวิธีแก้ไขปัญหาความยากจนรายบุคคล”

การกำหนดเป้าหมายกิจกรรมและวิธีแก้ไขปัญหาความยากจนรายบุคคลของแต่ละคนนี้ ไม่ได้บังคับว่าใครจะทำได้ครบทุกด้านทั้งด้านเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย หรือการออม ไม่บังคับว่าจะต้องทำได้ทุกช่องของเครื่องมือนี้ ค่อยๆให้ผู้เรียนหรือผู้เข้าร่วมโครงการค่อยๆเรียนรู้ ทั้งเรียนรู้เองที่บ้านและที่เวทีประชาคม

เป็นเรื่องที่ยากและต้องอาศัยเวลา และความร่วมมือโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากผู้เรียนหรือผู้เข่าร่วมโครงการ

 

หมายเลขบันทึก: 30089เขียนเมื่อ 22 พฤษภาคม 2006 09:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 14:47 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท