ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน
นาย ทรงวุฒิ พัฒแก้ว ศูนย์ข่าวพลเมือง ฅนคอน พัฒแก้ว

ท่าศาลา ออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ทางทะเล เป็น อบต.แรกของไทย


ร่วมให้กำลัง อบต.ท่าศาลา จะเป็น อบต.แรกของไทยที่ออกข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเล ภายใต้กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม ของทุกฝ่าย ภาครัฐ ภาควิชาการ ภาคท้องถิ่น ภาคชุมชน ภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นกฎกติกาชุมชน เป็นนโยบายขนาดเล็กที่สุดที่สามารถบังคับใช้ทางกฎหมายได้

ขั้นตอนและกระบวนการและเหตุผล 

ในการออกข้อบัญญัติตำบลท่าศาลา 

ภายใต้กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม 

************************************

บทเรียนกระบวนการต่อสู้  เรื่องหอยลาย ที่ผ่านมา
                จากกระบวนการเวทีสาธารณะ และรวบรวมความเห็นจากเวทีต่างๆ  ประมวลสรุปได้ว่า การจัดการทรัพยากรชายฝั่งอย่างยั่งยืนนั้น ในระดับหน่วยย่อยระดับอำเภอ มีประสิทธิภาพ สอดคล้องและสอดรับกัยปัญหามากที่สุด โดยมีกระบวนการในกลไกเฝ้าระวัง ดังนี้
๑.  การเฝ้าระวังและจับตา
            การติดตามและเฝ้าระวังทางทะเล ตรวจสอบการเข้ามาของเรือคราดหอยลาย  ประสานงานกับหน่วยประสานงานชายฝั่งเพื่อ ติดตามอย่างใกล้ชิด
๒. การวางสายในทะเลจาก ๑ ไมล์   –   ๑๐ ไมล์
                หลังจากสืบทราบการเข้ามาของเรือคราดหอยลาย  ส่งเรือประมงพื้นบ้านเข้าไปเข้าไปวางสาย เพื่อจับทิศทางการเคลื่อนไหวของเรือคราดหอยลาย รวมทั้งเรือผิดกฎหมายอื่นๆ เพื่อป้องกันการหลบหนี  อีกทั้งชุมชน
๓.ประสานและจัดการ เตรียมกำลังจับกุม
                ประสานงาน หน่วยจับกุม ผ่าน นายก อบต.ท่าศาลา เพื่อประสานต่อไปยัง ชุด ฉก.ศรีวิชัย  กรมเจ้าท่าฯ หน่วยปราบปรามเกาะถ้ำ  ทั้งนี้ควรประสานงานหน่วยเดียว ในอนาคตจะผลักดัน ให้ปลัดปรามอำเภอท่าศาลา เป็นหัวหน้าชุดเฝ้าระวังในอ่าวท่าศาลา ทั้งนี้เนื่องจากมีความพร้อม ทั้งทีมงาน ศักยภาพ และความเชียวชาญในพื้นที่ หน่วยเฝ้าระวังระดับอำเภอจึงเป็นหน่วยที่คล่องตัวและทรงประสิทธิภาพมากที่สุด
๔. กระบวนการจับกุม
  • การไล่ล่าจับกุม โดยมีแกนนำชาวบ้าน  ชี้เป้าหมายและประสานกับหน่วยสายข่าวในทะเล โดยมี เจ้าหน้าที่  กองร้อย อส.  อบต. ประมงเป็นเจ้าหน้าที่หลักในการจับกุม
  • ถ่ายทำกระบวนการจับกุม ส่งข่าวและติดต่อนักข่าวเพื่อสร้างประเด็นนโยบายสาธารณะ   
  • บันทึกกระบวนการจับกุมที่กองร้อย อส. ให้เห็นถึงพฤติกรรมความเป็นมืออาชีพ ของกระบวนการคราดหอยลายที่ทำลายระบบนิเวศน์ เครื่องมือประมงพื้นบ้าน การใช้เครื่องมือที่ผิดกฎหมายทุกครั้ง  การหลบหนีการจับกุม
๕.กระบวนการสืบสวนสอบสวน
  • ส่งบันทึกการจับกุม โรงพักท่าศาลา เพื่อสอบสวนการกระทำผิด
  • ให้ทางโรงพักดูแลของกลาง  เพราะหากปล่อยของกลางให้ผู้ต้องหาดูแล  อาจกลับมากระทำผิดอีก
  • การแจ้งความของผู้เสียหาย แพ่ง / อาญา ม.358 เพราะจงใจให้เสียทรัพย์
๖.กระบวนการอัยการ/ศาล
  • ส่งคดีให้อัยการ
  • ศาลพิจารณา
  • ติดตามผลคดีทางศาล
 
แผนการจัดการทรัพยากรชายฝั่งแบบมีส่วนร่วม ๗ ยุทธศาสตร์ของพื้นที่
          จากการประมวลสรุป ข้อเสนอแนะต่างๆ จากเอกสารและความเห็นของทุกภาคส่วน  มีความประสงค์และอยากผลักดัน การจัดการทรัพยากรชายฝั่งแบบมีส่วนร่วม  โดยมี ๗ ยุทธศาสตร์ในประเด็นต่างๆ ดังนี้
 
ประเด็นที่ ๑  ฐานข้อมูล
ในประเด็นนี้  นครศรีธรรมราชมีหลายหน่วยงาน หลายองค์กร  ที่เป็นหน่วยงานพัฒนาและศึกษาวิจัย แต่ไม่ได้รวบรวมฐานข้อมูลต่างๆ ไว้อย่างเป็นระบบ  เช่น   ความหลากหลายทางชีวภาพ
องค์กรชุมชน  การกัดเซาะ/เพิ่ม ของชายฝั่ง  เครื่องมือประมง ในส่วนของตำบลท่าศาลา มีการเก็บข้อมูลความหลากหลายและองค์กรชุมชนทางการประมงไว้บางส่วนแล้ว
                ดังนั้น ในอนาคตจึงต้องมีการเก็บรวมรวมข้อมูล เพื่อการประกอบการตัดสินใจของหลายๆฝ่ายร่วมกัน เพื่อการวางแผน และจัดระบบการทำงานอย่างบูรณาการได้
 
ประเด็นที่ ๒  กลไกเฝ้าระวังชายฝั่ง
ปัจจุบัน กลไกเฝ้าระวังชายฝั่ง  มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลักๆ ๕ หน่วยงาน คือ กรมประมง กรมเจ้าท่าและพาณิชย์นาวี กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  ทหารเรือ และตำรวจน้ำ  แต่ปัญหาต่างๆ ที่ตามมา คือ เรือไม่ได้อยู่ในสภาวะที่พร้อม ทั้งนี้เนื่องจากมีปัญหาเรื่องน้ำมัน  เจ้าหน้าที่  และขอบเขตของพื้นที่ในการเฝ้าระวังกว้าง
ในอนาคตจึงต้องผลักดันเรือประจำการ  ณ ที่เกิดเหตุบ่อยๆ  พร้อมกับเจ้าหน้าที่ และมีค่าน้ำมันในการออกไปตรวจตราจับกุม โดยเป้นหน่วยระดับอำเภอ พร้อมที่จะประสานทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างบูณาการ ปัญหาในทะเลหน้าบ้าน จึงควรจัดการบทบาทและภารกิจให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ เนื่องจากในปัจจุบัน แต่ละหน่วยงานไม่ได้ประสานงานอย่างเป็นระบบเกิดช่องว่างของสุญญากาศในการเฝ้าระวัง เพราะแต่ละหน่วยงานจะมีแผนเฝ้าระวังพื้นที่ละ ๑ – ๒ อาทิตย์เท่านั้น
 ในพื้นที่ตำบลท่าศาลา ทาง อบต.จะสนับสนุนค่าน้ำมันในการตรวจตราและเฝ้าระวังทางทะเลและชายฝั่ง แกเรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องที่มาประจำการและตรวจตรา จับกุม  ในอนาคตจะผลักดันเรื่องเรือตรวจตรา เจ้าหน้าที่ หรือประสานเรือมาประจำการในพื้นที่  จากศักยภาพที่ผ่านมาสรุปได้ว่า หน่วยงานระดับท้องถิ่น และระดับอำเภอเป็นหน่วยงานที่มีศักยภาพและเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
 
ประเด็นที่ ๓  การจัดการองค์กรชุมชน
          การจัดการองค์กรชุมชน ถือ เป็นการจัดการฐานรากและในระดับพื้นที่ เป็นการแก้ปัญหาตรงจุด ดังนั้นควรมีรูปแบบการจัดการองค์กรชุมชนที่หลากหลาย
                ในตำบลท่าศาลามีกลุ่มองค์กร ทั้งหมด ๑๘ กลุ่ม เช่น  ออมทรัพย์   เครือข่ายวิทยุ   ร้านค้าชุมชน  กองทุนข้าวสาร  กองทุนเครื่องมือประมง โดยการสนับสนุนจากชุมชนเอง จาก อบต. จากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน
                ในอนาคต อบต.ที่ติดชายฝั่งทะต้องมีแผนงาน ด้านชายฝั่งและสนับสนุนประเด็นองค์กรชุมชนเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างเป็นระบบ
 
ประเด็นที่ ๔  รูปแบบการอนุรักษ์
                รูปแบบการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องออกแบบการจัดการ และมีการสนับสนุนงบประมาณเพื่อให้มีความต่อเนื่อง เช่น  ป่าชายเลน   หมฺรำไม้เสม็ด  โป๊ะไม้ไผ่ธนาคารปูไข่ ในทะเล บนฝั่ง  ปะการังเทียม ฯลฯ
                ซึ่งรูปแบบการอนุรักษ์เหล่านี้ มีการศึกษาและออกแบบส่วนหนึ่งแล้ว ที่ตำบลท่าศาลา และ ตำบลแพชร ในอนาคตผลักดัน ปะการังเสาหลัก และป่าชายเลนลอยน้ำ เพื่อเป็นแหล่งอนุรักษ์ฟื้นฟู และป้องกันแนวชายฝั่ง จากอวนลาก อวนรุนอีกทางหนึ่งด้วย
                ในระดับพื้นที่จึงควรมีรูปแบบการอนุรักษ์ อาสาสมัครการอนุรักษ์ และการสนับสนุนงบประมาณกิจกรรมให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน
 
ประเด็นที่ ๕ เศรษฐกิจชุมชน
                ในประเด็นนี้เป็นการต่อยอดจากการทำประมง และต่อยอดจากวิถีและทัพยากรที่เกี่ยวข้อง เช่น การแปรรูป การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ  แพชุมชน  ท่องเที่ยว  ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าทางการผลิต ให้เกิดรายได้ของชุมชนชายฝั่ง  และเป็นการใช้ทรัพยากรของพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
 
ประเด็นที่ ๖ กฎ กติกา ข้อบัญญัติท้องถิ่น และ ประกาศจังหวัด
                ในการประกอบอาชีพ และการทำการประมงชายฝั่ง ซึ่งใช้ฐานทรัพยากรเดียวกัน หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งของชุมชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทางออกก็คือ ทำอย่างไรให้ได้ใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนและสมดุล
                ดังนั้นจึงควรมีกฎ  ระเบียบ และกติกาของชุมชน  ข้อบัญญัติท้องถิ่น ประกาศจังหวัด เพื่อการอนุรักษ์ ฟื้นฟู รักษาทรัพยากรให้เกิดความสมดุล
                ในระดับตำบลจึงควรมีข้อบัญญัติท้องถิ่นทางทะเล เพื่อปกป้องทรัพยากรให้สอดคล้องกับการใช้ของพื้นที่
 
ประเด็นที่ ๗  การเชื่อมประสานและการทำงานแบบบูรณาการ
                พื้นที่ทางทะเลและชายฝั่ง ถือเป็นพื้นที่สาธารณะ รวมทั้งการจัดการในระดับพื้นที่มีหลายๆหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรอบและประเด็นการทำงานมีความทับซ้อนกัน ดังนั้น ในการจัดการให้มีพลังและขับเคลื่อนงานอย่างบูรณาการจึงควรมีการจัดการในระดับตำบล  โดยประสานงานความร่วมมือ ใน ภาควิชาการ  ภาคท้องถิ่น/รัฐ   ภาคชุมชน  ภาคเอกชน
                จัดทำแผนงาน  การจัดการร่วมกัน มีหน่วยประสานงานอย่างเป็นระบบ  เนื่องจากแต่ละหน่วยงานแต่ละองค์กร  มีศักยภาพและความพร้อมที่ไม่เท่ากัน การทำงานเชื่อมประสานจึงเกิดประโยชน์สูงสุด
 
สู่กระบวนการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น
โดยความเห็นของเครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา และ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล ได้ประชุมหารือร่วมกันทุกเดือน ในวันพุธที่ ๓ ของเดือน  โดยจะหมุนเวียนประชุมตามรอบ รอบที่ ๑ และ ๒ ประชุมสัญจรไปยังหมู่บ้านต่างๆ และในรอบที่ ๓ ประชุมที่ อบต. หรือ ศูนย์ประสานงานตำบล  ในการประชุมได้ปรึกษาหารือเพื่อยกร่าง ข้อเสนอข้อบัญญัติตำบลมาโดยตลอดตั้งแต่เดือน มีนาคม ๒๕๕๒ เป็นต้นมา
ทั้งนี้ในการออกข้อบัญญัติ ต้องตอบสนองต่อปัญหา และการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มียุทธศาสตร์การทำงานร่วมกันของทุกๆฝ่าย
ดังนั้น ในการออกข้อบัญญัตินี้ จึงมีเจตนารมณ์อย่างชัดเจนในการป้องกันและการแก้ไขปัญหาทั้งในระยะสั้นและระยาว ภายใต้นโยบายสาธารณะและการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย โดยเน้น ที่ ๓ จุดหลัก คือ
๑.     กระบวนการเฝ้าระวังแบบมีส่วนร่วม
๒.   การออกกติกา ข้อบัญญัติ ประกาศจังหวัด
๓.    แผนการจัดการทรัพยากรชายฝั่ง
โดยแต่ละประเด็นการเคลื่อนไหวได้วางแผน และการจัดการอย่างเป็นระบบและรัดกุม  จนได้บทเรียน และพร้อมที่จะขยายผลการเรียนรู้ให้เกิดวงกว้างต่อไป
ดังนั้น จึงมีความจำเป็นในการจัดงาน “มหกรรม คืน ชีวิตให้ทะเล” ในวันที่ ๒๙ – ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒ ณ ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

   - ร่าง -

 กำหนดการ นโยบายสาธารณะแบบมีส่วนร่วม

มหกรรม คืน ชีวิตให้ทะเล

วันที่ ๒๙ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒

 ณ  ตำบลท่าศาลา อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

 

วันอังคารที่ ๒๙ กันยายน ๒๕๕๒

ณ ชายหาดบ้านในถุ้ง
๐๙.๐๐ – ๐๙.๓๐ น.          ลงทะเบียนและเตรียมความพร้อม
๐๙.๓๐ – ๑๐.๐๐ น.          กล่าวต้อนรับและกล่าวเปิด
                                        โดย นายอภินันท์  เชาวลิต  นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา
๑๐.๐๐ – ๑๐.๓๐ น.          เวทีประชาพิจารณ์ ข้อบัญญัติท้องถิ่นตำบลท่าศาลา พ.ศ. ๒๕๕๒
                                                โดย นายภิญโญ หนูชื่น           ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา
                                                       นายสุพร โต๊ะเส็น            ประธานเครือข่ายประมงพื้นบ้านอ่าวท่าศาลา
                                                       นายเราะหมาน ปริงทอง  ประธานกรรมมาธิการ สวล.สภา อบต.
                                                        นายทรงวุฒิ พัฒแก้ว      ผู้ประสานงานประมงพื้นบ้าน
๑๐.๓๐ – ๑๒.๐๐ น.         จัดทำธงแนวธงแนวเขต ๑,๕๐๐ เมตร  และปักโป๊ะไม้ไผ่
                                               โดย หน่วยงานทุกภาคส่วน
 ๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.          รับประทานอาหารร่วมกัน
 ๑๓.๐๐ – ๑๖.๓๐ น.         จัดทำธงแนวธงแนวเขต ๑,๕๐๐ เมตร  และปักโป๊ะไม้ไผ่
                                                โดย หน่วยงานทุกภาคส่วน
 เวทีสาธารณะภาคกลางคืน
๑๘.๐๐ – ๑๘.๑๐ น.         เปิดและต้อนรับ โดย โต๊ะอิหม่ามบ้านในถุ้ง
๑๘.๑๐ – ๑๘.๒๐ น.        ร่วมร้องเพลงสรรเสริญพระบารมี
๑๘.๒๐ – ๑๘.๕๐ น.       เปิดรายการ โดย ดิเกฮูลู บ้านในถุ้ง
๑๘.๕๐ – ๑๙.๓๐ น.        เวทีวิชาการ “จากกลไกเฝ้าระวังชายฝั่ง สู่ การแก้ปัยหาอย่างยั่งยืน”
                                                ผู้ร่วมเสวนา
                                                นายอภินันท์ เชาวลิต                   นายกองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา
                                                นายอนันต์  คลังจันทร์                 รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
                                                นายวีระพรรณ สุขะวัลลิ               ปลัดปรามปรามอำเภอท่าศาลา
                                                นางอารีย์  อินทรสมบัติ                ประมงจังหวัดนครศรีธรรมราช
                                                นายวรรรณ ชาตรี                        ศูนย์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
                                                ผศ.สุริยะ  จันทร์แก้ว                   มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
                                                นายสุพร  โต๊ะเส็น                        ประธานเครือข่ายประมงพื้นบ้าน
                                                นายวิโชคศักดิ์ รณรงค์ไพรี          นุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
                                                ดำเนินรายการ โดย
                                                นายมานะ  ช่วยชู                         นายกสมาคมดับบ้านดับเมือง
๑๙.๓๐ – ๒๑.๐๐ น.        การแสดง
                                                โดย เยาวชนในหมู่บ้านต่างๆ ๖ ชุด
๒๑.๐๐ – ๒๒.๓๐น.        ดนตรีเพื่อชีวิต
                                                โดย ศิลปินเพื่อชีวิต
๒๒.๓๐ – ๒๔.๐๐น.       การร้องเพลง เพื่อสมทบทุน ซื้อเรือ
 
หมายเหตุ ตลอดทั้งวัน
๑.     มีการแสดงนิทรรศการ ของพื้นที่ และ ภาควิชาการ
๒.    มีการเลี้ยงน้ำชา เพื่อจัดซื้อเรือเร็ว
                               
 
วันพุธที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๕๒
ณ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา
๐๘.๓๐ – ๐๙.๐๐ น.         ลงทะเบียน
๐๙.๐๐ – ๑๐.๐๐ น.         ชมวีซีดี รายการเปิดปม จากปัญหาสู่ทางออก
๑๐.๐๐ – ๑๒.๐๐ น.          ประชุม “เรื่องข้อบัญญัติท้องถิ่น”
หมายเหตุ              เปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมประชุม โดยไม่ออกความเห็น

 

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.         รับประทานอาหารกลางวัน
๑๓.๐๐ – ๑๔.๐๐ น.         เตรียมความพร้อมเปิดเวทีสาธารณะ
 เปิดเวทีสาธารณะ ชายหาดบ้านในถุ้ง
๑๔.๐๐ – ๑๔.๓๐ น.        เปิดเวที ร่วมละหมาดฮาหยัด “เพื่อปกป้องทะเล”
                                                โดย โต๊ะอิหม่ามทุกหมู่บ้าน
๑๔.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.         เวทีสาธารณะ “กลไกเฝ้าระวัง ข้อบัญญัติท้องถิ่น และแผนจัดการทรัพยากร”
                                                ดำเนินรายการ โดย
                                                                คุณนาตยา  แวววีรคุปต์  ผู้ดำเนินรายการทีวีไทย (TPBS)
                                                ผู้ร่วมรายการ
                                                                อธิบดีกรมประมง
                                                                อธิบดีกรมเจ้าท่าและพาณิชย์นาวี
                                                                อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
                                                                ผู้บังคับการตำรวจภูธรภาค ๘
                                                               นายภานุ  อุทัยรัตน์               ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
                                                                นายสุรจิตต์ ชิรเวช                ประธานกรรมาธิการฯ วุฒิสภา
                                                                นางสาวพิมภัทรา วิชัยกุล    สส. นครศรีธรรมราช
                                                                นายวิทูรย์  เดชเดโช             นายก อบจ.นครศรีธรรมราช
                                                                นางอวยพรศรี เชาวลิต         สจ.อำเภอท่าศาลา
                                                                นายเสรี ทวีพันธ์                    นายอำเภอท่าศาลา
                                                                 นายวีระพรรณ สุขะวัลลิ      ปลัดปราบปรามอำเภอท่าศาลา
                                                                นายอภินันท์ เชาวลิต            นายก อบต.ท่าศาลา
                                                                นายบรรจง นะแส                 นายกสมาคมรักษ์ทะเลไทย
                                                                นายสุพร โต๊ะเส็น                 ประธานเครือข่ายประมงพื้นบ้าน
                                                                 นายเราะหมาน ปริงทอง      สภา อบต.
                                                                นายภาคภูมิ วิมานติรวัฒน์  มูลนิธิอันดามัน
                                                                ผศ.สุริยะ  จันทร์แก้ว             นักวิชาการ ม.ราชภัฎนครศรีฯ
                                                                ผศ.สุธีระ ทองขาว                 นักวิชาการ ม.วลัยลักษณ์
                                                                และ ประชาชนทั่วไป
หมายเหตุ  ทั้งสองวัน มีการบันทึกเทปโทรทัศน์
๑.      รายการ  เวทีสาธารณะ  (TPBS)
๒.    รายการ  หมู่บ้านฐานไท  (สทท ๑๑)
 
การติดต่อและประสานงานในพื้นที่
๑.     นายภิญโญ หนูชื่น     ปลัด อบต.ท่าศาลา                                        โทร ๐๘๗-๒๗๗๔๕๖๙
๒.    นายภูวิช นินทจิต          พัฒนาชุมชน อบต.ท่าศาลา                         โทร ๐๘๖-๓๖๖๒๓๔๐
๓.    นายทรงวุฒิ  พัฒแก้ว   ผู้ประสานเครือข่ายประมงพื้นบ้าน                โทร ๐๘๓-๑๐๓๒๗๒๗
๔.    นางจินดา จิตตะนัง       ผู้ประสานงานเครือข่ายประมงพื้นบ้าน        โทร ๐๘๖-๗๕๒๕๒๕๘
๕.    นายสุพร โต๊ะเส็น         ประธานเครือข่ายประมงพื้นบ้าน                 โทร ๐๘๔-๓๐๗๔๕๖๑
หมายเลขบันทึก: 300574เขียนเมื่อ 25 กันยายน 2009 00:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 พฤษภาคม 2012 20:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีครับคุณ ทรงวุฒิ เห็นรายการแล้ว คนลุ่มน้ำเลสาบ อยากศึกษาแลกเปลี่ยน ครับ แต่ติดเวทีเอกลักษณ์ ชาติ จะขอติดตามหลังงานครับ

หลงัจากเสร็จงาน ผมจะทยอยสรุปบทเรียน

เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนกับทุกท่านๆครับ

นอกจากนี้ยังสามารถติดตาม รายการเวทีสาธารณะ

ทางทีวีไทยได้ในวันเสาร์ที่ 3 ตุลาคม 52

เวลา 14.00 น.นะครับ

(หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงเวลาครับ)

ดิฉัน ได้รับการว่าจ้างจาก สถาบันพระปกเกล้าให้ทำวิจัยเรื่อง Legal Empowerment of the Poor

จึงขอข้อมูลเพื่อติดตามความคืบหน้าคะ หากท่านยินดี

ศรีสุวรรณ พยอมยงค์

อยากได้ ข้อมูลส่วนไหนเพิ่มติดต่อมาได้นะครับ

ขอเป็นกำลังใจให้นะคะเป็นโครงการที่ดีมากๆ ยิ่งเป็นการประสานความร่วมมือกันทั้งองค์กรภาครัฐ ท้องถิ่นยิ่งทำให้เกิดกำลังความสามารถที่จะขับเคลื่อนไปได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท