ระเบียบแห่งฉันท์


  ระเบียบแห่งฉันท์ 

  

  

            คำว่า ฉันท์ แปลว่า ความพอใจ  เป็นคำมาจากภาษาบาลี  ตำราฉันทศาสตร์ว่าด้วยการแต่งฉันท์  เดิมเป็นภาษาบาลี  มีชื่อว่า คัมภีร์วุตโตทัย  แบ่งออกเป็นวรรณพฤติประเภทหนึ่ง  และมาตราพฤติประเภทหนึ่ง  เข้าใจว่าการแต่งฉันท์ตามคัมภีร์วุตโตทัยคงเข้ามาในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  เพราะมีปรากฏการแต่งคำฉันท์ในหนังสือมหาชาติคำหลวง  

                 

สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชนิยมแต่งฉันท์มากขึ้น  และเป็นคำฉันท์ที่แต่งได้ดีจนเป็นแบบแผนของกวีชั้นหลัง  หนังสือคำฉันท์ที่แต่งขึ้นในสมัยนี้ ได้แก่  สมุทรโฆษคำฉันท์ เสือโคคำฉันท์ อนิรุทธคำฉันท์ และมีตำราการแต่งฉันท์ ได้แก่ จินดามณี  ต่อมาในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศมีปุณโณวาทคำฉันท์ของพระมหานาควัดท่าทราย  ครั้นถึงสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมีอิเหนาคำฉันท์ของหลวงสรวิชิต (หน)  สมัยกรุงรัตนโกสินทร์มีสรรพสิทธิ์คำฉันท์ กฤษณาสอนน้องคำฉันท์ สมุทรโฆษคำฉันท์ตอนปลาย  ซึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์ต่อจากที่ค้างไว้ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชจนจบบริบูรณ์  และยังได้ทรงแปลตำราฉันท์ออกเป็นภาษาไทยด้วย  ในสมัยสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็มีหนังสือที่แต่งเป็นคำฉันท์อีกหลายเล่ม ได้แก่ บทละครพูดคำฉันท์ เรื่องมัทนะพาธา อิลราชคำฉันท์ และสามัคคีเภทคำฉันท์ เป็นต้น

   

  คำฉันท์เป็นคำประพันธ์ที่แต่งยาก อ่านก็ยาก ด้วยเหตุที่มีบัญญัติให้ใช้เสียงหนักและเสียงเบา คือ  คำครุและคำลหุในทุกบททุกบาท  ผู้แต่งจะใช้คำไทยแท้มาเรียบเรียงแต่งเป็นฉันท์ก็ย่อมขัดข้อง  เพราะคำที่เป็นเสียงเบาหรือคำลหุในภาษาไทยมีน้อย  การแต่งฉันท์จึงต้องใช้คำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นพื้น  จึงทำให้เข้าใจได้ค่อนข้างยาก  และจะไม่รู้สึกเพลิดเพลินบังเกิดความซาบซึ้งได้  เพราะไม่เข้าใจความหมายของคำ  ฉะนั้นคำฉันท์ที่มีความไพเราะจึงอยู่ที่ผู้แต่งและผู้อ่านประกอบกัน  ผู้แต่งต้องพยายามใช้คำที่ง่าย  ให้มีเสียงของคำเกลี้ยงเกลาสละสลวยและได้ใจความที่ดี  มีโวหารที่แปลก  ส่วนผู้อ่านจะต้องรู้จักกฎข้อบังคับในฉันท์ที่จะอ่าน  โดยเฉพาะจะต้องรู้จักชื่อของฉันท์ที่จะอ่าน  และต้องรู้ว่าคำฉันท์นั้น ๆ  มีคำและพยางค์แบ่งออกเป็นกี่วรรค กี่วรรคเป็นบาท และกี่บาทเป็นบท  จะต้องรู้จักบังคับแห่งคำครุและลหุตลอดจนรู้สัมผัส  นอกจากจะรู้กฎข้อบังคับในฉันท์ดังกล่าวนี้แล้ว  ผู้อ่านจะต้องรู้ลีลาในฉันท์ว่าคำฉันท์แต่ละชนิดมีลีลาสำหรับเนื้อเรื่องชนิดใด เช่น

               - การกล่าวถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เคร่งขรึม น่ายำเกรง มักใช้สัททุลวิกกีฬิตฉันท์ มาลินีฉันท์ หรือสัทธราฉันท์ 

              - ต้องการดำเนินเรื่อง บรรยายความ ชมบ้านเมือง ชมธรรมชาติมักจะใช้วสันตดิลกฉันท์ 

              - ชมกองทัพมักใช้กาพย์ฉบัง 

              - ต้องการความหวาดกลัว  เกรี้ยวกราดมักจะใช้อิทิสังฉันท์  

              - ต้องการเสียงผาดโผน คึกคะนอง สนุกสนาน ตื่นเต้น มักจะใช้มาณวกฉันท์ หรือโตฎกฉันท์  

              นอกจากนั้นผู้อ่านจะต้องรู้จักทำนองในฉันท์  จึงจะอ่านให้เกิดความไพเราะได้  และต้องรู้ความหมายของคำจึงจะเกิดความซาบซึ้งในคำประพันธ์นั้น ๆ

หมายเลขบันทึก: 288237เขียนเมื่อ 17 สิงหาคม 2009 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (10)

น้องบิ๊กตัวโย่งมารายงานตัวคับ

ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้เรื่องฉันท์

ดิฉันอ่าน มัทนะพาธา

รู้สึกซาบซึ้งในความไพเราะ และพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ ฉันท์ ด้วยคำไทย

เข้าใจถูกต้องหรือเปล่า คะ

ขอบคุณค่ะสำหรับความรู้เรื่องฉันท์

สวัสดีค่ะ คุณภูสุภา

ลงเรื่องเกี่ยวกับมัทนะพาธาให้แล้วนะคะ

อ่ะครับบ ได้รู้ ว่าคนสมัยก่อนเก่งมากกกกก

เเต่ ครุ หลุ คำเป้น คำตาย ผมไม่ รู้ เรื่องเลยยย

เดาข้อสอบเอา เเบบว่า มันไม่เข้าใจอ่ะครับ อ่านหลายรอบ

มันก็ลืม T^T เเต่จะพยายามครับ

อ่านแล้วคะอาจารย์

.......เรื่องนี้รู้สึกจะยังไม่เรียน...

แต่ก็น่าสนใจ.....

.......อิอิอิอิอิอิอิอิอิอิ....

สวัสดีค่ะ

ประชาสัมพันธ์ร่วมสร้างคนดี

- ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม เป็นวิทยากรอบรมธรรมะ โครงการอิ่มบุญ วุฒิสภา ๙๙๙ วัด เยาวชนปฏิบัติธรรม ระยะเวลา ๓ วัน ๒ คืน

๑. ค่ายวัยใส ใฝ่คุณธรรม นำพ้นภัย ยาเสพติด

๒. ค่ายพุทธบุตร

อบรมบุคลากรในหน่วยงาน

๑. การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

๒. พัฒนาจิต พิชิตงาน เบิกบานใจ สอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม อีเมล [email protected] โทรศัพท์ ๐๘๙๔๘๔๑๙๗๓

ประชาสัมพันธ์ร่วมสร้างคนดี

- ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม เป็นวิทยากรอบรมธรรมะ โครงการอิ่มบุญ วุฒิสภา ๙๙๙ วัด เยาวชนปฏิบัติธรรม ระยะเวลา ๓ วัน ๒ คืน

๑. ค่ายวัยใส ใฝ่คุณธรรม นำพ้นภัย ยาเสพติด

๒. ค่ายพุทธบุตร

อบรมบุคลากรในหน่วยงาน

๑. การเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน

๒. พัฒนาจิต พิชิตงาน เบิกบานใจ สอบถามรายละเอียดได้ที่ศูนย์พัฒนาทรัพยากรมนุษย์และสังคม อีเมล [email protected] โทรศัพท์ ๐๘๙๔๘๔๑๙๗๓

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท