การเผยแพร่บทคัดย่อ


บทคัดย่อ

ชื่อเรื่อง                      การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  ที่ส่งผลต่อความคงทนในการเรียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  น้ำและอากาศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3

ผู้รายงาน                    นางอารีรัตน์  ขอร่ม

ตำแหน่ง                     ครูชำนาญการ  โรงเรียนบ้านสวาย

ปีที่ทำการศึกษา         ปีการศึกษา  2551

 

บทคัดย่อ

 

การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  ที่ส่งผลต่อความคงทนในการเรียน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์  เรื่อง  น้ำและอากาศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา  ปีที่  3  ของโรงเรียนบ้านสวาย  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  1  ผู้รายงานได้กำหนด          วัตถุประสงค์  1)  เพื่อสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระ           การเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่องน้ำและอากาศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ ตามเกณฑ์  80/80  2)  เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำและอากาศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา        ปีที่  3  3)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วย                ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง    น้ำและอากาศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  4)  เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการในการเรียน ของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  น้ำและอากาศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  5)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  น้ำและอากาศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  6)  เพื่อศึกษา ความคงทนในการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  น้ำและอากาศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3

                กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  เป็นนักเรียนโรงเรียนบ้านสวาย  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  1  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3/2  ภาคเรียนที่  2   ปีการศึกษา  2551  จำนวน  23  คน  ซึ่งได้มาโดยวิธีเลือกแบบเจาะจง  (Purposive  Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้  ประกอบด้วย  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  จำนวน  10  ชุด  แผนการจัดการเรียนรู้  แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  จำนวน  30  ข้อ  แบบประเมินด้านทักษะกระบวนการ  และแบบสอบถามความพึงพอใจ  เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า  5  ระดับ  จำนวน  10  ข้อ 

 

ผลการศึกษา

                   1.  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  น้ำและอากาศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์  86.04/83.80

                   2.  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  น้ำและอากาศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  มีค่าดัชนีประสิทธิผล  เท่ากับ  0.7565  หมายความว่า  นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนเพิ่มขึ้น  0.7565  คิดเป็นร้อยละ  75.65  ซึ่งสูงกว่าสมมติฐานที่กำหนดไว้  คือ  ร้อยละ  50

                   3.  ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  น้ำและอากาศ  สำหรับนักเรียน                  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  สูงขึ้นกว่าก่อนเรียน  และแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   

                   4.  ผู้เรียนมีทักษะกระบวนการในการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  น้ำและอากาศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  โดยรวมอยู่ในระดับดี  มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  9.79  และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.34 

                   5.  ผู้เรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  น้ำและอากาศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  โดยรวมอยู่ในระดับมาก  มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ  4.50  และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ  0.60 

                   6.  ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  น้ำและอากาศ  สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3 โดยมีคะแนนเฉลี่ยของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สอบหลังเรียน  และคะแนนเฉลี่ยที่สอบหลังจากผ่านไป  14  วัน  ไม่แตกต่างกัน

                ประโยชน์ที่ได้รับจากการดำเนินการครั้งนี้  คือ  ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการสืบเสาะหาความรู้   กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  เรื่อง  น้ำและอากาศ  สำหรับนักเรียน  ชั้นประถมศึกษาปีที่  3  ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น          ครั้งนี้  ส่งผลให้นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3  โรงเรียนบ้านสวาย  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์  เขต  1              มีทักษะกระบวนการในการเรียนอยู่ในระดับดี   มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น  และมีความพึงพอใจในการเรียน          ส่งผลให้ผู้เรียนมีความคงทนในการเรียน  ซึ่งบรรลุเป้าหมายในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์  ทำให้ผู้สอนมีความมั่นใจที่จะพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพในการเรียนวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้นต่อไป

หมายเลขบันทึก: 299507เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2009 15:23 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 19:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

เรื่องที่รายงาน  :  รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

ผู้รายงาน          :  นางวันเพ็ญ  สุขนิคม

ปีที่รายงาน       :  2553

 

บทคัดย่อ

                รายงานการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2           มีวัตถุประสงค์  เพื่อสร้างแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ที่มีประสิทธิภาพไว้ใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/6 ของโรงเรียนอนุบาลนครนายก      ปีการศึกษา 2551 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/6  ของโรงเรียนอนุบาลนครนายก ปีการศึกษา 2551 สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ให้สูงขึ้น และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/6 ที่มีต่อแบบฝึก              เสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/6  ปีการศึกษา 2551 โรงเรียนอนุบาลนครนายก  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก จำนวน 46 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์จำนวน 7 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัย จำนวน 20 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ 

ผลการวิจัยพบว่า

1.  การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียน          ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนอนุบาลนครนายก พบว่าแบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.35/81.21  ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

2. เปรียบเทียบคะแนนระหว่างคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียน

เพื่อทดสอบนัยสำคัญโดยอาศัยการแจกแจงความถี่ ( t-test) โดยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนอนุบาลนครนายก  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก  ปีการศึกษา 2551 จำนวน 46  คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้ แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนการใช้แบบฝึกแสดงว่า หลังจากนักเรียนเรียนโดยใช้แบบฝึกที่ผู้รายงานสร้างขึ้นแล้ว นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

                3.  ผลการประเมินความพึงพอใจจากการใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์  ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2/6  จำนวน 46 คน พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก  มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.34

เรื่องที่รายงาน : รายงานการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป ชุดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1

ผู้รายงาน : นายทวี ศรีตะปัญญะ

ปีที่รายงาน : 2550

บทคัดย่อ

รายงานการพัฒนาเรื่องการพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูป ชุดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1. เพื่อสร้างบทเรียนสำเร็จรูป ชุดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่มีประสิทธิภาพไว้ใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ของโรงเรียนวัดศรีจุฬา ปีการศึกษา 2552 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ของโรงเรียนวัดศรีจุฬา ปีการศึกษา 2552 สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์ ที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป ชุดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ของโรงเรียนวัดศรีจุฬา ปีการศึกษา 2552 ที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูป ชุดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 5 ภูมิศาสตร์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนวัดศรีจุฬา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ บทเรียนสำเร็จรูป ชุดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อบทเรียนสำเร็จรูป ชุดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ผลการวิจัยพบว่า

1. การหาประสิทธิภาพของบทเรียนสำเร็จรูป ชุดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนวัดศรีจุฬา พบว่าบทเรียนสำเร็จรูป ชุดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.77 / 81.40 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

2. เปรียบเทียบคะแนนระหว่างคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียน

เพื่อทดสอบนัยสำคัญโดยอาศัยการแจกแจงความถี่ ( t-test) โดยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนวัดศรีจุฬา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก ปีการศึกษา 2552 จำนวน 21 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการใช้ บทเรียนสำเร็จรูป ชุดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนการใช้บทเรียนสำเร็จรูป แสดงว่า หลังจากนักเรียนเรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปที่ผู้รายงานสร้างขึ้นแล้ว นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลการประเมินความพึงพอใจจากการใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้บทเรียนสำเร็จรูป ชุดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 จำนวน 21 คน พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36

เรื่องที่รายงาน : รายงานการพัฒนาแบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2

ผู้รายงาน : นางทินนภา โคกกรวด

ปีที่รายงาน : 2552

บทคัดย่อ

รายงานการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อสร้างแบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีประสิทธิภาพไว้ใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 ของโรงเรียนเทศบาล ๑ วัดศรีเมือง ปีการศึกษา 2552 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะ การเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดศรีเมือง ปีการศึกษา 2552 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดศรีเมือง ปีการศึกษา 2552 ที่มีต่อแบบฝึกพัฒนาทักษะ การเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ)

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดศรีเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียน จำนวน 4 ชุด แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียน

ผลการวิจัยพบว่า

1. การหาประสิทธิภาพของแบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 4/2 โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดศรีเมือง พบว่าแบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียน มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.89/82.50 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

2. เปรียบเทียบคะแนนระหว่างคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียน

เพื่อทดสอบนัยสำคัญโดยอาศัยการแจกแจงความถี่ ( t-test) โดยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พบว่านักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดศรีเมือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก ปีการศึกษา 2552 จำนวน 23 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการใช้ แบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียน สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนการใช้แบบฝึกแสดงว่า หลังจากนักเรียนเรียนโดยใช้แบบฝึกที่ผู้รายงานสร้างขึ้นแล้ว นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลการประเมินความพึงพอใจจากการใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/2 จำนวน 23 คน พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.38

เรื่องที่รายงาน : รายงานการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ

ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้รายงาน : นายเสนอ มากเจริญ

ปีที่รายงาน : 2552

บทคัดย่อ

รายงานการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญที่มีประสิทธิภาพไว้ใช้ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนบ้านคลอง 3 (ดรุณศึกษา) ปีการศึกษา 2552 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านคลอง 3 (ดรุณศึกษา) ปีการศึกษา 2552 สาระ การเรียนรู้ภาษาไทยให้สูงขึ้น และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของโรงเรียนบ้านคลอง 3 (ดรุณศึกษา) ปีการศึกษา 2552 ที่มีต่อชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่าน จับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนบ้านคลอง 3 (ดรุณศึกษา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก จำนวน 23 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ 10 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ผลการวิจัยพบว่า

1. การหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านคลอง 3 (ดรุณศึกษา) พบว่าชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะ การอ่านจับใจความสำคัญ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82.38/82.03 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ ที่กำหนดไว้

2. เปรียบเทียบคะแนนระหว่างคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียน

เพื่อทดสอบนัยสำคัญโดยอาศัยการแจกแจงความถี่ ( t-test) โดยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านคลอง 3 (ดรุณศึกษา) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก ปีการศึกษา 2552 จำนวน 23 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่าน จับใจความสำคัญแสดงว่า หลังจากนักเรียนเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญที่ผู้รายงานสร้างขึ้นแล้ว นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลการประเมินความพึงพอใจจากการใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 23 คน พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30

นางพัชรี ศิริเสนา

เรื่องที่รายงาน : รายงานการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดชีวิตงามความพอเพียง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6

ผู้รายงาน : นางพัชรี ศิริเสนา

ปีที่รายงาน : 2553

บทคัดย่อ

รายงานการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดชีวิตงามความพอเพียง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดชีวิตงามความพอเพียง ที่มีประสิทธิภาพไว้ใช้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ของโรงเรียนวิเชียรกลิ่นสุคนธ์อุปถัมภ์ ปีการศึกษา 2551 ตามเกณฑ์มาตรฐาน 80 / 80 2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 ของโรงเรียนวิเชียรกลิ่นสุคนธ์อุปถัมภ์ ปีการศึกษา 2551 สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์ ที่เรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดชีวิตงามความพอเพียง3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 ของโรงเรียนวิเชียรกลิ่นสุคนธ์อุปถัมภ์ ปีการศึกษา 2551 ที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดชีวิตงามความพอเพียง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 3 เศรษฐศาสตร์

กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนวิเชียรกลิ่นสุคนธ์อุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครนายก จำนวน 35 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดชีวิตงามความพอเพียง จำนวน 6 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัย จำนวน 30 ข้อ และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดชีวิตงามความพอเพียง

ผลการวิจัยพบว่า

1. การหาประสิทธิภาพของหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดชีวิตงามความพอเพียง สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวิเชียรกลิ่นสุคนธ์อุปถัมภ์ พบว่าหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดชีวิตงาม ความพอเพียง มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 86.99 / 88.52 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

2. เปรียบเทียบคะแนนระหว่างคะแนนเฉลี่ยของการทดสอบก่อนการเรียนรู้และหลังการเรียน

เพื่อทดสอบนัยสำคัญโดยอาศัยการแจกแจงความถี่ ( t-test) โดยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 พบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 โรงเรียนวิเชียรกลิ่นสุคนธ์อุปถัมภ์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา ปีการศึกษา 2551 จำนวน 35 คน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดชีวิตงามความพอเพียง สูงกว่าผลสัมฤทธิ์ก่อนการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม แสดงว่า หลังจากนักเรียนเรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติมที่ผู้รายงานสร้างขึ้นแล้ว นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ผลการประเมินความพึงพอใจจากการใช้แบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุดชีวิตงามความพอเพียง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 จำนวน 35 คน พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51

ชื่อเรื่อง : เรื่องการพัฒนาชุดการสอน วิชางานเครื่องมือกล1รหัสวิชา 2102-2106

ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545

(ปรับปรุง พ.ศ.2546) วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์

ที่ปรึกษางานวิจัย : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สาคร พัวพันธ์ ,นายวโรภาส ศรีพันธุ์

ผู้ทำการวิจัย : นายสงวน ศรีราม

ปีที่วิจัย : 2554 - 2555

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้(1)เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพชุดการสอนวิชางานเครื่องมือกล 1 รหัสวิชา 2102-2106 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุงโดยกำหนดเกณฑ์ประสิทธิภาพไว้ร้อยละ80/80 (2) เพื่อหาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนวิชางานเครื่องมือกล 1 รหัสวิชา 2102-2106 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง มีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.50(3)เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดการสอนวิชางานเครื่องมือกล 1 รหัสวิชา 2102 - 2106 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง โดยใช้ t – test (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดการสอนวิชางานเครื่องมือกล1 รหัสวิชา 2102 - 2106 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง

ประชากรที่ใช้ในการวิจัยได้แก่นักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นปีที่1สาขาวิชาเครื่องมือกลและซ่อมบำรุง วิทยาลัยเทคนิคสุรินทร์ ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2555โดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster RandomSampling) จำนวน18คนเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบฝึกหัด/ใบงาน แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียนของนักเรียนและแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีประสิทธิผลดัชนีค่าความสอดคล้อง ค่าอำนาจจำแนก ค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น และ t - test

ผลการวิจัยพบว่า ชุดการสอนวิชางานเครื่องมือกล 1 รหัสวิชา 2102 - 2106 ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2545 (ปรับปรุง พ.ศ. 2546) มีประสิทธิภาพเฉลี่ย 83.04/82.54 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้80/8ผลการวิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอน พบว่าค่าดัชนีประสิทธิผลของสื่อการเรียนรู้มีค่าเท่ากับ 0.651ซึ่งหมายความว่านักเรียนมีความรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ65.10 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบก่อนเรียน/หลังเรียนด้วยการทดสอบ t (t - test) พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดการสอนอยู่ในระดับมาก

นางสาวปาริฉัตร คนึงเหตุ

ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม วิชาคณิตศาสตร์ 1

(ค21101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผู้วิจัย นางสาวปาริฉัตร คนึงเหตุ

โรงเรียน ท่าวุ้งวิทยาคาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5

ปีที่พิมพ์ 2558

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม วิชาคณิตศาสตร์ 1 (ค21101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 75/75 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบจำนวนเต็มวิชาคณิตศาสตร์ 1 (ค21101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม การเรียนรู้เรื่อง ระบบจำนวนเต็มวิชาคณิตศาสตร์ 1 (ค21101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องที่ 1 โรงเรียนท่าวุ้งวิทยาคาร อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวนนักเรียน 32 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (purposive sampling) โดยเป็นห้องที่ผู้วิจัยได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการสอน โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบ one-group pretest-posttest design สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลคือ t-test แบบ dependent

ผลการวิจัยพบว่า

1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม วิชาคณิตศาสตร์ 1 (ค21101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 84.85/80.39 ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม วิชา คณิตศาสตร์ 1 (ค21101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01

3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม วิชาคณิตศาสตร์ 1 (ค21101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ผลการประเมินอยู่ในระดับ มากที่สุด

ชื่อเรื่อง รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค Storyline

สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ผู้รายงาน นางปางทิพย์ วงษ์ถาวร

ปีการศึกษา 2558

บทคัดย่อ

รายงานการพัฒนาชุดกิจกรรมภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค Storyline สำหรับนักเรียน

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค Storyline สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ตามเกณฑ์ 75/75 2) เพื่อทดลองใช้ชุดกิจกรรมภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค Storyline สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ 3) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค Storyline สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดคูยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 246 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/5 โรงเรียนวัดคูยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากำแพงเพชร เขต 1 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 41 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ ชุดกิจกรรมภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค Storyline สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ ( E1 / E2) เท่ากับ 75.14 / 76.36 ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและประเมินแบบประเมินความเหมาะสมของชุดกิจกรรมภาษาอังกฤษโดยใช้เทคนิค Storyline อยู่ในระดับมากที่สุดแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ อ16101 จำนวน 40 ข้อ ผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ความสอดคล้อง พบว่า ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80 - 1.00 และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการใช้ชุดกิจกรรมภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค Storyline สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีค่าความเชื่อมั่น .95 ใช้เวลาในการทดลองจำนวน 20 ชั่วโมง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบที (t-test Dependent Sample)

ผลการศึกษา พบว่า

1. ชุดกิจกรรมภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค Storyline สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีประสิทธิภาพ ( E1 / E2) เท่ากับ 75.14 / 76.36 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนด้วยชุดกิจกรรมภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค Storyline สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดกิจกรรมภาษาอังกฤษ โดยใช้เทคนิค Storyline สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่ในระดับมากที่สุด

ชื่อเรื่อง           ผลของการสร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่      

                     สาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕

ปีที่วิจัย           ๒๕๕๙

บทคัดย่อ

          การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์   ๑) เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชุด           วิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐   ๒) เพื่อประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่พัฒนาขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด                  ๓)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชุด        วิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑    ๔) เพื่อศึกษา                 ความพึงพอใจของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม ปีการศึกษา ๒๕๕๙  จำนวน ๒๖ คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ใช้แบบแผน          การวิจัย  One Group Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ได้แก่  ๑) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์      ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่  ๒) แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๙    ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๑  ๔) แบบประเมินความพึงพอใจ  ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๓   การเก็บข้อมูล ได้จากการหาประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ การหาคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและศึกษาความพึงพอใจ  การวิเคราะห์ข้อมูล  โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) หาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแตกต่าง t-test (Dependent Sample) โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป  วิเคราะห์ประเด็นเชิงเนื้อหา                    ในข้อค้นพบ พร้อมนำเสนอประกอบเป็นความเรียง

ผลการศึกษาพบว่า

          ๑. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย                  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่สร้างและพัฒนาขึ้น  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  ๘๓.๐๔/๘๒.๓๑  ซึ่งเป็นไป             ตามเกณฑ์  ๘๐/๘๐  ที่ตั้งไว้

          ๒. คุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างและพัฒนาขึ้น ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นโดยรวม         อยู่ในระดับ เหมาะสมมากที่สุด (  = ๔.๗๔, S.D. = ๐.๓๒)

          ๓. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ 

          ๔. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  โดยรวมอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจ  มากที่สุด (  = ๔.๗๐, S.D. = ๐.๔๖)

ชื่อเรื่อง           ผลของการสร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่      

                     สาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของ

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕

ปีที่วิจัย           ๒๕๕๙

บทคัดย่อ

          การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์   ๑) เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชุด           วิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐   ๒) เพื่อประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่พัฒนาขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด                  ๓)  เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชุด        วิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑    ๔) เพื่อศึกษา                 ความพึงพอใจของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่  กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม ปีการศึกษา ๒๕๕๙  จำนวน ๒๖ คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ใช้แบบแผน          การวิจัย  One Group Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ได้แก่  ๑) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์      ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่  ๒) แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๙    ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๑  ๔) แบบประเมินความพึงพอใจ  ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๓   การเก็บข้อมูล ได้จากการหาประสิทธิภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ การหาคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและศึกษาความพึงพอใจ  การวิเคราะห์ข้อมูล  โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) หาค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแตกต่าง t-test (Dependent Sample) โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป  วิเคราะห์ประเด็นเชิงเนื้อหา                    ในข้อค้นพบ พร้อมนำเสนอประกอบเป็นความเรียง

ผลการศึกษาพบว่า

          ๑. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์  ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่  สาระการเรียนรู้ภาษาไทย                  ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่สร้างและพัฒนาขึ้น  มีประสิทธิภาพเท่ากับ  ๘๓.๐๔/๘๒.๓๑  ซึ่งเป็นไป             ตามเกณฑ์  ๘๐/๘๐  ที่ตั้งไว้

          ๒. คุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างและพัฒนาขึ้น ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นโดยรวม         อยู่ในระดับ เหมาะสมมากที่สุด (  = ๔.๗๔, S.D. = ๐.๓๒)

          ๓. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ 

          ๔. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์  โดยรวมอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจ  มากที่สุด (  = ๔.๗๐, S.D. = ๐.๔๖)

ชื่อเรื่อง ผลของการสร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่
สาระการเรียนรู้ภาษาไทยที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๒๕
ปีที่วิจัย ๒๕๕๙
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อสร้างและพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชุด
วิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่มีประสิทธิภาพตาม
เกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมือง
บ้านไผ่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่พัฒนาขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด
๓) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชุด
วิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๔) เพื่อศึกษา
ความพึงพอใจของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ชุดวิถีไทบ้าน ตำนาน
เมืองบ้านไผ่ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม ปีการศึกษา
๒๕๕๙ จำนวน ๒๖ คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) ใช้แบบแผน
การวิจัย One Group Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ๑) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่ ๒) แบบประเมินคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีค่าความเชื่อมั่น
๐.๘๙ ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๑ ๔) แบบประเมิน
ความพึงพอใจ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๓ การเก็บข้อมูล ได้จากการหาประสิทธิภาพหนังสือ
อิเล็กทรอนิกส์ ตามเกณฑ์มาตรฐาน ๘๐/๘๐ การหาคุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ การเปรียบเทียบ
ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนและศึกษาความพึงพอใจ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา
(Descriptive Statistics) หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความแตกต่าง t-test
(Dependent Sample) โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ประเด็นเชิงเนื้อหา
ในข้อค้นพบ พร้อมนำเสนอประกอบเป็นความเรียง
ผลการศึกษาพบว่า
๑. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ชุดวิถีไทบ้าน ตำนานเมืองบ้านไผ่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ที่สร้างและพัฒนาขึ้น มีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๓.๐๔/๘๒.๓๑ ซึ่งเป็นไป
ตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ ที่ตั้งไว้
๒. คุณภาพหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างและพัฒนาขึ้น ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นโดยรวม
อยู่ในระดับ เหมาะสมมากที่สุด (X = ๔.๗๔, S.D. = ๐.๓๒)
๓. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๔. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ โดยรวมอยู่ในเกณฑ์พึงพอใจ
มากที่สุด (X = ๔.๗๐, S.D. = ๐.๔๖)

ชื่อเรื่อง รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย ผู้วิจัย นางบงกช วิลาศรี ปีที่วิจัย ๒๕๕๘

บทคัดย่อ
ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนตามรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทยกับรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ ๓) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามรูปแบบ การเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย กับรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ

ขั้นตอนในการพัฒนา มี ๕ ขั้น ได้แก่ ๑) ศึกษารูปแบบการเรียนรู้ โดยสังเคราะห์รูปแบบด้วยวิธีการประชุมกลุ่ม (focus group) เครื่องมือที่ใช้คือร่างรูปแบบ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิทดลองและประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ หาข้อสรุปเพิ่มเติมเพื่อให้ได้องค์ประกอบของรูปแบบการเรียนรู้ที่เหมาะสม ๒) ออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ โดยกำหนดวัตถุประสงค์ เป้าหมายของรูปแบบการเรียนรู้ ๓) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ โดยศึกษารูปแบบ ระดมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ กำหนดองค์ประกอบของรูปแบบและประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญ ๔) ทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ โดยพัฒนาสื่อมัลติมีเดียตามรูปแบบ ประเมินผลโดยผู้เชี่ยวชาญ ทดลองใช้สื่อมัลติมีเดียโดยกลุ่มตัวอย่าง ๕) ประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้ โดยนำผลการทดลองมาสรุปผล กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ๑) ผู้เชี่ยวชาญด้านการสังเคราะห์รูปแบบ จำนวน ๕ คน ผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบการเรียนรู้ จำนวน ๓ คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน ๓ คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและวิธีการ จำนวน ๓ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ๒) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม จำนวน ๕๔ คน แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม
ได้แก่ กลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย จำนวน ๒๗ คน และกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบ การเรียนรู้แบบปกติ จำนวน ๒๗ คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ร่างรูปแบบ การเรียนรู้ แบบสอบถามด้านความเหมาะสมของรูปแบบ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๑ แบบสอบถามด้านเนื้อหาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๓ แบบสอบถามด้านเทคนิคและวิธีการ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๐ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๒ และแบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๖ การเก็บรวบรวมข้อมูล ได้จากการระดมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ ด้วยวิธีการประชุมกลุ่ม (focus group) การสอบถาม ความคิดเห็น การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การพรรณนาวิเคราะห์และใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความแตกต่าง t-test โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ประเด็นเชิงเนื้อหาในข้อค้นพบ นำเสนอประกอบความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า
๑. การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นที่สอดคล้องกันว่า ร่างรูปแบบเป็นไปตามกรอบแนวคิดของการวิจัย สอดคล้องกับปัญหาของโรงเรียนและการแก้ปัญหา มีความเหมาะสมกับระดับความรู้ วุฒิภาวะของนักเรียน หากคุณครูภาษาไทยได้นำไปใช้จริง จะมีประโยชน์ต่อนักเรียนมาก หากครูภาษาไทยชั้นอื่น หรือครูผู้สนใจจะนำรูปแบบไปใช้ให้ทำความเข้าใจในสาระสำคัญของรูปแบบก่อนนำไปใช้ โดยผู้เชี่ยวชาญประเมินความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๘๖, S.D. = ๐.๒๓)
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนตามรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย สูงกว่าผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๓. ทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย สูงกว่าผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎี

คอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์ วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑

ผู้วิจัย นางบงกช วิลาศรี ปีที่วิจัย ๒๕๕๘

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทยสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนตามรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้าง กระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑ กับรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ ๓) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่ เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ กับรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ ขั้นตอนในการพัฒนา มี ๕ ขั้น ได้แก่ ๑) การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ ๒) การออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ ๓) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ๔) การทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ ๕) การประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้กลุ่ม ตัวอย่าง มี ๒ กลุ่ม ได้แก่ ๑) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๑๒ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบการเรียนรู้ จำนวน ๖คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน ๓ คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและ วิธีการ จำนวน ๓ คน ๒) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม จำนวน ๒ กลุ่ม กลุ่ม ที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชา ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๒๗ คน และกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน ๒๗ คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ๑) ร่างรูปแบบการเรียนรู้ ๒) แบบสอบถามด้านความเหมาะสมของรูปแบบที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๑ แบบสอบถามด้าน เนื้อหาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๓ และแบบสอบถามด้านเทคนิคและวิธีการที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๐ ๓) แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ ๔) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๒ และ ๕) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๖ การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จากการระดมความคิดเห็นของ

ผู้เชี่ยวชาญ การสอบถามความคิดเห็น การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนและการวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การพรรณนาวิเคราะห์ และใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความแตกต่าง t-test โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ประเด็นเชิงเนื้อหาในข้อ ค้นพบ นำเสนอประกอบความเรียง

ผลการวิจัยพบว่า

๑. การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ได้รูปแบบที่มีองค์ประกอบ ๔ องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านทฤษฎีที่ เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดีย แนวทฤษฎี คอนสตรัคติวิสต์และทฤษฎีการคิดวิเคราะห์ องค์ประกอบด้าน หลักการ ได้แก่ ด้านครูผู้สอน ด้านผู้เรียน ด้านเครื่องมือและด้านการประเมินผล องค์ประกอบด้านกิจกรรมการเรียนรู้ มี ๖ ขั้นตอนได้แก่ ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นกระตุ้นความคิด ขั้นวางแผนการเรียนรู้ ขั้นเรียนรู้ผ่านสื่อ ขั้น สรุปความคิดและขั้นประเมินผลการเรียนรู้ องค์ประกอบด้านการ ประเมินผล ได้แก่ ประเมินผลการเรียนรู้ และประเมินพฤติกรรม ของผู้เรียน ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อ รูปแบบการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (X = ๔.๙๒, S.D. = ๐.๑๔)

๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วย รูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียสูงกว่าผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

๓. ทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบ การเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียสูงกว่าผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

ชื่อเรื่อง รายงานการวิจัยการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎี       

คอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับ  
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ผู้วิจัย นางบงกช  วิลาศรี
ปีที่วิจัย ๒๕๕๘
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑  ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนตามรูปแบบ    การเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ กับรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ ๓) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนตามรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ กับรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ             ขั้นตอนในการพัฒนา มี ๕ ขั้น ได้แก่ ๑) การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ ๒) การออกแบบรูปแบบการเรียนรู้ ๓) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ ๔) การทดลองใช้เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ ๕) การประเมินผลรูปแบบการเรียนรู้  กลุ่มตัวอย่าง มี ๒ กลุ่ม ได้แก่ ๑) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน ๑๒ คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง แบ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านรูปแบบการเรียนรู้ จำนวน ๖คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ จำนวน ๓ คน ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคและวิธีการ จำนวน ๓ คน  ๒) กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ โรงเรียนบ้านลานวิทยาคม จำนวน ๒ กลุ่ม กลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่เสริมสร้างกระบวนการคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ จำนวน ๒๗ คน และกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน ๒๗ คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ ๑) ร่างรูปแบบการเรียนรู้  ๒) แบบสอบถามด้านความเหมาะสมของรูปแบบที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๑ แบบสอบถามด้านเนื้อหาและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๓ และแบบสอบถามด้านเทคนิคและวิธีการที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๐ ๓) แผนการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ  ๔) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๙๒ และ ๕) แบบทดสอบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ ที่มีค่าความเชื่อมั่น ๐.๘๖  การเก็บรวบรวมข้อมูลได้จาก การระดมความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ การสอบถามความคิดเห็น การวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้การพรรณนาวิเคราะห์ และใช้สถิติเชิงพรรณนาหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าความแตกต่าง t-test โดยใช้คอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป วิเคราะห์ประเด็นเชิงเนื้อหาในข้อค้นพบ นำเสนอประกอบความเรียง
ผลการวิจัยพบว่า 
๑. การออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้  ได้รูปแบบที่มีองค์ประกอบ ๔ องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทฤษฎีการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดีย แนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และทฤษฎีการคิดวิเคราะห์ องค์ประกอบด้านหลักการ ได้แก่ ด้านครูผู้สอน ด้านผู้เรียน ด้านเครื่องมือและด้านการประเมินผล  องค์ประกอบด้านกิจกรรมการเรียนรู้ มี ๖ ขั้นตอนได้แก่ ขั้นเตรียมความพร้อม ขั้นกระตุ้นความคิด ขั้นวางแผนการเรียนรู้ ขั้นเรียนรู้ผ่านสื่อ ขั้นสรุปความคิดและขั้นประเมินผลการเรียนรู้  องค์ประกอบด้านการประเมินผล ได้แก่ ประเมินผลการเรียนรู้ และประเมินพฤติกรรมของผู้เรียน  ผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญต่อรูปแบบการเรียนรู้ อยู่ในระดับมากที่สุด (  = ๔.๙๒, S.D. = ๐.๑๙)
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียสูงกว่าผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๓. ทักษะการคิดวิเคราะห์ของผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ผ่านสื่อมัลติมีเดียสูงกว่าผู้เรียนกลุ่มที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

จุฬารัตน์ ฤทธิพันธรักษ์

ชื่อเรื่อง การประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่าผู้รายงาน นางจุฬารัตน์ ฤทธิพันธรักษ์ตำแหน่ง รองผู้อำนวยการสถานศึกษา วิทยฐานะรองผู้อำนวยการชำนาญการพิเศษ โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่าปีการศึกษา 2563

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า ด้านสภาวะแวดล้อม 2) เพื่อประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า ด้านปัจจัยเบื้องต้น 3) เพื่อประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า ด้านกระบวนการ 4) เพื่อประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า ด้านผลผลิต กลุ่มผู้ประเมินที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ครู ผู้ปกครอง และนักเรียน       รวมทั้งสิ้นจำนวน 327 คน ได้จากการสุ่มแบบแบ่งประเภท (Stratified Random Sampling) จำแนกตามสถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม มีการกำหนดขนาดของกลุ่มผู้ประเมินโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ ประกอบด้วย (1) แบบสอบถามการประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า ก่อนการดำเนินโครงการ (ประเมินด้านสภาวะแวดล้อมและด้านปัจจัยเบื้องต้น) ประกอบด้วย แบบสอบถาม        ด้านสภาวะแวดล้อมจำนวน 11 ข้อ และแบบสอบถามด้านปัจจัยเบื้องต้นจำนวน 12 ข้อ รวม 23 ข้อ      มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.95 (2) แบบสอบถามการประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญา          ของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า ระหว่างการดำเนินโครงการ (ประเมินด้านกระบวนการ) จำนวน 18 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.88 (3) แบบสอบถามการประเมินโครงการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 3       บ้านเหล่า หลังสิ้นสุดการดำเนินโครงการ (ประเมินด้านผลผลิต)  จำนวน 18 ข้อ  มีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับ 0.87 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (x-bar ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)ผลการประเมิน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน ดังนี้1. ผลการประเมินโครงการด้านสภาวะแวดล้อม พบว่า โดยภาพรวมมีผล              การดำเนินงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.68            เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุดคือ โครงการนี้มีความสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจ และเป้าหมายของโรงเรียน รองลงมาคือ โครงการมีคุณค่าและมีประโยชน์ต่อการพัฒนาท้องถิ่น	2. ผลการประเมินโครงการด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่า โดยภาพรวมมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.70 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมากและมากที่สุด โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ บุคลากรผู้รับผิดชอบในการดำเนินโครงการมีจำนวนเพียงพอ รองลงมาคือ งบประมาณที่ได้รับในการดำเนินโครงการมีจำนวนเพียงพอ	3. ผลการประเมินโครงการด้านกระบวนการ พบว่า โดยภาพรวมมีผลการดำเนินงาน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.64 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้อมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ กิจกรรม            ของโครงการมีความเหมาะสมและสอดคล้องกับสภาพโรงเรียนและท้องถิ่น รองลงมาคือ โครงการ    มีการดำเนินกิจกรรมเหมาะสมกับผู้เข้าร่วมโครงการ 	4. ผลการประเมินโครงการด้านผลผลิต พบว่า โดยภาพรวมมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.23 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.63 เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่า ทุกข้อมีผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือ โรงเรียน           เป็นแบบอย่างที่ดีในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา รองลงมาคือ ผู้เข้าร่วมโครงการเกิดความรู้ ความเข้าใจ ในหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท