ผลความขัดแย้งในทางบวก และ ผลของความขัดแย้งในทางลบ


จริยธรรมสำหรับนักบริหาร ( รศ.ม.ร.ว.วุฒิเลิศ เทวกุล )

นำมาจากเอกสารประกอบการสอน วิชา จริยธรรมสำหรับนักบริหาร ( รศ.ม.ร.ว.วุฒิเลิศ เทวกุล ) 

หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี 

 

 

ผลความขัดแย้งในทางบวก

 

1.  นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในเชิงสร้างสรรค์ เกิดรูปแบบการทำงานใหม่ๆมีผลงานใหม่ๆ
2.  ทำให้บุคลากรในองค์กรเกิดแรงจูงใจในการทำงาน และพบแนวทางในการทำงานได้มี ประสิทธิภาพมากขึ้น
3.  ก่อให้เกิดความสามัคคีในกลุ่ม
4.  ทำให้เกิดการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป้าหมายเดิมขององค์กรที่ไม่สอดคล้องกับความ เป็นจริง

5.  สมาชิกในองค์การได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
6.  องค์การมีการปรับตัวให้เข้ากับความ  เปลี่ยนแปลงในสังคมได้อย่างต่อเนื่อง
7.  มีการเลือกตัวแทนที่เข้มแข็ง มีความรู้ ความสามารถเป็นผู้นำ
8.  ได้มีการระบายข้อขัดแย้งระหว่างบุคคล    หรือกลุ่ม ซึ่งเก็บกดไว้เป็นเวลานาน

9.  ทำให้เกิดแนวทางแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เป็น ประโยชน์กับองค์กร หรือทำให้เกิดคุณภาพ ในการตัดสินใจ
10. ทำให้ลดความตึงเครียดในองค์กรได้ หรือ ทำให้ความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์กร ดีขึ้น
11. ทำให้คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากร  ในองค์กรดีขึ้น ยอมรับความแตกต่าง  ระหว่างบุคคล รู้จักปรับตัว และการ  ประสานงานร่วมกัน

 

ผลของความขัดแย้งในทางลบ

 

1.  นำไปสู่ความตึงเครียด
2.  ทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากรและเวลามากขึ้น
3.  ทำให้เกิดการแบ่งเป็นพรรคเป็นพวก
4.  มุ่งเอาชนะกันมากกว่าที่จะมองถึงผลกระทบ ต่อเป้าหมายขององค์กรโดยส่วนรวม
5.  นำไปสู่ความยุ่งเหยิง และไร้ซึ่งเสถียรภาพขององค์กร

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 288516เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 23:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท