• “โมเดลปลาตะเพียน” เป็นบทขยายความของ “โมเดลปลาทู”
• เป็นการขยายความส่วน “หัวปลา” ของ “โมเดลปลาทู”
• เป็นการเตือนสติ ว่าในการทำงาน (และทำ KM)
ทุกหน่วยงานย่อยต้องคอยตรวจสอบว่า “หัวปลาเล็ก”
ของตน หันไปทางเดียวกับ “หัวปลาใหญ่”
ขององค์กรหรือไม่ ต้องคอยปรับให้ไปทางเดียวกับ
“หัวปลาใหญ่” ตลอดเวลา
• “โมเดลปลาตะเพียน”
สำคัญมากต่อการมีบรรยากาศที่เป็นอิสระในการปฏิบัติ
ซึ่งเป็นหัวใจของ KM
• หลักการคือ อิสระในการปฏิบัติ
ภายใต้เป้าหมายเดียวกัน คืออิสระในการปฏิบัติ
แต่ไม่อิสระในการกำหนดเป้าหมาย ไม่กำหนดเป้าหมายกันไปคน
(หรือหน่วยย่อย) ละทางสองทาง
• “หัวปลาใหญ่” เป็นสิ่งที่ทุกหน่วยงานย่อยร่วมกันกำหนด
ที่เรียกว่า วิสัยทัศน์ร่วม (Shared Vision)
หรือปณิธานความมุ่งมั่นร่วม (Common Purpose) หรือ เป้าหมายร่วม
(Common Goal) เมื่อร่วมกันกำหนดแล้ว
ก็ร่วมกันดำเนินการตามเป้าหมายนั้น
เปรียบเสมือนการที่ “ปลาเล็ก” ทุกตัว “ว่ายน้ำ”
ไปในทิศทางเดียวกัน โดยที่แต่ละตัวมีอิสระในการ
“ว่ายน้ำ” ของตนเอง
• ตีความให้ลึกเข้าไปอีก “โมเดลปลาตะเพียน” บอกเราว่า “ปลาใหญ่ /
แม่ปลา” (หมายถึงผู้บริหารระดับสูง) ต้องเปิดโอกาสให้ “ปลาเล็ก”
มีอิสระในการ “ว่ายน้ำ” ผู้บริหารระดับสูงมีหน้าที่
“บริหารหัวปลา" และคอยดูแล “บ่อน้ำ” ให้ “ปลาเล็ก”
ได้มีโอกาสใช้ความริเริ่มสร้างสรรค์ของตนในการ
“ว่ายสู่เป้าหมายร่วม”
วิจารณ์ พานิช
๘ พค. ๔๙