คุณธรรมกับการออม


คุณธรรมกับการออม

 

l

เมื่อวันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๒ ที่ผ่านมา หลังจากผมทำหน้าที่ลูกที่แสนจะน่ารัก (หลงตัวเอง) ทั้งที่น่ารักกับแม่ทุกวันแหละครับ แต่ทุกวันที่ ๑๒ สิงหาคม แม่จะรอการทำอะไรสักอย่างที่น่าประทับใจจากลูก ๆ แต่ไม่บอกนะครับว่าเรา(หมายถึงผมจะน้อง)ทำอะไรบ้างอย่างให้แม่.... เอาเป็นว่าผมเดินทางจากบ้านด้วยเวลากว่า ๘ ชั่วโมง ในวันที่ ๑๔ สิงหาคม ไปภูเก็ต เพื่อเตรียมตัวสำหรับการรับบทบาทเป็นผู้จัดกระบวนการเรียนรู้

ผมได้รับการประสานงานจากพี่เจี๊ยบ คณะทำงานเครือข่ายผู้ปกครองระดับชั้นม.๒โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย ก่อนหน้านี้ผมรู้จักพี่เจี๊ยบในฐานะแกนนำเครือข่ายองค์กรชุมชนจังหวัดภูเก็ต เธอติดต่อให้ผมไปจัดกระบวนการเรียนรู้เรื่อง คุณธรรมกับการออม ให้ นักเรียนชั้น ม.๒ จำนวน ๔๕๐ คน ถือว่าเป็นโจทย์ใหญ่สำหรับผม เพราะเหตุว่า นักเรียน ม.๒ .....จำนวน ๔๕๐ เด็ก...เยอะ ทำไงดีหว่า

ผมไม่ถนัดอยู่แล้วครับกับการบรรยาย จึงได้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ในหัวข้อ คุณธรรมกับการออม แบบผมไม่ต้องบรรยาย แต่เป็นการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างผมและนักเรียน 

ผมมีน้องวุฒิ บัณฑิตรัฐประสานศาสตร์ จากรั้วจันทร์เกษม  หนุ่มตรัง แต่มาทำงานที่จังหวัดภูเก็ตภายใต้สังกัดมูลนิธิชุมชนไท เขาเป็นน้องที่เคยทำงานร่วมกันมาเป็นผู้ช่วย

เวลา ๙ เศษ วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๕๒หลังจากที่ท่าน รอง ผอ.สพท.ภูเก็ตเขต ๑ เปิดงานเสร็จแล้ว ผมเริ่มจัดกระบวนการเรียนรู้ดังนี้ครับ

ผมเริ่มจากการละลายพฤติกรรมด้วยการเคลื่อนไหวร่างกายแบบง่าย ๆ คือให้เข้ากลุ่มตามวันเกิด และการปรบมือกับเพื่อนข้าง ๆ ตามจำนวนที่ผมกำหนด จากนั้นให้น้องจับกลุ่ม ๆ ละ ๑๐ คน  คละเพศ

เมื่อได้สมาชิกครบแล้ว ผมให้สถานการณ์ว่า ๑ กลุ่มหมายถึง ๑ ครอบครัว แล้วให้แบ่งบทบาทกันว่าใครจะมีบทบาทอะไรในครอบครัว ใครเป็นพ่อ แม่ ลูก ปู่ ย่า ตา ยาย หรือแล้วแต่นักเรียนจัดให้ครบองค์ประกอบของครอบครัว บางกลุ่มมีแม่เป็นผู้ชาย มีตาเป็นผู้หญิง 

ต่อจากนั้น ผมให้น้อง ๆ ลองสร้างครอบครัวในจินตนาการดูครับว่า ต้องการให้ครอบครัวเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง ทั้งด้านวัตถุและด้านอื่น ๆ บางกลุ่มอยากมีบ้านแบบไมเคิล เจ๊กสัน บางกลุ่มอยากมีสระ ๘ สระ   สถานการณ์นี้ผมต้องการให้น้อง ๆ ลองวางแผนว่าเป้าหมายของครอบครัวจะเป็นอย่างไร

สถานการณ์ต่อมา ผมใช้ แบบบันทึกบัญชีครัวเรือน ที่ ม.มหิดล โดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) แจกให้น้อง ๆ (ผมใช้เป็นสื่อการเรียนรู้) ผมสมมติให้ครอบครัวมีรายได้ครัวเรือนละ ๔๐,๐๐๐ บาท ผมให้น้อง ๆ ใช้เงินจำนวนนี้ตามความเหมาะสมของครอบครัว แล้วลงบัญชีครัวเรือน ๑ เดือน

ต่อไปผมให้สถานการณ์เช่นเดียวกับสถานการณ์ก่อนหน้านี้ แต่เมื่อน้อง ๆ ลงบัญชีเสร็จแล้ว ผมมีสถานการณ์เพิ่มเติมครับว่า ต้องจ่าย

l      จ่ายค่าปรับจราจร                         1,000 บาท

l      จ่ายค่ารักษาพยาบาลคนในครอบครัว     3,000 บาท

l      จ่ายค่างานเลี้ยงรุ่น                      2,000 บาท

ครอบครัวที่จ่ายเงินแบบไม่มีการออม ชนิดที่จ่ายครบทั้ง ๘๐,๐๐๐ บาท แล้วไม่มีเงินจ่ายตามเงื่อนไขจำอย่างไร ?.........................

 

อยากรู้ว่าเหตุการณ์ และกระบวนการเรียนรู้จะเป็นอย่างไร ติดตามโอกาสต่อไป รับรองว่าสนุกครับ.....

 

หมายเลขบันทึก: 288519เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 23:06 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2012 13:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มาทักทายคนคอน

บ้านเิกิดเราเหมือนกัน

โชคดีค่ะ

สวัสดีครับ อ เฉลิมพล รู้มั้ยบู๊ธเล่าเรื่องได้สนุกมาก อ่านแล้วเห็นภาพ ประกอบกับพี่พอรู้จักคนที่กล่าวถึงในเรื่อง และประมาณวันที่ 13ส.ค ตอนที่มีการทาบทามวิทยากรพี่ก็อยูที่ที่สนง. น้องวุฒิด้วย ยังแซวกันอยู่เลย อ่านบันทึกนี้แล้วทำให้อยากติดตามตอนต่อไปจัง

พี่พัช ขอบคุณครับ ขอโอกาสเหมาะจะเล่าให้ฟังตอนที่ ๒

เข้ามาตามอ่านตอนที่ 2จ้า

สวัสดีครับ อาจารย์ เฉลิมพล มาชวนอาจารย์ ไปบ้านบังวอญ่า ไฟงบังนินทาอาจารย์ ไว (นินทาเพื่อคุณภาพครับ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท