การศึกษาปฐมวัย


แนวคิดและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย

แนวคิดและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย
             หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖ จัดทำขึ้นโดยยึดแนวคิดและหลักการ             จัดการศึกษาปฐมวัย  ดังนี้

กิจกรรมกลางแจ้ง

   การเล่นฮูล่าฮูป  เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง
แนวคิดการจัดการศึกษาปฐมวัย
             แนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช ๒๕๔๖ มีดังนี้
. แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก  พัฒนาการของมนุษย์เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวมนุษย์ เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิต่อเนื่องไปจนตลอดชีวิต ซึ่งครอบคลุมการเปลี่ยนแปลงใน              เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยที่พัฒนาการด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา จะมีความสัมพันธ์และพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับขั้นตอนไปพร้อมกันทุกด้าน  ในช่วงชีวิตปฐมวัยเด็กแต่ละคนจะเติบโตและมีลักษณะพัฒนาการแตกต่างกันไปตามวัยและวุฒิภาวะ เมื่อกล่าวถึงพัฒนาการเด็กปฐมวัยจะบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเด็กอย่างต่อเนื่องในแต่ละวัย  เริ่มตั้งแต่ปฏิสนธิจนถึงอายุต่ำกว่า ๖ ปี
พัฒนาการแต่ละด้านมีทฤษฎีเฉพาะอธิบายไว้และสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาเด็ก  อาทิ  ทฤษฎีพัฒนาการด้านร่างกายที่อธิบายการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กว่ามีลักษณะต่อเนื่องเป็นลำดับขั้น เด็กจะพัฒนาถึงขั้นใดจะต้องเกิดวุฒิภาวะของความสามารถขั้นนั้นก่อน หรือทฤษฎีพัฒนาการด้านสติปัญญาที่อธิบายว่าเด็กเกิดมาพร้อมความสามารถในการเรียนรู้ ซึ่งจะพัฒนาขึ้นตามอายุ  ประสบการณ์ ค่านิยมทางสังคม และสิ่งแวดล้อม หรือทฤษฎีพัฒนาการทางบุคลิกภาพที่อธิบายว่า เด็กจะพัฒนาได้ดีถ้าในแต่ละช่วงอายุเด็กได้รับการตอบสนองในสิ่งที่ตนพอใจ  ได้รับความรัก ความอบอุ่นอย่างเพียงพอจากผู้ใกล้ชิด มีโอกาสช่วยตนเอง  ทำกิจกรรมที่เหมาะสมกับวัยและมีอิสระที่จะเรียนรู้ในสิ่งที่ตนอยากรู้รอบๆตนเอง ดังนั้น แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการเด็ก            จึงเป็นเสมือนหนึ่งแนวทางให้พ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กได้เข้าใจธรรมชาติหรือความสามารถของเด็ก สามารถอบรมเลี้ยงดูและจัดประสบการณ์ที่เหมาะสมกับวัยและความแตกต่างของแต่ละบุคคล       ในอันที่จะส่งเสริมให้เด็กพัฒนาได้ตามศักยภาพจนบรรลุผลตามเป้าหมายที่ต้องการได้ชัดเจนขึ้น การจัดทำหลักสูตรจึงยึดแนวคิดในการให้ความสำคัญกับความสามารถตามวัยและความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก โดยยึดเด็กเป็นศูนย์กลางของการจัดการศึกษา
 
 
. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้  การเรียนรู้ของมนุษย์มีผลสืบเนื่องมาจาก        ประสบการณ์ต่างๆที่ได้รับในชีวิตประจำวัน การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้นจากกระบวนการที่ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อมรอบตัว โดยผู้เรียนจะต้องเป็น               ผู้กระทำให้เกิดขึ้นด้วยตนเอง และการเรียนรู้จะเป็นไปได้ดีถ้าผู้เรียนได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า  ได้เคลื่อนไหว มีโอกาสคิดริเริ่มตามความต้องการและความสนใจของตนเอง รวมทั้งอยู่ในบรรยากาศที่เป็นอิสระ อบอุ่น และ ปลอดภัย  ดังนั้น การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้         จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยส่งเสริมโอกาสการเรียนรู้ของเด็กให้เป็นไปตามศักยภาพที่มีอยู่              นอกจากนี้การเรียนรู้ยังเป็นพื้นฐานของพัฒนาการในระดับที่สูงขึ้น โดยที่คนเราเรียนรู้มาตั้งแต่เกิดตามธรรมชาติก่อนที่จะมาเข้าสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย     การจัดทำหลักสูตรจึงยึดแนวคิดที่สนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริงด้วยตัวเด็กเอง ในสภาพแวดล้อมที่เป็นอิสระ        เอื้อต่อการเรียนรู้  และมีการจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับระดับพัฒนาการของเด็กแต่ละคน
. แนวคิดเกี่ยวกับการเล่นของเด็ก   การเล่นถือเป็นกิจกรรมที่สำคัญในชีวิตของ         เด็กทุกคน เด็กจะรู้สึกมีความสุข สนุกสนาน เพลิดเพลิน ได้สังเกต สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว                 มีโอกาสทำการทดลอง สร้างสรรค์ คิดแก้ปัญหาและค้นพบความเป็นจริงของโลกภายนอกด้วย      ตนเอง  การเล่นจะมีอิทธิพลและมีผลดีต่อการเจริญเติบโต  ช่วยพัฒนาร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา  ขณะเล่นเด็กมีโอกาสเคลื่อนไหวส่วนต่างๆของร่างกาย ได้ใช้ประสาทสัมผัสและการรับรู้ ผ่อนคลายอารมณ์ตึงเครียด  แสดงออกถึงความเป็นตนเองและเรียนรู้ความรู้สึกของผู้อื่น  การเล่นจึงเป็นเสมือนสื่อกลางให้เด็กสร้างประสบการณ์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว  เรียนรู้ความเป็นอยู่ของผู้อื่น สร้างความสัมพันธ์อยู่ร่วมกับผู้อื่นและกับธรรมชาติรอบตัว ดังนั้นการจัดทำ หลักสูตรจึงถือว่า“การเล่น”อย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อการเรียนรู้เป็นหัวใจสำคัญของการจัด         ประสบการณ์ให้กับเด็กอายุต่ำกว่า ๓ ปี
   ๔. แนวคิดเกี่ยวกับวัฒนธรรมและสังคม  บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่หรือแวดล้อมตัวเด็ก  ทำให้เด็กแต่ละคนเติบโตขึ้นมามีคุณลักษณะที่แตกต่างกันไป หลักสูตรการศึกษาปฐมวัยฉบับนี้ถือว่าพ่อแม่หรือผู้เลี้ยงดูเด็กจำเป็นต้องเข้าใจและยอมรับว่าวัฒนธรรมและสังคมที่แวดล้อมตัวเด็กมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพ และพัฒนาการของเด็ก           แต่ละคน ผู้เลี้ยงดูเด็กจำเป็นต้องให้ความสำคัญและเรียนรู้วิธีการดำเนินชีวิต ครอบครัว และชุมชนตามบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของเด็กที่ตนรับผิดชอบ เพื่อช่วยให้เด็กได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม  เกิดการเรียนรู้และมีความภาคภูมิใจในสังคม-วัฒนธรรมที่เด็กอาศัยอยู่และสามารถ      ยอมรับผู้อื่นที่มาจากพื้นฐานเหมือนหรือต่างจากตนได้อย่างราบรื่น มีความสุข

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 29682เขียนเมื่อ 20 พฤษภาคม 2006 10:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

ได้ศึกษาข้อความเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย  เป็นเรี่องที่น่าสนใจ  ควรนำไปปฏิบัติ  ถ้าหาดิฉันมีลูกดิฉันจะนำแนวคิดจากการอ่านครั้งนี้ไปปฏิบัติ  ค่ะ

 

ขอขอบคุณค่ะ

นางสาวชลธิรา พลราษฎ์

l

สวัสดีค่ะ

ได้ศึกษาข้อความเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย  เป็นเรี่องที่น่าสนใจ  ควรนำไปปฏิบัติ  ถ้าหาดิฉันมีลูกดิฉันจะนำแนวคิดจากการอ่านครั้งนี้ไปปฏิบัติ  ค่ะ

ขอขอบคุณค่ะ

ขอเชิญเยี่ยมชมได้ที่

http:/gotoknow.org/choltira48

นาสาวภัชกาญจน์ หอมจันทร์

สวัสดีค่ะ

       จากที่ได้อ่านแนวคิดและหลักการจัดการศึกษาปฐมวัย  ดิฉันเป็นคนหนึ่งที่สอนเด็กในระดับปฐมวัย  ดิฉันจะนำแนวคิดที่ได้จากการอ่านในครังนี้ไปใช้ในโรงเรียนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ค่ะ

ขอขอบคุณค่ะ

ขอร่วมแสดงความคิดเห็นเยี่ยมชมเว็บได้ที่

http://gotoknow.org/passakan

นางสาวชลธิรา พลราษฎ์

ได้ศึกษาข้อความเกี่ยวกับการจัดการศึกษาปฐมวัย  เป็นเรี่องที่น่าสนใจ  ควรนำไปปฏิบัติ  ถ้าหาดิฉันมีลูกดิฉันจะนำแนวคิดจากการอ่านครั้งนี้ไปปฏิบัติ  ค่ะ

ขอขอบคุณค่ะ

ขอเชิญเยี่ยมชมได้ที่

http://gotoknow.org/choltira48

ผมได้เปิดอ่านเวปไซต์ดูหลายเที่ยวแล้วรู้สึกยิ่งอ่านยิ่งมีคุณค่า ผมอยากถามว่าหากเราให้เด็กนักเรียนนอนตอนบ่ายก่อนเข้าเรียนหลังจากรับประทานอาหารและเล่นแล้วซัก 10 นาทีจะดีหรือไม่ครับก่อนที่จะเรียนตามปกติอยากโทรถามแต่ไม่เบอร์

ขอบคุณมากครับ

เป็นกิจกรรมที่น่าสนใจมาก ช่วงนี้เด็กดอยกำลังหนาวพอดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท