วันนี้ขณะกำลังนั่งอ่านวารสารสายใยพยาธิ ฉบับใหม่ อยู่อย่างขมักเขม้นช่วงเที่ยง (จนเกือนจะหมดเล่ม) พี่ประจิมรับโทรศัพท์ ปรากฏว่าผู้ที่โทรมา ถามเกี่ยวกับการทดสอบอะไรสักอย่าง แกฟังไม่ถนัดก็เลยโยนให้ผู้เขียนซึ่งนั่งอยู่บริเวณนั้น ผู้เขียนตั้งใจฟังอย่างใจจดใจจ่อ (ลุ้นว่าเป็นการทดสอบที่เรารู้จักรึเปล่า?—เพราะบางครั้งมีโทรถาม บางการทดสอบที่แปลก ๆ เราไม่คุ้นเคย หรือไม่ใช่การทดสอบของห้องเราบ้าง หรือเล่นใช้คำย่อมาบ้าง) ปรากฏว่าผู้ที่โทรมาถามเรื่อง การทดสอบ HbA1c แหม ! นึกในใจ (หวานหมูล่ะ ไม่ใช่หมูหวานน๊ะ ไม่ชอบกิน) แหะ แหะ เพราะผู้เขียนเคยทำการวิจัยเรื่องการทดสอบ HbA1c มาก่อนและได้รับการตีพิมพ์ไปแล้ว ผู้เขียนเลยอธิบายให้ฟังอย่างเข้าใจง่าย ๆ (ก็ไม่รู้คนถามเป็นใคร แต่ไม่ว่าใคร เราก็ควรจะให้ความกระจ่างอย่างเท่าเทียมกัน) สรุปได้ว่า การทดสอบ HbA1c นั้นนำมาใช้ในการติดตามการรักษา ประเมินผลการควบคุมระดับน้ำตาลในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ระยะ 2 –3 เดือนที่ผ่านมา เพราะเพียงแค่การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดนั้นไม่เพียงพอ เนื่องจากไม่สามารถบ่งบอกภาวะการควบคุมโรคเบาหวานระหว่างวัน หรือหลาย ๆ วันได้ แต่ HbA1c นั้นเกิดขึ้นจากการที่น้ำตาลจับกับ Hb เกิดเป็น HbA1c ซึ่งก็มีระยะเวลาอายุประมาณเม็ดเลือดแดง (เม็ดเลือดแดงมีอายุประมาณ 120 วัน) นั่นเอง (พยายามอธิบายสั้น ๆ ) แต่ให้ได้ใจความ หลังจากนั้นคนถามก็ยังถามอีกว่าญาติที่มาตรวจได้ผล 6.6% ก็เลยบอกไปว่าโดยทั่วไปคนปกติจะมีค่า HbA1c ประมาณ 4.8 – 6 % หากควบคุมเบาหวานได้ดี ค่าที่ได้ก็จะอยู่ที่ประมาณ น้อยกว่า 8.5 % หากควบคุมไม่ได้หรือได้ไม่ดีก็จะมากกว่านี้ เป็นอันเรียบร้อย สบายใจจัง!!!
และนี่แหละคือประโยชน์ของการวิจัย ไม่งั้นเราคงลืมไปแล้วล่ะ!!!!