ศึกษาความเป็นไปได้ของการปลูกพืชตระกูลถถั่วคลุมดินในสวนยางพาราภาคตะวันออกเฉียงเหนือ


ชนิดพืชคลุมดินที่เหมาะกับสวนยางในภาคอีสาน

การส่งเสริมการปลูกพืชคลุมดินในสวนยางพาราในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ปลูกยางใหม่ คือภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับภาคเนือ ไม่ค่อยประสพผลสำเร็จ ส่วนหนึ่งเนื่องจากเมล็ดพืชคลุมราคาแพง และติดเมล็ดน้อย คลุมวัชพืชได้ช้า เช่น ซีรูเลียม บางชนิดก็เมล็ดเล็ก เก็บเมล็ดยาก และหน้าแล้งใบร่วงมากกลัวไฟไหม้สวน เช่น เพอราเรีย แต่ในปัจจุบันมีพืชคลุมดินชนิดหนึ่งคือ ถั่วมูคูนา (Mucuna spp.) ที่สามารถคลุมวัชพืชได้เร็ว เมล็ดใหญ่ เก็บเมล็ดได้ง่าย ใบมีขนาดใหญ่ เขียวทั้งปี ป้องกันไฟไหมได้ แต่ยังมีปัญหาเมล็ดมีราคาแพง ติดเมล็ดยาก กับเป็นของใหม่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยังไม่เคยมีใครทำการศึกษาวิจัย

เพื่อหาชนิดของพืชคลุมที่เหมาะกับภาคอีสาน โตเร็ว คลุมได้ทั้งปี เก็บเมล็ดไว้ทำพันธุ์ต่อได้ ปลดปล่อยธาตุอาหารสูง ลดการใช้ปุ๋ย จึงได้ทำการศึกษา

การเตรียมการ

  1. เพื่อให้ได้ต้นถั่วพอเพียงต่อการทดลองในครั้งใน วันที่ 11 ส.ค. 2552 จึงได้เดินทางไป สวนเฮียต๋อง อ.แคนดง บุรีรัมย์ อีกรอบ ไปขอตัดเถา Mucuna bracteata และ M. spp. (ยังไม่ทราบชนิด รู้แหล่งที่มาคือ จากไร่สุวรรณ อ.ปากช่อง// ไร่สุวรรณนำมาจากญี่ปุ่นอีกทอดนึง) มาชำขยาย โดยตัดมา 3 ประเภทเพื่อทดลองต่อ (โดยใช้วัสดุปักชำคือ 1)ทราย 2) ดินปลูก 3) ดินเพาะ)
    1. เถาแก่
    2. เถาไม่แก่ไม่อ่อน
    3. เถาอ่อน
  2. ได้เมล็ด M. bracteata มากจากพี่รุธร (ผอ.สกย.จ.บุรีรัมย์) มาเพิ่มเติมประมาณ ครึ่งกำมือ 12 ส.ค. 2552 แล้วนำมาทดลองต่อ (โดยใช้วัสดุเพาะเมล็ด 3 ประเภท คือ 1)ทราย 2) ดินปลูก 3) ดินเพาะ)
    1. Control (แช่น้ำธรรมดา 20 นาที)
    2. กระดาษทรายขัดเยื่อหุ้มเมล็ด (นำมาแช่น้ำธรรมดา 20 นาที)
    3. แช่น้ำร้อน 20 นาที (นำมาแช่น้ำธรรมดา 20 นาที)
    4. แช่น้ำกรด 20 นาที (นำมาแช่น้ำธรรมดา 20 นาที)
  3. เพาะ M.pruriens ใส่ถุงรอไว้ก่อนไปบุรีรัมย์ 24 ก.ค. 2552
  4. เพาะ ซีรูเลียม ใส่ถุงรอไว้แล้วก่อนไปบุรีรัมย์ 24 ก.ค. 2552
  5. สั่งเมล็ดเพอราเรีย 1 กก.จากพี่อดุลย์ โคตรพันธุ์ (300 บาท) 12 ส.ค.2552
  6. เตรียมเมล็ด M.pruriens ไว้ 3 กก. 20 ส.ค. 2552
  7. เตรียมพื้นที่ประมาณ 3 ไร่ โดยใช้ผาน 3  ไถ 1 ครั้ง ผาน 7 ไถ 1 ครั้ง ผาน 20 ไถ 1 ครั้ง Rotary ตี 1 ครั้ง (21 ส.ค. 2552 เสร็จ)

ปลูก  22 ส.ค. 2552

  1. แบ่งแปลงเป็นแปลงย่อย เป็น 2 ช่วง ๆ ละ 50 เมตร ขนาดแปลงย่อย 10*50 เมตร เว้น ทางเดินระหว่างแปลง 2 เมตร ตามแนว เหนือ - ใต้ ระยะทาง 100 เมตร
  2. แปลงที่ 1 เริ่มจากทิศตะวันตก ปลูก M.pruriens ด้วยเมล็ด โดยปลูกเป็นหลุมๆละ 6 เมล็ด ห่าง 1.5 เมตร ต่อ หลุม ปลูก 3 แถว ตามแนวเหนือใต้ ระยะทาง 25 เมตร
  3. แปลงที่ 2 ปลูก เพอราเรีย โดยใช้เมล็ดโรยเป็นแถว จำนวน 4 แถว แต่ละแถวห่างกัน 2 เมตร ตามแนวเหนือ-ใต้ ระยะทาง 50 เมตร 50 เมตรส่วนที่สอง หว่านเต็มพื้นที่
  4. แปลงที่ 3 ปลูก M. bracteata โดยจะปลูกเป็นหลุม
  5. แปลงที่ 4 ปลูก ซีรีเลียม จะปลูกเป็นหลุม
  6. แปลงที่ 5 ปลูก M. spp. (ของญี่ปุ่น จากปากช่อง) จะปลูกเป็นหลุม
คำสำคัญ (Tags): #พืชคลุมดิน
หมายเลขบันทึก: 290157เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2009 01:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 10:49 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

สวัสดีน้องบ่าวแดง

  • สบายดีนะ
  • หมาที่ว่า.พากลับบ้านแล้วยัง
  • พืชคลุมเดี๋ยวนี้บ้านเรา หายาก
  • เมื่อผมเด็กๆเก็บขาย กิโลละ 60 บาท
  • ขอบคุณมากครับ

หวัดดีครับพี่เกษตร

หมายังไม่ได้เอาหลบทีครับ

พืชคลุมตอนนี้ทั้งหายากทั้งแพงครับ

เพอราเรีย ประมาณ 300 บาทต่อโล

ซีรูเลียม ประมาณ 500

ส่วน มูคูนา 4-5,000 บาทครับ

ก็เลยหาวิธี ทำปรือดีให้ชาวบ้านปลูกไว้ใช้เองได้ เก็บไม่ยากด้วย และได้ของที่ดีๆ ครับ

ก็คงต้องช่วยๆ กันครับ

สวัสดี ครับ

เป็นความรู้ใหม่ที่น่าสนใจ

ขอบพระคุณ ครับ

ถั่ว Mucuna อินเดีย วิจัย ใช้ทางการแพทย์ ทำนอง กระตุ้น บำรุง อสุจิ สำหรับ ผู้มีบุตรยาก แปลกดี

ลองค้น จาก google

มีหลายประเทศที่ทำวิจัยครับ ทางแอฟริกาใต้มีหลายประเทศที่ศึกษาถั่ว Mucuna โดยเฉพาะประเทศซิมบับเว่ มีศูนย์ศึกษาขึ้นมาศึกษาโดยเฉพาะเลยครับ

มี mucuna จำหน่ายครับ จากมาเลเซีย สนใจติดต่อ สาโรจน์ 08 9926 3074

ผมรู้เรื่องการเกษตรน้อยมาก แต่ชอบตามอ่าน เพื่อบางครั้งจะได้นำไปใช้กับเด็กๆ บ้าง

กระดุมทองพอคลุมดินในสวนยางได้เปล่าครับ

1. ขอบคุณครูหยุยที่ติดตามอ่าน จะพยายามหาเรื่องที่ดีมีประโยชน์มานำเสนอครับ

2. เรียน คุณโสภณ เปียสนิท กระดุมทองจริงๆแล้วเป็นพืชคลุมดินครับ แต่ประโยชน์ยังไม่ครบเนื่องจากได้เฉพาะคลุมดินรักษาความชื้น กับควบคุมวัชพืช แต่พืชคลุมที่ผมกล่าวถึง นอกจากประโยชน์ดังกล่างข้างต้นแล้วพืชคลุมที่เป็นพืชตระกูลถั่วนั้น ปมที่รากของพืชตระกูลถั่วจะมีเชื้อไรโซเบี่ยม สามารถตึงไนโตรเจน จากอากาศมาเปลี่ยนเป็นปุ๋ยให้เกิดประโยชน์ได้ นอกจากนี้ซากของถั่วก็เป็นปุ๋ยได้ด้วย รวมไปถึงฤดูแล้งจะไม่ทิ้งไบไปหมด ทำให้ช่วยป้องกันไฟไหม้สวนได้อีกทางครับ ส่วนที่ว่าจะมีธาตุอาหารที่จำเป็นสำหรับยางพาราได้มากน้อยเท่าใด ก็ต้องมีการศึกษาวิจัยต่อไปครับ

 จะปลูกยางปี54นี้ 15 ไร่ อยากใช้วิธีปลูกพืชคลุมดินตระกูลถั่วที่ทนแล้งจะหาเมล็ดพันธ์ได้จากที่ใหนบ้าง   ท่องเว็บมาเจอคุณแดง  อ่านแล้วดีใจมากมีความรู้สึกว่าจะสามารถสู้กับวัชพืชกับความแห้งที่ไร่ได้บ้าง เพราะที่ไรเป็นดินทราย ดินแห้งเร็วมาก ขอให้เป็นกำลังของชาวเกษตรนานๆนะคะ

อ.แดงครับ ถึง 22 ส.ค. 52 แล้วเป็นอย่างไรต่อครับ

คุณ Pravitlk ครับ

หลังจากปลูกแล้วก็งอกดี โตดีครับ แต่หลังจาก กย. 52 จนถึง ต้น เม.ย. 52 ฝนไม่ตกเลยครับ ช่วงแรกๆ ผมจ้างให้นักศึกษาช่วยรดน้ำให้ (ไม่ได้วางระบบน้ำและอยู่ไกลจากแหล่งน้ำมาก) ก็พอจะถูไถไปได้บ้าง แต่ภายหลังน้ำที่ใช้รดก็หมด เด็กก็ปิดเทอม แปลงถั่วผมก็เลยเริ่มร่อยหรอลงไปทุกที ก็อาจจะเป็นข้อคิดได้อย่างนึงว่า

1. ปลูกช่วงปลายๆ ฤดูฝนไม่ค่อยได้ผม โดยเฉพาะถ้าปีไหนฝนทิ้งช่วง

2. mucuna ทุกตัวที่ผมนำมาปลูก ไม่ค่อยทนแล้งในปีแรก

หลังจากนั้น ต้นปี 2553 ผมนำปลูกลงแปลง โดยปลูกตั้งแต่ต้นฝน ก็เริ่มได้ผลจนถึงปัจจุบัน แต่ตอนปี 52 ถือว่าเป็นบทเรียนครับ

ประสิทธิ์

ประวิทย์ โภคสวัสดิ์ pravitlk

ขอบคุณอาจารย์ครับ ผมปลูกยางอยู่อุบลครับ กำลังเพาะ mucuna bracteata. ได้มาจากเพื่อน จะขออนุญาตแวะเข้าไปขอคำแนะนำที่ม. อุบลนะครับ

ตอบคุณประวิทย์ ด้วยความยินดีครับ

เรียนทุกท่าน

หลายท่านที่ติดตามอ่านเรื่องพืชคลุม ผมไปเขียนไว้อีกที่ ที่ http://www.live-rubber.com/rubberforum/viewtopic.php?f=2&t=900&start=170 ครับ เพราะใน บล๊อกที่ว่ามีคนสนใจ mucuna bracteata กันมากครับ

ประวิทย์ โภคสวัสดิ์

เรียน อ.แดงครับ รบกวนขออีเมล์หรือเบอร์โทรอาจารย์ ที่ [email protected]. ขอบพระคุณครับ

สวัสดีค่ะ

หนูอยากทราบว่า ซีรูเลียม มีข้อแตกต่างจากพืชคลุมดินชนิดอื่นอย่างไร

และมีประโยชน์ในทางด้านคลุมดินอะไรบาง

และ ซีรูเลียม นิยมปลูกในที่ใด ภาคใด

... อยากได้เนื้อหาไปทำ สัมมนา ค่ะ ....

ขอบคุณค่ะ

ในบล๊อกผมเขียนไว้เยอะ ลองหาอ่านดูน่ะครับ ไม่ก็เข้า google แล้วพิมพ์คำที่ต้องการหาก็คงได้เนื้อจากใจความตามที่ประสงค์ได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท