76. การประเมินผล กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี


กระบวนการลูกเสือ...ถือเป็นกระบวนการทางการศึกษา ซึ่งมุ่งพัฒนาสมรรถภาพของบุคคลทั้งทางสมอง ร่างกาย จิตใจ และศิลธรรม เพื่อให้เป็นบุคคลที่มีความประพฤติดีงาม ไม่กระทำตนให้เป็นปัญหาต่อสังคม ดำรงชีวิตอย่างมีความหมาย และสุขสบาย...

    วันนี้ (24 กันยายน 2552) โรงเรียนมีการประเมินผล การเข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี สำหรับนักเรียนชั้น ม.1-3 ซึ่งเป็นกิจกรรมตามหลักสูตรสถานศึกษา ที่กำหนดให้การจัดกิจกรรมนักเรียนเพื่อพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

    ผู้เขียนได้รับมอบหมายให้ประสานงาน การดำเนินการประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี (สามัญรุ่นใหญ่) จึงมอบหมายให้ผู้กำกับลูกเสือแต่ละระดับชั้น ประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียน ซึ่งมีขั้นตอน ดังนี้คือ

    งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  โรงเรียนเชียงกลมวิทยา  มีกำหนดการประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ม.1 -3  ของกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี  ภาคเรียนที่  1  ปีการศึกษา  2552  ดังนี้

    1.  ผู้กำกับทุกคนในแต่ละระดับ ร่วมกันกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน แบ่งเป็น 4  ฐานการเรียนรู้ และประเมินผลการปฏิบัติกิจกรรมของนักเรียน โดย ปฏิบัติกิจกรรมเป็นหมู่ และประเมินผลการเรียนรู้เป็นรายบุคคล

    2.  นักเรียนที่เข้ารับการประเมินการเรียนรู้ในแต่ละฐานต้องอยู่ในชุดเครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารี เท่านั้น

    3.  ผู้กำกับแต่ละฐาน ร่วมกันประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรมของลูกเสือ-เนตรนารี  จากนั้น นำส่งผลการผ่าน  แต่ละฐาน ให้ผู้กำกับประจำชั้น

    4.  ผู้กำกับประจำชั้น ประเมินผลการเข้าร่วมกิจกรรม “ตามแบบบันทึกผลประเมินผล กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี” แล้วนำส่งผลการประเมินทั้งหมด  พร้อมแบบรายงานกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ในวันที่ 2 ตุลาคม 2552 งานกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ที่ห้องแนะแนว

    สำหรับนักเรียนที่ไม่แต่งเครื่องแบบลูกเสือ-เนตรนารี มาในวันที่รับการประเมิน ให้มาซ่อมการประเมินเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มแล้วแต่กรณี กับผู้กำกับลูกเสือประจำชั้น ให้ผ่านกิจกรรม ภายในระหว่างวันที่ 25 ก.ย.- 2 ต.ค. 2552 เพื่อให้นักเรียนทุกคนได้รับการประเมินผลผ่านกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ตามหลักสูตรสถานศึกษากำหนดไว้...

การประเมินผลกิจกรรม

    การประเมินผลกิจกรรม ลูกเสือ-เนตรนารี เป็นกระบวนการทดสอบความสามารถและพัฒนาการด้านต่างๆ ของผู้เรียน ซึ่งนอกจากพิจารณาความรู้ตามทฤษฎีแล้ว ต้องพิจารณาด้านพฤติกรรม การเข้าร่วมกิจกรรมที่เน้นทักษะและการปฏิบัติต่างๆ ด้วยวิธีการประเมินที่หลากหลายและการประเมินตามสภาพจริง ซึ่งแบ่งเป็นการประเมินผลออกเป็น 2 ส่วน คือ

     1.  กิจกรรมบังคับ

     เป็นการประเมินผลกิจกรรมตามหลักสูตร  เพื่อให้ผู้เรียนผ่านเกณฑ์การตัดสินเลือ่นขั้นหรือจบหลักสูตร  โดยการเข้าร่วมกิจกรรมและผ่านเกณฑ์การประเมินตามที่หลักสูตรกำหนด  มีการประเมินผลตลอดภาคเรียน/ปี โดยวิธีการสังเกตการณ์เข้าร่วมกิจกรรม  การซักถาม  การทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติ  โดยกำหนดเกณฑ์การประเมินเป็น  “ผ่าน”  และ  “ไม่ผ่าน”

             ผ่าน      หมายถึง  ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมครบเกณฑ์ ปฏิบัติกิจกรรม และมีผลงาน / ชิ้นงาน / คุณลักษณะตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

             ไม่ผ่าน  หมายถึง  ผู้เรียนมีเวลาเข้าร่วมกิจกรรมไม่ครบเกณฑ์ ไม่ผ่านปฏิบัติกิจกรรม และมีผลงาน / ชิ้นงาน / คุณลักษณะไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนด

     2.  วิชาพิเศษ  การประเมินผลวิชาพิเศษในแต่ละวิชา  ใช้วิธีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ  ตามหลักเกณฑ์ในข้อบังคับคณะลูกเสือแห่งชาติ

      ทั้งนี้ การดำเนินการต่างๆ ในการประเมินผลการเรียนรู้กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี โรงเรียนเชียงกลมวิทยา ให้เป็นไปตามระเบียบการวัดผลประเมินผลของหลักสูตรสถานศึกษา ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

หมายเลขบันทึก: 300568เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2009 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

อ่านเรื่องนี้แล้ว อยากย้อนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้งค่ะ สนุกจริง ๆ กับความเป็นเด็ก

                              ภาพเคลื่อนไหว

  • ขอบคุณครูสุภาภรณ์ ที่เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้คะ
  • กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ทุกๆ กิจกรรม หวังเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข...
  • หวังว่าจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกนะคะ 
  •  
ว่าที่ร.ต.สำเริง รุ้งเรืองเดช

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนเป็นกิจกรรมที่เน้นให้เด็กๆได้เรียนรู้ประสบการณ์ที่แท้จริงครับ

ณัฐพัชร์ ด่านจิระมนตรี

สวัสดีค่ะ คุณ PoOmDeE

ครบกำหนดส่งชำนาญการเมื่อวันที่ 2 พค.ที่ผ่านมา ตอนนี้คำสั่งแต่ตั้งคณะกรรมการอยู่ที่ ศธจ.แล้ว รอลงนามแต่งตั้ง แต่มีหนังสือเรียกตัวให้ไปรายงานตัวเพื่อแต่งตั้งเป็นศึกษานิเทศก์  กรณีนี้เรายังมีสิทธิ์ได้รับการประเมินวิทยฐานะชำนาญการอยู่ไหมคะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท